รถเกียร์ออโต้ขับขึ้นลงเขาบ่อยๆเกียร์จะพังเร็วมั้ย

TT

ตามหัวข้อหนะคับ เปนเกียร์ออโต้5จังหวะธรรมดานะคับ ไม่ใช่cvt. ต้องใช้เกียร์ต่ำและรอบเครื่องสูงมาก และตอนลงเขาซึ่งชันและแคบมาก ใช้เกียร์หนึ่งเปนengine break รอบเครื่องเกือบชนred line  ไม่รุ้ว่าทำแบบนี้บ่อยๆเกียร์จะไปเร็วไหม พอดีเพิ่งย้ายมาอยุ่ภาคเหนือหนะคับ



rokrok

Engine break รอบเครื่องจะชน red line นี่ไม่ใช่ละครับ

ถ้ารถเบนซิน รอบไม่เกิน 3500 ก็สูงแล้วนะครับ ในกรณีก็ควรใช้เกียร์ 2 ครับ

ส่วนเรื่องการสึกหรอ ยังไงรอบสูง ความเร็วต่ำ (ความร้อนสูงมาก) ก็สึกหรอกว่าวิ่งปกติแน่นอนครับ

คำแนะนำก็ลดรอบเครื่องลง แล้วใช้เบรกมากหน่อยดีกว่าครับ เพราะเบรกใช้เยอะก็แค่หมดไว เปลี่ยนหลักพัน แต่เกียร์หรือเครื่องน่าจะหลักหมื่นนะครับ 55555

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็อย่าใช้เบรกจนไหม้นะครับ เอาชีวิตเราปลอดภัยไว้ก่อน



TT

ทางมันแคบและชันและโค้งขดเคี้ยว เปนถนนเลนเดียวแต่วิ่งขึ้นลงพร้อมกันคับ ชันประมาน 45องศา ผมต้องใช้ความเร็วต่ำมาก และถ้าใช้เกียร์2 มันเหมือนengine ไม่ได้ช่วยเลยคับ อย่างงี้คงต้องใช้เบรคช่วยเยอะๆลูกเดียว



Equcha

งั้นต้องใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ดีๆหน่อยครับ เปลี่ยนบ่อยๆ
จะได้ช่วยเครืองได้เปราะหนึ่ง



Auto

  ไม่รู้ว่ารถรุ่นอะไรจะบอกได้ไหม
   การขับขึ้นเขาลงเขาในภาคเหนือนั้น  ใช้ เกียร์นั่นแหละถูกแล้วครับ     ถ้าเป็นคนในพื้นที่ลองศึกษาวิธีขับจากคนชาวดอยดูจะรู้  เกียร์อย่างเดียว + คันเร่ง  เป็นตัวควบคุม            เบรคแทบไม่ต้องใช้หรือใช้น้อยมากเพราะถ้าขืนใช้เบรคบ่อย ๆ บางทีเรื่องไม่คาดคิดอาจเกิดได้รวมถึงควมเร็วที่เราสามารถคุมได้ คุณจะรู้ว่าความเร็วควรเป็นเท่าใด          ชาวเขาชาวดอยขับรถโดยใช้เบรคกันบ่อย ๆ แทบไม่ต้องทำมาหากินแล้วครับ เพราะเสี่ยงรถพังมีสูง              มันจะไม่เหมือน คนในเมืองที่วิ่งไปเที่ยวกันตามดอยน่ะครับที่ขึ้นเหนือที กลิ่นคลัทซ์กลิ่นเบรคไหม้หึ่งกลับมาที ซ่อมเปลี่ยนกันหมด

