Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??

tarahlm

สืบเนื่องจากกระทู้เก่า http://community.headlightmag.com/index.php?topic=61134.0
เราอาจจะมีความเข้าใจเรื่องเอนจิ้นเบรก-engine braking ที่แตกต่างกันไป..

ขอเสนอข้อมูลที่อาจจะเป็นเรื่องทางเทคนิค อ่านเข้าใจยากนิดหน่อย
อาศัยเอามาจาการค้นหาอ่านเอง  ผิดถูกอย่างไรเพิ่มเติมกันได้ครับ

..รถเครื่องยนต์เบนซิน เมื่อกล่าวถึงengine brakeนั้น หมายถึง ขณะเมื่อผู้ขับขี่มีการปล่อยเท้าจากคันเร่ง
แล้วมีกลไกที่ไม่ใช่จากการเหยียบเบรกของรถ มาช่วยกระทำหน่วงความเร็วชองรถให้ลดลงด้วย
แทนที่รถจะไหลไปเรื่อยตามแรงส่งก่อนหน้า

จะแบ่งengine brake ตามกลไกการทำงานเป็น
/จากตัวเครื่องยนต์ ขณะปล่อยคันเร่ง ลิ้นปีกผีเสื้อจะปิดลง การไหลเข้าของอากาศไอดีจะน้อยลง
เกิดแรงสุญญากาศในบริเวณที่อยู่หลังลิ้นปีกผีเสื้อมากขึ้น
ทำให้การเคลื่อนตัวลงของกระบอกสูบเพื่อดูดอากาศจะมีแรงต้านมากขึ้น
(แบบเราดึงกระบอกฉีดยาที่มีการอุดรูไว้อยู่)
จึงเสมือนการหน่วงของกำลังเครื่องยนต์ จากการที่ลูกสูบส่งกำลังต่อไปยังcrankshaft
https://en.wikipedia.org/wiki/Engine_braking

/จากแรงฝืดของระบบส่งกำลัง ซึ่งก็เน้นไปที่ตัวระบบเกียร์ของรถนั่นเอง engine brakeที่เราพูดกันส่วนใหญ่ในที่นี้
ก็หมายถึงจากกลไกส่วนนี้

แต่จะกล่าวถึงเฉพาะเอนจิ้นเบรกของเกียร์อัตโนมัติแบบเดิมๆทั่วไปที่รู้จักกัน-conventional automatic transmission
(ที่ไม่ใช่dual clutch,ไม่ใช่CVT -ตัวผมยังไม่มีข้อมูลกลไกการทำงานengine brake เกียร์สองชนิดนี้)


แต่เรื่องของengine brake  อาจต้องแยกจาก การลดตำแหน่งเกียร์(downshift)เองขณะชะลอความเร็วล/ ชะลอจอด(coasting)
ซึ่งเป็นขั้นตอนจากการเขียนโปรแกรมของระบบการทำงานของเกียร์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ของรถแต่ละยี่ห้อ/แต่ละรุ่น อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง

ถ้าจะพูดถึงengine brakeจริงๆ ต้องหมายถึงที่ตำแหน่งเกียร์นั้นๆ มีกลไกการทำงานภายในเกียร์ที่มีแรงฝืดเพื่อหน่วงความเร็วลงเอง

ขอยกตัวอย่างรถคันเก่า เกียร์อัตโนมัติแบบconventional  รุ่นเกียร์ชื่อ CD4E (มีใส่ใน Mondeo,Escape)
มีก้านโยกคันเกียร์เลือกตำแหน่งได้ดังนี้ P-R-N-D-2-1

จากข้อมูลที่ได้มา เกียร์ตัวนี้ ถ้าเข้า(ก้านคัน)เกียร์ D จะมีการเบรกที่เรียกว่า coast brake ที่ตำแหน่งเกียร์ 4
แต่พอกดปุ่ม OD OFF (เกียร์4จะหายไป มีแค่เกียร์ 1 2 3) จะมี coast brake ที่ตำแหน่งเกียร์ 2  และ 3

แต่ถ้าโยกคันเกียร์มาตำแหน่งเกียร์ M 2 เกียร์จะถูกล็อคที่ตำแหน่งเกียร์2ตลอด และมีcoast brakeที่ตำแหน่งเกียร์2
ถ้าโยกคันเกียร์มาตำแหน่ง M 1 เกียร์จะถุกล็อคที่เกียร์1ตลอดเวลา และมีcoast brakeที่ตำแหน่งเกียร์1

หมายความอย่างไร?

คือ / ถ้าขับรถเข้าโยกคันเกียร์เข้าD จนได้ความเร็วเพิ่มขึ้นรถเปลี่ยนเกียร์ขึ้น1-2-3-จนได้ถึงตำแหน่งเกียร์4
แล้วปล่อยคันเร่งเพื่อทำชะลอจอด coasting
ขณะนั้นที่ตำแหน่งเกียร์4 ก็จะมีengine brakeหน่วงให้ด้วย แต่เมือความเร็วลดลงเรื่อยๆ
ระบบเกียร์ก็ลดเกียร์ให้เอง พอเปลี่ยนเป็นเกียร์3 จะไม่มีengine brakeช่วย
ความเร็วต้องลดลงเองด้วยแรงเสียดทานล้อ น้ำหนักรถ และอื่นๆ เมื่อลดลงเกียร์ 2 จนเกียร์ 1
ก็ไม่มี engine brake

/แต่ถ้ารถเข้าคันเกียร์ D ที่เกียร์4 ใช้การกดปุ่ม OD OFF (ไฟODติดสว่าง) เกียร์รถเปลี่ยนเป็นเกียร์3ทันที
หากปล่อยคันเร่งทำชะลอจอด coasting ที่เกียร์3นี้มีengine brake
เมื่อความเร็วลดลงจนรถเปลี่ยนเป็นเกียร์2 ก็ยังมีengine brake   
แต่ถ้ายังปล่อยต่อจนเป็นเกียร์1 ตอนนี้จะไม่มีengine brakeแล้ว

ดูก็แปลกใจดี ตอนที่ใช้Mondeoอยู่ ก็ไม่เคยสังเกตุละเอียดมาก่อน
 
เพิ่งมาทราบข้อเท็จจริงไม่นานนี่เอง ต้องหาโอกาสไปทดลองจับความรู้สึกพิสูจน์ดูอีกที

/หรืออีกกรณี โยกก้านคันเกียร์เข้าเกียร์D ออกตัวให้คงความเร็วอย่าให้รถเปลี่ยนเกียร์ไปจากเกียร์1
แล้วยกเท้าปล่อยคันเร่ง ความเร็วก็จะชะลอลงแบบไม่มีengine brake
เปรียบเหมือนขี่จักรยาน แล้วปล่อยไหล ไม่ต้องออกแรงถีบ สามารถคาแป้นถีบอยู่นิ่งหรือถีบหมุนย้อนได้
ในเกียร์อาศัยการทำงานของ one way clutch


แต่คราวนี้โยกคันกียร์ไปที่ M1 (ที่ตำแหน่ง 1) เมื่อออกตัววิ่ง แล้วต่อมายกเท้าปล่อยคันเร่งชะลอจอด
จะมีการลดความเร็วแบบมีengine brake
http://www.carparts.com/transmission.htm

เป็นพราะการทำงานเกียร์1 ของสองกรณีนี้ มีการทำงานภายในเกียร์ที่ต่างกันบางส่วน
กรณีหลังมีการทำงานของชุด coast clutchด้วย

ก็คงเอาไปประยูกต์ใช้ให้ถูกต้องกันสำหรับการขับรถลงเขา/ลงจากที่สูง ว่าวิธีไหนดีกว่า ปลอดภัยกว่า
คือ ง่ายๆไปเที่ยวเขาสูงชัน ตอนลงเขาก็ใช้การโยกคันเกียร์เป็นเกียร์ต่ำจะปลอดภัยกว่า
 ฝึกใช้บ่อยๆให้ชำนาญ

