ผู้เขียน หัวข้อ: รถยุโรป ใช้เหล็กหนาและคุณภาพดีกว่ารถญี่ปุ่นจริงเหรอครับ  (อ่าน 9225 ครั้ง)

ออฟไลน์ citrinecw

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 251
    • อีเมล์
พอดีอาทิตย์ก่อนพึ่งเอารถที่โดนชนท้ายไปเปลี่ยนกันชนที่อู่นอกมาเพราะประกันไม่ให้ซ่อมห้างแล้ว พอตอนไปรับรถก็เลยได้คุยกับเจ้าของอู่สีเลยได้คุยกันเรื่องทำสีรถยุโรปกับรถญี่ปุ่นยากง่ายต่างกันไหม แต่อันนั้นไม่สำคัญเพราะเจ้าของอู่พูดมาประโยคนึงว่าแต่ที่แน่ๆ เหล็กรถยุโรปหนากว่าและดีกว่าเยอะ

ฟังตอนแรกก็ไม่ค่อยเชื่อ เจ้าของอู่เลยพาเดินดูเลยครับ หลายคันที่ถอดทำสีอยู่ในอู่ไล่เคาะให้ดูเลยเลยว่าเสียงเป็นยังงัย บางคันก็ถอดประตูออกมาทำสีอยู่เลยแทบจะเห็นความหนาของเหล็กแบบชัดเจน กลับบ้านมาก็ลองดูกับรถที่บ้าน 2-3 คันเทียบกัน ข้อสังเกตที่เจอจะประมาณนี้ครับ   

- เวลาเคาะดู เสียงกับความรู้สึกแทบจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเลยว่าถ้าเป็นรถยุโรปจะได้ความรู้สึกแน่นๆ หนาๆ แต่รถญี่ปุ่นจะโปร่งๆ ให้ความรุ้สึกบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด
- ความหนักของประตูเวลาปิด เปิด รถยุโรปจะได้ความรู้สึกหนักกว่าอย่างชัดเจน แต่อาจจะด้วยมี function มากกว่าด้วยเลยไม่อยากตัดสินอะไร
- ความหนาของเหล็กประตู อันนี้คือจากการกะเอาไม่ได้เอาอะไรไปวัดนะครับ ว่ารถยุโรปแอบหนากว่าด้วยตาเปล่า

รถที่ได้ลองเคาะๆและเทียบดูทั้งจากในอู่และที่บ้านนะครับก็จะมี City, Civic, BRV, Altis, Camry รุ่นซักประมาณ ปี14-15 E300 GLC XC90 

คำถามคือที่เจ้าของอู่บอกว่าสเป็คกับคุณภาพเหล็กของรถยุโรปกับญี่ปุ่นต่างกันนี่จริงเท็จแค่ไหนครับ ถ้ามีตัวเลขหรือสเป็คเหล็กมาเป็นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยจะดีมากเลยครับ อยากรู้ว่าจากความรู้สึกกับความจริงมันแตกต่างกันแค่ไหน และถ้าเหล็กต่างกันจริงๆมีผลต่อความปลอดภัยไหมครับ

ออฟไลน์ U9WS

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,180
  • slower is better
ที่ใช้มือเคาะกันนั้นเป็นแค่ภายนอกครับไม่ได้ใช้รับแรงในการปะทะ​เป็นหลัก ของจริงคือโครงสร้างรถครับ

https://www.google.co.th/search?q=ultra+high-strength+steel+in+cars&hl=th&prmd=inv&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjC-YWBjMLxAhUoyzgGHUWyDmUQ_AUoAXoECAIQAQ&biw=360&bih=654&dpr=3

ดูโครงสร้าง​ความแข็งของเหล็กตามสีที่ระบุไว้เลยครับ
แต่รถบ้างรุ่นขายไทยกับขายต่างประเทศก็ใช้ค่าความแข็งของเหล็กไม่เท่ากัน และอีกหลายรุ่นที่ขายไทยไม่มีคานเหล็กที่กันชนท้าย

โครงสร้างเสา a b c หรือส่วนแข็งสุดยุคนี้ต้องเป็น ultra high strength steel ที่ 1500-1800mpa ขึ้นไปครับ
ถ้ารถคันไหนส่วนแข็งที่สุดยังใช้ high strength steel ต่ำกว่า 1000mpa นั้นไม่ปลอดภัย​พอสำหรับยุคนี้

และพอศึกษาความแข็งของโครงสร้างแล้วก็ไปต่อที่ car crash test จะเห็น vdo ทดสอบการชนด้านข้างได้ชัดเจนว่าพวกแข็งๆจะไม่ยุบเข้ามาทับคนในรถ หรือชนด้านหน้าแล้วโครงสร้างประตูข้างยังคงแข็งแรงสามารถเปิดประตูได้ (ส่วนห้องเครื่องยุบเยอะเพราะออกแบบให้ซับแรง)​ แต่ห้องโดยสารเสา a b c ต้องไม่ยุบเยอะไปทับคนในรถ

