ผู้เขียน หัวข้อ: อยากจะสงสัยว่า ทำไมค่ายรถต่างมันไม่ทำ LPG ติดมาจากโรงงานเลยอ่ะ เห็นแต่ CNG  (อ่าน 28186 ครั้ง)

ออฟไลน์ Headman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,152
มันมีอยู่นะครับ เคยเห็นรถจีน ยี่ห้อ DFM ก็ติดมาจากโรงงานนะครับ
แต่จะว่าไปครับ LPG ผมมีความเห็นว่า น่าจะเหมาะกันอุตสาหกรรมอาหารมากกว่าการขนส่งนะครับ  ;D
เรารักจ่าโท :))))

ออฟไลน์ ChiLun

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,382
  • F10 525d M sport

ปตท ตอนนี้เริ่มขาย LPG เองมาซักพักแล้วครับ เนื่องจากรถบ้านที่ติดเพิ่มขึ้นทุกวัน
ซึ่งน่าจะมากกว่า NGV ที่มีแท๊กซี่และรถบรรทุกเป็นกลุ่มหลัก

ใครที่มีที่ตามแนวท่อส่งก๊าซแล้วเปิดปั๊มจะสบายที่สุดเพราะจะไม่มีปัญหาเรื่องก๊าซหมด หมดเมื่อไหร่ก็ดึงจากท่อมาขาย
ส่วนปั๊มที่ต้องอาศัยการขนส่งทางรถก็อย่างที่เห็นๆกัน ถ้าส่งไม่ทันก็ก๊าซหมด

ออฟไลน์ wooot

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 304
    • อีเมล์
....ติดตามอ่านแล้วมีคำถามคาใจมาถามสมาชิกครับ
   
ประมาณเดือนสองเดือนที่แล้วผมผ่านตาข่าว รัฐบาลจะเช่าที่ในต่างจังหวัดเพื่อให้ ปตท ตั้งปั๊มขาย CNG พร้อมๆกับลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เลยไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ กับ ปตท ปัจจุบันรัฐบาลถือหุ้น ปตท อยู่หรือเปล่า เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ครับ รัฐบาลจะได้อะไรจากการลงทุนนี้
     
อีกอย่างเคยเห็นในต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ เห็นหัวจ่าย LPG ตั้งคู่กับหัวจ่ายน้ำมัน !!! โดยราคาต่ำกว่าประมาณครึ่งนึงของน้ำมัน E10 (กก ละ 19-20 บาท/น้ำมัน e 10 ลิตรละประมาณ 45 บาท)  ไม่แน่ใจว่าราคาที่ตั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือเปล่า (คำที่บ้านเราเอามาขอความเห็นใจจากผู้บริโภค) หากบ้านเราปล่อยราคา LPG ลอยตัว จะตก กก ละกี่บาทครับถึงจะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แล้วหากปล่อยลอยตัวๆ จริงๆ จะยังเติม LPG กันอยู่หรือเปล่า...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2012, 15:38:54 โดย wooot »

ออฟไลน์ Northbridge

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 751
หลังๆมานี่ไม่ได้ยิน ทั้ง ปตท ทั้งภาครัฐ พูดเรื่อง LPG อันตรายกว่า CNG นานมากแล้วนะ หรือผมไม่ได้สนใจไม่รู้