สำหรับทางพื้นราบใช้งานทั่วไป ไม่จำเป็นต้องโยกเกียร์ให้เกียร์สึกหรอเร็วกว่าปกติ

สำหรับเกียร์ Powershift dual clutchคันที่ผมใช้ในปัจจุบัน ปล่อยไหลที่เกียร์D ค่อนข้างไหลลื่นเลย
หมือนกับว่าไม่มีengine brakeของเกียร์  ยังหาข้อมูลไม่ได้ ขณะนี้เลยยังไม่มีข้อมูลทีถูกต้องมายืนยัน






The Mechanics of Emotions

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 11:45:24 »
ถ้าหมายถึงเหยียบคันเร่งอย่างคงที่แล้วถอน ณ ความตำแหน่งเกียร์ต่างๆ ผมมีความรู้สึกว่ารถที่ผมใช้ CX-5 พอถอนคันเร่งแล้วรถจะมีอาการหน่วง
เหมือนมีอะไรมาดึงไว้คล้ายกับขี่มอเตอร์ไซค์ Fino แต่ Altis 2004 ถอนคันเร่งในสถานการณ์เดียวกันรถจะไหลตามแรงเฉื่อยแบบจักรยาน
ทั้งๆที่อยู่ในโหมด D ทั้งคู่ จะเห็นได้ชัดทีสุดก็คือขณะคลานออกตัวแล้วถอนคันเร่ง CX-5 จะมีอาการดึงรั้งไว้อย่างรู้สึกได้ชัด ซึ่งเป็นอาการที่น่ารำคาญพอสมควรครับ แต่ Altis จะเห็นได้ชัดเมื่อกด O/D ไว้ เร่งแล้วถอนจะรู้สึกว่ามันรั้งไว้เหมือนกันครับ
2010 BMW 325i M Sport
2016 Mazda CX-5 2.0S



Pegasus7700

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 11:48:30 »
ผมเข้าใจแบบคุณนะครับ. ขอบคุณที่สื่อสารกับสมาชิกครับ
...ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป...

MERCEDES BENZ W212 '12
FORD FOCUS 2.0 Gdi '13
HONDA Civic RS '20
VOLVO XC60 Hybrid Inscription '19
FORD EVEREST 2.0 Bi Turbo '22



natty ib-cm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 12:35:18 »
 ;) ความรู้ทั้งน้าน ขอบคุณครับ



liveshow

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 12:37:27 »
ถ้าเกียร์ธรรมดา ก็ยกคันเร่ง ปีกผีเสื้อปิด ปล่อยฟลายวิลไว้กะคลัชแล้วใส่เกียร์ รอบค้างน้ำมันจ่ายบางอากาศไม่มี หัวทิ่ม
a/t  ใช้ TC  ถ้ารอบไม่ถึง tc จะปล่อยเป็นรอบเดินเบาอากาศมันเข้าน้อย ถ้ารอบถึงมันจะคา TC ไว้ แล้วก็ไหลจนกว่า tc ปล่อยเป็นรอบเดินเบา

จับจากอาการจากรถที่ใช้
ก็แค่คนธรรมดา ไม่ลองก็ไม่รู้



punn

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 12:48:43 »
ขอบคุณครับ ละเอียดดี  :)

แต่ของโตเท่าที่ใช้มา auto เก่าๆคือนอกจากตำแหน่ง D คือสับไป 3,2,1
หรือเก่ากว่าก็กด OD/off ก็มี engine brake ทุกเกียร์เลยนะครับนี่
(ที่ D เหมือนจะแทบไม่มีเลย คล้ายแยกคลัทช์ออก)

ของน้องจูนถ้าเขาชันน้อยก็คาเกียร์ 3 มากหน่อยก็ 2 เอาแบบคลานลงดูวิวก็ 1 กันเลยทีเดียว  :-[

ท่านที่สอนผมขับรถท่านนึง สอนวิธีขับตามๆกันตอนรถเยอะๆก็แนะให้ใช้ engine brake
แนวๆว่าการตอบสนองคนกว่าจะเหยียบเบรคมันช้า ถ้ารถเยอะๆ
พอยกคันเร่ง เครื่องจะชะลอให้มีเวลาคิดอีกอึดใจ เลยถนัดแบบนี้ไปแล้วด้วยครับ  ;D

อีกกรณี คลานตามเกียร์ธรรมดา พี่ท่านหลายคนก็ไม่ใช้เบรค ดูไฟไม่ได้
ก็เลยต้องใช้เอนจินเบรคตามเค้าหละ แหะๆ
เป็นคนโลกปกติธรรมดา :)
ไม่โลกสวย และไม่โลกมืด อยู่กับความเป็นจริงและพลังงานบวก ..

ปราชญ์สอนสิ่งไหน คนก็จะจำสิ่งนั้น
ประสบการณ์เจอแบบไหน คนก็จะคิดทางนั้น
ต่างคนต่างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งเดียวกัน ก็จะออกมาแตกต่างกันไปครับ



Peet Sayumpoo

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 13:22:08 »
ถ้าเกียร์ธรรมดา ก็ยกคันเร่ง ปีกผีเสื้อปิด ปล่อยฟลายวิลไว้กะคลัชแล้วใส่เกียร์ รอบค้างน้ำมันจ่ายบางอากาศไม่มี หัวทิ่ม
a/t  ใช้ TC  ถ้ารอบไม่ถึง tc จะปล่อยเป็นรอบเดินเบาอากาศมันเข้าน้อย ถ้ารอบถึงมันจะคา TC ไว้ แล้วก็ไหลจนกว่า tc ปล่อยเป็นรอบเดินเบา

จับจากอาการจากรถที่ใช้

จังหวะนั้นน้ำมันไม่ใช่จ่ายบางครับ คือมันไม่จ่ายเลย หัวฉีดจะหยุดการทำงานไปเลย ไม่มีการเผาไหม้ใดๆทั้งสิ้น ณ ขณะนั้น
และตรงนี้แหละครับ คือ Engine Brake เพียวๆ

Engine Brake คือ การใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ทั้งหมด เพื่อชลอตวามเร็วรถ ในขณะที่เครื่องกับเกียร์ยังต่อกำลังกันอยู่
หลักๆก็จะมาจากแรงต้านของกระบอกสูบ กับแรงเสียดทานจากชิ้นส่วนที่เสียดสีกันอยู่

ท่านสามารถสัมผัส Engine Brake ด้วยพลังของท่านเองได้ ด้วยการไปหารถเกียร์ธรรมดา ทดสอบตอนดับเครื่องแล้วเข้าเกียร์
แล้วก็ลองเข็นดูครับ แล้วท่านจะเจอ Engine Brake มันเบรคท่านอยู่  ;D เอาง่ายๆก็ลองกับมอไซค์ครับ เข้าเกียร์แล้วจูง  :D
ถ้าท่านแรงดีพอจะดันมันไปได้ ก็จะพบว่าเครื่องนั้นจะหมุนไปด้วย

อย่างรถสิบล้อสมัยก่อน จะมีเบรคไอเสียด้วย(ไม่รู้สมัยนี้ยังมีป่าวนะครับ) ก็คือจะมีวาล์วในท่อไอเสีย แล้วใช้การปิดวาล์ว เพื่อให้ท่อไอเสียอั้น
ก็จะเกิดแรงต้านในกระบอกสูบมากขึ้น ณ จังหวะคาย ก็จะทำให้ Engine Brake มีมากขึ้นนั้นเองครับ

ระบบเกียร์ที่จะทำให้เกิด Engine Brake ได้ดีที่สุดคือเกียร์ที่ใช้ระบบแบบธรรมดาครับ เช่น เกียร์ธรรมดาแท้ๆ (Manual)
หรือพวก E-gear (เกียร์ธรรมดาคลัตช์เดี่ยวไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุค ค.ส 2000) หรือ DCT (เกียร์ธรรมดาคลัตช์คู่ไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุคนี้)
ครับ เกียร์พวกนี้ Engine Brake จะชัดเจนกว่าเกียร์ออโต้ที่ใช้ ทอร์คคอนเวอเตอร์+ชุดเฟืองแพลเน็ตทารี่อันซับซ้อนครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2017, 13:24:41 โดย Peet Sayumpoo »