ขับรถดีๆขับรถอย่างปลอดภัยรัดเข็มขัด​นิรภัย​นั้นเป็นเรื่องพื้นฐาน
แต่ถ้าโดนข้ามฝั่งมาชนแล้วระบบช่วยเหลือการขับขี ประสบการณ์​ ฝีมือ หรือโชคช่วยไม่ได้แล้ว สุดท้ายก็พึ่งโครงสร้างรถครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2021, 22:35:13 โดย U9WS »

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
ที่ใช้มือเคาะกันนั้นเป็นแค่ภายนอกครับไม่ได้ใช้รับแรงในการปะทะ​เป็นหลัก ของจริงคือโครงสร้างรถครับ

https://www.google.co.th/search?q=ultra+high-strength+steel+in+cars&hl=th&prmd=inv&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjC-YWBjMLxAhUoyzgGHUWyDmUQ_AUoAXoECAIQAQ&biw=360&bih=654&dpr=3

ดูโครงสร้าง​ความแข็งของเหล็กตามสีที่ระบุไว้เลยครับ
แต่รถบ้างรุ่นขายไทยกับขายต่างประเทศก็ใช้ค่าความแข็งของเหล็กไม่เท่ากัน และอีกหลายรุ่นที่ขายไทยไม่มีคานเหล็กที่กันชนท้าย

โครงสร้างเสา a b c หรือส่วนแข็งสุดยุคนี้ต้องเป็น ultra high strength steel ที่ 1500-1800mpa ขึ้นไปครับ
ถ้ารถคันไหนส่วนแข็งที่สุดยังใช้ high strength steel ต่ำกว่า 1000mpa นั้นไม่ปลอดภัย​พอสำหรับยุคนี้

และพอศึกษาความแข็งของโครงสร้างแล้วก็ไปต่อที่ car crash test จะเห็น vdo ทดสอบการชนด้านข้างได้ชัดเจนว่าพวกแข็งๆจะไม่ยุบเข้ามาทับคนในรถ หรือชนด้านหน้าแล้วโครงสร้างประตูข้างยังคงแข็งแรงสามารถเปิดประตูได้ (ส่วนห้องเครื่องยุบเยอะเพราะออกแบบให้ซับแรง)​ แต่ห้องโดยสารเสา a b c ต้องไม่ยุบเยอะไปทับคนในรถ
ภาพปลากรอบนะครับ  แต่ยังสงสัยว่าเห็นรถเล็กชอบตัดคานหม้อส่วนบไม่ให้ไปเชื่อมกับแชสซีที่เป็นซับในบังโคนนี่ มันมีส่วนต่อความแข็งแรงและการขับขี่มั้ยครับ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2021, 22:26:03 โดย deertesla »

ออฟไลน์ Zephyrs

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 913
คุณต้องเข้าใจว่า หลักการเรื่องเซฟตี้ของรถในแง่การชนอะไรพวกนี้ ตัวโครงสร้างน่ะคือตัวสำคัญที่สุด ไม่ใช่ไอส่วนที่เหลือ
โลหะวิทยาสมัยนี้เขาก็ต้องทำยังไงก็ได้ให้มันปลอดภัยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (เป็นไปได้ = เท่าที่งบและต้นทุนจะเอื้อ)

ผมจำได้ว่ากระทู้เรื่องนี้ (หัวข้อเหมือนกันเกือบ 90%) เพิ่งถามกันในบอร์ดนี้ไปไม่นาน แล้วก็มีคนไปถามในกระทู้ไลฟ์สดของรายการวิทยุพี่จิมมี่ (จำไม่ได้จริงๆว่าอาทิตย์ไหน แต่ไม่เกินเดือนสองเดือนที่ผ่านมา)
เริ่มนึกคำถามออกละ ตอนนั้นถามเรื่องเสียงปิดประตูมั้งว่ามันแน่นต่างกันแล้วก็โยงไปเรื่องเหล็กบางหนาของยุโรปนี่แหละ
พี่จิมตอบว่าไม่เกี่ยวกัน มันเป็นเรื่องของอย่างอื่น (อันนี้ผมไม่แน่ใจจริงๆนะว่าเป็นเรื่องของอะไรบ้าง นึกออกอย่างนึงคือยางขอบประตูมีผล แต่อีกอันผมไม่แน่ใจ กลอนรึเปล่าหว่า?)
แล้วเรื่องเหล็กบางหนาเคาะๆกันน่ะ ก็บอกว่า บริษัทเขารู้อยู่แล้วว่าต้องมีคนไปบ้าเคาะตามรถ เขาก็หาอะไรมา Damp ออกแบบให้มันมีเสียงดูแน่นกว่า เป็นหลักทางจิตวิทยาไป

ปล. ช่างก็คือช่างครับ ผมไม่เถียงในแง่ประสบการณ์ เขาเอาสิ่งที่เขาเห็นมาบอก ส่วนในแง่เชิงทฤษฎีและการออกแบบ ก็ต้องบอกไปตามนั้น เพราะสุดท้ายแล้ว จะหนาหรือบาง ถ้ามันทำให้ผู้โดยสารรอดชีวิตได้
โดยบาดเจ็บน้อยที่สุด มันก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการออกแบบแล้วล่ะครับ

