ผู้เขียน หัวข้อ: สงสัยมานานแล้วครับ ทำไมพวกสะพานข้ามแยกและอุโมงค์ถึงไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ใช้ครับ  (อ่าน 5031 ครั้ง)

ออฟไลน์ Niti

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,033
  • Live is short. Live it!
เผื่อมีใครรู้เหตุผลจริงๆ ผมเองขับรถใช้งานอยู่ในกรุงเทพเป็นหลักมาตั้งนาน ก็ยังนึกไม่ออกว่าทำไมถึงมีกฏนี้

ปล. ไม่มีมอเตอร์ไซค์และไม่ได้เรียกร้องสิทธิ์อะไรนะครับ แค่สงสัยเฉยๆ
-------------------------------------------------------------
In: 350Z DE / New Fortuner TRD / Harrier XU60*2 / Alphard AH30
Out: Miata NC RHT / 86 / IS250
-------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ nithiyod

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 518
    • อีเมล์
อาจจะช่วงตอนลงสะพานแล้วต้องแทรกออกซ้ายจะอันตรายหรือเปล่าครับ

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,041
สะพานใหญ่ๆ เพราะลมตีครับ ส่วนอุโมงค์นี่เดาว่าเกี่ยวกับแรงบิดตอนวิ่งกลับขึ้นมาว่าน้อยทำให้กีดขวาง ซึ่งจยย.ที่แรงบิดเยอะก็จะเรียกร้อยกันอีก
อาจจะช่วงตอนลงสะพานแล้วต้องแทรกออกซ้ายจะอันตรายหรือเปล่าครับ
เวลาจะแทรกตอนไหนมันก็ผิด และอันตรายทั้งนั้นครับ ถ้าอันตรายก็คงเพราะเหตุด้านบนครับ

ออฟไลน์ TLX

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 193
อันนี้พอดีผมมีโอกาสได้คุยกับตำรวจที่เกี่ยวข้อง  เขาบอกว่าในอุโมงค์ขาลงจะลงเร็วครับ และในอุโมงค์จะมีพัดลมดูดอากาศให้ไหลเวียนจากต้นอุโมงค์ไปปลายอุโมงค์ ทีนี้พอขาขึ้นจะเกิดลมตี ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่มอเตอร์ไซค์ได้ครับ

ออฟไลน์ holahola66

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,795
    • อีเมล์
เด๋วนี้สะพานข้ามแยกนี่มอใซค์ไปจ่อรอขึ้นก่อนรถอีกครับ ไม่มี ตร. ก้อลักไก่กันไป
Mercedes C-Class W205 CDI
BMW 116i f20
Honda Civic EG 3door D16a turbo MT
Nissan March 1.2 cvt

ออฟไลน์ tTtTt

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 115
    • อีเมล์
เพราะบางสะพานตีเลนมาเพื่อรถ 2คันวิ่งไปทางเดียวกันหรือสวนกันอย่างพอดี ในกรณีข้างหน้าเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่มีที่พอให้มอเตอร์ไซค์หลบอย่างปลอดภัย  ถ้ารถเบรกไม่ทันอย่างมากก็ชนแล้วไปซ่อมรถ แต่ถ้ามอเตอไซค์ขับมา 60-80kmh เบรกไม่ทัน คงไม่ต้องซ่อม.... ผมคิดแบบนี้ครับ

ออฟไลน์ BoringZee

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 228
ผมขอตอบตามที่ผมเข้าใจนะครับ

สะพานข้ามแยกบ้างสะพานที่สูงเข้าห้ามจักรยานยนต์ขึ้นเนื่องจากลมที่มาประทะกับรถด้านข้างมันจะทำให้จกรยานยนต์เสียหลักได้ง่ายๆและเลนบนสพานมันแคบเพราะว่าเขาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจักรยานยนต์ขึ้นไปวิ่ง ลองสังเกตุดูครับถ้าสะพานไหนอนุญาติ เขาจะมีเลนไว้ให้

อุโมง ถายในอุโมงนั้นผมไม่ทราบว่ามีอะไรบ้าง แต่ที่แน่รถขาลงอุโมงส่วนมากมาเร็วครับเร็วกว่าจักรยานยนต์เยอะมาก และลมที่เกิดจากรถที่มาเร็วมันไม่ได้มีพื้นที่ระบายเมื่อนด้านนอก เลยทำให้เกิดลมอัดอยู่ในอุโมงและถ้าผ่านด้างข้างจักร์ยานยนต์อาจจะโดนแรงลมดีดหรือผลักให้ไปชนขอบทางได้ครับ และยังมีเรื่องแสงภายในอุโมงอีกครับ

