ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนคุย เล่าสู่กันฟัง ถ้ายุครถ ev มาจริง รัฐต้องปลดล็อค solar cell ครัช  (อ่าน 8874 ครั้ง)

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
กระแส ev เริ่มแรงช่วงนี้ อาจจะหลายๆทางทั้งค่ายรถยนต์โหมออกสื่อพวก ev
กับหลายๆยี่ห้อในงานรถยนต์ใหญ่ Frankfurt motor show ด้วย
(ช่วงนี้อิน เลยมโนผสม  ;D)

หลายๆคนเป็นห่วงว่าไฟฟ้าในอนาคตไม่พอใช้

แต่สาเหตนึงรู้มั้ยครับว่าเป็นเพราะมีการควบคุมจากทางรัฐบาลด้วย
ผมเคยอยากจะทำ solar farm เลยลองศึกษาดูบ้าง

พบว่าไม่ได้ทำง่ายๆ เพราะต้องไปขอคล้ายๆสัมปทานจากหน่วยงานรัฐพวกกฟน,กฟภ ก่อน
และโควต้าเต็มเร็วมาก เพราะจำกัดสุดๆ

จะติดตามบ้าน ขายคืนให้ กฟน,กฟภ ก็ต้องไปขออนุญาติ และเต็มเร็วเหมือนเดิม

ด้วยเหตุผลด้านงบประมาณเป็นสำคัญ

------

แต่ก็ไม่ใช่จะติดไม่ได้ซะทีเดียว...
หลายบ้านก็ติดตั้งมันซะเลย ช่างบิดามารดาของคนอื่น
ช่วงแรกๆ มิเตอร์แบบจานหมุน พอไฟจาก solar roof ย้อน แน่นอน มิเตอร์หมุนกลับ
คนใช้ไฟก็สบายเบย

แต่ กฟน กฟภ เค้าก็แก้เกม มาเปลี่ยนมิเตอร์ให้ฟรีเป็นแบบดิจิตัล
คือใครจะจ่ายไฟกลับเหรอ ตามบาย แต่ไม่มีค่าไฟคืนให้นะ
(มิเตอร์ดิจิตัล คิดทางเดียว)

คนติดก็ช่วยรัฐแบบฟรีๆ เวลาใช้ไฟก็จ่ายเต็มดังเดิม  :P
(ติดตั้งแบบเชื่อมสายกับรัฐ ผลิตกลางวันก็ส่งออกฟรีๆ
ใช้ก็ดูดจากสายเมนผ่านมิเตอร์ทางเดียว คือแทบไม่มีประโยชน์จากการติดตั้งเลย)

------

คือถ้ารัฐผ่อนปรน ใครใคร่ขายไฟคืนจาก solar roof ก็จ่าย
จะเป็นการกระตุ้นให้คนหันมาติด solar roof กันมากขึ้น ข่วยแหล่งไฟฟ้าอีกทาง
(เอางบไหนมาจ่ายหละ ตอนนี้ถังไม่แตก แต่แค่ไม่มีอะไรในถัง  :P)

ถ้าเป็น solar roof ก็จะคืนทุนประมาณ 7-10 ปี คล้ายๆ solar farm เหมือนกัน
ตามเรทเดิมที่กฟน,ภ ยอมซื้อคืนที่หน่วยละ 10 บาทกว่าๆนี่หละ
(คนใช้ไฟจากรัฐจะเสีย 4-6 บาทต่อหน่วย แต่ขายคืนได้ที่ 10 กว่าบาท)

------

แน่นอน ว่าบางคนรวยอ่ะ จะติดเองใช้เอง ในเมื่อรัฐไม่รับใช่ม้าา
สิ่งที่ต้องมี คือแบตเตอรี่สำรองไฟจาก solar roof

แล้วมันเท่าไหร่หละ

ผมยกราคาอินเตอร์มาให้ดูกันนะครับ เอาของ tesla ละกัน
(ใครอย่าว่าผมเป็นหน้าม้า tesla หละ ไม่ได้สักบาท  ;D)

แบต 13.5 kWh ตีเป็นเงินไทย ตกกลมๆ 2 แสน
รวมอินเวอร์ทเตอร์ ก็ 3 แสน
จาก spec ต่อกันได้ 10 ตัว ตัวละ 2 แสน ก็ตามสะดวก

รถไฟฟ้าคันนึง nissan leaf  ก็มีแบต 40 kWh (3 ตัวแบตอย่างน้อย)
แอร์ 12,000 BTU ประมาณ 1.5 kWh(1 ตัวเปิดแอร์ได้เกือบ 10 ชม.)

ก็คิดเล่นๆ คุยกันเล่นๆ ตัวเลขผมอาจไม่แม่น
ใครแม่นมาบอกกันได้ครับ รึใครคิดยังไงบอกกล่าวกันฟังดูครัช ;D ;D :D

******

*** อันนี้คือจุดผิดพลาดร้ายแรงของบทความนี้ เลยขอเสริมเข้ามาในเนื้อหานะครับ

มันไม่ใช่แค่เรื่อง มิเตอร์หมุนครับ กระแส I ต่างหาก
เคยเห็น คนที่ผลิตเองใช้ Solar cell on grid แล้วมา โวยวาย การไฟฟ้า
ที่เค้าต้องควบคุมเพราะ การจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับ เข้าระบบสายส่ง นั้นมีเงื่อนไข ที่ต้องควบคุมเยอะ Voltage, Phase, ความถี่ พวกนี้คุณควบคุมได้แม่นยำ ไหม?
ที่สำคัญ ถ้าเค้าตัดไฟ down sub station ซ่อมเป็นโซนๆ แต่บ้านคุณดันจ่ายไฟ โดยที่เค้าคุมไม่ได้ ก็อันตรายกับ คนซ่อม ครับ

ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า
ไม่มีส่วนได้เสียกับ PEA, MEA, EGAT บลาๆ อะไรทังนั้น

ตรงนี้ก็เป็นปัญหาจริงๆนั่นหละครับ  :'(

จริงๆทีแรกอยากจะคุยเน้นย่อหน้าสุดท้าย เรื่องการติดใช้เอง
ต้องมีแบตสำรอง และราคายังสูงอยู่มาก ณ ปัจจุบัน
(อีกหน่อยถ้าหาเทคโนทดแทนจากเจ้าอื่น
หรือจีนมีไอเดียใหม่ๆสำหรับรถไฟฟ้าในอนาคตก็รอดูกันอีกที)