ผมเคยนั่งรถเพื่อน ที่เขาเป็นคนพื้นที่ขับรถเข้าออกในโครงการหลวง   ที่เขาขับฟอร์จูเนอร์ ไปที่ดอยแห่งนึงเขาขับโดยแทบไม่มีการใช้เบรคเลย  คันเร่งกับเกียร์คือตัวควบคุมที่ปลอดภัยที่สุด      ถ้าคนในเมืองไปขับอาจจะต้องใช้เบรคเยอะ ซึ่งเทคนิคจะไม่เหมือนกัน    แต่ความปลอดภัยคนพื้นที่ขับปลอดภัยเชื่อใจได้มากกว่า รถสึกหรอน้อยกว่ากันชัดเจน     คุณอยู่ในพื้นที่ทางเหนือแล้วลองฝึกขับดูครับแล้วจะรู้ว่าเป็นอย่างที่ผมบอกจริงหรือไม่



rokrok

เส้นไหนครับเนี่ย

แล้วตอนลองใช้เกียสองนี่รอบเครื่องเกิน 2500 ไหมครับ ถ้าเกินผมว่าก็เพียงพอละนะ เพราะถ้ารอบเครื่องเกียร์1จะชนred line รอบเกียร์2ก็ต้องสูงมากเหมือนกันใช่ไหมครับ

แต่ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ผมว่าทางชันขนาดนั้นมันคงไม่ยาวมากใช่ไหมครับ แบบแค่สักวิ่ง 10-20 วิ หรือเปล่าครับ

ถ้าแค่นั้นก็ ไม่เสียหายมากหรอกครับ red line แค่แปปๆ มันไม่เป็นไรมากครับ



Alcatraz

ถ้าเอนจิ้นถึงเรดไลน์ สิ่งที่น่าห่วงไม่ใช่เกียร์แต่เป็นเครื่องมากกว่า ถ้าใช้ขนาดนี้บ่อยๆ แนะนำขั้นแรกเปลี่ยนผ้าเบรกแบบทนความร้อนสูงขึ้นจะดีกว่า จ่ายแพงหน่อยแต่แลกกับชีวิตและเครื่องไม่พัง หรือถ้างบแยอะจัดจานเบรกที่ใหญ่ขึ้นจะดีมาก


ปล เห็นแล้วนึกถึงอวสานรถส่งเต้าหู้



Auto

  เรื่องนี้ผมเคยถามอาจารย์ มนัส ดาวมณีฝ่ายเทคนิคของ TOYOTA THAILAND   เขาบอกว่าเขาเคยเทสต์ด้วยการจับอุณหภูมิที่จานเบรคของรถตอนวิ่งรถเทสต์ที่พิษณุโลกช่วงเขาค้อ       จานเบรคความร้อนปกติอยู่ที่ 300 กว่าองศา    ถ้ามีการใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคลงเขา  ความร้อนจะเพิ่มขึ้นประมาณ  700 -1000 องศา จนเบรคไหม้ไปทั้งหมด         ถ้าสถานการณ์นี้เตรียมนึกถึงหน้าครอบครัวได้เลย   เพราะผ้าเบรคจานเบรคในตลาดเกือบทั้งหมดไม่สามารถทนความร้อนสูงขนาดนี้ได้ ถึงทนได้ชิ้นส่วนภายในกระบอกเบรคก็เสียหายอยู่ดี       การขับรถโดยใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคเป็นวิธีที่ผิดแน่นอนครับ    
อาจารย์มนัสบอกว่า  ต้องใช้เกียร์อย่างเดียวนะถูกต้องแล้ว    การสึกหรอมีเพิ่มขึ้นบ้างแต่ก็เล็กน้อยมาก ไม่ได้น่าซีเรียสอะไร  เทียบกับเงินที่ไปซ่อมเบรคและอันตรายจากการใช้เบรคลงเขานั้น ผลเสียมีมากกว่าครับ    ลองฝึกดูครับ



SETTHASART

ใช้งานลักษณะนี้ เกียร์ก็คงไปเร็วกว่าปกติในลิมิตของเกียร์ออโต้หล่ะ (ตอนแรกทำไมไม่เอา mt อ่ะครับ ทนกว่าน่ะ)
ถ้าตามความเข้าใจของผม ก็ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่องบ่อยๆครับ



TT

Honda city ปี2010 คับ ทางชันแบบนั้นไม่ยาวมากคับประมาณ 30วิ เปนทางขึ้นวัดหนะคับไม่ใช่ทางหลัก