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
คุณต้องเข้าใจว่า หลักการเรื่องเซฟตี้ของรถในแง่การชนอะไรพวกนี้ ตัวโครงสร้างน่ะคือตัวสำคัญที่สุด ไม่ใช่ไอส่วนที่เหลือ
โลหะวิทยาสมัยนี้เขาก็ต้องทำยังไงก็ได้ให้มันปลอดภัยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (เป็นไปได้ = เท่าที่งบและต้นทุนจะเอื้อ)

ผมจำได้ว่ากระทู้เรื่องนี้ (หัวข้อเหมือนกันเกือบ 90%) เพิ่งถามกันในบอร์ดนี้ไปไม่นาน แล้วก็มีคนไปถามในกระทู้ไลฟ์สดของรายการวิทยุพี่จิมมี่ (จำไม่ได้จริงๆว่าอาทิตย์ไหน แต่ไม่เกินเดือนสองเดือนที่ผ่านมา)
เริ่มนึกคำถามออกละ ตอนนั้นถามเรื่องเสียงปิดประตูมั้งว่ามันแน่นต่างกันแล้วก็โยงไปเรื่องเหล็กบางหนาของยุโรปนี่แหละ
พี่จิมตอบว่าไม่เกี่ยวกัน มันเป็นเรื่องของอย่างอื่น (อันนี้ผมไม่แน่ใจจริงๆนะว่าเป็นเรื่องของอะไรบ้าง นึกออกอย่างนึงคือยางขอบประตูมีผล แต่อีกอันผมไม่แน่ใจ กลอนรึเปล่าหว่า?)
แล้วเรื่องเหล็กบางหนาเคาะๆกันน่ะ ก็บอกว่า บริษัทเขารู้อยู่แล้วว่าต้องมีคนไปบ้าเคาะตามรถ เขาก็หาอะไรมา Damp ออกแบบให้มันมีเสียงดูแน่นกว่า เป็นหลักทางจิตวิทยาไป

ปล. ช่างก็คือช่างครับ ผมไม่เถียงในแง่ประสบการณ์ เขาเอาสิ่งที่เขาเห็นมาบอก ส่วนในแง่เชิงทฤษฎีและการออกแบบ ก็ต้องบอกไปตามนั้น เพราะสุดท้ายแล้ว จะหนาหรือบาง ถ้ามันทำให้ผู้โดยสารรอดชีวิตได้
โดยบาดเจ็บน้อยที่สุด มันก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการออกแบบแล้วล่ะครับ
ยังสงสัยว่าเห็นรถเล็กชอบตัดคานหม้อส่วนบไม่ให้ไปเชื่อมกับแชสซีที่เป็นซับในบังโคนนี่ มันมีส่วนต่อความแข็งแรงและการขับขี่มั้ยครับ


เมื่อเทียบกับรุ่นนี้ที่มีคานบนหม้อน้ำ ความปลอดภัยกันมากมั้ยครับ

ออฟไลน์ krating

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 89
ที่บ้านผมมี celerio คันละสี่แสน
กับ e350e

ผมว่าเหล็กมันไม่น่าจะหนาเท่ากันนะ
แต่ถ้ายุโรปกับญี่ปุ่นตัวชนกัน เช่น e class กับ Lexus ES
คงไม่ต่างกัน


ออฟไลน์ Tien.W

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,195
    • อีเมล์
คานหม้อน้ำ ตัดออก มีผลแน่ๆ

ลองนึกภาพว่า ... ถ้าพุ่งชนท้ายคันหน้า แบบไม่เต็มท้าย .. เจ้าคานหม้อน้ำ จะทำหน้าที่รับแรง และ กระจายแรงส่วนหนึ่ง ไปยังซับในบังโคลนอีกฝั่ง เพื่อช่วยลดภาระของฝั่งที่ชนเต็มๆ ทำให้โครงสร้างรถเสียหายน้อยกว่าครับ

อารมณ์เดียวกับ คานกันชน แหละ รวมถึง มันยังทำให้โครงสร้างรถแข็งแรง ลดการบิดตัวในขณะขับขี่ด้วยครับ

.................