NgoH

  • บุคคลทั่วไป
NGV + LPG ขึ้นราคาใครได้? มารับรู้จาก สว.รสนา

ข่าวจากทีวีช่องต่าง ๆ เล่นแต่ข่าว NGV แต่ไม่พูดถึง LPG ที่จะมีผลกระทบที่มากมาย สื่อหลักไม่ค่อยอยากเล่นข่าวประเภทนี้ เพราะทุกช่องหากสังเกตุให้ดี จะมีโฆษณาของปตท.ทุกช่อง ยกเว้นสื่อดาวเทียมที่พอมีจะเล่นมากหน่อย และจาก manager online ที่ได้เชิญ สว.รสนา ร่วมรายการในรายการ "คนเคาะข่าว" จึงขอนำมาให้อ่านกัน
“รสนา” ชำแหละ “ปตท.-รัฐบาล” สุมหัวสูบเลือด ปชช. ถามจะยอมต่อไปหรือ
“รสนา” ชำแหละต้นทุน NGV ที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อกิโลฯ แต่ ปตท.มั่วนิ่มตั้งสูงถึง 8.39 บาท ชี้ม็อบเสียรู้รัฐบาลอย่างจัง เพราะยอมให้ขึ้นราคาแล้วไม่มีทางลงแน่นอน รู้ทันใช้เทคนิคค่อยๆ ขึ้นทีละ 50 สต. จนคนไทยเดือดร้อนแบบไม่รู้ตัว พร้อมถามจะยอมถูกต้มอย่างนี้ต่อไปหรือ ด้าน “อิฐบูรณ์” แฉ LPG ยิ่งหนัก ปล่อยขึ้นราคาแบบไม่มีลิมิต อีกทั้งยังโกหกโทษรถยนต์ทำให้ขาดแคลน ที่แท้อุตสาหกรรมเครือ ปตท.เองคือต้นเหตุ
วันที่ 9 ม.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.และประธานคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมพูดคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ASTV
น.ส.รสนา กล่าวถึงกรณีขึ้นราคาก๊าซ NGV ว่า ปัญหาอยู่ที่นักวิชาการก็ตาม ปตท.ก็ตาม ชอบพูดว่าราคาก๊าซ-พลังงานต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่ต้นทุนที่แท้จริงเคยเอามาเปิดเผยหรือไม่ ราคาจากเอกสารโฆษณาของ ปตท.เอง ระบุว่าราคา NGV อยู่ที่ 8.39 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมันไม่ใช่ต้นทุนจริง มันเป็นราคาที่ขายให้กับ กฟผ. ซึ่งรวมค่าบริหารจัดการ รวมค่าผ่านท่อ รวมกำไร และยังบวกค่าขนส่งอีก 5.56 บาท เท่ากับค่าขนส่ง 40 เปอร์เซ็นต์ มันมีกิจการอะไรที่ค่าขนส่งมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ส่วนราคาก๊าซในตลาดโลกเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2554 อยู่ที่ 2 เหรียญ 79 เซ็นต์ต่อ 1 ล้านบีทียู 1 ล้านบีทียู เป็นค่าความร้อน ถ้าแปลงให้เป็นกิโลกรัมก็คือเท่ากับ 27.82 กก. พอเป็นเงินไทยเฉลี่ยตกที่กิโลกรัมละ 3.37 บาท นี่คือต้นทุนตลาดโลก มันสะท้อนต้นทุนตรงไหน
อีกทั้งราคาก๊าซธรรมชาติปี 2007-2011 ขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2008 หลังจากนั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทิศทางในตลาดโลกเป็นขาลง แต่คุณกลับสวนขึ้นและขึ้นในยามที่คนกำลังลำบากจากปัญหาน้ำท่วม
อีกทั้งความจริงแล้วราคาผ่านแนวท่อก๊าซมันถูกมาก เมื่อปี 2552 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานอนุญาตให้ปตท.ขึ้นค่าผ่านท่อได้ 2 บาท ต่อ1 ล้านบีทียู ก็คือรวมแล้ว 22 บาท กับอีกเศษนิดหน่อย ต่อ 27.82 กก. เฉลี่ยแล้วไม่ถึง 1 บาทต่อกก. สมมุติเอาราคาตลาดโลก 3.37 บาท บวก 1 บาท อยู่ที่ 4 บาท แต่คุณบวกค่าขนส่งมหาโหดอย่างนี้ได้อย่างไร
ก๊าซถ้าส่งตามแนวท่อจะถูกที่สุด ตามธรรมชาติของก๊าซเหมาะกับรถที่ใช้วิ่งเป็นทางประจำเช่นรถเมล์ สามารถทำปั๊มเฉพาะที่เป็นจุดจอดรถ แต่นี่รัฐบาลมาสนับสนุนให้รถเล็กมาใช้ ใช้อำนาจรัฐทุกอย่างบังคับให้มาใช้ NGV
น.ส.รสนากล่าวอีกว่า วันนี้กลุ่มอุตสาหกรรมขนส่งทั้งหลายที่ออกไปต่อต้านการขึ้นราคา NGV เสียท่ารัฐบาลไปแล้ว สิ่งที่ทำวันนี้ไม่มีความหมายเลย เมื่อยอมเปิดบริสุทธิ์ให้ขึ้น 50 สตางค์แล้ว ไม่มีทางลด นั่นก็เพราะขาดข้อมูลในมือ ต้องให้ ปตท.เปิดเผยตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงออกมา
น.ส.รสนากล่าวว่า ทรัพยากรของไทยถูกขุดขายเพิ่มขึ้นทุกปีในขณะที่รายได้เข้ารัฐไม่ได้เพิ่มตาม ข้อมูลของ EIA (Environmental Impact Assessment) ไทยผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่ที่อันดับ 23 ของโลก จาก 224 ประเทศ มากกว่าหลายๆ ประเทศที่เป็นกลุ่มโอเปก เรามีทรัพยากรมหาศาล แต่ทุกคนบอกว่าเราต้องพึ่งพา นำเข้าตลอด

สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ ปตท.ใหญ่เกินไป มีอำนาจเหนือตลาดหลักทรัพย์ เหนือรัฐบาล และสื่อ เพราะไม่มีประเทศไหนที่ปล่อยให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีขนาดเงินหมุนเวียนใหญ่กว่ากระทรวงการคลังเกิน 3 เท่า น่ากลัวที่รัฐบาลปล่อยให้ปตท.อยู่ในสภาพที่เป็นทั้งรัฐและเอกชน โดยให้รัฐถือหุ้น 51.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อคงความเป็นรัฐอยู่ จะได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ซึ่งอะไรที่มันใหญ่เกิน ถ้าล้มนี่ล้มดัง อันตรายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด อีกทั้งยังปล่อยให้ควบรวมกิจการทั้งแนวดิ่ง คือครอบงำกิจการปิโตรเคมีทั้งหมด และควบรวมแนวนอน ซึ่งเป็นการยึดฐานลูกค้า จนมีอำนาจใหญ่มาก ตอนนี้ไม่มีภาคส่วนไหนกล้ากับปตท.เลย
น.ส.รสนายังกล่าวว่า การค่อยๆ ปรับเพิ่มทีละ 50 สตางค์ จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนแบบไม่รู้ตัว เหมือนกับการต้มกบ เมื่อต้มโดยปรับอุณหภูมิขึ้นทีละน้อยๆ กบจะไม่รู้ตัวเพราะมันปรับตัวตามอุณหภูมิ แต่ถ้าใส่ไปตอนร้อนๆ กบจะกระโดดหนี กรณีขึ้นราคาก๊าซก็เช่นกันประชาชนก็จะปรับตัวอยู่กับการขึ้น 50 สตางค์ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราจะยอมถูกต้มหรือเปล่า เลือกว่าจะเป็นกบตัวแรกที่ถูกต้มหรือกบตัวสองที่กระโดดหนี
ด้าน นายอิฐบูรณ์กล่าวว่า กรณีเกิดโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นเป็นหน่วยที่ 6 มีคำถามว่า เกี่ยวหรือไม่กับการพยายามทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติลอยตัวขยับเพิ่มทันที ความจริงแล้วไม่สนใจว่าต้นทุนที่แท้จริงเป็นอย่างไร ขอแค่ขึ้นมาก่อน แล้วรัฐบาลก็ยอม ประชาชนเหมือนถูกมัดมือชก
ราคา NGV 14.50 บาท เป็นราคาที่ปตท.ต้องการขอขึ้นมานานแล้ว นี่คือต้นทุนที่เขาต้องการ โดยไม่ได้อิงกับราคาตลาดโลกเลย เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมาโดยตลอด แต่มาได้ในจังหวะรัฐบาลนี้ ซึ่งนายกฯเป็นประธานโดยตำแหน่ง ในกลุ่มของพวกเขาเองก็คุยกันว่าเทคนิคการขึ้นราคา คือค่อยๆกินทีละ 50 สตางค์ จนสิ้นปี 2555 จะจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งหมด 6 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ จากราคาฐานเดิม ถ้าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างแท้จริงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ไม่สามารถทำได้ แต่ธุรกิจนี้สามารถทำได้
ทางด้าน LPG ก็ขึ้นราคาเช่นกัน แต่กระแสเงียบไป ซึ่ง LPG นี่หนักกว่าอีก เพราะไม่มีลิมิต เขาใช้คำว่าจะไต่ราคาขึ้นไปถึงต้นทุนของโรงกลั่น ซึ่งถ้าโรงกลั่นบริหารงานย่ำแย่ ไม่ต้องควบคุมในเชิงประสิทธิภาพ อยากให้ขึ้นราคาก็ได้ กลไกแบบนี้เป็นธรรมหรือไม่