Alcatraz

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 13:40:58 »
จขกท ขับเกียร์ธรรมดาแบบมีคลัทให้เหยียบเป็นรึป่าวครับ ถามงี้เราจะได้คุยกันต่อได้ในกรณีเกียร์ออโต้



BigCat

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 16:48:33 »
 8)พยายามอ่าน แต่สงสัยผมยังไม่แก่กล้าพอ
เอาเป็นว่า จังหวะใช้paddle ship ลดเกียร์ตอนความเร็วสูงเพื่อสาดโค้ง แล้วมีแรงเบรกมาหน่วงช่วยให้ขับสนุกขึ้นตอนเข้าโค้ง กับลดการเบรคเท้าน้อยลง ผมก็ยิ้มละครับ อิอิ
ขอบคุณสาระดีๆครับ  :D
Audi TT MK 3FL
BMW z4 e85
GLA 250 FL 2017
Nissan Teana L33 2014
Slk 200 R172 2014
Camry 2.4 2009
Civic dimension MT 1.7
Civic 3 doors รถคันแรก



tarahlm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 20:30:43 »

มีข้อสงสัยว่า

ทำไมบริษัทผู้ผลิตรถ ไม่ผลิตให้มีengine brakeทุกตำแหน่งเกียร์ไปเลย ?

การใช้ paddle shift ในรถเกียร์อัตโนมัติแบบconventional นี่ก็เหมือนการโยกคันเกียร์เอง
แบบmanual  ทำให้engine brakeมีทุกตำแหน่งเกียร์ที่กดเลือกใช่ไหม ?

พ่วงต่อไปว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การใช้ paddle shiftบ่อยๆ ทำให้การสึกหรอมากกว่าการใช้เกียร์Dปกติทั่วไปไหม ?




Peet Sayumpoo

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 21:39:07 »

มีข้อสงสัยว่า

ทำไมบริษัทผู้ผลิตรถ ไม่ผลิตให้มีengine brakeทุกตำแหน่งเกียร์ไปเลย ?

การใช้ paddle shift ในรถเกียร์อัตโนมัติแบบconventional นี่ก็เหมือนการโยกคันเกียร์เอง
แบบmanual  ทำให้engine brakeมีทุกตำแหน่งเกียร์ที่กดเลือกใช่ไหม ?

พ่วงต่อไปว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การใช้ paddle shiftบ่อยๆ ทำให้การสึกหรอมากกว่าการใช้เกียร์Dปกติทั่วไปไหม ?

แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจ Engine Brake นะครับ

เอางี้ครับ ไม่ต้องคิดเยอะ เดี๋ยวผมอธิบายง่ายๆให้ครับ คือ Engine Brake ไม่ใช้อะไรที่ต้องผลิตให้มีครับ
เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติของเครื่องยนต์อยู่แล้วครับ ที่จะต้องเกิดเวลายกคันเร่งหมด
ในขณะที่เครื่องกับเกียร์ยังต่อกำลังกันอยู่ (คลัตช์จับอยู่)


เพียงแต่สำหรับเกียร์ออโต้ ด้วยกลไกการส่งกำลังของมันที่ส่งกำลังผ่านชุดทอร์คคอนเวอเตอร์ จะมีของเหลวเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง
(น้ำมันเกียร์ออโต้นั่นแหละครับ) โดยในลูกทอร์คก็จะมีชุดคลัตช์อยู่ด้วย เป็นแบบคลัตช์เปียก แต่มันจะไม่จับแบบ 100% จนกว่ารอบจะขึ้นไปสูงๆ
หรืออยู่ที่เกียร์สูงๆ โดยปกติถ้าวิ่งในเมืองเกียร์ต่ำรอบต่ำก็จะส่งกำลังผ่านของเหลวเป็นหลัก เครื่องกับเกียร์ไม่ได้ต่อกำลัง 100%
เป็นเหตุผลว่าทำไมเกียร์ออโต้สามัญทั่วไป(แบบที่ใช้ชุดทอร์คคอนเวอเตอร์) ไม่ค่อยมี Engine Brake เท่าไหร่นัก
จริงๆก็มี แต่มันน้อยและรู้สึกถึง Engine Brake ยากกว่าของพวกเกียร์ธรรมดาครับ
ต่างจากเกียร์ธรรมดา ที่ส่งกำลังผ่านกลไกที่เป็นของแข็งทั้งหมด มีผ้าคลัตช์เป็นตัวกลาง แล้วจับ 100% ตลอดเวลา
(ยกเว้นว่าท่านจะเหยียบคลัตช์ให้มันจาก มันถึงจะไม่จับ) บวกกับชุดกลไกที่น้อยกว่าเบากว่า เรื่องเฉื่อยของชุดเฟืองกลไกทั้งหมดน้อยกว่า
Engine Brake ของเกียร์ธรรมดาจึงมีประสิทธิภาพมาก รู้สึกได้ง่าย การตอบสนองเวลาเหยียบคันเร่งหรือยกคันเร่งก็จะไวแบบทันใจวัยรุ่น

แล้วความแรงของ Engine Brake ก็ขึ้นอยู่กับอัตราทดเกียร์ด้วยครับ คือเกียร์ยิ่งต่ำ Engine Brake ก็จะยิ่งแรงมากขึ้น
เพราะที่เกียร์ต่ำกว่า ล้อก็จะหมุนเครื่องได้ยากกว่า เพราะอัตราทดนั้นเอง
ลองทดสอบสอบได้ด้วยการไปหามอไซค์มาแล้วตั้งขายกล้อหลังครับ แล้วเข้าเกียร์ แล้วเอามือหมุนล้อครับ
ลองดูเกียร์ต่ำสุดกับเกียร์สูงที่สุดครับ ดูว่าอันไหนล้อจะหมุนเครื่องยาก-ง่ายกว่ากัน แล้วจะพบคำตอบตามที่ผมบอกครับ


ปล. ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ลองอ่านเม้นก่อนหน้านี้ของผมเพิ่มเติมได้ครับ





SM.

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 15, 2017, 21:55:18 »
 8) 8) 8) 8)



tiger12r

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 10:48:23 »
รถรุ่นใหม่ๆมีปุ่มกดเบรคมือไฟฟ้า ถ้าขับอยู่ดีๆสัก120แล้วลูกคุณซนไปกดเข้า จะรู้สึกยังไงบ้างครับ  ;D
Wave100s->VIGO PreCab->VigoChamp4x4->CivicFC & REVO ROCCO4x4



bubball

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 11:32:03 »
ตอนเข้าไปอ่านกระทู้นั้นผมเองก็งงๆเหมือนกันว่า อ่าว ผมเข้าใจผิดมาตลอดหรอ 555555



HHHsung

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 11:39:05 »
อย่าหาว่าอย่างโน้นนี้เลยนะครับ ถ้าขับรถแล้วไม่มีความรู้เรื่องรถ อันตรายมาก

engine break เนื่ยควรเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานในการใช้รถเลยนะครับ ถ้าไม่เข้าใจ ขึ้นเขาลงเขา เบรคเฟดเมื่อไหร่ ถึงตายได้เลย



nuntapon.s

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 12:25:08 »
ถ้าเกียร์ธรรมดา ก็ยกคันเร่ง ปีกผีเสื้อปิด ปล่อยฟลายวิลไว้กะคลัชแล้วใส่เกียร์ รอบค้างน้ำมันจ่ายบางอากาศไม่มี หัวทิ่ม
a/t  ใช้ TC  ถ้ารอบไม่ถึง tc จะปล่อยเป็นรอบเดินเบาอากาศมันเข้าน้อย ถ้ารอบถึงมันจะคา TC ไว้ แล้วก็ไหลจนกว่า tc ปล่อยเป็นรอบเดินเบา

จับจากอาการจากรถที่ใช้

จังหวะนั้นน้ำมันไม่ใช่จ่ายบางครับ คือมันไม่จ่ายเลย หัวฉีดจะหยุดการทำงานไปเลย ไม่มีการเผาไหม้ใดๆทั้งสิ้น ณ ขณะนั้น
และตรงนี้แหละครับ คือ Engine Brake เพียวๆ