สุดท้ายนี้ ผมคิดว่าคนที่ออกมาบอกว่าทำไมต้องจำกัดสิทธ์จักรยานยนต์ในการขึ้นสะพานหรือลงอุโมงด้วยก็น่าจะเพราะว่าเขาอย่างจะเพิ่มความปลอดภัยให้คุณนะครับเขาถึงออกกฎมาแบบนี้

ปล. ใช้ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต ร่วมถึงจกรยานด้วย สะพานไหนขึ้นได้ผมขึ้นสะพานไหนห้ามผมก็ไม่ขึ้น เสียเวลานิดหน่อยแต่ชีวิตปลอดภัยกว่ามากครับ

ออฟไลน์ revision11

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 10
จากความเข้าใจส่วนตัวน่าจะมาจากถนนบนสะพานหรือในอุโมงไม่มีใหล่ทางครับ ถ้าในสถาวะประติก็ไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ถ้ามีรถจักยานยนต์เสียบนสะพานก็จะไม่มีที่หลบครับ ทำให้เสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตครับ หรือกรณีที่รถยนต์วิ่งตามหลังมาเร็วๆก็ไม่มีใหล่ทางให้หลบ อันตรายมาครับ

ออฟไลน์ bluefox101

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 360
เหตุผลจริง ๆ ผมเองก็ไม่รู้ชัดเจน แต่ก็หน้าจะใกล้เคียงกับที่ ความเห็นก่อน
หน้านี้ตอบไว้น่ะครับ
แต่อยากจะบอกว่าในอุโมงค์ลอดใต้สี่แยก นี่อันตรายจริง ๆ ครับ
อุโมงค์แยก บางพลัด แถวบ้านผมนี่ มีอุบัติเหตุ มอเตอร์ไซต์ เสียชีวิตไปหลายครั้งแล้ว
ก็ขอฝากเตือนไว้ด้วยครับ

ออฟไลน์ @croissant@

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 32
    • อีเมล์
พรบ.จราจรทางบก ม. 1-27 ว่าด้วย ทาง, การเดินรถ, ประเภทของรถชนิดต่างๆ พศ2522

มาตรา 139 ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าถ้าได้ออกประกาศข้อบังคับหรือ
ระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจร ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ
ออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบดังต่อไปนี้

(1) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน
(2) ห้ามหยุดหรือจอด
(3) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ
(4) กำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว
(5) กำหนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรือที่คับขัน
(6) กำหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(7) กำหนดช่องหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่อง
(8) กำหนดทางเดินรถทางเอกและทางเดินรถทางโท
(9) กำหนดการจอดรถหรือที่จอดพักรถ
(10) กำหนดระเบียบการใช้ทางหรือช่องเดินรถสำหรับรถบางประเภท
(11) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถโรงเรียน
(12) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยาน
(13) ควบคุมขบวนแห่หรือการชุมนุมสาธารณะ
(14) ควบคุมหรือห้ามเลี้ยวรถในทางร่วมทางแยก
(15) ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร
(16) กำหนดระยะทางตอนใดให้ขับรถล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ได้
(17) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจอดรถที่ชำรุด หักพัง ตลอดจนรถที่ซ่อมแซมในทาง
(18) กำหนดระเบียบการข้ามทางของคนเดินเท้าบนทางที่ไม่มีทางข้าม
(19) กำหนดการใช้โคมไฟ
(20) กำหนดการใช้เสียงสัญญาณ
(21) กำหนดระเบียบการอนุญาตและการใช้รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง

ออฟไลน์ ichok

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 791
    • อีเมล์
วิ่งช้ากีดขวางการจราจรอันตรายมันจะกั๊กๆเลนหน่ะครับ มันมีสิทธิ์ล้มเองได้ง่ายกว่ารถยนต์ทั้งในอุโมงและบนสะพาน และอีกข้อคือ มอเตอร์ไซด์เวลาเจอแยกก็ไปรอจ่อหน้าไฟแดงอยู่แล้ว ไฟแดงแรกก็ได้ไปแล้วไม่ติดอะไรเลยจะขึ้นลงสะพานข้ามไปทำไมหล่ะครับ

