ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วงล่างด้านหลังแบบ torsion beam ระหว่างสปริงอยู่ในโช็คกับนอกโช็ค  (อ่าน 2285 ครั้ง)

ออฟไลน์ titiwat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 13
    • อีเมล์
ช่วงล่างด้านหลังแบบ torsion beam ระหว่างสปริงอยู่ในโช็คกับนอกโช็ค แบบไหนทำงานได้ดี เช่น ให้การทรงตัวกับความนุ่มนวล เห็นทั้งสองแบบเลยเกิดความสงสัย เช่น sieanta กับ yaris ativ ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,839
ความนุ่มนวลน่าจะขึ้นอยู่กับการเซ้ตค่าของโช้คและสปริง ผมยังไม่เคยขับของเซียนต้าเลยไม่แน่ใจนะครับ

แต่ถ้าสมรรถนะการเข้าโค้ง และการไหลลืนไปตามช่วงการจราจรโดยที่รถไม่โคลงเคลง​ รูปแบบของคานตัวนี้สำคัญกว่าครับ

จุดยึดของเซียนต้าหรือแม้แต่ถ้วยรองสปริงของ ativ จะคล้ายของนิสสัน ซึ่งแทบจะเรียกว่ายึดอยู่ใกล้คานก็ว่าได้ ทำให้รถอาจจะเกิดการโคลงเคลงได้เวลาทำการสลาลม

ส่วนบาร์ของมาสด้ากับฮอนด้า ทั้งถ้วยรับสปริงและจุดยึดโช้งจะตั้งอยู่บนแนวปีกนก แล้วค่อยเอาคานมาขวางไว้กับตัวปีกนก ทำให้เป็นรูปตัว H ซึ่งมันคลาย ปีกนก + กันโคลง ข้อทีาดีกว่าของคานแบบนี้คือ มันบิดและให้ตัวได้ ลักษณะการทำงานเหมือนกันโคลง + ปีกนก

เมื่อการเข้าโค้ง มันจะคล้ายๆว่ากดตัวถังฝั่งตรงข้ามให้ลงตามครับ

ถ้ามองแค่ของ ativ และ sienta คหสต. ผมว่า ativ จะเข้าโค้งได้ดีกว่าของทาง sienta ครับ แต่เรื่องการโคลงหรือความนุ่มนวล อันนี้ โช้คและสปริงพอช่วยได้ครับ

เช่นใช้ kyb กระบอกฟ้าที่วาล์วช่วงยุบและช่วงคืนตัวแต่ต่างกัน

*** ขอเสริมนิดนึงนะครับ พอดีเมื่อเช้าผมขับตาม sienta ผมพอนึกออกแล้วว่าทำไมเค้าต้องเอาสปริงไปรวมกับโช้ค... เพราะเค้าต้องออกแบบให้มีหลุมเพื่อพับเบาะตอน3ลงไปครับ ซึ่งถ้าเทียบกับ freed ไม่จำเป็นต้องใช้หลุม ก็สามารถใช้แพหลังเดียวกับ jazz ได้เลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2021, 10:30:41 โดย kiwiwi »

ออฟไลน์ samaklen

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,909
แยกน่าจะทำงานได้ดีกว่า
รวมกันน่าจะตอบสนองเร็วกว่า

ออฟไลน์ KATANA

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 258
สังเกตว่าแบบแยก มักจะเอาโช้คอัพไปไว้ปลายสุดของแขน หรือให้ห่างจากจุดหมุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เพราะจะทำให้โช้คอัพมีระยะยุบ-ยืดมากกว่าอยู่ใกล้จุดหมุน ทำให้โช้คเก็บอาการดีดดิ้นของสปริงได้ดีกว่าในค่าความหนืดเท่าๆ กัน

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,190
    • อีเมล์
สำหรับผมไม่มีความต่างครับ เพราะ

สปริง ทำหน้าที่ รับน้ำหนักตัวรถ และ ซับแรงกระแทก จากพื้นถนน

โช้ค ทำหน้าที่ คุมรถ คุมอาการรถ คุมการยุบๆ เด้งๆ ของสปริง ที่ทำระหว่างพื้นถนน กับ ตัวถังรถ ให้รถยุบแล้วไม่เด้งๆ เป็นเยลลี่ และ ไม่ให้สปริงยุบเร็วเกินไป  เคยถอดโช้คออก ให้เหลือแต่สปริง แล้วขย่มรถ มันนุ่มขึ้นกว่าแบบมีโช้ค 50-70% เลย (นั้นละคือหน้าที่ของโช้ค) เพื่อปรับแรงต้านโช้คนั้นเอง หรือปล่อยผ่านไปเลย(โช้ค by pass นั้นละ)

และอย่างสุดท้าย คือ เหล็กกันโคลง

ส่วน torsion beam ของแต่ละคัน ที่ต่าง

1. ค่า k ของสปริง อันนี้ นี้มากเขาจะคิดจากน้ำหนักรถอยู่แล้ว แต่ละคัน แต่ละรุ่น ไม่เท่ากัน
2. ความหนืดของโช้ค หรือ สเปคโช้ค
3. ฟิลลิ่ง ที่อยากให้เป็น ก็เอาข้อ 1. กับ 2. มารวมกัน
4. สุดท้าย อยู่ที่ จุดวาง จุดยึด จุดหมุน จุดรับน้ำหนัก

ถ้าถามแบบรถใช้งานทั่วๆ ไป ว่า แบบโช้ครวมสปริง ปรับ โช้คแยกสปริง อย่างที่ผมบอกตอนต้นว่า ไม่ต่าง

..
..
..
ปล.มันต่างในมุมรถแข่ง หรือ รถที่ต้องหน้าที่ของช่วงล่างเต็มที่ เพราะว่า องศาของสปริงที่ทำ ระหว่าง ปีนก vs ตัวรถ (ตรง vs เอียง)  และ องศาการยึดปีกนก vs ตัวรถของโช้ค (ตรง vs เอียง) มันมีผลต่อการตอบสนองของรถช่วงล่าง ช้า หรือ เร็ว และ นุ่ม หรือ แข็ง ในสเป็คโช้คเดียวกัน ก็ต่างกันเลย

ออฟไลน์ titiwat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 13
    • อีเมล์
ขอบคุณสำหรับความรู้ทุกท่านนะครับ

ออฟไลน์ yodmanoot

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 333
ผมขับ Sienta แต่ก็ไม่เคยขับ yaris ativ
นุ่มกลางๆ ช่วงล่างแข็งหน่อยๆ เหมือนทำมารองรับผู้โดยสารแถว2และ3 จำนวน 5 คน แต่มันก็เป็นรถ mpv
คงไม่น่าจะนุ่มเท่ารถเก๋งทำมารองรับผู้โดยสารแถว2 แค่ 3คน
2013 - 2021 : Toyota Collora EE101 ปี 1993 1,300cc AT
2020 - Present  : Chevrolet Colorado 4wd ปี 2005 3,000 MT
2021 - Present  : Toyota Sienta V mc ปี 2019 1,500 CVT