Engine Brake คือ การใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ทั้งหมด เพื่อชลอตวามเร็วรถ ในขณะที่เครื่องกับเกียร์ยังต่อกำลังกันอยู่
หลักๆก็จะมาจากแรงต้านของกระบอกสูบ กับแรงเสียดทานจากชิ้นส่วนที่เสียดสีกันอยู่

ท่านสามารถสัมผัส Engine Brake ด้วยพลังของท่านเองได้ ด้วยการไปหารถเกียร์ธรรมดา ทดสอบตอนดับเครื่องแล้วเข้าเกียร์
แล้วก็ลองเข็นดูครับ แล้วท่านจะเจอ Engine Brake มันเบรคท่านอยู่  ;D เอาง่ายๆก็ลองกับมอไซค์ครับ เข้าเกียร์แล้วจูง  :D
ถ้าท่านแรงดีพอจะดันมันไปได้ ก็จะพบว่าเครื่องนั้นจะหมุนไปด้วย

อย่างรถสิบล้อสมัยก่อน จะมีเบรคไอเสียด้วย(ไม่รู้สมัยนี้ยังมีป่าวนะครับ) ก็คือจะมีวาล์วในท่อไอเสีย แล้วใช้การปิดวาล์ว เพื่อให้ท่อไอเสียอั้น
ก็จะเกิดแรงต้านในกระบอกสูบมากขึ้น ณ จังหวะคาย ก็จะทำให้ Engine Brake มีมากขึ้นนั้นเองครับ

ระบบเกียร์ที่จะทำให้เกิด Engine Brake ได้ดีที่สุดคือเกียร์ที่ใช้ระบบแบบธรรมดาครับ เช่น เกียร์ธรรมดาแท้ๆ (Manual)
หรือพวก E-gear (เกียร์ธรรมดาคลัตช์เดี่ยวไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุค ค.ส 2000) หรือ DCT (เกียร์ธรรมดาคลัตช์คู่ไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุคนี้)
ครับ เกียร์พวกนี้ Engine Brake จะชัดเจนกว่าเกียร์ออโต้ที่ใช้ ทอร์คคอนเวอเตอร์+ชุดเฟืองแพลเน็ตทารี่อันซับซ้อนครับ
เฮ้ย!!!ไม่จ่ายเลยเหรอ ผมยังเข้าใจว่าจ่ายน้อยและมีการจุดระเบิดปกติ(ไม่ใช่จ่ายบางนะเพราะจ่ายบางกับจ่ายน้อยมันต่างกัน)  อย่างงี้ปิดกุญแจดับเครื่องเลยก็ไม่ต่างกันดิช่วงปล่อยไหล



rokrok

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 12:43:48 »
มันมี engine break ครับ แต่มันน้อยกว่า เมื่ออยู่ใน D เพราะว่าเกียร์มันเปิดให้หมุนฟรีได้ เพราะ lock up clutch ไม่ได้จับให้เกียร์ไม่มี slip

ถ้าสังเกตุ เวลาขับเกียร์ auto แล้วเร่งเครื่อง เครื่องมันจะไม่ได้ขึ้นแบบค่อยๆไต่แบบเกียร์manual แต่มันจะขึ้นไปค้างรอบสูงๆ แล้วค่อยๆไล่เพิ่มไป อันนี้คือ Torque converter ยอมปล่อยให้เครื่องและล้อ หมุนไม่เท่ากัน เพื่อเรียกแรงบิดให้มากขึ้น (ให้เครื่องขึ้นไปวิ่งที่รอบสูงแรงบิดดี แล้วล้อค่อยๆหมุนเร็วตาม)

แต่ในจังหวะเกียร์ สุดท้ายของ D เช่น เกียร์ 4 สำหรับ toyota พอเข้าเกียร์ไปสักพัก lock up clutch ก้จะจับเพื่อไม่ให้รอบเครื่องกะล้อ มี slip เกิดขึ้น เหตุผลเพื่อให้ efficiency สูงสุด เพื่อประหยัดน้ำมัน (Lock up clutch จะทำงานต่อเมื่อ รอบนิ่งคงที ไม่มีการเร่งหรือเปลี่ยนรอบเครื่อง เกิดได้กับทุกเกียร์ ถ้าคุณสามารถ ทำให้รถอยู่ในเกียร์นั้นๆ และนิ่งๆได้)

ข้างบนคือเหตุผลว่า ทำไมคุณรู้สึกว่า D ที่ตำแหน่งเกียร์สุดท้าย ถึงมี engine break ตลอดเวลา เพราะว่า lock up clutch มันจับอยู่นั้นเอง

ส่วน D ในตำแหน่งอื่นๆ นั้น ที่คุณไม่รู้สึก จริงๆมันก็มีอยู่ แต่ เกียร์มันslipได้ อยู่ คุณเลยว่าไม่มี engine break

ถ้าคุณลองขับ D แล้ว วิ่งให้เกียร์อยู่ในเกียร์ 3 ,2 ค้างไว้นานๆ แบบ cruising ได้ (เพื่อให้ lock up clutch ทำงาน) ทุกครั้งที่คุณถอนคันเร่ง ก็จะสัมผัส engine break แบบเต็มๆได้เช่นกันกับเกียร์สุดท้าย

ส่วนเหตุผลว่า ทำไม L-2-OD off ถึงรู้สึกได้ถึง engine break อย่างเต็มๆ ก็เพราะ lock up clutch มันจับคาไว้เลย เพราะพวกนี้เป็นเกียร์พิเศษ มีไว้ ลงเขา ขึ้นเนิน เร่งแซง ต่างๆนาๆ พิสูจน์ได้ด้วยการ ลองเข้าเกียร์ L,2 แล้วเร่งเครื่องจาก รอบสัก 2000ขึ้นไปดู (ที่รอบต่ำๆ 1000กว่าๆ lock up ก็ยังไม่จับ เพราะจับไม่ได้ เดี๋ยวรถดับ) จะเห็นว่ารอบเครื่องมันขึ้นแบบตรงๆ เหมือนรถmanualเลย

ซึ่งต่างจาก ตอนขับใน D ที่อธิบายว่า รอบเครื่องมันวิ่งขึ้นไปก่อนความเร็ว

เหตุผลประมาณนี้ครับ ถูกผิดช่วยแก้ด้วย แต่หลักการประมาณนี้แหละครับ



tarahlm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 12:46:31 »

มีข้อสงสัยว่า

ทำไมบริษัทผู้ผลิตรถ ไม่ผลิตให้มีengine brakeทุกตำแหน่งเกียร์ไปเลย ?

การใช้ paddle shift ในรถเกียร์อัตโนมัติแบบconventional นี่ก็เหมือนการโยกคันเกียร์เอง
แบบmanual  ทำให้engine brakeมีทุกตำแหน่งเกียร์ที่กดเลือกใช่ไหม ?

พ่วงต่อไปว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การใช้ paddle shiftบ่อยๆ ทำให้การสึกหรอมากกว่าการใช้เกียร์Dปกติทั่วไปไหม ?

แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจ Engine Brake นะครับ

เอางี้ครับ ไม่ต้องคิดเยอะ เดี๋ยวผมอธิบายง่ายๆให้ครับ คือ Engine Brake ไม่ใช้อะไรที่ต้องผลิตให้มีครับ
เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติของเครื่องยนต์อยู่แล้วครับ ที่จะต้องเกิดเวลายกคันเร่งหมด
ในขณะที่เครื่องกับเกียร์ยังต่อกำลังกันอยู่ (คลัตช์จับอยู่)


เพียงแต่สำหรับเกียร์ออโต้ ด้วยกลไกการส่งกำลังของมันที่ส่งกำลังผ่านชุดทอร์คคอนเวอเตอร์ จะมีของเหลวเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง
(น้ำมันเกียร์ออโต้นั่นแหละครับ) โดยในลูกทอร์คก็จะมีชุดคลัตช์อยู่ด้วย เป็นแบบคลัตช์เปียก แต่มันจะไม่จับแบบ 100% จนกว่ารอบจะขึ้นไปสูงๆ
หรืออยู่ที่เกียร์สูงๆ โดยปกติถ้าวิ่งในเมืองเกียร์ต่ำรอบต่ำก็จะส่งกำลังผ่านของเหลวเป็นหลัก เครื่องกับเกียร์ไม่ได้ต่อกำลัง 100%
เป็นเหตุผลว่าทำไมเกียร์ออโต้สามัญทั่วไป(แบบที่ใช้ชุดทอร์คคอนเวอเตอร์) ไม่ค่อยมี Engine Brake เท่าไหร่นัก
จริงๆก็มี แต่มันน้อยและรู้สึกถึง Engine Brake ยากกว่าของพวกเกียร์ธรรมดาครับ
ต่างจากเกียร์ธรรมดา ที่ส่งกำลังผ่านกลไกที่เป็นของแข็งทั้งหมด มีผ้าคลัตช์เป็นตัวกลาง แล้วจับ 100% ตลอดเวลา
(ยกเว้นว่าท่านจะเหยียบคลัตช์ให้มันจาก มันถึงจะไม่จับ) บวกกับชุดกลไกที่น้อยกว่าเบากว่า เรื่องเฉื่อยของชุดเฟืองกลไกทั้งหมดน้อยกว่า
Engine Brake ของเกียร์ธรรมดาจึงมีประสิทธิภาพมาก รู้สึกได้ง่าย การตอบสนองเวลาเหยียบคันเร่งหรือยกคันเร่งก็จะไวแบบทันใจวัยรุ่น

แล้วความแรงของ Engine Brake ก็ขึ้นอยู่กับอัตราทดเกียร์ด้วยครับ คือเกียร์ยิ่งต่ำ Engine Brake ก็จะยิ่งแรงมากขึ้น
เพราะที่เกียร์ต่ำกว่า ล้อก็จะหมุนเครื่องได้ยากกว่า เพราะอัตราทดนั้นเอง
ลองทดสอบสอบได้ด้วยการไปหามอไซค์มาแล้วตั้งขายกล้อหลังครับ แล้วเข้าเกียร์ แล้วเอามือหมุนล้อครับ
ลองดูเกียร์ต่ำสุดกับเกียร์สูงที่สุดครับ ดูว่าอันไหนล้อจะหมุนเครื่องยาก-ง่ายกว่ากัน แล้วจะพบคำตอบตามที่ผมบอกครับ


ปล. ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ลองอ่านเม้นก่อนหน้านี้ของผมเพิ่มเติมได้ครับ

ต้องขอขอบคุณครับสำหรับคำอธิบาย

ที่ตอนนี้เรากล่าวกันถึงเรื่องengine brakeของเกียร์อัตโนมัติแบบconventionalกันอยู่

นั่นคือพื้นฐานของการทำงานทั่วไป แต่ด้วยข้อจำกัดของคุณสมบัติบางประการ
ผู้คิดค้นเกียร์จึงต้องทำให้ในกลไกการทำงานซับซ้อนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

ที่ผมต้องตั้งเป็นข้อสงสัย เพื่อเน้นให้ท่านอื่นๆ ที่อาจเข้าใจว่า
ถ้าการมี engine brake มันมีประยชน์ต่อการขับขี่ ช่วยหน่วงความเร็วเมื่อต้องการชะลอแล้ว
แล้วทำไมผู้ผลิตจึงไม่ทำให้มีในทุกเกียร์?
ที่ท่านตอบอธิบายว่ามันมีอยู่แล้ว นั้นถุกต้องครับ ...แต่

..ก่อนอื่นมาดุก่อนว่า มนุษย์เราผลิตยานยนต์ขึ้นมาใช้ เราไม่ได้คิดถึงengine brake เป็นอะไรที่สำคัญในตอนแรกๆอยู่แล้ว เรามุ่งเน้นว่าให้กลไกทำงานภายในลื่นไหล ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ได้เปรียบเชิงกลมากที่สุด
เพื่อประโยชน์สุดท้ายคือประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุด ซึ่งก็ทำตามแนวเช่นนั้นเรื่อยมา

เมื่อรถยนต์ต้องมีการใช้กลไกที่จำเป็นอันหนึ่ง คือ ต้องมีการลดความเร็วในการใช้งานด้วยเสมอ
 ก็เลยมีการคิดเอาแรงต้านแรงเสียนทานภายในระบบ มาช่วยหน่วงความเร็ว(ร่วมกับการใช้เบรกตามปกติ)
ในที่นี่จะพูดแต่เรื่องของ(engine brake)ภายในระบบเกียร์เท่านั้น

แต่ด้วยลักษณะโครงสร้าง กลไกการทำงานของเกียร์อัตโนมัติแบบconventionนั้น ไม่มีแรงต้านเพียงพอ
ที่จะนำมาใช้เพื่อหน่วงความเร็ว-(ไม่เว้นแม้แต่ที่เกียร์1 -แน่ล่ะ แตกต่างจากลักษณะโครงสร้าง/กลไกทำงานของเกียร์manual)
วิศวกรผู้ผลิตเกียร์ก็ฉลาด มาออกแบบเปลี่ยนแปลงกลไกภายในเกียร์เล็กน้อย เพื่อให้เกิดแรงหน่วงนำมาใช้งาน
เพื่อเป็นengine brake
แต่ไม่ได้เอาหลักนี้มาใช้กับทุกสถานการณ์ ทุกตำแหน่งเกียร์
แต่เลือกใช้ตามที่คิดว่าเหมาะสม ถ้าใส่มาทุกเกียร์โดยไม่จำเป็นจะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพเปลืองเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น

จากตัวอย่างเดิมที่เคยยกมา เกียร์CD4E ที่ก้านคันเกียร์ตำแหน่งD จะจัดให้มีengine brake แค่ตำแหน่งเกียร์4 เท่านั้น
ตำแหน่ง 1-2-3  นี่ จะไม่มีengine brake
แล้วใช้กลไกที่ต่างไปในการเชื่อมต่อของชุดเฟืองplanetaryภายในตัวเกียร์ เพื่อให้ได้การทำงานที่เกียร์ 1-2 (และ/หรือ3)
ที่อาจใช้แทนว่า M1 M2  ซึ่งเป็นเกียร์1,2 ที่มีengine brake สำหรับเลือกไว้ใช้ในบางสถานการณ์ที่จำเป็น

ส่วนการกดปุ่ม O/D off ให้ไฟขึ้นของเกียร์ CD4E ก็คล้ายๆเปลี่ยนไปทำงานแบบเกียร์ M2 M3 มีengine brake
(แต่เกียร์ 1ยังคงเดิม ไม่มีengine brake)

ผมใช้แต่เกียร์อัตโนมัติของFord คราวนี้มาดูการทำงานของ Toyotaซึ่งก็คล้ายๆกัน
มีภาพ อธิบายการทำงานละเอียดดีมาก (แต่ก็ยังเข้าใจยากนิดเพราะผมก็ไม่ได้จบสายวิศวะ สายช่าง)

จาก  http://stuff.jaygroh.com/prius/Prius%20Info/Official%20Toyota%20Info/References/Technical%20Training/Fundamentals%20of%20Automatic%20Transmissions.pdf

ที่หน้า60
‘’ When the gear selector is placed in the 2−position, the second coast brake (Bl) is applied by way of the manual valve. When the second coast brake is applied, it holds the sun gear from rotating in either direction. Power flow is the same as when the transmission is driving the wheels with the selector in 2, as when the selector is in D. However, when the transmission is being driven by the wheels on deceleration, the force from the output shaft is transmitted to the front carrier, causing the front planetary pinion gears to revolve clockwise around the sun gear. Since the sun gear is held by the second coast brake, the planetary gears walk around the sun clockwise and drive the front planetary ring gear clockwise through the input shaft and torque converter to the crankshaft for engine braking. In contrast, while in second gear with the selector in D−position, the sun gear is held in the counterclockwise direction only and the sun gear rotates in a clockwise direction and there is no engine braking.