ถ้าเราได้ทำให้ถูกต้อง ก็จะต้องมีแยกกล่องต่างหากในการขายไฟคืน
ซึ่งตัวนี้ ถ้าสายส่งดับ ก็จะตัดไฟบ้านไม่ให้รั่วออกไปด้วยอยู่ดี

ตอนศึกษาก็จำได้ แต่พอเห็นข่าวคนโวยบ่อยเลยลืมไปเลย  :'(
ใครมีอะไรเสริมมาหรือแย้งมาให้ถูกต้องดีแล้วครับ ขอให้คุยกันดีๆก็พอ

อันนี้ต้องขออภัยในความเลินเล่อ ชวนคุยออกทะเลเอามันในส่วนอื่นมากไปหน่อย  :-[

พี่ชายผมอยู่ กฟภ. แกบอกว่า
เรื่องติดโซล่าเซลล์ตามบ้านนั้นที่ให้ติดมิเตอร์ดิจิตอล
เพราะกันกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับออกมา
ถ้าสายส่งบริเวณนั้นไม่สามารถใช้งานได้ แล้วสมมุติโซล่าเซลล์บ้านนั้นจ่ายไฟฟ้าออกมา ซึ่งโหลดอาจจะไม่พอ ถ้าข้างบ้านเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อาจจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ครับ เลยต้องมีการควบคุม ขออนุญาติ ประมาณนี้ครับ

เยี่ยมเลยครับ คุยกันดีๆ ผมพลาดเองแหละครับ  :'(
แต่แย้งมาแบบนี้ทั้งขอบคุณ ทั้งชื่นใจ  ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2017, 13:17:40 โดย punn »
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ lay

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,274
ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,060
ขนาดขายให้รัฐในราคาสูงกว่าราคารัฐขายออกยัง 7-10 ปีถึงคืนทุน ... ไม่แปลว่าเงินลงทุนสูงไป ก็ผลผลิตต่ำไป (หรือทั้งสองอย่าง) .... ส่วนตัวผมเชื่อว่าไทย "ไม่ เหมาะ" กับโซล่า เพราะ
(1) แดดต่อปีน้อย (ร้อนกับแดดเยอะคนละเรื่องกัน)
(2) อากาศร้อนซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟ

จริงๆเอาแฟร์ๆ ตัดภาษีนำเข้าอุปกรณ์ ติดเสรี แต่ขายได้ในราคาที่รัฐขายออก ...

ออฟไลน์ locomotive

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 791
จำคำผมใว้นะ ก่อนที่เราๆ จะได้ใช้รถ EV ระบบรถไฟทั้งประเทศ ต้องใช้ไฟเหนือรางกันก่อน แค่นั้นจบ!!!  ถึงตอนนั้น ค่าไฟต้องแพงกว่า น้ำมัน แก๊ส 3-4 เท่าตัวแน่นอน รัฐบวกนายทุน เขาไม่ยอมให้ใครใช้ไฟกับรถได้ราคาถูกหรอก อย่าฝันเกิน

ออฟไลน์ Krongbun

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,407
    • อีเมล์
 :D solar cell ถ้ามีการใช้งงานเยอะ มันก็จะเกิดการพัฒนา
แต่ยังไงรัฐก็ยังต้องลงทุนทำระบบสำรองในช่วงที่พวกนี้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟให้ได้ (ไม่มีแดด)
มันยังดูดู เป็นระบบที่ยังไม่ 100% เพราะปัจจัยยังต้องพึ่งธรรมชาติ
ที่ญี่ปุ่นติดตั้ง solar cell กันเยอะมากๆ ไม่รู้รัฐบาลเค้าทำยังไง ฝนตกเยอะด้วย

ถ้าเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าได้นี่สิน่าสนใจกว่าเยอะเลยครับ น้ำทะเลมีมากมายมหาศาล

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,060
:D solar cell ถ้ามีการใช้งงานเยอะ มันก็จะเกิดการพัฒนา
แต่ยังไงรัฐก็ยังต้องลงทุนทำระบบสำรองในช่วงที่พวกนี้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟให้ได้ (ไม่มีแดด)
มันยังดูดู เป็นระบบที่ยังไม่ 100% เพราะปัจจัยยังต้องพึ่งธรรมชาติ
ที่ญี่ปุ่นติดตั้ง solar cell กันเยอะมากๆ ไม่รู้รัฐบาลเค้าทำยังไง ฝนตกเยอะด้วย

ถ้าเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าได้นี่สิน่าสนใจกว่าเยอะเลยครับ น้ำทะเลมีมากมายมหาศาล
พูดถึงญี่ปุ่นแล้วนึกได้ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงไม่ค่อยใช้ geothermal หว่า ทั้งๆที่ประเทศมีแหล่งน้ำร้อนใต้ดินเยอะแยะ

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,768
ถ้าแดดไม่ค่อยดีก็ไม่ค่อยรุ่ง หนักค่าแบตด้วย(แบตในระบบโซลาร์)

ออฟไลน์ NoName__???

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,152
:D solar cell ถ้ามีการใช้งงานเยอะ มันก็จะเกิดการพัฒนา
แต่ยังไงรัฐก็ยังต้องลงทุนทำระบบสำรองในช่วงที่พวกนี้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟให้ได้ (ไม่มีแดด)
มันยังดูดู เป็นระบบที่ยังไม่ 100% เพราะปัจจัยยังต้องพึ่งธรรมชาติ
ที่ญี่ปุ่นติดตั้ง solar cell กันเยอะมากๆ ไม่รู้รัฐบาลเค้าทำยังไง ฝนตกเยอะด้วย

ถ้าเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าได้นี่สิน่าสนใจกว่าเยอะเลยครับ น้ำทะเลมีมากมายมหาศาล
พูดถึงญี่ปุ่นแล้วนึกได้ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงไม่ค่อยใช้ geothermal หว่า ทั้งๆที่ประเทศมีแหล่งน้ำร้อนใต้ดินเยอะแยะ

อยากรู้ด้วยคน ;D

ออฟไลน์ Mike

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,566
มันไม่ใช่แค่เรื่อง มิเตอร์หมุนครับ กระแส I ต่างหาก
เคยเห็น คนที่ผลิตเองใช้ Solar cell on grid แล้วมา โวยวาย การไฟฟ้า
ที่เค้าต้องควบคุมเพราะ การจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับ เข้าระบบสายส่ง นั้นมีเงื่อนไข ที่ต้องควบคุมเยอะ Voltage, Phase, ความถี่ พวกนี้คุณควบคุมได้แม่นยำ ไหม?
ที่สำคัญ ถ้าเค้าตัดไฟ down sub station ซ่อมเป็นโซนๆ แต่บ้านคุณดันจ่ายไฟ โดยที่เค้าคุมไม่ได้ ก็อันตรายกับ คนซ่อม ครับ

ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า
ไม่มีส่วนได้เสียกับ PEA, MEA, EGAT บลาๆ อะไรทังนั้น
Next Gen Ford Everest 2.0 Titanium+ 4x4
Honda HRV e:HEV RS 22
SUBARU XV 2.0i-P 16
HONDA City SV 12
FORD Ranger Hi Rider 4DR XLT 2.2 TDCi 12
FORD Ranger Hi Rider OpenCab LIMITED 2.5 TDCi 08
ISUZU Dragon Eye SpaceCab SLX 2.8 00
TOYOTA Hilux Mighty X 94
MITSUBISHI Cyclone 94
TOYOTA Hilux Super Star 88

ออฟไลน์ HHHsung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,377
เรื่อง solar cell ขอออกความเห้นบ้างนะครับ อาจจะเห็นแย้งใครหลายคน โดยเฉพาะนักวิชาการภาคมหาวิทยาลัย

การผลิตไฟฟ้าเกือบทั้งหมดของไทย มาจากการเอาก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ น้ำมันเตามาต้มน้ำ เอาไอน้ำที่ได้จากการต้มไปปั้นกังหันผลิตไฟฟ้า

เพื่อให้ได้ไอน้ำทีมีแรงดันและความถี่คงที และเพียงพอเวลามีความต้องการไฟฟ้าเฉียบพลัน จึงต้องทำการต้มน้ำตลอดเวลา

พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจึงมีปริมาณสูงต่อเนื่อง ทำให้ช่วงไหนความต้องการทางไฟฟ้าลดลง พลังงานที่ผลิตออกมาก็ต้องถูกทิ้งไป

อย่างที่รู้กัน พลังงานไฟฟ้าจาก solar cell มันไม่แน่ไม่นอน มีแดดพลังงานก็เพิ่ม ไม่มีแดดพลังงานก็ลด

จึงทำให้พลังงานลักษณะนี้ ไม่ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ได้มากอย่างที่เราเข้าใจ เพราะ กฟผ. ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่า

solar cell จะผลิตออกมาตอนไหน เท่าไหร่ เพื่อจะได้ลดกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสม

ในต่างประเทศ การผลิตไฟฟ้าจาก solar cell ในหลายพื้นที่ จึงต้องมีแบตเตอรี่ เพื่อกักเก็บ

และ ควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาอย่างคงที่ครับ

ปล. เห็นหลายท่านสงสัยว่าทำไม ภาครัฐจึงไม่รับซื้อไฟฟ้าจาก solar cell จริง ในความเห้นส่วนตัว ถ้าเปิดรับซื้อจริง

เกิดระบบ solar cell มีคนนิยมใช้ และมีปริมาณมาก จะเกิดปัญหาในระบบการจ่ายไฟฟ้าแน่นอน

เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อยากจะจ่ายห็จ่าย อยากจะหยุดก็หยุด คล้ายๅ มีโหลดขนาดใหญ่เปิดๆ ปิดๆ

แรงดันไฟฟ้า ก็จะขึ้นๆ ลงๆ ตามสภาพแดด ซึ่งมันไม่ดีต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเราๆ ท่านๆ แน่ๆ


ออฟไลน์ gundam126

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 722
    • อีเมล์
คนตั้งกระทู้ ข้อมูลด้านไฟฟ้าผิดนะ เดี๋ยวคนอ่านคนอื่นๆจะเข้าใจผิด ไม่ใช่ว่าจะตั้งโซล่าเซลเอาไฟฟ้าเข้าบ้าน แล้วก็ส่งกลับการไฟฟ้าได้ ถ้าใช้แล้วมันไม่เชื่อมเข้าสายส่งก็ทำไปเถอะ ตอนนี้ผมมาเปิดโรงโม่หินที่ลาว เรื่องกระแสไฟฟ้าก็ไม่ต่างจากไทย ถ้าจะใช้ไฟจากหลวง ก็ต้องสับสวิตช์ไฟเราเอง ที่ลาวไฟหลวงดับบ่อยๆ เราก็ต้องสับสวิตช์ตัดไฟหลวงแล้วใช้ไฟจากเครื่องปั่นไฟ ที่ต้องสับสวิตช์เพราะไม่ให้มีการส่งกระแสไฟเข้าสายส่งร่วมกัน หลวงต้องมีการสำรองไฟเข้าไปในพื้นที่ที่เราต้องการใช้งานด้วย

ออฟไลน์ tongtom

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 301
มันไม่ใช่แค่เรื่อง มิเตอร์หมุนครับ กระแส I ต่างหาก
เคยเห็น คนที่ผลิตเองใช้ Solar cell on grid แล้วมา โวยวาย การไฟฟ้า
ที่เค้าต้องควบคุมเพราะ การจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับ เข้าระบบสายส่ง นั้นมีเงื่อนไข ที่ต้องควบคุมเยอะ Voltage, Phase, ความถี่ พวกนี้คุณควบคุมได้แม่นยำ ไหม?
ที่สำคัญ ถ้าเค้าตัดไฟ down sub station ซ่อมเป็นโซนๆ แต่บ้านคุณดันจ่ายไฟ โดยที่เค้าคุมไม่ได้ ก็อันตรายกับ คนซ่อม ครับ

ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า
ไม่มีส่วนได้เสียกับ PEA, MEA, EGAT บลาๆ อะไรทังนั้น


อันนี้ ถูกต้องครับ เมื่อ 3ปีก่อน เพื่อนผมทำให้บริษัทนึง แถว อุดรฯ หนองคาย เวลาสลับไปใช้ไฟจากโซลาร์ฯ ตอน 6โมงเย็น ไฟตก จนดับ ทั้งตำบล ตู้ATM ที่บ้านที่ธนาคารมาเช่า ก็ต้องรีเซตระบบใหม่(ถ้ามันดับนานกว่า5นาทีนะครับ เพราะUPSไฟหมด) แต่หลังๆ มานี้ น่าจะแก้ได้ดีแล้ว เพราะไม่คอ่ยดับ (ย้ำไม่ค่อยดับ อาจจะเดือนละ1ครั้ง จากที่ดับเกือบทุกครั้งที่สวิทไปหาไฟโซลาร์ฯ )

ถ้าอยากใช้ ต้องแม่น เพราะการที่ไฟดับ ไฟตกทีนึง เอกชนฟ้องการไฟฟ้าได้นะครับ  มูลค่าตรงนี้ใครรับผิดชอบ