ที่ผมอยากรุ้คือเราควรไม่ให้รอบเครื่องเกินเท่าไหร่ดีคับ ผมขับลงเขาตามหลังรถคนในพื้นที่ผมแทบไม่เห็นไฟเบรครถคันหน้าเลย ผมเลยลองใช้เกียร์ช่วยดูบ้างปรากฎว่าต้องใช้เกียร์ 2 (ถนนคนละเส้นกับกระทุ้บนนะคับ) แล้วรอบเครื่องก้อทะลุ5000 เข้าไปละเลยลังเลที่จะปล่อยให้รอบมันสูงเกินไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 27, 2014, 15:07:13 โดย TT »



jaesz

Honda city ปี2010 คับ ทางชันแบบนั้นไม่ยาวมากคับประมาณ 30วิ เปนทางขึ้นวัดหนะคับไม่ใช่ทางหลัก

ที่ผมอยากรุ้คือเราควรไม่ให้รอบเครื่องเกินเท่าไหร่ดีคับ ผมขับลงเขาตามหลังรถคนในพื้นที่ผมแทบไม่เห็นไฟเบรครถคันหน้าเลย ผมเลยลองใช้เกียร์ช่วยดูบ้างปรากฎว่าต้องใช้เกียร์ 2 (ถนนคนละเส้นกับกระทุ้บนนะคับ) แล้วรอบเครื่องก้อทะลุ5000 เข้าไปละเลยลังเลที่จะปล่อยให้รอบมันสูงเกินไป

ถ้ารู้ว่าชัน แล้วเข้าเกียร์ต่ำรอไว้ ไม่ค่อยเสียง่ายหรอกครับ

รถที่ใช้เกียร์แบบทอร์คคอนเวอร์เตอร ถ้าขึ้นทางชัน มองความเร็วกับรอบเครื่องให้ขึ้นพร้อมกันครับ ถ้ามันหลุดก็ผ่อน ลดเกียร์ต่ำช่วย อย่าให้ทอร์กฟรีนานเกิน

กรณีของคุณนี่ แค่ 30 วินาที คงไม่พังง่าย ๆ หรอกครับ จะทำให้เกียร์พัง ต้องหนักกว่านี้เยอะ



Auto

Honda city ปี2010 คับ ทางชันแบบนั้นไม่ยาวมากคับประมาณ 30วิ เปนทางขึ้นวัดหนะคับไม่ใช่ทางหลัก

ที่ผมอยากรุ้คือเราควรไม่ให้รอบเครื่องเกินเท่าไหร่ดีคับ ผมขับลงเขาตามหลังรถคนในพื้นที่ผมแทบไม่เห็นไฟเบรครถคันหน้าเลย ผมเลยลองใช้เกียร์ช่วยดูบ้างปรากฎว่าต้องใช้เกียร์ 2 (ถนนคนละเส้นกับกระทุ้บนนะคับ) แล้วรอบเครื่องก้อทะลุ5000 เข้าไปละเลยลังเลที่จะปล่อยให้รอบมันสูงเกินไป
 ถ้าเป็นแบบนี้ปล่อยไปเถอะครับ   คิดมากปวดหัวไม่มีไรหรอก  ขับแค่นี้เอง

  ผมขึ้นเขาลงดอยไปออฟโรดใช้เกียร์มากกว่าคุณอีก  เป็นเกียร์ออโต   เพื่อนผมที่ขับรถบนโครงการหลวงก็เกียร์ออโตเหมือนกัน  ใช้เกียร์กับเครื่องยนตืหนักและโหดร้ายกว่าคุณมากมายนัก แต่เป็น Fortuner อายุเกียร์เครื่องยนต์ เกือบ 3 แสนโลแล้ว  ปกติครับ    ถึงแม้รถจะไม่เหมือนกันทนทนผิดกันแต่ผมเชื่อว่ารถมันไม่ได้ออกแบบห่วยขนาดนั้น    ไม่ต้องเอามาคิดหรอก       แค่นี้จิ๊ป  ๆ  ครับ    ซีเรียสแบบเปล่าประโยชน์  