และบอกข้อได้ประโยชน์ของเกียร์ 2range (ก็คือ โยกมาที่เกียร์2 manual)
‘’ The advantage that "2" range has over "D2" is that the engine can be used to slow the vehicle on deceleration, and this feature can be used to aid in diagnosis.’’
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2017, 12:50:39 โดย tarahlm »



Peet Sayumpoo

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 13:40:23 »
ถ้าเกียร์ธรรมดา ก็ยกคันเร่ง ปีกผีเสื้อปิด ปล่อยฟลายวิลไว้กะคลัชแล้วใส่เกียร์ รอบค้างน้ำมันจ่ายบางอากาศไม่มี หัวทิ่ม
a/t  ใช้ TC  ถ้ารอบไม่ถึง tc จะปล่อยเป็นรอบเดินเบาอากาศมันเข้าน้อย ถ้ารอบถึงมันจะคา TC ไว้ แล้วก็ไหลจนกว่า tc ปล่อยเป็นรอบเดินเบา

จับจากอาการจากรถที่ใช้

จังหวะนั้นน้ำมันไม่ใช่จ่ายบางครับ คือมันไม่จ่ายเลย หัวฉีดจะหยุดการทำงานไปเลย ไม่มีการเผาไหม้ใดๆทั้งสิ้น ณ ขณะนั้น
และตรงนี้แหละครับ คือ Engine Brake เพียวๆ

Engine Brake คือ การใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ทั้งหมด เพื่อชลอตวามเร็วรถ ในขณะที่เครื่องกับเกียร์ยังต่อกำลังกันอยู่
หลักๆก็จะมาจากแรงต้านของกระบอกสูบ กับแรงเสียดทานจากชิ้นส่วนที่เสียดสีกันอยู่

ท่านสามารถสัมผัส Engine Brake ด้วยพลังของท่านเองได้ ด้วยการไปหารถเกียร์ธรรมดา ทดสอบตอนดับเครื่องแล้วเข้าเกียร์
แล้วก็ลองเข็นดูครับ แล้วท่านจะเจอ Engine Brake มันเบรคท่านอยู่  ;D เอาง่ายๆก็ลองกับมอไซค์ครับ เข้าเกียร์แล้วจูง  :D
ถ้าท่านแรงดีพอจะดันมันไปได้ ก็จะพบว่าเครื่องนั้นจะหมุนไปด้วย

อย่างรถสิบล้อสมัยก่อน จะมีเบรคไอเสียด้วย(ไม่รู้สมัยนี้ยังมีป่าวนะครับ) ก็คือจะมีวาล์วในท่อไอเสีย แล้วใช้การปิดวาล์ว เพื่อให้ท่อไอเสียอั้น
ก็จะเกิดแรงต้านในกระบอกสูบมากขึ้น ณ จังหวะคาย ก็จะทำให้ Engine Brake มีมากขึ้นนั้นเองครับ

ระบบเกียร์ที่จะทำให้เกิด Engine Brake ได้ดีที่สุดคือเกียร์ที่ใช้ระบบแบบธรรมดาครับ เช่น เกียร์ธรรมดาแท้ๆ (Manual)
หรือพวก E-gear (เกียร์ธรรมดาคลัตช์เดี่ยวไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุค ค.ส 2000) หรือ DCT (เกียร์ธรรมดาคลัตช์คู่ไฟฟ้าของรถสปอร์ตยุคนี้)
ครับ เกียร์พวกนี้ Engine Brake จะชัดเจนกว่าเกียร์ออโต้ที่ใช้ ทอร์คคอนเวอเตอร์+ชุดเฟืองแพลเน็ตทารี่อันซับซ้อนครับ
เฮ้ย!!!ไม่จ่ายเลยเหรอ ผมยังเข้าใจว่าจ่ายน้อยและมีการจุดระเบิดปกติ(ไม่ใช่จ่ายบางนะเพราะจ่ายบางกับจ่ายน้อยมันต่างกัน)  อย่างงี้ปิดกุญแจดับเครื่องเลยก็ไม่ต่างกันดิช่วงปล่อยไหล

ถูกต้องครับ ท่านอ่านไม่ผิดครับ ไม่ใช่จ่ายน้อยจ่ายบางใดๆทั้งสิ้นครับ แต่มันไม่จ่ายเลย ยกเว้นพวกที่เป็นระบบคาบูเรเตอร์
อันนี้ถึงจะจ่ายตลอดเวลาจริงๆ (มันถึงได้กินน้ำมันมาก มลพิษมาก) แต่เดี๋ยวนี้รถที่ใช้คาบูฯนั้นเลิกผลิตไปนานแล้ว
แทบไม่มีคนใช้ คนขับรถสมัยใหม่บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำครับ ว่าคาบูฯคืออะไร ณ ที่นี้ผมเลยขอพูดถึงแต่ระบบหัวฉีดน่ะครับ

พวกรถที่เป็นหัวฉีด ขณะที่ขับอยู่ในเกียร์แล้วเรายกคันเร่งหมด จังหวะนี้"หัวฉีดจะตัดการทำงานทันที" จังหวะนี้ก็จะเกิด Engine brake ทันที ถ้าพูดตรงๆก็คือเครื่องนั้นดับไปแล้วนั้นแหละครับ ไม่มีการเผาไหม้ใดๆทั้งสิ้น ณ จังหวะนี้
แต่เครื่องจะยังคงหมุนอยู่เพราะแรงเฉือยจากล้อที่ส่งกำลังผ่านเกียร์มาอย่างเดียวเท่านั้น
ซึ่งหัวฉีดจะทำงานอีกที ก็ต่อเมื่อ

1. เราเหยียบคันเร่ง
2. รอบตกมาอยู่ในจุดของรอบเดินเบา (ประมาณ 800 rpm ลงมา)

ประมาณนี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2017, 13:43:34 โดย Peet Sayumpoo »



Peet Sayumpoo

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 13:53:54 »
มันมี engine break ครับ แต่มันน้อยกว่า เมื่ออยู่ใน D เพราะว่าเกียร์มันเปิดให้หมุนฟรีได้ เพราะ lock up clutch ไม่ได้จับให้เกียร์ไม่มี slip

ถ้าสังเกตุ เวลาขับเกียร์ auto แล้วเร่งเครื่อง เครื่องมันจะไม่ได้ขึ้นแบบค่อยๆไต่แบบเกียร์manual แต่มันจะขึ้นไปค้างรอบสูงๆ แล้วค่อยๆไล่เพิ่มไป อันนี้คือ Torque converter ยอมปล่อยให้เครื่องและล้อ หมุนไม่เท่ากัน เพื่อเรียกแรงบิดให้มากขึ้น (ให้เครื่องขึ้นไปวิ่งที่รอบสูงแรงบิดดี แล้วล้อค่อยๆหมุนเร็วตาม)

แต่ในจังหวะเกียร์ สุดท้ายของ D เช่น เกียร์ 4 สำหรับ toyota พอเข้าเกียร์ไปสักพัก lock up clutch ก้จะจับเพื่อไม่ให้รอบเครื่องกะล้อ มี slip เกิดขึ้น เหตุผลเพื่อให้ efficiency สูงสุด เพื่อประหยัดน้ำมัน (Lock up clutch จะทำงานต่อเมื่อ รอบนิ่งคงที ไม่มีการเร่งหรือเปลี่ยนรอบเครื่อง เกิดได้กับทุกเกียร์ ถ้าคุณสามารถ ทำให้รถอยู่ในเกียร์นั้นๆ และนิ่งๆได้)

ข้างบนคือเหตุผลว่า ทำไมคุณรู้สึกว่า D ที่ตำแหน่งเกียร์สุดท้าย ถึงมี engine break ตลอดเวลา เพราะว่า lock up clutch มันจับอยู่นั้นเอง

ส่วน D ในตำแหน่งอื่นๆ นั้น ที่คุณไม่รู้สึก จริงๆมันก็มีอยู่ แต่ เกียร์มันslipได้ อยู่ คุณเลยว่าไม่มี engine break