อยากได้อยากทำ ก็ต้องรับผิดชอบตามด้วย ปัจจุบัน ผมว่าดีขึ้นเยอะแล้ว น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "ไม่มีปัญหา" แต่นั่นคือ ยังไม่มี lotus express หรือ บิ๊กซี อะไรไปตั้ง คือ ยังเป็นหมู่บ้านๆ มืดค่ำดูหลังหลังข่าว แล้วปิดไฟนอนอ่ะครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2017, 10:48:40 โดย tongtom »

ออฟไลน์ Teera

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,381
    • อีเมล์
เรื่องนี้ ถ้าคนเขาไม่รับฟัง พูดอธิบายไปเท่าไหร่เขาก็แอนตี้ครับ ผมทำงาน กฟผ. ครับพี่ มีแต่คนด่าครับช่วงนี้
คนตั้งกระทู้ ข้อมูลด้านไฟฟ้าผิดนะ เดี๋ยวคนอ่านคนอื่นๆจะเข้าใจผิด ไม่ใช่ว่าจะตั้งโซล่าเซลเอาไฟฟ้าเข้าบ้าน แล้วก็ส่งกลับการไฟฟ้าได้ ถ้าใช้แล้วมันไม่เชื่อมเข้าสายส่งก็ทำไปเถอะ ตอนนี้ผมมาเปิดโรงโม่หินที่ลาว เรื่องกระแสไฟฟ้าก็ไม่ต่างจากไทย ถ้าจะใช้ไฟจากหลวง ก็ต้องสับสวิตช์ไฟเราเอง ที่ลาวไฟหลวงดับบ่อยๆ เราก็ต้องสับสวิตช์ตัดไฟหลวงแล้วใช้ไฟจากเครื่องปั่นไฟ ที่ต้องสับสวิตช์เพราะไม่ให้มีการส่งกระแสไฟเข้าสายส่งร่วมกัน หลวงต้องมีการสำรองไฟเข้าไปในพื้นที่ที่เราต้องการใช้งานด้วย
ตามนั้น อยากติดใช้เอง ไม่มีใครว่าครับ ไม่ต้องปลดล๊อค !!!!!

ออฟไลน์ Nutcracker

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 383
    • อีเมล์
เรื่อง solar cell ขอออกความเห้นบ้างนะครับ อาจจะเห็นแย้งใครหลายคน โดยเฉพาะนักวิชาการภาคมหาวิทยาลัย

การผลิตไฟฟ้าเกือบทั้งหมดของไทย มาจากการเอาก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ น้ำมันเตามาต้มน้ำ เอาไอน้ำที่ได้จากการต้มไปปั้นกังหันผลิตไฟฟ้า

เพื่อให้ได้ไอน้ำทีมีแรงดันและความถี่คงที และเพียงพอเวลามีความต้องการไฟฟ้าเฉียบพลัน จึงต้องทำการต้มน้ำตลอดเวลา

พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจึงมีปริมาณสูงต่อเนื่อง ทำให้ช่วงไหนความต้องการทางไฟฟ้าลดลง พลังงานที่ผลิตออกมาก็ต้องถูกทิ้งไป

อย่างที่รู้กัน พลังงานไฟฟ้าจาก solar cell มันไม่แน่ไม่นอน มีแดดพลังงานก็เพิ่ม ไม่มีแดดพลังงานก็ลด

จึงทำให้พลังงานลักษณะนี้ ไม่ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ได้มากอย่างที่เราเข้าใจ เพราะ กฟผ. ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่า

solar cell จะผลิตออกมาตอนไหน เท่าไหร่ เพื่อจะได้ลดกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสม

ในต่างประเทศ การผลิตไฟฟ้าจาก solar cell ในหลายพื้นที่ จึงต้องมีแบตเตอรี่ เพื่อกักเก็บ

และ ควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาอย่างคงที่ครับ

ปล. เห็นหลายท่านสงสัยว่าทำไม ภาครัฐจึงไม่รับซื้อไฟฟ้าจาก solar cell จริง ในความเห้นส่วนตัว ถ้าเปิดรับซื้อจริง

เกิดระบบ solar cell มีคนนิยมใช้ และมีปริมาณมาก จะเกิดปัญหาในระบบการจ่ายไฟฟ้าแน่นอน

เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อยากจะจ่ายห็จ่าย อยากจะหยุดก็หยุด คล้ายๅ มีโหลดขนาดใหญ่เปิดๆ ปิดๆ

แรงดันไฟฟ้า ก็จะขึ้นๆ ลงๆ ตามสภาพแดด ซึ่งมันไม่ดีต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเราๆ ท่านๆ แน่ๆ
พลังงานถูกทิ้งไปมากช่วง off peak น่าจะสำรองเก็บไว้ได้ด้วยแบตเตอรี่ได้ครับ พอช่วง peak ก็หยุดการรับไฟ ได้ยินว่าเป็นอีกทางเลือกที่ไม่แพ้ Solar cal

ออฟไลน์ rut191

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,208
พี่ชายผมอยู่ กฟภ. แกบอกว่า
เรื่องติดโซล่าเซลล์ตามบ้านนั้นที่ให้ติดมิเตอร์ดิจิตอล
เพราะกันกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับออกมา
ถ้าสายส่งบริเวณนั้นไม่สามารถใช้งานได้ แล้วสมมุติโซล่าเซลล์บ้านนั้นจ่ายไฟฟ้าออกมา ซึ่งโหลดอาจจะไม่พอ ถ้าข้างบ้านเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อาจจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ครับ เลยต้องมีการควบคุม ขออนุญาติ ประมาณนี้ครับ





ออฟไลน์ tyo00

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 302
สุดท้ายมันก็เป็นปัญหาเดียวกับรถไฟฟ้านั่นแหละครับ คือ แบตเตอรี่

ถ้าเทคโนโลยีของแบตฯพัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถเก็บไฟได้เยอะ ประจุใหม่ได้เร็ว และที่สำญที่สุดคือมีราคาถูก ทั้งรถไฟฟ้าหรือว่าการผลิตไฟฟ้าเองตามบ้าน เกิดแน่นอนและก็เร็วด้วย

มันก็เหมือนกล้องดิจิตอลแหละครับ พอเรามีเมมโมรีที่มีขนาดเล็กและเก็บรูปได้มาก กล้องฟิล์มก็แทบจะตายไปหมดเลย

