ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าประเทศเยอรมันผลิตไฟฟ้าเกิน  (อ่าน 11600 ครั้ง)

ออฟไลน์ paulmoderndog

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,783
    • อีเมล์
ถ้าประเทศเยอรมันผลิตไฟฟ้าเกิน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2019, 19:12:47 »
ถ้าประเทศเยอรมันผลิตไฟฟ้าเกินจนรัฐบาลต้องจ้างให้ประชาชนเปิดไฟ  จะเป็นไปได้ไหมครับว่าเยอรมันจะเป็นประเทศแรกที่อาจจะได้ใช้รถไฟฟ้าเกือบ100%ก่อนประเทศอื่น


ปล.ถ้าตอนนี้ยังเป็นแบบ
นั้นอยู่
http://fortune.com/2016/05/11/germany-excess-power/?fbclid=IwAR3j30DFjYOP-Nucf_9STeIVMq4z_r8G54Zd7y0v5sOkZkcNQIl0uDNv_60
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2019, 19:15:52 โดย paulmoderndog »

ออฟไลน์ Fly to dream

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,640
Re: ถ้าประเทศเยอรมันผลิตไฟฟ้าเกิน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2019, 19:28:20 »
 ปัญหาของพลังงานหมุนเวียนไม่ใช่แค่เรื่องความไม่สมดุลกันระหว่างปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้และความต้องการใช้ เท่านั้น แต่ยังมีประเด็นด้านต้นทุนสิ่งแวดล้อม อย่างที่ผู้เชี่ยวชาญนโยบายพลังงาน Richard Martin แห่งนิตยสาร MIT Technology Review ได้เขียนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานหมุนเวียนของเยอรมนีว่า “หลังจากปริมาณการปล่อยคาร์บอนของเยอรมนีลดลงมาหลายปี ในปี 2558 มีการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการใช้”

         ที่เยอรมนีต้องผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องเผื่อไว้ในกรณีที่ลมอาจจะไม่พัด หรือมีเมฆบังพระอาทิตย์ เพราะหากเป็นเช่นนั้น โดยที่ไม่มีโรงไฟฟ้าเตรียมพร้อมผลิตไฟฟ้าเพิ่ม ระบบไฟฟ้าจะล่มและเกิดไฟฟ้าดับ ซึ่งโดยปกติ โรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องไว้เผื่อกรณีที่ลมสงบและมีเมฆมาก คือโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเมื่อเยอรนมีเลือกที่จะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ลง จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากถ่านหิน

         ท้ายที่สุดแล้ว นโยบาย Energiewende บังคับให้เยอรมนีต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น รวมกว่า 10,000 เมกะวัตต์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และแม้เยอรมนีจะใช้งบประมาณจำนวนมากสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้ร้อยละ 40 แต่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนได้

         ราคาไฟฟ้าที่ติดลบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายพลังงานสุดโต่งของรัฐบาล ที่เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนมหาศาล หากมองผิวเผิน นโยบายนี้ดูจะช่วยปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต แต่หากมองให้ลึก เป็นผลเสียทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายของเยอรมนีและประเทศอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศควรชั่งน้ำหนัก พิจารณาถึงผลกระทบทั้งต่อคนจนและสิ่งแวดล้อมให้ถี่ถ้วน

  https://science.howstuffworks.com/environmental/energy/germanys-power-prices-go-negative-but-whos-getting-paid.htm

http://thehill.com/opinion/energy-environment/369386-germany-shows-how-shifting-to-renewable-energy-can-backfire
ขยะของโลกออนไลน์​ในปัจจุบั​นคือเชื่อคนโง่ที่มีคำพูดสวยหรู​ หาข้อมูล​ไม่จริงมาโกหกคำโตๆ​ อีกอย่างคือพูดความจริงไม่หมด กับพวก​ Avatar ที่ทำเป็น​เก่ง​แต่เก่งน้อยในโลกความจริง​ซึ่งจะหาได้ง่าย