ถ้าคุณลองขับ D แล้ว วิ่งให้เกียร์อยู่ในเกียร์ 3 ,2 ค้างไว้นานๆ แบบ cruising ได้ (เพื่อให้ lock up clutch ทำงาน) ทุกครั้งที่คุณถอนคันเร่ง ก็จะสัมผัส engine break แบบเต็มๆได้เช่นกันกับเกียร์สุดท้าย

ส่วนเหตุผลว่า ทำไม L-2-OD off ถึงรู้สึกได้ถึง engine break อย่างเต็มๆ ก็เพราะ lock up clutch มันจับคาไว้เลย เพราะพวกนี้เป็นเกียร์พิเศษ มีไว้ ลงเขา ขึ้นเนิน เร่งแซง ต่างๆนาๆ พิสูจน์ได้ด้วยการ ลองเข้าเกียร์ L,2 แล้วเร่งเครื่องจาก รอบสัก 2000ขึ้นไปดู (ที่รอบต่ำๆ 1000กว่าๆ lock up ก็ยังไม่จับ เพราะจับไม่ได้ เดี๋ยวรถดับ) จะเห็นว่ารอบเครื่องมันขึ้นแบบตรงๆ เหมือนรถmanualเลย

ซึ่งต่างจาก ตอนขับใน D ที่อธิบายว่า รอบเครื่องมันวิ่งขึ้นไปก่อนความเร็ว

เหตุผลประมาณนี้ครับ ถูกผิดช่วยแก้ด้วย แต่หลักการประมาณนี้แหละครับ

ขอบคุณมากครับ ผมอาจใช้คำเรียกหรือเรียบเรียงไม่ค่อยถูก เลยเข้าใจยาก ท่านมาช่วยขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้น
ก็น่าจะเป็นประโยชน์ให้ สมช ได้มากขึ้นอีกครับ  :D



tarahlm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 14:58:05 »
มันมี engine break ครับ แต่มันน้อยกว่า เมื่ออยู่ใน D เพราะว่าเกียร์มันเปิดให้หมุนฟรีได้ เพราะ lock up clutch ไม่ได้จับให้เกียร์ไม่มี slip

ถ้าสังเกตุ เวลาขับเกียร์ auto แล้วเร่งเครื่อง เครื่องมันจะไม่ได้ขึ้นแบบค่อยๆไต่แบบเกียร์manual แต่มันจะขึ้นไปค้างรอบสูงๆ แล้วค่อยๆไล่เพิ่มไป อันนี้คือ Torque converter ยอมปล่อยให้เครื่องและล้อ หมุนไม่เท่ากัน เพื่อเรียกแรงบิดให้มากขึ้น (ให้เครื่องขึ้นไปวิ่งที่รอบสูงแรงบิดดี แล้วล้อค่อยๆหมุนเร็วตาม)

แต่ในจังหวะเกียร์ สุดท้ายของ D เช่น เกียร์ 4 สำหรับ toyota พอเข้าเกียร์ไปสักพัก lock up clutch ก้จะจับเพื่อไม่ให้รอบเครื่องกะล้อ มี slip เกิดขึ้น เหตุผลเพื่อให้ efficiency สูงสุด เพื่อประหยัดน้ำมัน (Lock up clutch จะทำงานต่อเมื่อ รอบนิ่งคงที ไม่มีการเร่งหรือเปลี่ยนรอบเครื่อง เกิดได้กับทุกเกียร์ ถ้าคุณสามารถ ทำให้รถอยู่ในเกียร์นั้นๆ และนิ่งๆได้)

ข้างบนคือเหตุผลว่า ทำไมคุณรู้สึกว่า D ที่ตำแหน่งเกียร์สุดท้าย ถึงมี engine break ตลอดเวลา เพราะว่า lock up clutch มันจับอยู่นั้นเอง

ส่วน D ในตำแหน่งอื่นๆ นั้น ที่คุณไม่รู้สึก จริงๆมันก็มีอยู่ แต่ เกียร์มันslipได้ อยู่ คุณเลยว่าไม่มี engine break

ถ้าคุณลองขับ D แล้ว วิ่งให้เกียร์อยู่ในเกียร์ 3 ,2 ค้างไว้นานๆ แบบ cruising ได้ (เพื่อให้ lock up clutch ทำงาน) ทุกครั้งที่คุณถอนคันเร่ง ก็จะสัมผัส engine break แบบเต็มๆได้เช่นกันกับเกียร์สุดท้าย

ส่วนเหตุผลว่า ทำไม L-2-OD off ถึงรู้สึกได้ถึง engine break อย่างเต็มๆ ก็เพราะ lock up clutch มันจับคาไว้เลย เพราะพวกนี้เป็นเกียร์พิเศษ มีไว้ ลงเขา ขึ้นเนิน เร่งแซง ต่างๆนาๆ พิสูจน์ได้ด้วยการ ลองเข้าเกียร์ L,2 แล้วเร่งเครื่องจาก รอบสัก 2000ขึ้นไปดู (ที่รอบต่ำๆ 1000กว่าๆ lock up ก็ยังไม่จับ เพราะจับไม่ได้ เดี๋ยวรถดับ) จะเห็นว่ารอบเครื่องมันขึ้นแบบตรงๆ เหมือนรถmanualเลย

ซึ่งต่างจาก ตอนขับใน D ที่อธิบายว่า รอบเครื่องมันวิ่งขึ้นไปก่อนความเร็ว

เหตุผลประมาณนี้ครับ ถูกผิดช่วยแก้ด้วย แต่หลักการประมาณนี้แหละครับ

ก่อนอื่นกลัวจะสับสนเรื่อง engine brake  กรณีนี้ผมขอใช้คำว่าเบรกกับสิ่งที่ไปต้านการเคลื่อนที่ ต้านหน่วงแรงเฉื่อยของรถ
ก็คือไปขัดขวางแรงที่จะไปทำให้ล้อเคลื่อนที่

เบรก ต้องไม่ไปสับสนกับการตัดกำลังส่ง เช่น การตัดน้ำมัน/ตัดไฟเพื่อไม่ให้จุดระเบิดขระรถกำลังวิ่ง
ดังนั้น engine brakeจึงไม่พูดถึงส่วนของทอร์คคอนเวิตเตอร์ ที่ทำหน้าที่ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์
เพื่อต่อไปสู่ล้อในที่สุด ทอร์คทำงานโดยใช้หลักจลศาสตร์ของเหลว(ผมใช้คำนี้บ่อย แต่ไม่แน่ใจว่าถุกต้องหรือไม่)
ถ่ายทอดกำลังจากเครื่องไปยังเกียร์ มองง่ายๆตีเป็นปริมาณกำลัง(จากเครื่อง) 0% จนถึง100%
ถ้าผู้รับคือเกียร์ไม่เต็มใจรับ คือ เช่นล็อคเกียร์ตอนเหยียบเบรกรถติดไฟแดงที่เกียร์D ก็สามารถเบี่ยงกำลังที่อยู่ใน
ของเหลวไปทิศทางอื่นได้ ฝืนไม่ได้ ทำให้การถ่ายทอดกำลังแบบนี้นิ่มนวล
จะเห็นว่าทอร์คไม่ได้ทำงานแบบเบรก แต่ทำงานในแบบปรับเพิ่ม/ลดตัดกำลังที่ถ่ายทอดไปยังเกียร์ ว่าจะส่งไปกี่เปอเซนต์

ทอร์คส่งกำลังผ่านของเหลวน้ำมันไฮโดรลิก จึงไม่สามารถทำหน้าที่เบรกเพื่อต้านการทำงานของเกียร์ที่จะส่งกำลังต่อสู่ล้อ