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,839
เสริมให้อีกนิสนะครับ

เมื่อจักรยานยนต์เกิดประสบอุบัติเหตุขึ้นมาในทางดังกล่าวแล้ว
ความช่วยเหลือย่อมช้ากว่าปกติแน่นอนครับ

ในหลายสะพานข้ามแยกหรือในหลายอุโมงค์มักจะเป็นลักษณะ one way lane และส่วนใหญ่ก็จะมี2เลน
ลองนึกสภาพว่าหากมีคนขี่ล้มและคนซ้อนล้มแน่นิ่งอยู่ทั้ง2เลน แล้วรถเกิดติดแหงกขึ้นมา ทางเดียวที่อาสาจะไปถึงพวกเขาได้คือ สวนเลนมา ซึ่งมันก็ไม่ง่ายเลยนะครับ ในกรณีที่ปลายสะพานหรือปลายอุโมงค์มีทางร่วมอยู่

แค่1นาทีก็มีค่ามากมาย

ในทางกลับกัน หากเป็นถนนในทางปกติ อาสากู้ภัยยังอาจให้ความช่วยเหลือโดยการจอดรถที่เลนตรงข้ามได้

กฎหมายเขาคงคิดดีพอสมควรถึงได้ห้ามไว้ครับ

ปล ผมตอบแบบนี้ในเว็บต้องห้าม จะโดนถล่มแหลกลานเลย จากพวกโลกสวย

ออฟไลน์ top3245

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 466
คุณต้องลองไปสอบถามในบอร์ดของรถมอไซค์ แล้วคุณจะได้อีกแง่มุม  (ประชาชน และ ตำรวจ)

ส่วนตัว ที่ชอบอ้างว่าอันตราย แท้จริงแล้วไม่ใช่

ถ้าจริง แล้วทำไม่ อุโมงค์เกษตรให้ลงได้ ทั้งๆที่มีทางโค้งกลางอุโมงค์ ความชันก็เท่าอุโมงค์อื่น ไหล่ทางก็ไม่มีแบบอุโมงค์อื่น

แต่อุโมงค์ลอดแยกสุทธิสารและแยกห้วยขวาง  ดูแล้วไม่น่ากลัวเท่าอุโมงค์เกษตรเลย  แต่ห้ามลง

แล้วทำไม่ยังต้องห้ามมอไซค์ทุกชนิด พวกเกินกว่า 250 cc.  ก็วิ่งไม่ได้   โลกเปลี่ยนไปแล้ว แต่กฎหมายโบราณ

ออฟไลน์ Niti

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,033
  • Live is short. Live it!
ขอบคุณทุกคำตอบครับ ได้ความรู้ขึ้นเยอะ  :)
-------------------------------------------------------------
In: 350Z DE / New Fortuner TRD / Harrier XU60*2 / Alphard AH30
Out: Miata NC RHT / 86 / IS250
-------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ Freekick042

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 859
อุโมง หรือสะพานสั้นๆข้ามแยกนี่จะวิ่งก็วิ่งไปเหอะผมไม่ซีเรียส

แต่ผมเจอบนสะพานภูมิพลดึกๆวิ่งกัน60นี่ไม่ไหว

ออฟไลน์ Activehybrid

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,554
เดาธรรมดาไม่ควรลงครับ ถ้ามีเหตุจำเป็นจริงๆถีงจะลง

ทำไมถึงไม่อยากให้ลงเพราะ แคบมาก แคบยิ่งกว่าสะพาน ซ้ำยังมืด(หากกลางวันแดดจัดๆแล้วลงอุโมงทันทีจะมองไม่ค่อยเห็น)

โอกาศเกิดอุบัติเหตุจึงเยอะกว่า

ออฟไลน์ mitree

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
    • อีเมล์
เสริมอีก  ประเด็นครับ
สะพานข้ามแยกหรืออุโมงค์ ถูกสร้างมาเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางโดยไม่ติดขัดครับ
เรียกง่ายๆว่ารถที่วิ่งผ่านเส้นทางพวกนี้ มักจะมากันเร็วครับ
ผมเจอประจำ กำลังวิ่งมาเร็วๆผ่านอุโมงค์ เจอมอไซวิ่งลักไก่วิ่งเข้ามาเหยียบแค่ 40 ไม่มีเลนให้หลบด้วย
ผมนี่เหยียบเบรคแทบไม่ทัน ทำให้คันหลังๆ เบรคตามๆกันไปด้วย
 