XC90 เอามาคุยกับ Civic มันก็ต่างแหละ เพราะด้วยราคารถ class ของรถ .. แต่ถ้าคุณเอา XC90 ไปเจอกับ RX350 ผมว่า สูสีนะ และอีกอย่าง อย่าลืมว่า Volvo นี่ สวีเดนเค้าเจ้าพ่อเหล็กกล้านะครับ

ถ้าใน คห.ผม มันก็หนา บาง ต่างกันแหละ แต่ตามราคารถ ตามระดับชั้นของรถ ถ้ารถในคลาสเดียวกัน ไม่หนีกันครับ .. ไปวัดกันที่การดีไซน์โครงสร้างภายใน ว่า ใครเผื่อหรือออกแบบมาดีกว่ากันครับ

เสียงปิดประตู .. มาลองปิด City Hatchback สิ แน่นตึ้บ ฟังดูเหมือนรถราคาแพงเลย ไม่ใช่เพราะเหล็กหนา แต่เพราะยางขอบประตูหนา ครับ .. เหล็ก ก็หนาขึ้นจากสมัย civic ek แยะ วัดจากการยกฝากระโปรงหน้าครับ city หนักกว่าเยอะ (แต่ pulsar ฝากระโปรงหน้าสั้นนิดเดียว แต่หนักกว่าเยอะมาก) แต่ city นี่ พวกการเชื่อม หรือ คานรับ น่าจะไม่ค่อยมีเท่าไหร่ เช็ดที ยุบตามมือเลย เทียบ pulsar / crv นะ

ซึ่งก็กลับมาที่คำเดิม .. ตามราคารถ ครับ

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
คานหม้อน้ำ ตัดออก มีผลแน่ๆ

ลองนึกภาพว่า ... ถ้าพุ่งชนท้ายคันหน้า แบบไม่เต็มท้าย .. เจ้าคานหม้อน้ำ จะทำหน้าที่รับแรง และ กระจายแรงส่วนหนึ่ง ไปยังซับในบังโคลนอีกฝั่ง เพื่อช่วยลดภาระของฝั่งที่ชนเต็มๆ ทำให้โครงสร้างรถเสียหายน้อยกว่าครับ

อารมณ์เดียวกับ คานกันชน แหละ รวมถึง มันยังทำให้โครงสร้างรถแข็งแรง ลดการบิดตัวในขณะขับขี่ด้วยครับ

.................

XC90 เอามาคุยกับ Civic มันก็ต่างแหละ เพราะด้วยราคารถ class ของรถ .. แต่ถ้าคุณเอา XC90 ไปเจอกับ RX350 ผมว่า สูสีนะ และอีกอย่าง อย่าลืมว่า Volvo นี่ สวีเดนเค้าเจ้าพ่อเหล็กกล้านะครับ

ถ้าใน คห.ผม มันก็หนา บาง ต่างกันแหละ แต่ตามราคารถ ตามระดับชั้นของรถ ถ้ารถในคลาสเดียวกัน ไม่หนีกันครับ .. ไปวัดกันที่การดีไซน์โครงสร้างภายใน ว่า ใครเผื่อหรือออกแบบมาดีกว่ากันครับ

เสียงปิดประตู .. มาลองปิด City Hatchback สิ แน่นตึ้บ ฟังดูเหมือนรถราคาแพงเลย ไม่ใช่เพราะเหล็กหนา แต่เพราะยางขอบประตูหนา ครับ .. เหล็ก ก็หนาขึ้นจากสมัย civic ek แยะ วัดจากการยกฝากระโปรงหน้าครับ city หนักกว่าเยอะ (แต่ pulsar ฝากระโปรงหน้าสั้นนิดเดียว แต่หนักกว่าเยอะมาก) แต่ city นี่ พวกการเชื่อม หรือ คานรับ น่าจะไม่ค่อยมีเท่าไหร่ เช็ดที ยุบตามมือเลย เทียบ pulsar / crv นะ

ซึ่งก็กลับมาที่คำเดิม .. ตามราคารถ ครับ
ขอบคุณมากครับ  เพราะ xc40 ปัจจุบัน ไม่มีให้แล้วครับ

ออฟไลน์ seeker

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,521
อย่างนี้ถ้าเอา 960, 740 มาชนกับรถรุ่นปัจจุบัน volvo คงไม่เป็นอะไร
เหล็กหนา เหล็กบาง มันสำคัญกว่าโครงสร้างความปลอดภัยหรือครับ

ออฟไลน์ Tien.W

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,195
    • อีเมล์
ระดับ volvo ตัดทิ้ง แปลว่า ดีไซน์มาเผื่อละ ปกติ ค่ายนี้ คิดล่วงหน้าเรื่องความปลอดภัยเหนือชาวบ้านไปขั้นนึง เดาว่า คงให้คานกันชน ทำหน้าที่แทน

แต่ถ้า เจอบ้านเรา มุดท้ายรถใหญ่ เอาช่วงคานหม้อน้ำเจอ น่าจะหนัก

……..

แต่ถ้ารถที่มันมี แล้ววัยรุ่นสร้างตัว ตัดทิ้ง จะด้วยเหตุใดก็ตาม อันนี้หายนะ แน่นอน

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
ระดับ volvo ตัดทิ้ง แปลว่า ดีไซน์มาเผื่อละ ปกติ ค่ายนี้ คิดล่วงหน้าเรื่องความปลอดภัยเหนือชาวบ้านไปขั้นนึง เดาว่า คงให้คานกันชน ทำหน้าที่แทน

แต่ถ้า เจอบ้านเรา มุดท้ายรถใหญ่ เอาช่วงคานหม้อน้ำเจอ น่าจะหนัก

……..