สำหรับข้อมูลที่ผมบอกไปว่า เกียร์ใดมีengine brakeอย่างไรนั้น เป็นข้อมูลทางเทคนิคของfordที่ผมได้มาภายหลัง
ผมเลิกใช้รถเกียร์CD4E คันนั้นมา 4 แล้ว ตอนนั้นไม่ได้สนใจสังเกตุเลยว่ามีความรู้สึกengine brake อย่างไร
แต่ถึงพยายามจับความรู้สึกก็อาจไม่ชัดเจนว่าแรงต้านการเคลื่อนที่คือจากอะไรชัดเจน
เพราะพอยกคันเร่ง ก็คือการลดการจุดระเบิด ลิ้นปีกผีเสื้อปิด
 เกิดengine brakeต้านการเคลื่อนที่ของกระบอกสูบ(ที่ต่อไปยังcrankshaft ไปfly wheel ไปTorque converter)
ตามที่เคยอ้างถึง https://en.wikipedia.org/wiki/Engine_braking

ส่วนEngine brake ของตัวเกียร์อัตโนมัติแบบconventionนี้ ไม่ว่าทั้งToyota Ford
เกิดจากการการออกแบบกลไกวิธีการหมุน/การเคลื่อนที่ภายในของชุดPlanetary gearset


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2017, 15:02:53 โดย tarahlm »



tarahlm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 16:39:34 »

 ผมมีข้อมูล Torque converter ของเกียร์ CD4E อยู่

ที่น่าสนใจตรงตัวคลัทช์ชองทอร์ค Torque converter clutch (TCC)
จะมีการทำงานเป็น 3 stage

 /  Full release คลัทช์ยังไม่จับ
 /  Controlled modulation ระหว่างที่คลัทช์จับ
 /  Full apply  จับสนิทเต็มที่

FULL RELEASE
Engine speed :2000 RPM
Turbine speed : 1850 RPM
ความแตกต่าง  : 150

FULL APPLY
Engine speed : 2000 RPM
Turbine speed : 2000 RPM
ความแตกต่าง : 0

อธิบายว่าตอนที่คลัทช์TCCยังไม่จับ กำลังที่ส่งจากเครื่องผ่าน Impeller ไปยัง  Turbineเพื่อต่อไปเกียร์ ยังส่งได้ไม่ถึง 100%

มีกำลังบางส่วนสูญเสียไป เหมือนรอบมาแต่เครื่องไม่ค่อยไป

แต่เมื่อคลัทช์TCCจับเต็มที่ กำลังจากเครื่องยนต์ส่งได้ 100% รอบมา เครื่องก็ไปตามนั้น




ttcl

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 20:16:45 »
พ่วงต่อไปว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การใช้ paddle shiftบ่อยๆ ทำให้การสึกหรอมากกว่าการใช้เกียร์Dปกติทั่วไปไหม ?
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ
ขอฟังความรู้ในประเด็นการใช้ paddle shift ตามที่คุณ tarahlm เกริ่นไว้ด้วยครับ ว่าจะสึกหรอมากกว่าการเข้า d แล้วปล่อยให้เกียร์เปลี่ยนเองหรือไม่

แล้วรถเกียร์ออโต้ปกติ(ไม่ใช่ cvt) รุ่นเก่าประมาณปี 2002 (รถผมเอง) ที่ไม่มี paddle shift แต่มีให้โยกซ้ายขวาที่คันเกียร์เพื่อเปลี่ยนเกียร์เองได้ด้วย สอบถามเรื่องการสึกหรอหากโยกเองเช่นกันครับ

 (ฟังดูแล้วน่าจะเหมือนกันกับ paddle shift แต่ผมไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นเทคโนโลยีมันจะทำให้มีข้อแตกต่างหรือเปล่า ผมไม่มีความรู้ทางนี้ ขอถามเป็นความรู้ด้วยครับ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2017, 20:19:26 โดย ttcl »



rokrok

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 22:06:28 »
เพิ่งได้อ่าน manual ที่ จขกท แนบไว้ เลยเข้าใจมากขึ้น

พบว่าเจ้าของกระทู้เข้าใจถูกแล้ว ว่า ที่เกียร์ D มี Engine brake ที่ เกียร์ 4 เกียร์เดียวถูกต้องแล้ว เพราะที่เกียร์ D นั้น เกียร์ 1-3 สามารถหมุนฟรีได้จาก planetery gear ยกเว้นว่าต้องให้ Coast brake จับเพื่อ Lock ให้มันหมุนได้ทางเดียว

แต่ท่าทางมันจะเป็นกะแค่บางรุ่นมากกว่าครับ หรืออาจจะเป็นระบบนี้สำหรับเกียร์ Auto แบบเก่าๆหน่อย ที่เป็น Mechanic ล้วนๆ

ยกตัวอย่าง Civic FD ที่ผมเคยขับ เวลาใช้เกียร์ D แล้วลงสะพานยาวๆ แล้วเหยียบเบรกไปด้วย รถมันสร้าง engine brake ด้วยการลดเกียร์ให้เลยครับ รู้สึกได้ชัดเจน ว่าเป็น เกียร์ 2,3 แน่ๆ จากรอบเครื่องและการหน่วง

ส่วนเรื่องที่บางท่านรู้สึกว่าไม่มีengine brake เกียร์อื่นเลย แล้วมันจะดี ไม่อันตรายเหรอ

ผมว่าไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะว่า เวลาต้องเบรกฉุกเฉินนั้น ที่เราทำคือ เบรกเต็มตีนจน ABS หรือ ล้อล็อค ก็แล้วแต่ ประสิทธิภาพมันสูงสุดแล้วครับ เพราะตัวเบรกมันจับล้อได้จนABS ทำงานแล้ว ถึงจะมี Engine brake ไป มันก็ได้เท่านี้ คือได้ถึงจุดที่ยางไถลอยู่ดี

อีกเรื่องที่ขอแก้นิดนึงคือว่า จขกท น่าจะเข้าใจผิดว่า Coast brake เป็นชื่ออาการการเบรค หรือเป็นชื่อวิธีเบรค
จากที่ผมอ่านมา มันเป็นชื่อPart ชื่ออุปกรณ์ แหวนรัดเฉยๆ ส่วนอาการ การเบรค นั้น ใน Manual ก็ยังเรียกว่า Engine brake อยู่ดีครับ







6162002

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: กันยายน 16, 2017, 23:59:45 »
สาระล้วนๆ ขอบคุณสมาชิกทุกท่าน ที่แบ่งปันข้อมูลครับ

จริงๆผมก็สังเกตมานานแล้วว่า เวลาเข้า D ลงห้าง  มันไม่มีหน่วงเลย  ทั้งที่เกียร์น่าจะอยู่ที่ 1-2    แต่พอเข้า L  มันหน่วงชัดเจน

เพิ่งได้เข้าใจเหตุผลก็วันนี้เองครับ



tarahlm

Re: Engine Braking - เอนจิ้นเบรก ..เราเข้าใจแตกต่างกันไหม ??
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: กันยายน 17, 2017, 09:05:48 »
สาระล้วนๆ ขอบคุณสมาชิกทุกท่าน ที่แบ่งปันข้อมูลครับ

จริงๆผมก็สังเกตมานานแล้วว่า เวลาเข้า D ลงห้าง  มันไม่มีหน่วงเลย  ทั้งที่เกียร์น่าจะอยู่ที่ 1-2    แต่พอเข้า L  มันหน่วงชัดเจน

เพิ่งได้เข้าใจเหตุผลก็วันนี้เองครับ

เช่นเดียวกันครับ นี่ทำให้ผมกลับมานึกถึงครั้งหนึ่งนานแล้ว แต่ก่อนจะขับรถEscapeท่องเที่ยวทางเหนือเกือบทุกปี ขึ้นเขาลงเขาบ่อยๆ

แต่ปกติจะใช้การโยกคันเกียร์ไปเกียร์M  2 นานๆครั้งมีบ้างที่ต้องลด ลากลงถึง 1

แต่มีครั้งหนึ่งลงเขาที่ไม่ถึงชันมาก เลยลองลงด้วยเกียร์D ก่อนลงตอนแรกก็ช่วยเบรกให้ความเร็วลด

ให้เกียร์ลดลงที่เกียร์ต่ำ แต่เหมือนเกียร์ไม่ค่อยช่วยหน่วงเลย แต่หลังจากนั้นก็ไม่ใช้วิธีนี้เลยลืมเลือนๆไป