ผู้เขียน หัวข้อ: โช๊ค(หลัง)กับสปริงที่แยกส่วนกัน ขอแนวทางการ Setup หรือมีทฤษฎีช่วยแนะนำด้วยครับ  (อ่าน 2025 ครั้ง)

ออฟไลน์ safebit

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • อีเมล์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2020, 11:12:12 โดย safebit »

ออฟไลน์ samaklen

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,909
โช้คแยกถูกกว่าครับ ไม่ต้องทำโครงรับสปริง
มีแนวโน้มว่า จะทนทานกว่า (แต่ไม่แน่ ข
องโหลก็มี)​ สปริงก็สามารถทำเป็นธรรมดา หรือโปรเกสซีฟได้
ส่วนอีกแบบ ค้น chapman strut ครับ

ออฟไลน์ tom46

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,697
รายละเอียดผมก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับ

เพียงแต่เคยเห็นรถ bmw e36 อยู่คัน ระบบเดิม ด้านหลังเขาจะเป็น สปริงกับโช้ค แยกกันแบบในรูป แต่คันนี้เขาทำมาเอาขับแบบ track day ไม่ถึงขั้นแข่งขันกันจริงๆ

เขาจะเปลี่ยนช่วงล่างด้านหลัง ให้จาก สปริง กับ โช้ค แยกกันมาเป็น แบบอยู่ด้วย โดยสร้างเบ้าโช้คหลังขึ้นมาใหม่ เดาว่าแบบแยกกันคงไม่เหมาะกับการใช้งานแบบนั้นเท่าไร

ส่วนของตกแต่งของสปริงแบบแยกกัน

เห็นเขาจะสปริง แบบเลือกค่าได้ ขายกันอยู่ด้วย เคยเห็นมีคนใช้อยู่เหมือนกัน ลองเข้าไปดูยี่ห้อ Ground control ดูครับ พอลึกๆแล้วผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องกับเขาเหมือนกัน
M52TUB30 NA TUNING
STROKER M54B30
SCHRICK CAM 248/248
aa tuning software custom
K&N performance air intake kit
Exhaust systems thailand hand made
Rear exhaust EISENMANN

ออฟไลน์ lonely

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,408
http://
image upload

เป็นความเห็นจากสมาชิกท่านนึงใน HLM เมื่อปี 2553 เกี่ยวกับช่วงล่างหลังแบบมัลติลิงค์

ช่วงล่างหลัง มัลติลิงค์ แต่ใช้ช็อคและสปริงร่วมแกนเดียวกัน

ข้อดี ช็อคและสปริงร่วมแกนเดียวกัน คือ เป็นมัลติลิงค์อิสระที่ประหยัดเนื้องที่ติดตั้ง

[/b][/u]การเกาะถนนของล้อหลัง = ดีกว่า มาสด้า 2 เฟียสต้า ยารีส แจ๊ส วีออส ยารีส โคโรล่ารุ่นปัจจุบัน
ที่ทุกรุ่นใช้ช่วงล่างหลังแบบคานแข็ง ที่บิดตัวช่วยได้นิดหน่อย

มัลติลิงค์ อิสระแท้ เกาะถนนกว่าทอร์ชั่นบีมที่ให้ตัวได้เล็กน้อยแน่นอนครับ


ข้อเสีย ช็อคและสปริงร่วมแกนเดียวกัน คือ

การทำงานของ สปริงและช็อคในช่วงล่างหลังจะไม่สมบูรณ์แบบระบบแยกสปริงช็อคในมัลติลิงค์ของรถเกรดสูงครับ

แต่ก็ยังดีกว่า ทอร์ชั่นบีมให้ตัวได้ ที่แยกสปริง ช็อค ในรถเล็กอื่นๆ อยู่ดีนะ
Lancer E20 ใช้สปริงหลังยาวไม่มาก แต่ก็ ยาวกว่า มาสด้า 3 ฟอร์ด โฟกัส

แต่มาสด้า 3 แยกสปริงหลังออกจากช็อค การทำงานจึงดีกว่า
แต่เนื่องจากสปริงหลังมาสด้า 3 สั้นไป
ช่วงล่างหลังมาสด้า 3 จึงให้ตัวได้น้อย จำเป็นต้องเซ็ตช็อคให้กระด้างขึ้น
ไม่งั้นตกหลุม สปริงยุบสุดเร็ว ช่วงล่างหลังจะยันโครมได้ง่ายเกินไปครับ
ผลคือ มาสด้า 3 เกาะ แต่ กระด้าง นั่นเองครับ

Lancer E20 กับ Lancer EX ใช้ ช่วงล่างหลัง มัลติลิงค์ เหมือนกัน รูปแบบเดียวกัน
ใช้ ระบบ ช็อคและสปริงร่วมแกน เหมือนกัน
แต่ EX เซ็ต ระบบได้ดีกว่า ปรับน้ำหนักหลังดีกว่า

Lancer E20 น้ำหนักตัวถังด้านหลัง เบา
และ รถสร้างมาแบบยกตัวถังสูง
ทำให้เมื่อ มีแรงเหวี่ยงด้านหลังมาก คือ คนขับหักหลบแรงๆ
ช่วงล่างที่ช็อคสปริงร่วมแกน ทำงานไม่ละเอียด น้ำหนักกดท้ายเบา
ท้ายรถ จึงปัดอย่างรวดเร็ว
ถ้าใช้แข่งแรลลี่ ก็เหมาะเลยครับ
กวาดท้ายออกจากโค้งได้อย่างรวดเร็ว
แต่ถ้าใช้บนถนนโค้งรถสวนในเมืองไทย
อาจเจอฮีโน่หน้าดุ สวนกลางโค้งได้ง่ายๆ ครับ

หวังว่าจะได้เห็น ช่วงล่างหลัง มาสด้า 3 รุ่นใหม่ (Gen 3)
ที่ใช้สปริงแยกช็อค ที่มีสปริงยาวขึ้น ช็อคยาวขึ้น
ซึ่งจะทำให้ มาสด้า 3 รุ่นใหม่ เหนือกว่า Lancer EX อีกเช่นกัน ครับ

อ้างอิง =
My car and Driving is My Life = เวอร์ไปไหม ??