เท่าที่ผมลองอ่านข้อมูลเรื่อง hybrid มา โตโยต้า เลือกใช้แบบ นิเกิล เมทัล ไฮดราย (ขึ้นชื่อว่านิกเกิล คงไม่ต้องให้บอกสรรพคุณ น้องๆตะกั่วเลยล่ะ)
อยากให้ลองอ่านนี่ดูครับ
นับตั้งแต่มีการยกเลิกการใช้สารตะกั่วเป็นตัวเพิ่มค่าอ็อกเทนในน้ำมันเบนซิน พิษร้ายจากสารตะกั่วก็ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย ทั้งๆที่พิษร้ายจากสารตะกั่วนั้นยังคงมีอยู่และเพิ่มปริมาณสะสมบนพื้นโลกมากขึ้นทุกวัน ชาวโลกเป็นห่วงเป็นใยกับเรื่องของโลกร้อนที่เกิดจากรถยนต์ปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงจนทำให้ลืมไปว่าสารพิษจากตะกั่วนั้นเป็นตัวทำลายสมอง ทำลายไตของคนและสัตว์ที่สำคัญก็คือสารพิษจากตะกั่วเป็นตัวบั่นทอนการเรียนรู้ของเด็กเล็กในวัยเยาว์
อุตสาหกรรมรถยนต์แม้จะพัฒนาไปใช้ระบบอิเล็กโทรนิกส์เข้ามาช่วยทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพดีขึ้นทั้งในแง่ของการประหยัดและลดคาร์บอนไดอ็อกไซด์ แต่เมื่อใช้ระบบอิเล็กโทรนิกส์มากขึ้นการใช้ตะกั่วก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ตะกั่วถูกใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านตัน แน่นอนเป็นแร่ธาตุราคาถูกที่มีพิษร้าย การแพร่กระจายพิษร้ายจากสารตะกั่วเริ่มตั้งแต่ในเหมืองตะกั่ว การผลิตชิ้นส่วนที่ต้องใช้ตะกั่ว การกำจัดหรือรีไซเคิลตะกั่วหนักหนึ่งล้านตันต่อปีเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ทั้งหมด ยังมีตะกั่วอย่างน้อยปีละสี่หมื่นตันที่ถูกทิ้งข้วางปล่อยปละละเลยให้จมดินแพร่พิษร้ายต่อโลกใบนี้ ตะกั่วอีกเจ็ดหมื่นตันล่องลอยอยู่ในอากาศจมลงในพื้นดินและแหล่งน้ำจากกระบวนการผลิต โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมรถยนต์
รถยนต์ไฮบริดใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกำเนิดพลังงานร่วมกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันจากปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิง แม้ว่าแบตเตอรี่จากรถไฮบริดจะไม่ได้ใช้ตะกั่วเป็นวัตถุดิบ แต่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel Metal Hydride NiMH) ที่เป็นตัวสร้างกระแสไฟฟ้าให้กับรถไฮบริดนั้นก็มีพิษร้ายไม่ได้น้อยไปกว่าแบตเตอรี่ที่ทำจากตะกั่ว ในสหรัฐอเมริกามีรถยนต์ไฮบริดวิ่งอยู่บนถนนมากกว่าล้านคันและเกือบทั้งหมดเป็นแบตเตอรี่ที่ผลิตจาก NiMH นิเกิลเมทัลไฮไดรด์จากรถรถไฮบริดกว่าหนึ่งล้านลูกรวมกับตะกั่วที่ใช้ในรถยนต์ที่วิ่งอยู่บนถนนจำนวนเกือบสามล้านตันในวันหนึ่งๆ ไม่มีใครกล้าที่จะบอกได้ว่าพิษร้ายจากแบตเตอรี่นั้นเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตผู้คนสัตว์พืชและสิ่งแวดล้อมไปมากเท่าไรในปีหนึ่งๆ
ผู้คนชาวโลกเริ่มตั้งคำถามไปยังผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลายกันเสียงดังมากขึ้นแล้วว่ารถยนต์ไฮบริดเป็นรถยนต์ที่สะอาดจริงๆหรือ หรือว่าความสะอาดที่อวดโอ่โฆษณานั้นเป็นเพียงการลดคาร์บอนไดอ็อกไซด์ได้เพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง และพิษร้ายจากสารตะกั่ว พิษร้ายจากสารนิกเกิลหรือแม้กระทั่งแบตเตอรี่ในอนาคตที่ผู้ผลิตรถยนต์ไฮบริดจะนำมาใช้แทนนิกเกิลเช่นลิเธียมไอออนนั้น ผู้ผลิตจะขจัดพิษร้ายเหล่านั้นอย่างไร