เรื่องแบตนี่ไม่เกี่ยวกับเงินเฟ้อเลยครับ
ถ้าเทคโนโลยีถึง ต้นทุนก็ถูกลงได้
ผมขอเทียบแบบนี้บ้าง เมื่อก่อน Nokia 3310 เครื่องละ 30,000 บาท โทรได้อย่างเดียว
ปัจจุบันมือถือเครื่องละ 3,000 บาท ทำได้ทุกอย่าง เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น
พี่ลองวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน Nokia 3310 ณ วันที่มันวางขายดูครับว่าใน
30,000 บาทนั้น เป็นต้นทุนวัสดุเท่าไหร่ ค่าเทคโนโลยี ค่าวิจัยเท่าไหร่ ค่าการตลาดเท่าไหร่
สินค้าที่ราคาขายได้ถูกลงมากๆ เมื่อวันเวลาผ่านไป อย่างโทรศัพท์มือถือ
มักมีสัดส่วนต้นทุนวัสดุที่ต่ำมาก แต่ถึงราคาขายจะถูกลงอย่างไร ท้ายที่สุดแล้ว
มันจะไม่สามารถขายให้ถูกลงไปกว่าต้นทุนวัสดุได้
แต่ลองกลับมามองที่แบตฯ สิครับว่า ในเนื้อราคาแบตฯ นั้น ต้นทุนวัตถุดิบมันมีสัดส่วน
เท่าไหร่ และวันข้างหน้า ต่อให้ผลิตเป็นจำนวนมากมายแค่ไหน ก็ไม่สามารถขายให้ถูก
ไปกว่าต้นทุนวัสดุได้ครับ
ผมอาจจะยกตัวอย่างได้ไม่ดี แต่ผมกำลังพูดถึงเทคโนโลยีครับ
มันจะไม่มีทางถูกลง ถ้าเทคโนโลยีการผลิตหรือวัสดุที่ใช้มันยังเป็นเดิม
แต่ถ้าในอนาคตสามารถทำ cell ให้เล็กลงได้โดยมีประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือมากกว่า
ส่งผลให้ใช้วัสดุน้อยลง (ซึ่งมีงานวิจัยแนวนี้อยู่เยอะลอง search ดูได้ครับ) มันก็เป็นไปได้ที่ราคาจะถูกลงนะครับ
ใช่ครับ ถ้าในอนาคต เทคโนโลยีในการผลิตแบตฯ เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด
และสามารใช้วัตถุดิบราคาถูกมาผลิตได้ ราคาก็จะถูกลงมากอย่างแน่นอน
แต่อย่างที่ผมได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมักจะเป็นการพัฒนาบน
สถาปัตยกรรมใหม่เลย และมักจะไม่สามารถใช้งานกับอุปกรณ์รุ่นเก่าได้
ดังนั้นการตั้งคำถามว่า ในอนาคต แบตจะถูกลงมั้ย มันมีสองนัยยะที่แฝงมากับคำถามคือ
1.ถ้ามันมีแนวโน้มมีโอกาสถูกลง งั้นรอจนตัวถูก รุ่นถูก มาถึงแล้วค่อยซื้อใช้
อันนี้โอเคอยู่ว่า ถ้าจะรอก็ไม่เสียหายอะไร
หรือ
2.ถ้ามันมีแนวโน้มจะถูกลง งั้นซื้อรถไฟฟ้าใช้เลยตอนนี้ เดี๋ยววันที่แบตฯ เสื่อม
ในอีกหลายปีข้างหน้า ราคาแบตฯ มันจะถูกลงเอง เปลี่ยนได้สบายๆ
ซึ่งกรณีนี้แหละที่คิดว่าจะไม่เป็นดังคิด เพราะถึงอีก 10 ปีข้างหน้า แบตฯ
จะถูกลงมาก แต่ผมคิดว่าแบตฯ สถาปัตยกรรมนั้น จะไม่สามารถใช้กับรถ
รุ่น 10 ปีก่อนนั้นได้น่ะสิครับ
ดังนั้น การติดสินใจที่จะซื้อรถไฟฟ้าใช้ในวันนี้ ขอให้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล
ราคา และประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน ถ้ารับได้ก็ลุยเลยครับ ถ้าวันหน้ามันจะถูกลง
และใช้กันได้ดีกับรถรุ่นเก่าก็ถือว่าเป็นกำไรไป