ประเทศไทยสามารถพึ่งพาแหล่งพลังงานเองได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เองเคยแถลงต่อสภาว่าต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ 55 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ แต่ทำไมราคาที่คนไทยใช้ถึงเป็นราคาตลาดโลก 100 เปอร์เซ็นต์ นี่เฉพาะราคาน้ำมัน ส่วน LPG ก็พยายามเกาะตลาดโลก แต่ NGV ดันไม่ยึดราคาตลาดโลก แสดงว่าจะใช้ราคาอะไรก็ได้ใช่หรือไม่
คำถามง่ายๆ ทรัพยากรเป็นของแผ่นดินไทย ส่วนใหญ่ก็มาจากอ่าวไทย สัมปทานที่รัฐได้น้อยมาก การเข้าถึงทรัพยากรมันไม่เป็นธรรม เราเจอคนโลภที่ตัวใหญ่มาก คุมตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ที่สำคัญคนที่เป็นข้าราชการระดับสูง เป็นปลัดกระทรวงพลังงาน อีกตำแหน่งก็เป็นประธานบอร์ดของบริษัทเอกชน (ปตท.) แล้วคนๆนี้ก็มีหน้าที่ตั้งราคา จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
นายอิฐบูรณ์กล่าวอีกว่า เราพบกรณีไม่เป็นธรรมของก๊าซ LPG เป็นอย่างมาก เขากล่าวหารถยนต์ที่ใช้ LPG เป็นตัวการให้ก๊าซไม่พอใช้ แต่ตรวจสอบแล้วตัวการคืออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งก็เป็นบริษัทในเครือปตท. พอกลุ่มนี้ใช้ไม่เคยแจ้ง แต่เวลาแถลงข่าวว่าต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปรากฎว่าไม่ใช่นำเข้า LPG แต่นำเข้าเป็นก๊าซองค์ประกอบ ซึ่งรถยนต์ใช้ไม่ได้ ปรากฎว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สามารถใช้ได้ แล้วเวลาสั่งจ่ายเงินชดเชย มติล่าสุดสั่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายแค่ 1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆโดนกัน 5-10 กว่าบาท นี่คือหลายมาตรฐาน
นายอิฐบูรณ์กล่าวต่อว่า ถ้าเราจ่ายแพงแล้วเกิดกระจายรายได้ไม่ว่า แต่นี่ไปอยู่ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เปรียบเหมือนเราเสียดินแดนโดยถูกกำลังผูกขาดทางเศรษฐกิจครอบงำ
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น คำนวณแบบทั้งปี ถึงสิ้นปี 55 เงินที่ต้องจ่ายเพิ่มส่วนของ NGV เพื่อให้ได้ก๊าซ 40 กก. จะเพิ่มอีก 140 บาท จากเดิมแท็กซี่จ่าย 340 บาท ต้องจ่าย 480 บาท ฉะนั้นบัตรเครดิตอะไรต่างๆ อย่าลืมรัฐบาลแค่สำรองจ่ายให้ก่อน แล้วไปจ่ายหนี้เองทีหลัง หากไม่จ่ายอาจถูกฟ้องยึดรถได้
ส่วน LPG จากเดิมที่ 45 ลิตร 500 บาท จะเพิ่มมา 220 บาท ต่อไป 45 ลิตรจะต้องจ่าย 720 บาท ง่ายๆทั้งปีมันขึ้นทั้งหมด 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อค่าตรงนี้เพิ่ม กลไกต่างๆ ทั้งระบบก็ต้องเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งภาระก็จะถูกผลักไปให้ผู้ที่ไม่มีปากมีเสียง

