ผู้เขียน หัวข้อ: มีใครสนใจ "ปริมาตรกระบอกสูบ+ช่วงชัก" บ้างมั้ยครับ 2 อย่างนี้ แสดงถึงอะไรบ้าง??  (อ่าน 14855 ครั้ง)

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,162
มีใครสนใจปริมาตรกระบอกสูบหรือช่วงชักของเครื่องกันบ้างมั้ยครับ

เจ้า 2 อย่างนี้ มันแสดงถึงบุคลิคของเครื่อง(และรถที่เราจะซื้อ)อะไรได้บ้าง
ผมเข้าใจว่า ช่วงชักยาว ทำให้มีแรงบิดรอบต่ำๆได้ดี(ไม่แน่ใจเหมือนกัน)

เพราะผมสังเกตุว่า สเปคเครื่องยนต์มันแสดงได้แค่แรงม้าและแรงบิดสูงสุด
แต่ไม่เคยมีเจ้าไหนบอกว่า รอบต่ำๆมันเป็นยังไง

อย่าง HR16DE วางในทีด้า เครื่อง 1.6 แต่ใครจะไปคิด ว่ามันจะวิ่งได้ดี
พอไปขึ้นไดโนดู เห็น 1.6 ของทีด้า มีแรงบิดเกือบ 90% มาตั้งแต่รอบยังไม่ถึง 2 พัน
มันถึงได้ประหยัด+เร่งติดเท้าขนาดนี้

เลยอยากทราบว่า ปริมาตรกระบอกสูบ และช่วงชัก
มันแสดงบุคลิคของเครื่องยังไงบ้างครับ??

ออฟไลน์ NONT4477

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9,577
  • Let the SKYFALL
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มากมายนักเท่าไหร่นะครับ
แต่เท่าที่รู้คือพวกรถ Pony car, Muscle car ทั้งหรือแม้แต่ตระกูลAMG หรือ Bentley ที่ใช้เครื่องเก่า รถพวกนี้ช่วงชักยาว (Push rod)
ทำให้มีแรงบิดสูง ออกตัวทีล้อฟรีกระจาย
Top Gear's Biggest FAN!!! (IN MY House)
I'm NAC1701  ^ ^

Pom_m

  • บุคคลทั่วไป
ผมขอถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ  ;D

อะไรเป็นข้อเสีย หรือข้อจำกัดของเครื่องที่มีช่วงชักยาวครับ
ผมก็เคยได้ยินมาว่า ช่วงชักยาว จะได้แรงบิดรอบต่ำๆได้ดี

ถ้ายังงั้น ทำไมทุกค่ายถึงไม่ใช่วิธีนี้
ขอบคุณครับ

birm

  • บุคคลทั่วไป
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มากมายนักเท่าไหร่นะครับ
แต่เท่าที่รู้คือพวกรถ Pony car, Muscle car ทั้งหรือแม้แต่ตระกูลAMG หรือ Bentley ที่ใช้เครื่องเก่า รถพวกนี้ช่วงชักยาว (Push rod)
ทำให้มีแรงบิดสูง ออกตัวทีล้อฟรีกระจาย


แก้หน่อยนะครับ
Pushed Rod คือ กระเดื่องวาล์วสำหรับรถ OHV ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Overhead_valve

birm

  • บุคคลทั่วไป
http://en.wikipedia.org/wiki/Stroke_ratio

Stroke Ratio มันบอกบุคลิกเครื่องยนต์โดยคร่าวๆหน่ะครับ

โดยการนำเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบ (BORE) มาหารกับช่วงชักกระบอกสูบ (STROKE)
จะได้ Stroke Ratio
โดยจะแบ่งได้ดังนี้

Oversquare Ratio (Stroke Ratio > 1) เครื่องชักสั้น
กระบอกสูบใหญ่กว่าช่วงชัก ทำให้ใส่วาล์วได้เยอะ อากาศเข้าได้เร็ว แรงเสียดทานมีน้อย ภาระที่เกิดกับก้านสูบและข้อเหวี่ยง ก็น้อยครับ รถพวกนี้ส่วนใหญ่จะทำให้ผลิตแรงบิดสูงสุดได้ในรอบสูง

