ในต่างประเทศ รถรับส่งนักเรียนนี่ เขามีกำหนดเป้ะๆ เลยว่า ต้องเป็นรถรุ่นไหน ลักษณะไหน
แต่ประเทศไทย รถตู้ป้ายฟ้า ยุค 80-90s ก็เป็นรถโรงเรียนได้ ในหมู่บ้านผมก็ยังมี
ในส่วนของรถสาธารณะ ก็ตามข่าวเลย คือ แชสซีส์อายุ 54 ปี เอามารีโนเวตด้วยโครงไม้ ก็ยังจดทะเบียนเป็นรถสาธารณะได้
แล้วถ้าจะมีการปรับแก้กฎหมายจำกัดอายุรถ เราก็จะได้เห็น ผู้ประกอบการ ออกมาโอดครวญ เดินขบวนประท้วงกันยกใหญ่ ไม่ต่างจากตอนจัดระเบียบรถตู้วิน
ทุกอย่างมีต้นทุน ถ้าจะให้เป็นรถรุ่นใหม่ๆก็ต้องแลกกับค่าบริการที่สูง
ส่วนตัวผมมองว่าไม่มีความปลอดภัยอะไรเลย ทั้งรถตู้โดยสารและรถบัส
เกิดเหตุรุนแรงขึ้นมาทีโอกาสเสียชีวิตหรือบาดเจ็บหนักสูงมากๆ
อันนี้ยากมากครับ รถนักเรียนเขาวนรับตามเส้นทางในเขต รร นั้นๆ
ส่วนไทย ถ้าในเมืองหน่อยก็ บ้านอยู่ที่นึง รรอีกฝั่งนึง ตามชื่อเสียงหรือความสะดวกของผู้ปกครอง
รถโรงเรียนเลยเป็นรถตู้ที่รับส่งเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆแทน
บริการพวกนี้ก็เป็นเอกชน ทำกันเองทั้งนั้น อาจมีโรงเรียนช่วยประสานงานให้เฉยๆ
เคสนี้คงโทษที่ผู้ประกอบการที่เอารถสภาพไม่ดีมาให้บริการ แต่ก็ไม่รู้ว่าทางโรงเรียน บีบงบด้วยหรือเปล่า เลยได้รถสภาพแย่มา
ส่วนทางขนส่งถ้าพิสูจน์ได้ว่า ยอมให้ต่อทะเบียนโดยที่ไม่ได้ตรวจให้ดี ก็ควรจะโดนด้วย
ผมอยากให้สังคณาพวกรถบัสกับรถบรรทุกมากๆ
รถบัสสภาพแย่ คนขับแย่ๆ รถเก่าผมเองไม่ขัดข้องถ้ามันได้มาตรฐานนะ
รถบรรทุกนี้ก็เหมอืนพยายามแบกน้ำหนักเยอะ ซึ่มันไม่สัมพันธุ์กับกำลังเครื่องยนต์ และช่วงล่าง เจอเนินแถวปากช่องก็คลานกันไป
ไหนจะรถคอกที่ดัดแปลงช่วงล่างเพื่อบรรทุกหนัก ขับแช่ขวา บอกว่ารถหนักเปลี่ยนเลนไม่ได้ พอมีอุบัติเหตุ ก็อ้างรถหนัก ระยะเบรคยาว... มันเห็นกันชัดๆอยู๋แล้วปัญหามาจากบรรทุกหนักแล้วทำไมถึงยังยิมให้ดัดแปลงเพื้อบรรทุกหนักกัน..