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/tiyapong/2012/01/10/entry-1

NgoH

  • บุคคลทั่วไป
หลังๆมานี่ไม่ได้ยิน ทั้ง ปตท ทั้งภาครัฐ พูดเรื่อง LPG อันตรายกว่า CNG นานมากแล้วนะ หรือผมไม่ได้สนใจไม่รู้

ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้นมา จุกคอหอยคนเอง
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000038161


ออฟไลน์ hunniesprite

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 47
ทำไมรบ.ไม่สนับสนุนให้ค่ายรถทำรถให้ออกมาใช้ E85 น่าจะถามแบบนี้มากกว่า

ออฟไลน์ H.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,896
    • อีเมล์
คุณ MaiSki ครับ สุภาพหน่อย อย่า ถุย ครับ
เด็กๆ อ่านกันเยอะ

อย่าดราม่า กันนะครับ เตือนกันไว้ก่อน

อ้อ ที่ถูกหนะ ไม่ได้เรียก NGV ครับ
เขาเรียกว่า CNG (Compressed Natural Gas)
NGV คือ Natural Gas Vehicle คือรถที่ใช้ ก๊าซ CNG

มี ปตท. นั่นแหละ ที่บิดเบือน ไปตั้งชื่อใหม่"เอง" ว่า NGV = Natural Gas FOR Vehicle
เรื่องนี้ คนยุคก่อน เค้าค้านกันหัวชนฝา แต่ ปตท. ก็ทำมึน

เรื่องแค่นี้ ยังทำมึน แล้วเรื่องอื่นๆละ?

เหตุผลที่ไม่ทำรถ LPG ออกมา เพราะภาครัฐ ไม่สนับสนุนครับ
ถ้าทำรถก๊าซ CNG ออกมา ภาครัฐสนับสนุน เรื่องภาษีสรรพสามิตด้วย
ทำให้ พอจะทำราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็นได้บ้างนิดหน่อย

แต่คำว่าถูกกว่านั้น ก็ไม่ได้ถูกกว่ารถเครื่องเบนซิน ปกตินักหรอกครับ
เผลอๆ จะแพงกว่ากันนิดนึงด้วยซ้ำ

LPG เวลารั่วไหล มันลงพื้นครับ ตัวมวลของมันเอง ก็หนักกว่า
ส่วน CNG รั่วแล้ว ลอยขึ้นฟ้าไปเลย

การระเบิดของ CNG รุนแรงกว่า แต่ ส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยเห็นไฟลุกไหม้
ขณะที่ LPG อันนี้ ไหม้กันเป็นเรื่องปกติ

ส่วนตัวผม ถ้าให้เลือก 2 ก๊าซ นี้ ผมคงข้ามช็อต ไปมองรถไฟฟ้า ครับ

ใช่ครับ ผมว่ารถพลังงานไฟฟ้าน่าจะตอบโจทย์ของการบริโภคยุคต่อไปได้ดีกว่าการเผาไหม้ที่นับวันก็จะยิ่งหมดลงไปเรื่อยๆ และมลพิษ ประมาณเดียวกับเตาไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาแทนที่เตาแก้สอย่างต่อเนื่อง (แต่ค่าไฟก็แพงอยู่ดี)

ขณะที่ไฟฟ้าค่อนข้างจะมีผลดีเกือบทุกอย่าง เหลือเพียงแต่ถ้าจะให้ดีผมอยากได้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์หรือโรงไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติที่เพียงพอด้วย

เพราะถ้ามีรถไฟฟ้าใช้กันเยอะเมื่อไหร่โรงไฟฟ้าถ่านหินทำงานหนักถ่านหินแพงขึ้นแน่นอนพร้อมกับมลพิษที่ยังอยู่เหมือนเดิม
H.

ออฟไลน์ DF-SLB

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 259

- อ่าวไทยผลิต น้ำมัน กับ ก็าชํธรรมชาติ ได้ในสัดส่วนราวๆ 5%/95%

- ใน 95% ของ ก็าซ ธรรมมชาติที่ผลิดได้นั้น เดาซฺครับ ว่า ก็าซเหลว กับ ก็าซแห้ง มีสัดส่วนเป็นเท่าไหร่ หาดูได้ ที่ เว็ป ไซต์ กรมพลังงาน

   คร่าวๆ 1 / 5 ครับ  บางแห่ง จะได้ LPG น้อยมากๆ อาจถึง  1/8

    http://www.dmf.go.th/service/monthlyReport.php?m=6&y=2012&ln=th

  ถามนัก เคมีว่า ก็าซแห้งนอกจากเอาไปใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า กับเติ่มยานยนต์แล้ว เอาไปผลิตอะไรได้มากน้อยเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ LPG (Liquid)

  แล้วถ้ามันเหลือมากๆ คุณจะเอาไปทำอะไรดีละครับ ..... 