Undersquare Ratio (Stroke Ratio < 1) เครื่องชักยาว
ช่วงชักยาวกว่ากระบอกสูบ ภาระที่เกิดกับก้านสูบและข้อเหวี่ยงมีมาก แต่ทำให้ผลิตแรงบิดสูงสุดในรอบต่ำได้ดีครับ

Square Ratio จะเป็นเครื่องที่มีบุคลิกกลางๆ

...
ยกเว้น Honda พวก B series กับ K series นะครับ
พวกนี้ใช้ Square หรืแ Understroke engine แต่แรงบิดกับแรงม้ารอบสูงมาก

เพราะฉนั้น Storke Ratio ใช้เป็นแนวทางบอกบุคลิกรถยนต์ได้ แต่ไม่ได้ตัดสินกันอย่างนั้นเสมอไปครับ

ออฟไลน์ NONT4477

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9,577
  • Let the SKYFALL
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มากมายนักเท่าไหร่นะครับ
แต่เท่าที่รู้คือพวกรถ Pony car, Muscle car ทั้งหรือแม้แต่ตระกูลAMG หรือ Bentley ที่ใช้เครื่องเก่า รถพวกนี้ช่วงชักยาว (Push rod)
ทำให้มีแรงบิดสูง ออกตัวทีล้อฟรีกระจาย


แก้หน่อยนะครับ
Pushed Rod คือ กระเดื่องวาล์วสำหรับรถ OHV ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Overhead_valve
ขอบคุณครับ ;D
Top Gear's Biggest FAN!!! (IN MY House)
I'm NAC1701  ^ ^

ออฟไลน์ NONT4477

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9,577
  • Let the SKYFALL
ผมขอถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ  ;D

อะไรเป็นข้อเสีย หรือข้อจำกัดของเครื่องที่มีช่วงชักยาวครับ
ผมก็เคยได้ยินมาว่า ช่วงชักยาว จะได้แรงบิดรอบต่ำๆได้ดี

ถ้ายังงั้น ทำไมทุกค่ายถึงไม่ใช่วิธีนี้
ขอบคุณครับ
ผมคิดว่าแบบนี้ครับ
รถยนต์นั่งในบ้านเราทั่วไปความจุกระบอกสูบไม่มากนัก 1.2-2.5L
ถ้าลูกสูบไม่ใหญ่จริง ผมว่าแรงอัดที่จะหมุนมันจะไม่พอกระมังครับ
Top Gear's Biggest FAN!!! (IN MY House)
I'm NAC1701  ^ ^

birm

  • บุคคลทั่วไป
ผมขอถามเพิ่มเติมหน่อยนะครับ  ;D

อะไรเป็นข้อเสีย หรือข้อจำกัดของเครื่องที่มีช่วงชักยาวครับ
ผมก็เคยได้ยินมาว่า ช่วงชักยาว จะได้แรงบิดรอบต่ำๆได้ดี

ถ้ายังงั้น ทำไมทุกค่ายถึงไม่ใช่วิธีนี้
ขอบคุณครับ

ผมว่ามันอยู่ที่คอนเซปต์การกำหนดบุคลิกรถยนต์ด้วยส่วนหนึ่ง ข้อจำกัดทางวิศวกรรมอีกส่วนหนึ่งนะครับ

รถชักสั้น จะมีเครื่องที่กว้าง และแบน ทำให้ใส่ในห้องเครื่องรถขับหน้าเล็กๆไม่ไหว เพราะจะทำให้รถมีวงเลี้ยวเท่าดาวพฤหัส (ถ้าจะให้พูดถึงรถเก๋งวงเลี้ยวกว้าง... ลอง S80 รุ่นที่แล้วสิครับ) แล้วไหนจะเรื่องการออกแบบเพื่อขับรถในเมือง ที่ต้องใช้แรงบิดในรอบต่ำเป็นส่วนมาก เป็นต้นครับ