Auto

Honda city ปี2010 คับ ทางชันแบบนั้นไม่ยาวมากคับประมาณ 30วิ เปนทางขึ้นวัดหนะคับไม่ใช่ทางหลัก

ที่ผมอยากรุ้คือเราควรไม่ให้รอบเครื่องเกินเท่าไหร่ดีคับ ผมขับลงเขาตามหลังรถคนในพื้นที่ผมแทบไม่เห็นไฟเบรครถคันหน้าเลย ผมเลยลองใช้เกียร์ช่วยดูบ้างปรากฎว่าต้องใช้เกียร์ 2 (ถนนคนละเส้นกับกระทุ้บนนะคับ) แล้วรอบเครื่องก้อทะลุ5000 เข้าไปละเลยลังเลที่จะปล่อยให้รอบมันสูงเกินไป

ถ้ารู้ว่าชัน แล้วเข้าเกียร์ต่ำรอไว้ ไม่ค่อยเสียง่ายหรอกครับ

รถที่ใช้เกียร์แบบทอร์คคอนเวอร์เตอร ถ้าขึ้นทางชัน มองความเร็วกับรอบเครื่องให้ขึ้นพร้อมกันครับ ถ้ามันหลุดก็ผ่อน ลดเกียร์ต่ำช่วย อย่าให้ทอร์กฟรีนานเกิน

กรณีของคุณนี่ แค่ 30 วินาที คงไม่พังง่าย ๆ หรอกครับ จะทำให้เกียร์พัง ต้องหนักกว่านี้เยอะ
ใช่ครับทีแรกผมก็คิดว่า จขกท ขับบนดอยตลอดแบบโหด ๆ  ถ้าแค่นี้ แทบไม่ต้องไปคิดอะไรให้ปวดหัวเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 27, 2014, 15:37:14 โดย Auto »



No Trespassing

แฟนเก่าผมใช้ Sunny B14 เกียร์ออโต้ วิ่ง 3 แสนกว่ากิโลเมตรแล้ว

บ้านอยู่เวียงป่าเป้า ต้องขับไปเส้นวังเหนือ - พะเยาประจำ ขึ้นลงเขาตลอด ก็ไม่เห็นเกียร์จะพังอะไร

จะมีก็แค่เปลื่ยนผ้าเบรคเกรด Medium 4 ล้อ พร้อมเปลื่ยนจานเบรคคู่หน้า (ของแท้) ใหม่ ก็เท่านั้นเอง

น้ำมันเกียร์ 2 หมื่นกิโลเมตรก็ถ่ายครั้งนึง ลิตรล่ะไม่กี่บาท ส่วนเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องเบอร์ 20W-50 ก็เพียงพอ

ฉะนั้นแล้ว ขึ้นลงเขาบ่อยๆ ไม่ต้องกลัวว่าพังครับ ค่อยๆปรับพฤติกรรมการขับใหม่ เรียนรู้การขึ้นลงเขา

แล้วจะมีความสุขกับการอยู่ภาคเหนือครับ



belkw202

คิดว่าใช้น้ำมันเครื่องเบอร์สูงๆหน่อย กับถ่ายน้ำมันเกียร์บ่อยๆก็น่าจะโอเคแล้วนะครับใ
Tesla Model 3 Highland LR
G08 iX3 M Sport
Cx5 2.5s
Mazda 2 1.3 S
w202 c36 AMG
w212 e63 AMG
w204 c250 AMG Sport Plus
w207 e350 4matic
e90 325i



che_dtracker

ถ้าชันโหดๆ ผมก็ลดเป็น d1 หรือ L เหมือนกัน เอาปลอดภัยตัวเองไว้ก่อน
คิดว่าตราบใดน้ำในหม้อน้ำไม่แห้ง น้ำมันเครื่องเพียงพอ เครื่องคงไม่พัง
ไม่งั้นผู้ผลิตคงไม่ทำตำแหน่งเกียร์ L หรือ D1