ออฟไลน์ Adamas

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 256
ก็ง่ายๆครับ คนทำถนน ออกกฏหมาย มันขับรถเก๋งครับ
เวลาออกเเบบถนนไม่เคยคำนึงถึงรถอื่น เอารถเก๋งเป็นหลัก
อย่างขึ้นสะพานเเล้วลมตีอย่างสะพานภูมิพลอันนี้เห็นด้วยครับเเต่สะพานข้ามเเยกเตี้ยๆมีเลนเบี่ยงมันก็ไม่ให้ข้าม เเต่ะสะพานข้ามบางอันสูงกว่าเลนเบี่ยงก็ไม่มีกลับให้ข้ามซะงั้นไม่รู็เอาไรมาคิด
ลองคิดดูนะครับมอไซต์ติดไฟแดงตากเเดดอย่างร้อนกลับต้องมาติดไฟแดงส่วนรถเก๋งวิ่งข้ามไฟแดงสบาย
สมัยก่อนเคยมีความคิดทำปีกสะพานเพื่อให้รถมอไซต์วิ่ง เเต่ก็ตกไป ไม่รู้เพราะอะไร

การออกเเบบถนนบ้านเราถือว่าห่วยมากยกตัวอย่าง  ตจว. ทางกลับรถมักอยู่ทางโค้ง ตลกมาก

ปล.เวลาผมขับมอไซต์ตากเเดดร้อนๆมองไปที่สะพานเเล้วแหมมันน่าขึ้นอะไรอย่างนี้
ปล2.ต้องขอบคุณตำรวจที่ตอนเช้าๆกับเย็นๆปล่อยให้มอไซต์วิ่ง(อันนี้ขอชมหลังจากด่ามาเยอะ)
ปล3. คหสต. ล้วนๆ
คนที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต จะต้องทำงานให้คนที่มีเป้าหมายไปตลอดชีวิต

ออฟไลน์ warez

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 702
กฎหมายประเทศไทย เหมือนกันทุกฉบับคือไม่มีรายละเอียด

ตีความกันเอาเอง สรุปความเอาเอง ใครอยากทำแบบไหนก็เถียงเข้าข้างตัวเองเอา

ตอบคำถาม (ตอบจริงๆเลยนะครับ ในฐานะเคยช่วยงานสนข) คิดอยากห้ามมันก็ห้าม ไม่มีใครทักท้วงกันหรอกครับ
สรุปความว่าอยากตั้งกฎอะไรตรงไหนก็ตั้งๆไป ถ้ามีคนทักท้วงค่อยปรับเปลี่ยนเอา
ปล. ถ้าคิดกันจริงๆ เอาแค่ทางข้ามคลองมันยังไม่ยอมเขียนแบบให้เจอขอบสะพานในแนวตั้งฉากกับถนนหลักเลยครับ

ออฟไลน์ gingjok

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
น่าจะเป็นเรื่องค่าก่อสร้าง

ในอดีต งบค่าก่อสร้างมีอย่างจำกัด
การก่อสร้าง สะพานหรืออุโมงค์ จะสูงกว่าสร้างถนนบนดินมาก
และค่าก่อสร้างจะแปรผันตรงกับความกว้างของช่องจราจร
เพื่อให้เกิดถนนในทางยาวมากขึ้น ภายใต้งบที่จำกัด
จึงจำเป็นที่ต้องเรียงลำดับความสำคัญในการใช้เงิน

หากสังเกตุให้ดี เมื่อก่อนสะพานก็จะมีไหล่ทางแคบกว่าตัวถนน
จึงมีข้อกำหนดเรื่องการห้ามแซงบนสะพาน

แต่ปัจจุบัน ประเทศเจริญขึ้น จึงให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น
ก็สามารถให้งบฯ ก่อสร้างมากขึ้น สะพานที่ก่อสร้างในปัจจุบัน จะมีไหล่ทางเท่ากับตัวถนน

ถนนและสพานในอดีต ไม่ใช่ไม่ปลอดภัย เพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้งาน

เหมือนกับเลนจักรยาน
ถ้าประเทศสามารถบริหารงบได้ดี มีเงินเหลือ
หรือมีการรณงค์ให้เห็นความสำคัญของการใช้จักรยาน
เราก็อาจได้เลนจักรยานเพิ่มก็ได้

สรุป

เงินงบประมาณไม่ได้มีอย่างไม่จำกัด
จึงต้องจัดลำดับความสำคัญในการใช้เงิน
ในมุมมองของคนใช้เงิน ณ เวลานั้นว่า
จะให้ความสำดัญอะไรก่อน