ออฟไลน์ MC Stradale

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,490

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,447
  • Long live M/T
เครื่องชักยาว แรงบิดรอบต่ำดี และอีกอย่างนึงคือเรื่องเล็กๆน้อยเช่นแรงเสียดทานและน้ำหนักลูกสูบ

ลองเอาลูก 92 ม.ม. ของ Subaru มา เทียบกับลูก 86 ม.ม. ของ SR20 ลูกสูบหนาเท่ากัน
แต่น้ำหนักของลูกเล็กจะเบากว่า รถ 4 สูบเครื่องเล็กๆหลายรุ่นจะชอบชักยาวแบบนี้
แต่การที่มีช่วงชักยาว ทำให้ความเร็วในการเดินทางของลูกสูบสูง ภาระไปตกที่สลักสูบ
กับข้อเหวี่ยง

ลองนึกดูสิครับ ถ้าช่วงชัก 99 ม.ม. มาเจอกับช่วงชัก 86 ม.ม. แล้วคุณเร่งรอบไป 7,500 รอบต่อนาที
ภาระตรงจุดนั้นต่างกันเยอะ เครื่องชัก 86 ม.ม. เร่งไป 8500 รอบ ภารกรรมเพิ่งจะเท่ากับเครื่องชัก
99 ม.ม.ที่เร่ง 7500 รอบต่อนาที

เหตุนี้ตอนที่นิสสันอยากทำเครื่อง 4 สูบโรงงานที่หมุนได้เกือบหมื่นรอบแล้วเป็น 1.6 ลิตร
เขาเลยใช้ SR16 ที่เอา SR20 มาลดระยะชัก

ปากกระบอกสูบที่โต ยังมีดีอีกตรงที่พื้นที่หน้าตัดวงกลมเยอะ ขนาดของวาล์ว และพื้นที่หน้าตัดรวม
ของช่องวาล์ว (ไม่ใช่จำนวนวาล์ว...เครื่อง Audi 1.8 20 วาล์ว 5 วาล์วต่อสูบตัวปี 94 นั่นก็ชักยาวสูบแคบนะ)
รวมกันแล้วได้เยอะกว่า

สมัยก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีวาล์วแปรผันนี่นา ก็ต้องมาเล่นกับอย่างอื่น แต่ยุคนี้มีวาล์วแปรผัน
เราไม่ต้องยึดกับความกว้างปากกระบอกสูบก็ได้ เครื่อง EJ20 ปากสูบกว้าง ระยะชักสั้น
ก็ยังกระทืบออกตัวแรงบิดดี อย่างใน Impreza 2.0i ธรรมดาๆนั่นไง ใช้การแปรผันวาล์ว
มาช่วยประจุไอดีรอบต่ำ เพิ่มแรงบิดรอบต่ำได้ หรือเครื่องชักยาว อยากให้รอบสูงปี๊ด
วาล์วไม่โต..ก็ใช้แค็มองศาสูงช่วยได้ (B20ฝา B16 จะมาแนวนี้)

แต่ท้ายสุด ฟิสิกส์ก็คือฟิสิกส์ การทำเครื่องชักยาวให้ลากรอบได้สูงโดยใช้ก้านสูบ สลักคุณภาพพอประมาณ
ต้นทุนไม่สูงวัสดุไม่ต้องเลิศ ก็ต้องลดช่วงชักให้ต่ำเข้าไว้

แต่พูดจริงๆนะ ถ้าเป็นในตลาดรถบ้าน เทรนด์การลากรอบเอาแรงมันกำลังจะตายแล้ว ทุกวันนี้
เครื่องชักยาวเทอร์โบ แรงบิดกว้างๆ ตอบโจทย์ได้ดีกว่าทั้งในการใช้งานและด้านการลดมลภาวะ
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

chaivat

  • บุคคลทั่วไป
ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนี้มากมายนักเท่าไหร่นะครับ
แต่เท่าที่รู้คือพวกรถ Pony car, Muscle car ทั้งหรือแม้แต่ตระกูลAMG หรือ Bentley ที่ใช้เครื่องเก่า รถพวกนี้ช่วงชักยาว (Push rod)
ทำให้มีแรงบิดสูง ออกตัวทีล้อฟรีกระจาย