แต่ถ้ารถที่มันมี แล้ววัยรุ่นสร้างตัว ตัดทิ้ง จะด้วยเหตุใดก็ตาม อันนี้หายนะ แน่นอน
ใช่ครับ แต่ผมว่ามีดีกว่าไม่มีนะ อารมณ์เดียกับออยเกียร์แยกที่หลายคนมองว่าไม่จำเป็น แต่ลึกแล้วมันจำเป็นมาก

ออนไลน์ Symphonic

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,699
“รถที่ได้ลองเคาะๆและเทียบดูทั้งจากในอู่และที่บ้านนะครับก็จะมี City, Civic, BRV, Altis, Camry รุ่นซักประมาณ ปี14-15 E300 GLC XC90”

  คือจากที่พี่ยกตัวอย่างมา เช่น City คือตัวแทนฝั่งญี่ปุ่น แล้ว E300 คือตัวแทนฝั่งยุโรป
ถ้าแบบนั้นก็ใช่ล่ะครับ E300 ย่อมมีเหล็กโดยรวมที่หนากว่า City

แล้วยังไงต่อครับ

เราจะสรุปว่า ถ้าอย่างนั้น เราควรซื้อ E300 มาใช้ ไม่ควรซื้อ City อย่างนั้นรึเปล่า
หรือเราต้องการให้ City ต้องสร้างบนเหล็กที่หนาๆ แบบ E300

แล้วราคาล่ะครับ จะเป็นยังไง ทุกคนจะจ่ายเงินซื้อ E300 มาใช้ไหวไหม?

และด้วยราคาที่จ่ายไหวอย่าง City มันก็ให้ความปลอดภัยที่เพียงพอไหม อันนั้นน่าจะ
เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาไม่ใช่เหรอครับ

ออฟไลน์ Niti

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,033
  • Live is short. Live it!
เมื่อก่อนที่บ้านมีรถยุโรป ผมเองก็เคยมีความรู้สึกแบบนั้น ว่ายุโรปหนากว่า รู้สึกหนักกว่าเนอะ

ตอนหลังคิดได้ว่าความหนาไม่ได้แปลว่าปลอดภัยกว่า ตอนนี้ที่บ้านไม่มีรถยุโรปเหลือเลย  :P
-------------------------------------------------------------
In: 350Z DE / New Fortuner TRD / Harrier XU60*2 / Alphard AH30
Out: Miata NC RHT / 86 / IS250
-------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,190
    • อีเมล์
เหมือนจะมีโพสก่อนหน้านี้แล้วนะ เรื่องนี้มาเรื่อยๆ

ในมุมผมนะ

ชนแล้วบุบ ไม่ได้บ่งบอกว่า เหล็กหนา หรือ คุณภาพ ดีกว่านะครับ

เพราะชิ้นชส่วนภายนอก กันชนหน้า กันชนท้าย เดี๋ยวนี้เป็นพลาสติกทั้งนั้น

ถ้าจะดูว่าเหล็กดีหรือคุณภาพโครงสร้างตัวถังดีกว่าไหม มันต้องดูเหล็กภายในตัวถัง หรือ โครงสร้างต่างหาก

F10 ล้างรถ ยังมือกดฝาากระโปรง หรือ หลังคา บุ๋ม เลย  ::)

ออฟไลน์ basterias

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,793
หนาบางมันขึ้นกับการออกแบบครับว่าส่วนไหนต้องแข็งต้องนิ่มเพื่อซับแรงกระแทก แม้ว่าจะไปเคาะจุดเดียวกันแต่โครงสร้างรถออกแบบมาให้ซับ-กระจายแรงต่างกัน ส่วนนั้นมันก็อาจไม่จำเป็นต้องหนาเท่ากันก็ได้ครับ

แต่ที่แน่ๆรถยุโรปมันมักจะหนักกว่ารถญี่ปุ่น ถ้าชนกันตรงๆยุโรปเขาก็ได้เปรียบนิดหน่อย
Current cars:
2018 - Volvo XC60 T8 R-design (Stock)
2020 - Mercedes C43 Sedan FL (tuned)
(Review https://community.headlightmag.com/index.php?topic=79186.0)
2021 - BMW 530e M sport LCI (Stock)
(Review https://community.headlightmag.com/index.php?topic=79736.0)

ออฟไลน์ mainicia

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
ผมมองว่าที่เขาออกแบบโดยตัดความแข็งแรงของเหล็กออกบางส่วนก็เพื่อความปลอดภัยถ้าหากชนคนด้วยนะ ถ้าเหล็กแข็งมากอาจจะทำให้คนที่ถูกชนเสียชีวิตได้

ออฟไลน์ Devil13

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,985
หนากว่านะ แต่ดีกว่าไหม อันนี้ตอบยาก
เพื่อนใช้ซีรีย์5 รุ่นเก่า ท้าให้ไปเปิดฝากระโปรงท้ายมือเดียว
มือเดียวยกไม่ขึ้นเลย ต้องงัด2มือ มันหนักกว่าญี่ปุ่นเยอะ