SETTHASART

ไอ้เราก็นึกว่าขับยาวๆนานๆ เป็นประจำ  :D :D :D



Larry

ผมแปลกใจอยู่อย่างนึ่ง ทำไมเกียร์ต่ำแล้วรอบสูงขนาดนั้นครับ หรือว่าก่อนจะลงเขามันเร็วมาก่อนแล้ว



rut191

 เรื่องนี้ผมเคยถามอาจารย์ มนัส ดาวมณีฝ่ายเทคนิคของ TOYOTA THAILAND   เขาบอกว่าเขาเคยเทสต์ด้วยการจับอุณหภูมิที่จานเบรคของรถตอนวิ่งรถเทสต์ที่พิษณุโลกช่วงเขาค้อ       จานเบรคความร้อนปกติอยู่ที่ 300 กว่าองศา    ถ้ามีการใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคลงเขา  ความร้อนจะเพิ่มขึ้นประมาณ  700 -1000 องศา จนเบรคไหม้ไปทั้งหมด         ถ้าสถานการณ์นี้เตรียมนึกถึงหน้าครอบครัวได้เลย   เพราะผ้าเบรคจานเบรคในตลาดเกือบทั้งหมดไม่สามารถทนความร้อนสูงขนาดนี้ได้ ถึงทนได้ชิ้นส่วนภายในกระบอกเบรคก็เสียหายอยู่ดี       การขับรถโดยใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคเป็นวิธีที่ผิดแน่นอนครับ    
อาจารย์มนัสบอกว่า  ต้องใช้เกียร์อย่างเดียวนะถูกต้องแล้ว    การสึกหรอมีเพิ่มขึ้นบ้างแต่ก็เล็กน้อยมาก ไม่ได้น่าซีเรียสอะไร  เทียบกับเงินที่ไปซ่อมเบรคและอันตรายจากการใช้เบรคลงเขานั้น ผลเสียมีมากกว่าครับ    ลองฝึกดูครับ
จากที่เคยขับรถวิ่งงานมาเกือบทั่วประเทศ ผมว่าเส้นนี้โหดมากทรมาณเบรคสุดๆ บางช่วงดิ่งลงเขาที5กิโล   ไปปายไปน่านยังขึ้นๆลงๆแค่โค้งเยอะเฉยๆ



hong_G

ผมขึ้น-ลงเขา ชันๆ ผมใช้ Engine Brake เป้นหลักเลยครับ ใช้เบรกน้อยมาก เอาไว้กดคราวจำเป็นที่รู้สึกว่า Engine Brake เริ่มไม่พอหยุดหรือลดความเร็วได้

*ผม พยายามคุมไม่ให้รอบแช่ หรือชน เรดไลน์นานๆด้วย โดยสลับผลักไปเกียร์สูงขึ้น+กดเบรกยาวๆทีนึง เพื่อให้ความเร็วยังอยู่ในจุดที่มั่นใจ และควบคุมได้

>> เกียร์พัง ยังซ่อมได้ แต่ถ้าใช้แต่เบรก ขึ้นเขา-ลงเขา ความเสี่ยงของระบบเบรกมีสูงครับ เบรกไม่อยู่ขึ้นมา คงไม่มีโอกาสซ่อมอะครับ <<



Chalongs

ถ้าเจอทางลงชันมากๆ ก็ควรจะต้องชะลอความเร็วในการไหลลงตั้งแต่ตอนช่วงต้นลงละครับ
ทั้งใช้เกียร์ต่ำและกดเบรคเป็นช่วงๆ
รถก็จะไม่มีความเร็วมากเกิน รอบเครื่องที่ดึงจะไม่สูง
แต่ถ้าเล่นปล่อยความเร็วตั้งแต่ยอดเนินลงมาแล้วใช้เเต่เกียร์อย่างเดียว ยังไงรอบก็โดนดึงสูงเเน่นอน
เพราะการใช้เอนจิ้นเบรค เป็นการช่วยหน่วงความเร็วในระดับนึง ยังไงถ้าไม่พอก็ต้องใช้เบรคช่วยครับ
แต่ใช้วิธีกดเบรคเป็นช่วงๆ ความร้อนสะสมในเบรคจะต่ำกว่ากดเบรคเลียไปตลอดทางครับ



jajaboss

ปกติเวลาผมลงเนินตบเกียร์ลง แล้วรอบสูง (ประมาณ5000) ผมจะแตะเบรคจนรอบเหลือซัก 3000 แล้วปล่อยครับ แค่นี้ความเร็วก็จะไม่เพิ่มระหว่างอยู่ในเนินแบ้วครับ