แก้หน่อยนะครับ
Pushed Rod คือ กระเดื่องวาล์วสำหรับรถ OHV ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Overhead_valve

สวัสดีครับ
อ่่านแล้วผมว่าคงเข้าใจผิดเีรื่องการเรียกชื่อ

Pushed Rod ที่ผมทราบน่าจะเป็น ลูกกระทุ้งวาว จะใช้ในกรณีที่ เพลาราวลิ้นอยู่ด้านข้างเสื้อสูบ เลยต้องมี Pushed Rod
                 เพื่อส่งแรงไปยกกระเดื่องกดวาว ( Rocker arm ) ที่อยู่เหนือฝาสูบด้านบน เพื่อกดวาวที่ฝาสูบอีกที
                 ปัจจุบันรถส่วนมากเป็น Overhead camshaft  เลยไม่ค่อยเห็น Push rod กันแล้ว

ตัวก้านสูบที่พูดกันเรื่องระยะชัก เขาเรียก Connecting rod ครับ

ตามความเข้าใจเรื่อง Engine parts ของผมเป็นไปตามนี้ครับ

popdemonic

  • บุคคลทั่วไป
เคยสนใจครับ อย่างน้อยมันจะเป็นตัวบ่งบอกคาแรคเตอร์ของเครื่องยนต์ตัวนั้นๆ แต่อย่าลืมว่าองค์ประกอบที่จะแสดงลักษณะของเครื่องยนต์ตัวนั้นๆ

ให้ชัดเจนขึ้นหรืออาจะผิดเพี้ยนไปเลยมันมีส่วนอื่นเข้ามาประกอบการพิจารณา เช่นระบบDrivetrain ที่มันพ่วงต่อจากเครื่องยนต์ เข้าไปด้วยครับ

ปัจจุบันยอมรับว่า ไม่ได้ให้ความสนใจมากนักแล้วเพราะว่า อ่านๆไปเดี๋ยวมันก็ลืมแล้วครับ ยอมรับว่าปัจจุบัน รุ่นรถมันออกมาเยอะแยะตาแป๊ะไก่

แค่จำว่าเครื่องตัวนี้ ตัวนั้น ความจุเท่าไหร่นี่ก็ไม่หวั่นไม่ไหว มันไม่เหมือนสมัย15ปีที่แล้ว เครื่องยนต์ตัวนนั้นๆสำหรับนักเลงรถ ก็มีไม่กี่ตัว รถบ้าน

ออกมา 3 รุ่นมัน ก็ใช้เครื่องยนต์ สหกรณ์ร่วมกัน มันก็จำง่าย ยี่ห้อ A มีเครื่องตัวนี้ๆๆ ยี่ห้อ B มีเครื่องตัวนั้นๆๆๆ อันนี้ โอเวอร์สแควร์ อันนั้นเครื่องอันเดอร์สแควร์

เดี๋ยวนี้เลิกสนใจ เลิกจำแล้วครับ ไม่ไหวครับ

ออฟไลน์ warez

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 693
ช่วงชักยาว=รอบต่ำ แรงบิดสูง แรงม้าต่ำ พบเห็นได้ตามรถบรรทุก
ชักสั้น = รอบสูง แรงบิดต่ำ แรงม้าสูง พบได้ในรถเก๋งทั่วๆไป


รถที่ต้องการสมรรถนะในการแข่งมากกว่าการบรรทุกจะใช้หลักการชักสั้น ดันเร็ว ดูได้ตามสนามแข่งเช่นF1
รถบรรทุกจะเน้นแรงบิดใช้หลักการชักยาว ชักช้าๆไม่ต้องชักไว

ออฟไลน์ YenChar

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,162
ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำตอบนะครับ

ขอรบกวนถามอีกซักหน่อย

สมมุติ เครื่อง 1.6 เท่ากัน
รถคันแรก กระบอกสูบใหญ่ ช่วงชักสั้น
รถคันที่สอง กระบอกสูบเล็กกว่า แต่ช่วงชักยาวกว่า

เป็นไปได้มั้ยครับ ที่รถคันแรก จะแรงกว่า ถ้าขับโหดๆ ลากรอบยาวๆ
แล้วหมายความว่า คันที่สอง จะขับง่ายกว่า และประหยัดกว่า??