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,419
    • อีเมล์

Solar ติดได้อิสระนะครับ
แค่ คุณ อย่าต่อพ่วง เข้าระบบ ไฟฟ้า ของ รัฐบาล

เรา สามรถ ติดใช้ในบ้าน กันเองได้เลย
เพียง แต่ ณ ปัจจุบัน

มันไม่คุ้ในการลงทุนในระยะสั้นๆครับ


ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,419
    • อีเมล์
พลังงานถูกทิ้งไปมากช่วง off peak น่าจะสำรองเก็บไว้ได้ด้วยแบตเตอรี่ได้ครับ พอช่วง peak ก็หยุดการรับไฟ ได้ยินว่าเป็นอีกทางเลือกที่ไม่แพ้ Solar cal

off peak คืออะไรครับ ขยายความหน่อย
คุณไม่รู้ หรอกว่า ระบบ จัดการพลังงานไฟฟ้าใน ระดับ ประเทศมันซับซ้อน ยุ่งยากขนาดไหน
แบตเตอรี่ สำรองไฟราคาเท่าไหร่
ระดับ ภูมิภาค กำลังไม่เรียกกันระดับ เมกะวัติ  เอาแบตไหนมาสำรอง

การไฟฟ้า ผลิตไฟ ขึ้นลง ตามการใช้งานครับ
ช่วงไหนไม่ใช่ เค้ารถ กำลังการผลิต เช่น กลางคืน

แต่พวกโซล่า มันควบคุมไม่ได้ไง หากใช้แบต ก็วนมาที่ ขนาดแบตอีกนั่นละ ราคา เท่าไหร่ถึงจะพอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2017, 12:14:47 โดย mamaman »

ออฟไลน์ mr_jub

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 228
เรื่องแบบนี้ คนไม่เคยติดก็ไม่รู้

แผง 310 วัตต์ X 2
ไมโครกริด อินเวอตเตอร์ 600 วัตต

จากเดิม เคยใช้ไฟหลวงอยู่เฉลี่ย 400 หน่วยต่อเดือน
ตอนนี้ หลวงไม่ได้กินตังผมเหมือนเดิมแล้ว
เพราะผมผลิตได้เอง 60-90 หน่วยต่อเดือน (แดดมาก ก็ได้มาก)

ราคาแผง 6500 X 2 =
ไมโครกิดอินเวอตเตอร์ 6000 X 1=
วัสดุเล็กๆน้อยๆ เช่น มิเตอร์วัดไฟ สายไฟโซล่า ขั้วโซล่า อุปกรณ์จับยึด = 2000 เหลือๆ
ค่าแรงไม่มี
รวมเบ็ดเสด ไม่เกิน สองหมื่น
ทั้งระบบ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่เอาหรอก แบบชาต์ตแบต เปลือง ไม่คุ้ม)
สี่ปีเศษ คุ้มทุน 5555
ผมไม่อยากติดแผงมากกว่านี้  เดี่ยวมิเตอร์หมุนถอยหลัง 555



อนาคต รัฐกำลัง พิจารณาเรื่อง Net Metering แบบบ้านเมืองที่เค้าเริ่มพัฒนาแล้ว  ปลายปี นี้ครับ......................

และ อนาคต PeK  จะอยู่ช่วงกลางคืนแทน  เพราะมีแต่คนใช้ คนช่วยผลิดจากโซล่าไม่ส่งพลังงาน นี่เรื่องจริง

ผมขี่แต่รถตัวเมีย

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
มันไม่ใช่แค่เรื่อง มิเตอร์หมุนครับ กระแส I ต่างหาก
เคยเห็น คนที่ผลิตเองใช้ Solar cell on grid แล้วมา โวยวาย การไฟฟ้า
ที่เค้าต้องควบคุมเพราะ การจ่ายกระแสไฟฟ้ากลับ เข้าระบบสายส่ง นั้นมีเงื่อนไข ที่ต้องควบคุมเยอะ Voltage, Phase, ความถี่ พวกนี้คุณควบคุมได้แม่นยำ ไหม?
ที่สำคัญ ถ้าเค้าตัดไฟ down sub station ซ่อมเป็นโซนๆ แต่บ้านคุณดันจ่ายไฟ โดยที่เค้าคุมไม่ได้ ก็อันตรายกับ คนซ่อม ครับ

ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า
ไม่มีส่วนได้เสียกับ PEA, MEA, EGAT บลาๆ อะไรทังนั้น

ตรงนี้ก็เป็นปัญหาจริงๆนั่นหละครับ  :'(

จริงๆทีแรกอยากจะคุยเน้นย่อหน้าสุดท้าย เรื่องการติดใช้เอง
ต้องมีแบตสำรอง และราคายังสูงอยู่มาก ณ ปัจจุบัน
(อีกหน่อยถ้าหาเทคโนทดแทนจากเจ้าอื่น
หรือจีนมีไอเดียใหม่ๆสำหรับรถไฟฟ้าในอนาคตก็รอดูกันอีกที)

ถ้าเราได้ทำให้ถูกต้อง ก็จะต้องมีแยกกล่องต่างหากในการขายไฟคืน
ซึ่งตัวนี้ ถ้าสายส่งดับ ก็จะตัดไฟบ้านไม่ให้รั่วออกไปด้วยอยู่ดี

ตอนศึกษาก็จำได้ แต่พอเห็นข่าวคนโวยบ่อยเลยลืมไปเลย  :'(
ใครมีอะไรเสริมมาหรือแย้งมาให้ถูกต้องดีแล้วครับ ขอให้คุยกันดีๆก็พอ

อันนี้ต้องขออภัยในความเลินเล่อ ชวนคุยออกทะเลเอามันในส่วนอื่นมากไปหน่อย  :-[
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
คนตั้งกระทู้ ข้อมูลด้านไฟฟ้าผิดนะ เดี๋ยวคนอ่านคนอื่นๆจะเข้าใจผิด ไม่ใช่ว่าจะตั้งโซล่าเซลเอาไฟฟ้าเข้าบ้าน แล้วก็ส่งกลับการไฟฟ้าได้ ถ้าใช้แล้วมันไม่เชื่อมเข้าสายส่งก็ทำไปเถอะ ตอนนี้ผมมาเปิดโรงโม่หินที่ลาว เรื่องกระแสไฟฟ้าก็ไม่ต่างจากไทย ถ้าจะใช้ไฟจากหลวง ก็ต้องสับสวิตช์ไฟเราเอง ที่ลาวไฟหลวงดับบ่อยๆ เราก็ต้องสับสวิตช์ตัดไฟหลวงแล้วใช้ไฟจากเครื่องปั่นไฟ ที่ต้องสับสวิตช์เพราะไม่ให้มีการส่งกระแสไฟเข้าสายส่งร่วมกัน หลวงต้องมีการสำรองไฟเข้าไปในพื้นที่ที่เราต้องการใช้งานด้วย