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
 :) จริงแท้แน่นอนครับ
ไม่ต้องถึงยุโรป ผมมี focus 2.0 gdi คันเก่า ที่ไม่ยอมขายอยู่คัน เทียบกับ ค่าย H เหมือนมวยคันละรุ่น
แค่ฝากระโปรงนี่ต่างกันแล้ว มองเข้าไปในห้องเครื่อง มองด้วยสายตาก็ต่างกันละ แทบไม่ต้องวัดครับ
ประตู เคยแกะออกใส่ลำโพง โอ้โห สังกะสีมาเองเลย
สำหรับรถบ้านๆ มันก็คือการลดต้นทุนดีดีนี่ล่ะครับ อีกอย่างเบา ประหยัดน่้ำมันไปด้วย ถ้ามันเบาแล้วผ่าน euro ncap ค่อยมาว่ากันใหม่
แต่ผมว่ารถที่ขายในบ้านเราไม่ใช่แน่ๆครับ ;D


ออฟไลน์ MyName

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 8,141
  • I'm............................
เอาจริงนะ กระทู้แนวนี้เคยมีคนตั้งเมื่อตอนอุบัติเหตุ Z4 ชน Swift
ผมยังมองเหตุการณ์นั้นได้อยู่ว่า จริงแล้วโครงสร้างรถของแต่ละรุ่นมันทำหน้าที่ปกป้องผู้โดยสารได้ดีที่สุดทั้งคู่โดยไม่แยกประเภทรถยุโรปและญี่ปุ่นจริงๆ ครับ
Cars
2022 - Nissan Almera 1.0 Turbo VL
2016 - Mazda 2 1.5XD High Plus L
2008 - Mitsubishi Space Wagon 2.4 GLS Ltd. !User'Review Click here!
1997 - Daihatsu Mira

Motorcycles
2023 - Vespa Sprint S 150 i
2012 - Yamaha Mio 125 GTX

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
:) จริงแท้แน่นอนครับ
ไม่ต้องถึงยุโรป ผมมี focus 2.0 gdi คันเก่า ที่ไม่ยอมขายอยู่คัน เทียบกับ ค่าย H เหมือนมวยคันละรุ่น
แค่ฝากระโปรงนี่ต่างกันแล้ว มองเข้าไปในห้องเครื่อง มองด้วยสายตาก็ต่างกันละ แทบไม่ต้องวัดครับ
ประตู เคยแกะออกใส่ลำโพง โอ้โห สังกะสีมาเองเลย
สำหรับรถบ้านๆ มันก็คือการลดต้นทุนดีดีนี่ล่ะครับ อีกอย่างเบา ประหยัดน่้ำมันไปด้วย ถ้ามันเบาแล้วผ่าน euro ncap ค่อยมาว่ากันใหม่
แต่ผมว่ารถที่ขายในบ้านเราไม่ใช่แน่ๆครับ ;D
เอาจริงๆผมว่าฮอนด้านี่ต้องโดนอีกรอบเหมือนสมัยบริโอ้ถึงจะยอมปรับปรุงคุณภาพครับ  ส่วนฟอร์ด โฟกัสจุกจิกมากมั้ยครับ

Nynewwy_JRW

  • บุคคลทั่วไป
เอาจริงนะ กระทู้แนวนี้เคยมีคนตั้งเมื่อตอนอุบัติเหตุ Z4 ชน Swift
ผมยังมองเหตุการณ์นั้นได้อยู่ว่า จริงแล้วโครงสร้างรถของแต่ละรุ่นมันทำหน้าที่ปกป้องผู้โดยสารได้ดีที่สุดทั้งคู่โดยไม่แยกประเภทรถยุโรปและญี่ปุ่นจริงๆ ครับ

เห็นด้วยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โครงสร้างนิรภัยของรถญี่ปุ่นในไทยชอบตัดบางอย่างที่หลาย ๆ คนมองข้าม ออกตลอดเช่น คานกันชนหลัง เป็นต้นครับ หรือบางค่ายคืออาจจะลดประสิทธิภาพของเหล็กโครงสร้างนิรภัยเป็นแบบโลกที่ 3 ไปเลยก็เป็นไปได้ แต่ส่วนเปลือกตัวถังที่เคาะ ๆ กันนั้น จำได้ว่า พี่จิมมี่เคยบอกในรายการวิทยุว่า มาตรฐานของเหล็กรีดร้อนเปลือกตัวถังของรถยุโรป (Premium Brands) หนาอยู่ที่ 0.9 Millimetres ส่วนรถญี่ปุ่นหนาอยู่ที่ 0.7 Millimetres ครับ แล้วทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากเหล็กรีดร้อนแล้ว สีก็มีผลทำให้เสียงต่างกัน รถญี่ปุ่น รถอเมริกาทั่วไปยุคนี้สีบางมาก เมื่อเทียบกับรถยุโรป (Premium Brands) น่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2021, 11:01:45 โดย สบายใจที่จะทำแบบนี้ »

