« ตอบกลับ #46 เมื่อ: เมษายน 03, 2011, 01:44:38 »
คือว่า.............
โอเค เรามาเริ่มกันก่อนที่เรื่องกฎหมายนะ
คือบ้านเราน่ะ กฎหมายบอกว่าเนื้อเหล็กที่จะมาทำรถน่ะ ต้องมีความหนาที่.....เอ่อ... 0.4 มิลหรืออะไรเนี่ยแหละครับ
แต่ที่ยุโรปและญี่ปุ่นเองกฎหมายมันบังคับให้สูงกว่า
ดังนั้น การประกอบรถเนี่ย มันจะตามประเทศและกฎหมายที่บังคับ
ดังนั้น รถญี่ปุ่นที่ประกอบไทยถึงได้ทำบางเฉียบตามมาตรฐานไทยเด๊ะ
แต่รถยุโรปหลายๆค่ายจะใช้มาตรฐานจากบริษัทแม่ในการประกอบ อันคำนึงถึงภาพลักษณ์ และ ความปลอดภัยครับ
แต่อย่างคันที่ผมใช่อยู่ VW Passat B5 1.8 อันนี้ของผมส่งตรงมาจาด เยอรมัน ครับ ประกอบมาทั้งคัน ผมเลยวางใจหน่อย
แต่ไอ้เบนซ์นี่ ไม่ค่อยได้ขับครับ ของพ่อ พ่อบอกว่าไม่ให้ขับ เพราะ.....................
เดี๋ยวมรึงเอาของกรูวไปชน ประวัติยิ่งแย่ๆอยู่นะมรึงน่ะ
PS. เอ่อ ไอ้ที่เหยียบ 160 น่ะ เฉพาะบนทางยกระดับน่ะครับ ตอนนั้นยังสมัยหนุ่มๆ ........... เฮ่อ....คิดถึงตอนนั้นจังเนอะ
ความแข็งแรงไม่เกี่ยวกับสัญชาติ
การเป็นรถยนต์ยุโรปคันโต ทำให้ดูแล้วแข็งแกร่งบึกบึนกว่ารถยนต์ญี่ปุ่นคันเล็ก มีส่วนจริงบ้างในเรื่องขนาด ที่รถยนต์คันโตมีแนวโน้มที่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่า เช่น ถ้าเทียบโตโยต้า คัมรี กับโตโยต้า โซลูนา แน่นอนว่า คัมรีย่อมน่าจะแข็งแรงกว่า
ส่วนเรื่องสัญชาติของรถยนต์ ที่เชื่อกันว่ารถยนต์ยุโรปต้องแข็งแรงกว่ารถยนต์ญี่ปุ่นเสมอ เป็นเรื่องที่เป็นความจริงในอดีตยุคที่รถยนต์ญี่ปุ่นเพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น
ปัจจุบันรถยนต์ญี่ปุ่นหลายร้อยรุ่นถูกส่งไปทำตลาดทั่วโลก ซึ่งในหลายประเทศมีความเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยของตัวถังและห้องโดยสารภาย หลังการชนของรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติใด ๆ นำเข้าทั้งคันหรือประกอบในประเทศก็ตาม
เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป รถยนต์รุ่นต่าง ๆ ต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ทดสอบการชนด้านหน้าแบบเต็มหน้า แบบครึ่งหน้า ด้านข้าง ระดับความเร็วที่แตกต่าง แต่ไม่ว่าจะทดสอบแบบไหน รถยนต์ที่วางจำหน่ายต้องผ่านการทดสอบการชนมาก่อน
เรื่องสัญชาติรถยนต์กับความแข็งแรง ในความรู้สึกของหลายคน มีแนวโน้มว่า รถยนต์ญี่ปุ่นจะบอบบางกว่าบ้าง ทั้งที่ในปัจจุบันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป เพราะผลจากการทดสอบการชน พบว่า รถยนต์ญี่ปุ่นหลายรุ่นในกลุ่มการทดสอบ มีความปลอดภัยมากกว่ารถยนต์ยุโรป
อีกเหตุผลที่ทำให้รถยนต์ญี่ปุ่นถูกมองว่าบอบบางกว่า เป็นเพราะถูกนำไปเปรียบเทียบกับรถยนต์ยุโรปที่แตกต่างระดับชั้นกัน เช่น นิสสัน เซนทรา ย่อมเทียบชั้นด้านความแข็งแกร่งกับบีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 3 ไม่ได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบรถยนต์ญี่ปุ่น-ยุโรป ในระดับและราคาใกล้เคียงกัน การจะบอกว่ารถยนต์สัญชาติใดแข็งแรงกว่า ต้องดูจากผลการทดสอบจากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่างละเอียด ใช้ความเชื่อเดิม ๆ มาตัดสินไม่ได้แล้ว
โปรดดูนี่ให้จบด้วย Volvo รุ่นนี้แข็งมากๆ พิสูจน์ได้ตามถนน ถูกชนท้าย ไปชนท้าย มันแทบไม่เป็นอะไร แต่ถ้ามันชนหนักๆ มันไม่แข็งเลย