เพิ่มในบทความแล้วครับ แหะๆ  :-[
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
พี่ชายผมอยู่ กฟภ. แกบอกว่า
เรื่องติดโซล่าเซลล์ตามบ้านนั้นที่ให้ติดมิเตอร์ดิจิตอล
เพราะกันกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับออกมา
ถ้าสายส่งบริเวณนั้นไม่สามารถใช้งานได้ แล้วสมมุติโซล่าเซลล์บ้านนั้นจ่ายไฟฟ้าออกมา ซึ่งโหลดอาจจะไม่พอ ถ้าข้างบ้านเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้อาจจะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ครับ เลยต้องมีการควบคุม ขออนุญาติ ประมาณนี้ครับ

เยี่ยมเลยครับ คุยกันดีๆ ผมพลาดเองแหละครับ  :'(
แต่แย้งมาแบบนี้ทั้งขอบคุณ ทั้งชื่นใจ  ;D
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
เรื่องแบบนี้ คนไม่เคยติดก็ไม่รู้

แผง 310 วัตต์ X 2
ไมโครกริด อินเวอตเตอร์ 600 วัตต

จากเดิม เคยใช้ไฟหลวงอยู่เฉลี่ย 400 หน่วยต่อเดือน
ตอนนี้ หลวงไม่ได้กินตังผมเหมือนเดิมแล้ว
เพราะผมผลิตได้เอง 60-90 หน่วยต่อเดือน (แดดมาก ก็ได้มาก)

ราคาแผง 6500 X 2 =
ไมโครกิดอินเวอตเตอร์ 6000 X 1=
วัสดุเล็กๆน้อยๆ เช่น มิเตอร์วัดไฟ สายไฟโซล่า ขั้วโซล่า อุปกรณ์จับยึด = 2000 เหลือๆ
ค่าแรงไม่มี
รวมเบ็ดเสด ไม่เกิน สองหมื่น
ทั้งระบบ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่เอาหรอก แบบชาต์ตแบต เปลือง ไม่คุ้ม)
สี่ปีเศษ คุ้มทุน 5555
ผมไม่อยากติดแผงมากกว่านี้  เดี่ยวมิเตอร์หมุนถอยหลัง 555



อนาคต รัฐกำลัง พิจารณาเรื่อง Net Metering แบบบ้านเมืองที่เค้าเริ่มพัฒนาแล้ว  ปลายปี นี้ครับ......................

และ อนาคต PeK  จะอยู่ช่วงกลางคืนแทน  เพราะมีแต่คนใช้ คนช่วยผลิดจากโซล่าไม่ส่งพลังงาน นี่เรื่องจริง

ก็เรียกได้ว่าข่าวดีที่รัฐเริ่มพิจารณา Net Metering  ;D
ขอบคุณข้อมูลจากการติดใช้จริงด้วยครัช

ส่วนประเด็นอื่นก็ .. จุ๊ จุ๊ อย่าเอ็ดไป  ;D
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,419
    • อีเมล์
เรื่องแบบนี้ คนไม่เคยติดก็ไม่รู้

แผง 310 วัตต์ X 2
ไมโครกริด อินเวอตเตอร์ 600 วัตต

จากเดิม เคยใช้ไฟหลวงอยู่เฉลี่ย 400 หน่วยต่อเดือน
ตอนนี้ หลวงไม่ได้กินตังผมเหมือนเดิมแล้ว
เพราะผมผลิตได้เอง 60-90 หน่วยต่อเดือน (แดดมาก ก็ได้มาก)

ราคาแผง 6500 X 2 =
ไมโครกิดอินเวอตเตอร์ 6000 X 1=
วัสดุเล็กๆน้อยๆ เช่น มิเตอร์วัดไฟ สายไฟโซล่า ขั้วโซล่า อุปกรณ์จับยึด = 2000 เหลือๆ
ค่าแรงไม่มี
รวมเบ็ดเสด ไม่เกิน สองหมื่น
ทั้งระบบ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่เอาหรอก แบบชาต์ตแบต เปลือง ไม่คุ้ม)
สี่ปีเศษ คุ้มทุน 5555
ผมไม่อยากติดแผงมากกว่านี้  เดี่ยวมิเตอร์หมุนถอยหลัง 555



อนาคต รัฐกำลัง พิจารณาเรื่อง Net Metering แบบบ้านเมืองที่เค้าเริ่มพัฒนาแล้ว  ปลายปี นี้ครับ......................

และ อนาคต PeK  จะอยู่ช่วงกลางคืนแทน  เพราะมีแต่คนใช้ คนช่วยผลิดจากโซล่าไม่ส่งพลังงาน นี่เรื่องจริง

310WX2 นี่ ประสิทธิภาพจริงๆ เท่าไหร่ครับ ถึง 50 % ไหม
กำลังไฟ สูง ในบ้าน ก็ W ครับ
ว่าแต่ อปก ถูกไปไหมครับ หาที่ไหนเนี่ย 

ผมแค่แอร์ บ้าน ตัวเดียวก็ราว 700 W แล้ว
ไมโครเวพ 800W
ทีวี 50W
พัดลม 50W
เตารีด 500W
หม้หุงข้าว 500 W
เครื่อว ซักผ้า 500 W

ถึงบอกด้วย ราคา ทุนปัจจุบัน มันเหมาะกับ ที่ ทุรกันดาร นะถูกแล้ว
ไม่ต้อคิดเรื่องเอามา ชาร์ทรถยนต์เลย ไม่คุ้ม

โซล่า 600 W นี่ผลิตไฟจริงๆ ได้ไม่ถึง 50 % หรอก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2017, 13:57:00 โดย mamaman »

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
เรื่อง solar cell ขอออกความเห้นบ้างนะครับ อาจจะเห็นแย้งใครหลายคน โดยเฉพาะนักวิชาการภาคมหาวิทยาลัย

การผลิตไฟฟ้าเกือบทั้งหมดของไทย มาจากการเอาก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และ น้ำมันเตามาต้มน้ำ เอาไอน้ำที่ได้จากการต้มไปปั้นกังหันผลิตไฟฟ้า

เพื่อให้ได้ไอน้ำทีมีแรงดันและความถี่คงที และเพียงพอเวลามีความต้องการไฟฟ้าเฉียบพลัน จึงต้องทำการต้มน้ำตลอดเวลา

พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจึงมีปริมาณสูงต่อเนื่อง ทำให้ช่วงไหนความต้องการทางไฟฟ้าลดลง พลังงานที่ผลิตออกมาก็ต้องถูกทิ้งไป

อย่างที่รู้กัน พลังงานไฟฟ้าจาก solar cell มันไม่แน่ไม่นอน มีแดดพลังงานก็เพิ่ม ไม่มีแดดพลังงานก็ลด

จึงทำให้พลังงานลักษณะนี้ ไม่ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ได้มากอย่างที่เราเข้าใจ เพราะ กฟผ. ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่า

solar cell จะผลิตออกมาตอนไหน เท่าไหร่ เพื่อจะได้ลดกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสม

ในต่างประเทศ การผลิตไฟฟ้าจาก solar cell ในหลายพื้นที่ จึงต้องมีแบตเตอรี่ เพื่อกักเก็บ

และ ควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายออกมาอย่างคงที่ครับ

ปล. เห็นหลายท่านสงสัยว่าทำไม ภาครัฐจึงไม่รับซื้อไฟฟ้าจาก solar cell จริง ในความเห้นส่วนตัว ถ้าเปิดรับซื้อจริง

เกิดระบบ solar cell มีคนนิยมใช้ และมีปริมาณมาก จะเกิดปัญหาในระบบการจ่ายไฟฟ้าแน่นอน

เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อยากจะจ่ายห็จ่าย อยากจะหยุดก็หยุด คล้ายๅ มีโหลดขนาดใหญ่เปิดๆ ปิดๆ

แรงดันไฟฟ้า ก็จะขึ้นๆ ลงๆ ตามสภาพแดด ซึ่งมันไม่ดีต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเราๆ ท่านๆ แน่ๆ

ตรงนี้กฟผ จึงมีกำลังการผลิตสูงสุดไว้อ้างอิงครับ(เพื่อรับมือช่วง peak สุดได้)
ช่วงกลางวัน ถ้าการใช้น้อย ก็จะ balance load ผลิตน้อยตามได้
พวกโหลดตามบ้านนี่ถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับโรงงาน ห้างร้านต่างๆ
(แต่ไอ้ที่เผาๆ ก็อาจจะเผาทิ้งเผื่อไว้ตามอย่างที่ว่า ก็น่าคิด)

โรงไฟฟ้าตอนรู้ข้อมูลแรกๆ มีอึ้งเหมือนกันครับ เอาความร้อนมาต้มน้ำ  :-[
จากนิวเคลียร์เอย ถ่านหิน เชื้อเพลิง ฯลฯ เพื่อเอามาต้มน้ำ ??? ??? ???
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ punn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,607
  • may the force lead your way ...
:D solar cell ถ้ามีการใช้งงานเยอะ มันก็จะเกิดการพัฒนา
แต่ยังไงรัฐก็ยังต้องลงทุนทำระบบสำรองในช่วงที่พวกนี้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟให้ได้ (ไม่มีแดด)
มันยังดูดู เป็นระบบที่ยังไม่ 100% เพราะปัจจัยยังต้องพึ่งธรรมชาติ
ที่ญี่ปุ่นติดตั้ง solar cell กันเยอะมากๆ ไม่รู้รัฐบาลเค้าทำยังไง ฝนตกเยอะด้วย

ถ้าเปลี่ยนน้ำให้เป็นไฟฟ้าได้นี่สิน่าสนใจกว่าเยอะเลยครับ น้ำทะเลมีมากมายมหาศาล
พูดถึงญี่ปุ่นแล้วนึกได้ว่าทำไมญี่ปุ่นถึงไม่ค่อยใช้ geothermal หว่า ทั้งๆที่ประเทศมีแหล่งน้ำร้อนใต้ดินเยอะแยะ

อยากรู้ด้วยคน ;D

ตรงนี้ถ้าคิดเล่นๆ การผลิตไฟหลักๆคือหาพลังมาปั่นเทอร์ไบน์
ก็จะเน้นไปทาง ต้มน้ำ แล้วเอาแรงดัน พลังที่เกิดมาปั่น

ที่ญี่ปุ่นก่อนหน้านี้เค้าเน้นนิวเคลียร์ พวกความร้อนใต้ดิน ถ้าไม่เยอะ กับใหญ่พอที่จะใช้งาน
คงสู้เอามาทำแหล่งท่องเที่ยวดูดเงินได้มากกว่าทำไฟฟ้าละมั้งครับ  :P

เห็นบางประเทศจะใช้ความร้อนใต้ดินเอามาผลิตไฟฟ้า
ยังต้องขุดใหญ่มาก ถึงจะใช้งานได้ ประเทศอนุรักษ์นิยม คนอยู่กันหนาแน่นคงจะยากหละครับ  ;D
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ

ออฟไลน์ mr_jub

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 228
เรื่องแบบนี้ คนไม่เคยติดก็ไม่รู้

แผง 310 วัตต์ X 2
ไมโครกริด อินเวอตเตอร์ 600 วัตต

จากเดิม เคยใช้ไฟหลวงอยู่เฉลี่ย 400 หน่วยต่อเดือน
ตอนนี้ หลวงไม่ได้กินตังผมเหมือนเดิมแล้ว
เพราะผมผลิตได้เอง 60-90 หน่วยต่อเดือน (แดดมาก ก็ได้มาก)

ราคาแผง 6500 X 2 =
ไมโครกิดอินเวอตเตอร์ 6000 X 1=
วัสดุเล็กๆน้อยๆ เช่น มิเตอร์วัดไฟ สายไฟโซล่า ขั้วโซล่า อุปกรณ์จับยึด = 2000 เหลือๆ
ค่าแรงไม่มี
รวมเบ็ดเสด ไม่เกิน สองหมื่น
ทั้งระบบ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่เอาหรอก แบบชาต์ตแบต เปลือง ไม่คุ้ม)
สี่ปีเศษ คุ้มทุน 5555
ผมไม่อยากติดแผงมากกว่านี้  เดี่ยวมิเตอร์หมุนถอยหลัง 555



อนาคต รัฐกำลัง พิจารณาเรื่อง Net Metering แบบบ้านเมืองที่เค้าเริ่มพัฒนาแล้ว  ปลายปี นี้ครับ......................