ออฟไลน์ rtong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,162
    • อีเมล์
เอาจริงนะ กระทู้แนวนี้เคยมีคนตั้งเมื่อตอนอุบัติเหตุ Z4 ชน Swift
ผมยังมองเหตุการณ์นั้นได้อยู่ว่า จริงแล้วโครงสร้างรถของแต่ละรุ่นมันทำหน้าที่ปกป้องผู้โดยสารได้ดีที่สุดทั้งคู่โดยไม่แยกประเภทรถยุโรปและญี่ปุ่นจริงๆ ครับ

จริงครับ 

   เหล็กหนาหรือบางไม่เกี่ยว อยู่ที่การออกแบบโครงสร้างว่าสามารถกระจายแรงปะทะได้ดีแค่ไหน  ที่สำคัญจุดที่ปะทะเวลาเกิดอุบัติก็สำคัญ    ถ้าชนบริเวณโครงสร้างจะมีความปลอดภัยมากว่า   แต่ถ้าเหินข้ามมาชนในส่วนของหลังคา  มีโอกาสจะเสียชีวิตสูงกว่า
    เคยจำได้ว่ารถยนต์ค่ายแรกๆที่ทดสอบการชน euroncap ได้ 5 ดาว  คือรถเล็กอย่าง Toyota yaris เจนที่ 2 นะครับ

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
เอาจริงนะ กระทู้แนวนี้เคยมีคนตั้งเมื่อตอนอุบัติเหตุ Z4 ชน Swift
ผมยังมองเหตุการณ์นั้นได้อยู่ว่า จริงแล้วโครงสร้างรถของแต่ละรุ่นมันทำหน้าที่ปกป้องผู้โดยสารได้ดีที่สุดทั้งคู่โดยไม่แยกประเภทรถยุโรปและญี่ปุ่นจริงๆ ครับ

เห็นด้วยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โครงสร้างนิรภัยของรถญี่ปุ่นในไทยชอบตัดบางอย่างที่หลาย ๆ คนมองข้าม ออกตลอดเช่น คานกันชนหลัง เป็นต้นครับ หรือบางค่ายคืออาจจะลดประสิทธิภาพของเหล็กโครงสร้างนิรภัยเป็นแบบโลกที่ 3 ไปเลยก็เป็นไปได้ แต่ส่วนเปลือกตัวถังที่เคาะ ๆ กันนั้น จำได้ว่า พี่จิมมี่เคยบอกในรายการวิทยุว่า มาตรฐานของเหล็กรีดร้อนเปลือกตัวถังของรถยุโรป (Premium Brands) หนาอยู่ที่ 0.9 Millimetres ส่วนรถญี่ปุ่นหนาอยู่ที่ 0.7 Millimetres ครับ แล้วทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากเหล็กรีดร้อนแล้ว สีก็มีผลทำให้เสียงต่างกัน รถญี่ปุ่น รถอเมริกาทั่วไปยุคนี้สีบางมาก เมื่อเทียบกับรถยุโรป (Premium Brands) น่ะครับ
เรื่องลดสเปคนี้นึกถึงค่ายลูกอมเลยนะครับ  ผมว่ารถแพงแล้วนะควรจะทำของให้สมราคาไม่ใช่ไปตัดอะไรออกครับ

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
:) จริงแท้แน่นอนครับ
ไม่ต้องถึงยุโรป ผมมี focus 2.0 gdi คันเก่า ที่ไม่ยอมขายอยู่คัน เทียบกับ ค่าย H เหมือนมวยคันละรุ่น
แค่ฝากระโปรงนี่ต่างกันแล้ว มองเข้าไปในห้องเครื่อง มองด้วยสายตาก็ต่างกันละ แทบไม่ต้องวัดครับ
ประตู เคยแกะออกใส่ลำโพง โอ้โห สังกะสีมาเองเลย
สำหรับรถบ้านๆ มันก็คือการลดต้นทุนดีดีนี่ล่ะครับ อีกอย่างเบา ประหยัดน่้ำมันไปด้วย ถ้ามันเบาแล้วผ่าน euro ncap ค่อยมาว่ากันใหม่
แต่ผมว่ารถที่ขายในบ้านเราไม่ใช่แน่ๆครับ ;D
เอาจริงๆผมว่าฮอนด้านี่ต้องโดนอีกรอบเหมือนสมัยบริโอ้ถึงจะยอมปรับปรุงคุณภาพครับ  ส่วนฟอร์ด โฟกัสจุกจิกมากมั้ยครับ
คันนี้ผมรับต่อจากน้องชายตอน 5 หมื่นนะครับ วิ่งมา 2 แสนโลแล้ว ถ้าเทียบกับเฟียสต้าที่เคยใช้ไม่จุกจิกเลยครับ แต่ต้องวิเคราะห์อาการเองเป็น
บำรุงรักษาในเชิงป้องกันไว้ก่อน เพราะหาช่างเก่งยากครับ ที่เปลี่ยนไปหนักๆมี พวกท่อยางต่างๆในห้องเครื่อง ผมไล่เปลี่ยนหมดเลย กับวาล์วน้ำครับ
ผมเปลี่ยนก่อนมีอาการ แล้วก็พัดลมหน้าเครื่อง เพราะรุ่นนี้ความร้อนสูงมากๆครับ เครื่องเกียร์ต่างๆยังดีอยู่เลยครับ อ้อ อีกอย่างพวกสายพานต่างๆอายุสั้นไปหน่อย
แค่ 7-8 หมื่นโลไปแล้วต้องเปลี่ยนครับ
ที่เหลือที่ไม่ยอมเปลี่ยนคือ 1.ขับสนุกมาก เกียร์ dct หาไม่ได้อีกแล้วครับ 2. ช่วงล่างประเสริฐที่สุด น้องออก fk แต่งช่วงล่างไป เหยียบแสน กลับมาขับยังอยากได้แบบคันนี้
3. การเก็บเสียง ซับแรงกระแทกดี ขับไม่เหนื่อยเลยครับ 4.อัตราเร่งสู้กับรถสมัยใหม่ได้สบายครับ กดกับ fk ก็ไม่เคยทิ้งผมได้นะ เดิมๆทั้งคู่ ถ้ารู้วิธีเรียกกำลัง เพราะคันเร่งมันหน่วงครับ 5. มันขายไม่ได้ราคาครับ เก็บไว้ใช้ดีกว่า ขับแค่ยามว่างก็คุ้มแล้วครับ 5555