ออฟไลน์ drugprofile

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 218
การที่จะขอความร่วมมือ ประชาชน ไม่ให้บิดเบือน เอา LPG ภาคครัวเรือน มาใช้ในภาค อุตสาหกรรม คงจะยาก

ขนาด ขับรถบนท้องถนน ยังมีการลัดคิว แซงซ้าย ฯลฯ ไม่รักษากฎกติกา

ตอนนี้ ในหัวคนไทย ผู้ใช้รถส่วนใหญ่ จะคิดแค่ว่า เติมอะไรถูกและคุ้มที่สุด...  :)

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,423
    • อีเมล์
LPG ใครก็ไม่รู้ เค้าเอาไปทำภาค อุตสาหกรรม จำพวกเม็ดพลาสติก กำไรเยอะดีครับ แลว้สิ้นปีก็มาแบ่งปันผลกัน


นั่นสิครับ ปริมาณการใช้ทั้งประเทศ มากกว่าภาคขนส่งอีก ใช้พอๆกับภาคครัวเรื่อน แต่ใช้ราคาเดียวกัน
ทำไม กระทรวงพลังงานไม่พูดถึง

ออฟไลน์ jubjeab

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 106
    • อีเมล์
ปัญหา LPG กับดีเซล  น่าจะปล่อยลอยตัวไปเลย
สินค้าแพงก็จำเป็น  เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องไปแก้เรื่องค่าครองชีพด้านอื่น
แทนที่จะมาบิดเบือนราคาเชื้อเพลิงไปเรื่อยๆแล้วได้แต่โทษประชาชนไปวันๆ

ออฟไลน์ ch>.<

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 102
ปัญหา LPG กับดีเซล  น่าจะปล่อยลอยตัวไปเลย
สินค้าแพงก็จำเป็น  เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องไปแก้เรื่องค่าครองชีพด้านอื่น
แทนที่จะมาบิดเบือนราคาเชื้อเพลิงไปเรื่อยๆแล้วได้แต่โทษประชาชนไปวันๆ

จะมีใครยอมพลีชีพเช่นนั้น T_T
ขนาดญี่ปุ่นชาติที่ประชาชนมีการศึกษามีวินัยสูง นายกคนปัจจุบันเขาประกาศขึ้นภาษีสรรพสามิต เอาเงินไปใช้หนี้สาธารณของประเทศยังโดนถอดถอนเลย
แล้วจะหวังให้นักการเมืองไทยเสียสละตัวเองขนาดนั้นถึงผมจะยังไม่แก่ประสบการณ์ชีวิตยังน้อยแต่พอรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ =="


ออฟไลน์ liverpool_4ever

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 7


ผลประโยชน์ไงคับ

ออฟไลน์ hutzero

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,561
    • อีเมล์
ปัญหาโลกแตกครับ

1. บริษัทรถยนต์ไม่ทำรถ LPG จากโรงงาน
ตอบ เพราะ  ภาครัฐไม่สนับสนุน 
2. ทำไมภาครัฐไม่สนับสนุน LPG?  
ตอบ เพราะ LPG ปริมาณการใช้ในอุตสาหกรรม  รวมกับครัวเรือน  เยอะอยู่แล้วจนปัจจุบันต้องนำเข้า (ดูข้อมูลรายละเอียดเป็นตารางเปรียบเทียบในแต่ละปีได้ที่เว็บกระทรวงพลังงาน)
3. LPG ใช้เยอะไม่พอจนต้องนำเข้า  แล้วทำไมยังส่งออกไปด้วย?
ตอบ เพื่อทำกำไร  ไปหักลบกับส่วนที่ขาดทุนจากราคาขายในประเทศ  ซึ่งปัจจุบันปริมาณ LPG แทบจะไม่ส่งออกไปแล้ว เพราะใช้ในประเทศแทบไม่พอ
4. ในเมื่อรัฐสนับสนุน CNG แล้ว  ทำไมประชาชนถึงยังชอบใช้ LPG มากกว่า
ตอบ LPG มีปั๊มเติมทั่วประเทศ  CNG มีปั๊มน้อย รอนานมาก
5. ทำไมถึงไม่ขยายปั๊ม CNG
ตอบ เป็นพื๊นฐานของโมเลกุลแก๊ส LPG สามารถบรรจุถังไปส่งตามปั๊มได้  แต่ NGV ต้องทำให้เยือกแข็งก่อนถึงจะขนโดยรถบรรทุกได้
ซึ่งค่าใช้จ่ายควบแน่นแต่ละครั้งสิ้นเปลืองมากกว่า  ทำให้ไม่คุ้มทุน   จึงต้องอาศัยทางท่อส่งก๊าซ   เดินท่อไปถึงไหน  ก็มีปั๊มอยู่แถวนั้นได้   
แต่การเดินท่อให้ไปทั่วประเทศก็ใช้การลงทุนสูงมากเช่นกัน   ปตท.  จึงตัดสินใจว่าจะรอภาครัฐมาช่วยในการลงทุนเพิ่มท่อส่งก๊าซ CNG แต่ยังไม่ผ่าน ครม.
6. ทำยังไงรัฐบาลถึงจะให้คนใช้ CNG มากขึ้น
ตอบ  1.) ให้งบประมาณ ปตท. ในการขยายท่อส่งก๊าซ  ซึ่งต้องใช้งบมหาศาล
        2.) ให้ปตท. ยอมควักทุนดำเนินการเอง   แต่ปตท. อ้างว่าราคาขายขณะนี้ไม่เอื้อต่อการลงทุนเพิ่ม   
        3.) ลอยตัว LPG  เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด  และไม่กระทบต่อรัฐบาลและ ปตท.