และ อนาคต PeK  จะอยู่ช่วงกลางคืนแทน  เพราะมีแต่คนใช้ คนช่วยผลิดจากโซล่าไม่ส่งพลังงาน นี่เรื่องจริง

310WX2 นี่ ประสิทธิภาพจริงๆ เท่าไหร่ครับ ถึง 50 % ไหม
กำลังไฟ สูง ในบ้าน ก็ W ครับ
ว่าแต่ อปก ถูกไปไหมครับ หาที่ไหนเนี่ย 

ผมแค่แอร์ บ้าน ตัวเดียวก็ราว 700 W แล้ว
ไมโครเวพ 800W
ทีวี 50W
พัดลม 50W
เตารีด 500W
หม้หุงข้าว 500 W
เครื่อว ซักผ้า 500 W

ถึงบอกด้วย ราคา ทุนปัจจุบัน มันเหมาะกับ ที่ ทุรกันดาร นะถูกแล้ว
ไม่ต้อคิดเรื่องเอามา ชาร์ทรถยนต์เลย ไม่คุ้ม

โซล่า 600 W นี่ผลิตไฟจริงๆ ได้ไม่ถึง 50 % หรอก
ข้อมูลจริงครับ
คำว่าเปอร์เซน  ผมคงไม่พูด
แต่ผมบอกเป็นหน่วย  เพราะผมติด มิเตอร์สำหรับดูอุปกรณ์ชุดนี้
วันๆ ผมได้กี่หน่วย  ฝนตก ฟ้ามืด แดดน้อย ได้แค่ไหน


อยากให้แจง ค่าอุปกรณ์หร๋อ

ค่ามิเตอร์ แบบจากหมุน สามร้อยกว่าบาท ซื้อจากไทยวัสดุ
ค่าสายไฟโซล่า แปดเมตร  ห้าร้อยเศษๆ
ค่าขั้วต่อแผงโซล่า  80x4
กล่องไม้ ติดมิเตอร์ สี่สิบห้า
มิเตอร์ วัดแอมป์ 320 จาก เซียรังสิต
เบรคเกอร์ 5 แอมป์ 240
มิเตอร์ วัดโวลท์  DC จากแผง 240 จากเซียรังสิต
หมดแล้วครับ แค่นี้เอง ค่าแรงไม่มี
แผงวางบนหลังคา  หาเศษมิเนียม ยึดกับหลังคาแค่นั้นเอง

ผลิดไฟได้ เดือนละประมาณ 60-90 หน่วย (แล้วแต่แดด)
ผมจะพูดเป็นหน่วย  เพราะบอกแล้วว่า
ระบบนี้ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้าในบ้าน
พูดง่าย ผลิตเสริมไปในระบบไฟฟ้าในบ้าน
ผมขี่แต่รถตัวเมีย

ออฟไลน์ mr_jub

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 228
เรื่องแบบนี้ คนไม่เคยติดก็ไม่รู้

แผง 310 วัตต์ X 2
ไมโครกริด อินเวอตเตอร์ 600 วัตต

จากเดิม เคยใช้ไฟหลวงอยู่เฉลี่ย 400 หน่วยต่อเดือน
ตอนนี้ หลวงไม่ได้กินตังผมเหมือนเดิมแล้ว
เพราะผมผลิตได้เอง 60-90 หน่วยต่อเดือน (แดดมาก ก็ได้มาก)

ราคาแผง 6500 X 2 =
ไมโครกิดอินเวอตเตอร์ 6000 X 1=
วัสดุเล็กๆน้อยๆ เช่น มิเตอร์วัดไฟ สายไฟโซล่า ขั้วโซล่า อุปกรณ์จับยึด = 2000 เหลือๆ
ค่าแรงไม่มี
รวมเบ็ดเสด ไม่เกิน สองหมื่น
ทั้งระบบ เชื่อมต่อกับ ระบบไฟฟ้า ภายในบ้าน (ไม่เอาหรอก แบบชาต์ตแบต เปลือง ไม่คุ้ม)
สี่ปีเศษ คุ้มทุน 5555
ผมไม่อยากติดแผงมากกว่านี้  เดี่ยวมิเตอร์หมุนถอยหลัง 555



อนาคต รัฐกำลัง พิจารณาเรื่อง Net Metering แบบบ้านเมืองที่เค้าเริ่มพัฒนาแล้ว  ปลายปี นี้ครับ......................

และ อนาคต PeK  จะอยู่ช่วงกลางคืนแทน  เพราะมีแต่คนใช้ คนช่วยผลิดจากโซล่าไม่ส่งพลังงาน นี่เรื่องจริง

ก็เรียกได้ว่าข่าวดีที่รัฐเริ่มพิจารณา Net Metering  ;D
ขอบคุณข้อมูลจากการติดใช้จริงด้วยครัช

ส่วนประเด็นอื่นก็ .. จุ๊ จุ๊ อย่าเอ็ดไป  ;D
เนี่ยแหละ ของจริงครับ
เรื่องอื่นๆ จุ๊ๆๆ ถูกต้องแล้วครับ
ผมขี่แต่รถตัวเมีย

ออฟไลน์ Boycm009

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 643
การที่จะขายไฟฟ้าให้กับ PEA ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นะครับ จะต้องมีการควบคุมที่ดี
การตั้งค่าต่างๆ ให้แม่นยำและจ่ายกระแสไฟฟ้าสม่ำเสมอนะครับ ไม่ใช่เวลากระแสไฟเยอะ
ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา พอเวลาที่กระแสไฟฟ้าไม่พอก็หยุดไม่ได้นะครับ ต้องมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ตลอดตาม โหลดที่ตกลงกันไว้ จ่ายเกิน การไฟฟ้าไม่จ่ายเงินให้นะครับ แต่ถ้าจ่ายขาด
โดนปรับนะครับ แล้วราคาที่ว่า รัฐซื้อคืนราคา 10 กว่าบาท ไม่ใช่นะครับ จากที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทางโรงงานไฟฟ้า ที่ว่าคนทั้วไปจะทำสัมปทานขายไฟฟ้า Solar cell ให้กับ PEA นะครับ

ออฟไลน์ lay

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,274
สุดท้ายมันก็เป็นปัญหาเดียวกับรถไฟฟ้านั่นแหละครับ คือ แบตเตอรี่

ถ้าเทคโนโลยีของแบตฯพัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถเก็บไฟได้เยอะ ประจุใหม่ได้เร็ว และที่สำญที่สุดคือมีราคาถูก ทั้งรถไฟฟ้าหรือว่าการผลิตไฟฟ้าเองตามบ้าน เกิดแน่นอนและก็เร็วด้วย

มันก็เหมือนกล้องดิจิตอลแหละครับ พอเรามีเมมโมรีที่มีขนาดเล็กและเก็บรูปได้มาก กล้องฟิล์มก็แทบจะตายไปหมดเลย

+1ครับ    แบตเตอรี่