ออฟไลน์ Stp

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,535
เรื่องปลอดภัยผมว่าอาจจะไม่ต่างกัน แต่การออกแบบโครงสร้างเพื่อรับแรงและปกป้องแตกต่างกันแน่นอน เอาแค่ภาพจากที่บางท่านโพสต์ก็ชัดเจนแล้ว
:D ;D ร่วมรณรงค์รักการอ่านหนังสือ แทนการถามตลอดเวลา ;D :D

ออฟไลน์ boogie2020

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,037
    • อีเมล์
แยกเป็นสองส่วนละกันคับ 

ถ้าตามหัวข้อกระทู้ > รถยุโรปใช้เหล้กหนาและคุณภาพดีกว่ารถญี่ปุ่นจริงเหรอ >  อันนี้จริงคับ ส่วนมากเป็นแบบนั้น

แต่ถ้าถามต่อว่า รถยุโรปที่ใช้เหล็กหน้าและคุณภาพดีกว่า มีความปลอดภัยกับผู้โดยสารเมื่อเกิดอุบัติเหตุมากกว่ารถญีีปุ่นไหม > อันนี้ไม่แน่คับ  เพราะต่อให้เหล็กบางกว่า แต่ออกแบบการซับแรงได้ดีกว่า มันก็ปลอดภัยกว่าได้   กระทู้ก่อน ก็มีให้เห็นแล้ว Chev belair โบราณเหล็กอย่างหนา มาชนกับรถยุคใหม่  Belair เหมือนจะยุบไม่เยอะ แต่ตัวหุ่นทดสอบเสียหายกว่ามาก

-----------------------------------------------------------
There is no spoon
-----------------------------------------------------------

ออฟไลน์ citrinecw

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 251
    • อีเมล์
ขอบคุณทุกท่านที่มาแชร์ความรู้นะครับ พอดีอาจจะไม่เห็นกระทู้ก่อนหน้าแต่ก็ได้ความรู้เยอะเลยครับ

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
MINI R56 เล็กกว่า March 2010 แต่ MINI หนัก 1.2ตัน มาร์ช 1ตัน

สองคันทดสอบการชน ด้วยน้ำหนักตัวเอง

ถ้าหันหน้าชนกัน MINI ได้เปรียบครับ

ออฟไลน์ sc_saetang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • อีเมล์
โรงงานผลิตรถยนต์บ้านเรายังไม่มีเจ้าไหนขึ้นรูปโครงโดยใช้ความร้อน ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของการเรียงตัวในโมเลกุลภายในเหล็กมีความแข็งแรงกว่า รถยุโรปส่วนใหญ่ส่งชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปโครงแล้วเข้ามาประกอบ อันนี้น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลนะครับ

ออฟไลน์ bennieT8

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 642
    • อีเมล์
จากประสบการณ์ส่วนตัวต้องบอกว่าความปลอดภัยต่างกันมากครับ  เอาแค่คันเก่าแคปติว่ารถสูงหนัก 1.8 ตัน  เคยเฉี่ยวชนกับทั้งรถเล็กอีโค่คาร์, แท็กซี่โคโรลล่า  จนถึง MB E-class  (แปลกแต่จริงคือโดนชนตอนผมจอดเฉยๆทุกครั้งเลย)  อีโค่คาร์ยุบถึงหม้อน้ำ โดยรถผมถลอกนิดเดียว  จนถึง E-class หน้าเตี้ยกว่า  มีเปลือกกันชนฉีก+กระโปรงหน้ายุบ  ส่วนกันชนผมบุบนิดเดียว