หมายเหตุ  ข้อมูลนี้มาจากรายการสยามวาระ ช่อง Thai BPS  ซึ่งผมได้นำมาสรุปเรียบเรียงมา ณ ที่นี้
 

ออฟไลน์ BottleUp

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
    • อีเมล์

ภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการ เข้าคิว ครับ  ;D

ถูกใจ ใช่เลย ฮ่าา  ;D

ออฟไลน์ Hammerfire

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • อีเมล์
รอกันต่อไป สำหรับ LPG จากโรงงาน เห้่อ

ออฟไลน์ NINENOI

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,732
  • Nine & Knight
เอามาให้ดูกันเล่นๆ สังเกตุมั๊ยว่าภาคปิโตรเคมีเมื่อเทียบปี 54 กับปี 51 แล้วการใช้ LPG พุ่งพรวดเชียว แต่รถยนต์กลับลดลงเกมื่อเทียบเป็น % เอามาจากกระทรวงพลังงานครับ

http://www.energy.go.th/sites/all/files/situation54_trend55.pdf
http://www.energy.go.th/?q=th/Situation

ความไม่รู้เท่านั้นที่หลอกเรา ก็ช่วยให้เรารู้ครบๆหน่อยแล้วกัน
ถ้าเราซื้อของที่ไม่จำเป็น สุดท้ายเราต้องขายของที่จำเป็น

ออฟไลน์ นครอัญมณี

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,181
    • นครอัญมณี
    • อีเมล์
คำถามนี้ ถามว่า ทำไมไม่มีรถใช้ LPG ที่ผลิตสำเร็จจากโรงงาน (ไม่เกี่ยวกับ ปริมาณการใช้ LPG)

ถึงต่างประเทศจะผลิตรถพลังงาน LPG แต่ในไทยห้ามมี

เนื่องจาก..

ปตท. ผู้มีสัมปทาน NGV ในประเทศไทย แต่เพียงผู้เดียว
รัฐบาล สนับสนุน ปตท. เนื่องจากหุ้นที่ถืออยู่
และ ปตท. ลงทุนกับ NGV ไปเยอะแล้ว ต้องขอกำไรให้ได้มากที่สุดก่อน

ดังนั้น ปตท. จึงสร้างแต่ปั้มแก๊ส NGV
ไม่มีทางที่จะได้เห็น ปตท.สร้างปั้มแก๊ส LPG อย่างแน่นอน

ลองถามผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายซิครับ ว่ารัฐบาลยอมให้ผลิตรถใช้เชื้อเพลิง LPG ไหม ?
รักรถมาก
รักครอบครัวมากกว่า
รักชาติ-ศาสน์-กษัตริย์มากที่สุด


ออฟไลน์ siwanat

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 47
โหยยยยยย ขอบคุณมากครับความรู้กระจายเลยครับ เห็นชัดว่าเกิดไรขึ้นกับประเทศไทยเลย สรุปเรายังคงตอบใช้พลังงาน ของ ปตท ต่อไปเพราะไม่มีทางเลือก อย่าว่าครับ เพือคนไทย hahahahaa อ่านะประเทศไทย NGV แต่อยากเห็นรัฐเดินให้สุดไม่ใช่แค่ครึ่งๆกลาง ประชาชนสับสน