แม้ว่าค่ายผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่ผลิตรถยนต์ไฮบริดออกมาจำหน่ายจะมีกรรมวิธีที่จะกวาดเก็บแบตเตอรี่จากรถไฮบริดที่หมดอายุการใช้งานแล้วเช่นโตโยต้ารับซื้อคืนแบตเตอรี่ NiMH คืนจากผู้ใช้ชุดละ200 ยูเอสดอลลาร์ แต่ก็เป็นการซื้อคืนที่เรียกว่าผู้ขายต้องส่งถึงที่ และแม้ว่าแบตเตอรี่NiMH จะได้รับการรับรองว่ามีอายุการใช้งานสิบถึงสิบห้าปี และเมื่อถึงเวลานั้นผู้ผลิตมีความสามารถสักเท่าไรที่จะเก็บกวาดขยะNiMH ที่พร้อมจะแพร่พิษ เป็นสิบล้านลูกได้หมด เช่นเดียวกับคำถามที่ว่าเมื่อแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่มีพิษน้อยกว่าเช่นลิเธียมไอออน ถูกนำมาใช้แทนNiMH แล้ว NiMH เป็นล้านเป็นสิบล้านที่มีพิษเหล่านั้นจะเอาไปทิ้งไว้ที่ใด ผู้ผลิตจะยอมรับซื้อคืนอีกหรือไม่
น่าเสียดายในงานเปิดตัวรถยนต์ไฮบริดในบ้านเราที่มีคนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าไปทำหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์กิตติมศักดิ์ ไม่ได้ถามคำถามเรื่องพิษร้ายจากแบตเตอรี่ให้สังคมได้รับทราบ ครับรถยนต์ไฮบริดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัยที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าช่วยลดมลภาวะจากโลกร้อนได้ แต่กับพิษร้ายตัวอื่นๆ เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องค้นหาคำตอบมาบอกชาวโลกเอาไว้ด้วยครับ
ในบทความข้างบนนั้นผิดจากความจริงมากกว่าครึ่ง
แบ็ตเตอร์รี่ตะกั่วในอเมริกานั้นเขานำไปรีไซเคิ้ลครับ เคยดูจากช่อง Discovery หรือ National Geographic นี่แหละ แถมบอกว่าแบ็ตเตอร์รี่ตะกั่วเป็นของที่สามารถรีไซเคิ้ลได้ทั้งหมด
และไม่ว่าช่องใดในสองช่องนี้พูดแบบนี้ นักอนุรักษ์คงไม่ออกมาค้าน
ส่วนแบ็ตเตอร์รี่ไฮบริดนั้นไม่รู้ว่าคนเขียน (ฝรั่ง) คนนี้จะโวยอะไร ปู้โธ่ โตโยต้าเขาอุตส่าห์รับซื้อกลับไปล๔กละสองร้อยเหรียญแล้ว ที่บ้านข้อยยังต้องให้เขาฟรีเลย
ส่วนการทำลายก็คือการนำไปรีไซเคิ้ลที่ประเทศญี่ปุ่น
แล้วที่บอกว่านิเกิ้ลมีพิษก็น่าจะเป็นสารประกอบนะเพราะโลหะนิคเกิ้ลเองก็ใช้อยู่ในเหรียญต่างๆ
ที่น่ากังวลมากกว่าคือบ้านเราครับ ในประเทศไทย ที่ TOYATA THAILAND ประกาศว่าในอนาคตอีกสามสี่ปี (เมื่อแบ็ตเตอรรี่เริ่มเสียมากขึ้น) เขาจะทำลายขยะพิษพวกนี้ในบ้านเรา ส่วนในช่วงแรกซึ่งอาจมีปีละไม่กี่สิบลูกจะขนไปบ้านเขา
ถ้าทำในเมืองไทยเมื่อไหร่ก็คงไม่ใช่การรีไซเคิ้ลแน่นอน เพราะแค่ปีละไม่กี่พันลูกจะไปสร้างโรงงานขึ้นมาได้อย่างไร มันก็ต้องฝังกลบลูกเดียว นรกมาเยือนเมืองไทยซีครับ
ผมเองกำลังหาทางอยู่ว่าจะเผยแพร่นโยบายนี้ของโตโยต้าออกไปสู่สายตาชาวต่างชาติโดยใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างไร เพราะนโบบายว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมแบบขาดความรับผิดชอบชัดๆ ทีในอเมริกามีปีละหลายหมื่นลูกยังขนกลับไปรีไซเคิ้ลที่ญี่ปุ่นเลย เราพึ่งนักการเมืองของเราที่ทำตัวเป็นเหลือบดูดเลือดคนไทยไม่ได้ก็ต้องพึ่งตัวเอง
ก็หวังว่าจะมีคนโตโยต้ามาอ่านแล้วเอาไปคุยกับนายชาวญี่ปุ่นเพื่ออกมาแถลงอีกทีว่าที่จะทำลายในเมืองไทยจะทำแบบไหน โตโยต้าจะลงทุนสร้างโรงงานรีไซเคิ้ลหรือแค่จ้างบริษัทอื่นทำลายแล้วไม่สนใจว่าเขาจะทำอย่างไร