ปล. เก็บความรู้ด้วยคนครับ ขอบคุณๆ

ออฟไลน์ banch

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,208
ดูเครื่องของ D max

เครื่อง 2.5 

Bore x Stroke 95.4 x 87.4

เครื่อง 3.0  VGS

Bore x Stroke 95.4 x 104.5


ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,447
  • Long live M/T
การเทียบตรงมันยาก เพราะผมนึกไม่ออกจริงๆว่าเราจะกำหนดเงื่อนไขเหมือนกันทุกอย่างยกเว้น
กระบอกสูบและช่วงชักได้อย่างไร แต่ใช่..ความเป็นไปได้ก็คือถ้าชักสั้นสูบกว้าง..รอบจัด สนุก
ถ้าชักยาว สูบแคบ แรงบิดได้ใช้งานจริงเยอะกว่า และมีแนวโน้มที่จะประหยัดน้ำมันกว่า

ใช้วิธีดูจากการจัดการของผู้ผลิต Nissan ทำเครื่องใช้งาน..ก็จะชักยาว อย่าง GA16,QG16
และ HR16 (แต่ MR18 กลับเป็นชักสั้นนะ) พอต้องการทำพันหกที่หมุนได้ 8,000-10,000 รอบ
กลับไม่เลือกที่จะเอา GA มาทำ ไปเอาเครื่อง SR มาหดช่วงชักลง รองรับรอบสูงได้ดีกว่า
ฝาสูบประจุไอดีคายไอเสียได้ดีกว่า

หรืออย่าง Subaru ที่ทิ้ง EJ20 ไป..พอทำ Impreza รุ่นล่าสุดออกมา ต้องการให้ประหยัดเชื้อเพลิง
และมลพิษต่ำลงชัดเจน เขาทำเครื่อง FB ออกมาเป็นชักยาว (EJชักสั้นและลูกโตมากกก)
แต่อะแฮ่ม..พอจะหาเครื่องขับสนุกไปใส่ใน 86/BR-Z กลับไม่เอา FB ไปใช้ แต่ใช้เป็น FA แทน
คือกลับไปชักยาว แม้ลูกจะไม่โตเหมือน EJ ก็ตาม

อันนี้คือสิ่งที่ชวนให้คิดได้ว่าเมื่อถึงคราวขับสนุกและลากรอบจัด การขยายลูก หดระยะชัก
ก็ยังมีคนที่เลือกวิธีนี้อยู่

แต่ก็มีคนที่ไม่ได้เลือกวิธีตามแนวนี้เสมอไป

ทะด๊า..4A ไง
ปากกระบอก 81 ช่วงชัก 77 แล้วก็ใช้แบบนี้ตั้งแต่รองรับตั้งแต่ 4A-F,FE 6,000 รอบไปจนถึง
ตระกูล GE ที่ลาก 7,800 รอบต่อนาที แล้ว 4A-FE เป็นเครื่องที่ขับรอบต่ำแย่กว่า GA16DE หรือเปล่า?
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ M-Titan Man@NacT

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 331
ลูกโตชักสั้น รอบต้นรอรอบ กลางปลายดี ปลายไหลด้วย แต่ถ้าผ่อนคันเร่งจะไต่ความเร็วยากกว่าชักยาว

ลูกเล็กชักยาว แรงบิดดีรอบต่ำ มาไว กลางใช้ได้ ปลายหด

ถ้าชอบซิ่งต้องอย่างแรก  ถ้าขับแบบพ่อบ้าน ชอบประหยัด ถนอมรถต้องอย่างหลัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ที่อัตราทดเกียร์ เฟืองท้ายด้วย