XyteBlaster

 เรื่องนี้ผมเคยถามอาจารย์ มนัส ดาวมณีฝ่ายเทคนิคของ TOYOTA THAILAND   เขาบอกว่าเขาเคยเทสต์ด้วยการจับอุณหภูมิที่จานเบรคของรถตอนวิ่งรถเทสต์ที่พิษณุโลกช่วงเขาค้อ       จานเบรคความร้อนปกติอยู่ที่ 300 กว่าองศา    ถ้ามีการใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคลงเขา  ความร้อนจะเพิ่มขึ้นประมาณ  700 -1000 องศา จนเบรคไหม้ไปทั้งหมด         ถ้าสถานการณ์นี้เตรียมนึกถึงหน้าครอบครัวได้เลย   เพราะผ้าเบรคจานเบรคในตลาดเกือบทั้งหมดไม่สามารถทนความร้อนสูงขนาดนี้ได้ ถึงทนได้ชิ้นส่วนภายในกระบอกเบรคก็เสียหายอยู่ดี       การขับรถโดยใช้เบรคขณะลงเขาหรือเลียเบรคเป็นวิธีที่ผิดแน่นอนครับ    
อาจารย์มนัสบอกว่า  ต้องใช้เกียร์อย่างเดียวนะถูกต้องแล้ว    การสึกหรอมีเพิ่มขึ้นบ้างแต่ก็เล็กน้อยมาก ไม่ได้น่าซีเรียสอะไร  เทียบกับเงินที่ไปซ่อมเบรคและอันตรายจากการใช้เบรคลงเขานั้น ผลเสียมีมากกว่าครับ    ลองฝึกดูครับ
จากที่เคยขับรถวิ่งงานมาเกือบทั่วประเทศ ผมว่าเส้นนี้โหดมากทรมาณเบรคสุดๆ บางช่วงดิ่งลงเขาที5กิโล   ไปปายไปน่านยังขึ้นๆลงๆแค่โค้งเยอะเฉยๆ

เส้นนี้ผมวิ่งประจำครับ. บ้านอยู่หล่มสัก.  จะบอกว่า ขับๆไป. จะเห็นรถตะแคงข้างทางตลอด.  แทบไม่มีครั้งไหนเลยที่ขับแล้วไม่เจอรถคว่ำ.  ทั้งมือเก๋าและมือใหม่ เสร็จหมดครับ. 

วิธีขับที่สอนกันมาหลายรุ่นคือ ใส่เกียร์ต่ำ. ปล่อยลง พอรีบขึ้นเยอะราวๆ 4000-5000. เหยียบเบรคกดเลย ให้ความเร็วลดลงเยอะหน่อย. แล้วปล่อยไหลต่อ.  เหยียบปล่อยๆ. ตลอดทาง.  ตั้งแต่อายุ 15. จนตอนนี้มีลูกละ. ยังปลอดภัยดีกับรถเดิมๆ นะครับ

ใครสงสัย อยากเลียเบรคลงเขา  ก็ .... ตามใจครับ



MDesign

เพิ่งกลับมาจากปิ้งงูเลยครับ แผงกั้นทางโค้งมีรูเป็นช่วงๆ
ผมเน้นไปแบบเรื่อยๆ กับดูไลน์รถคันหน้าเอาครับ
เคยลองเหยียบสมัยวัยรุ่นบ้าพลัง จนท้ายปัด
เวลามันไม่ต่างกันเท่าไหร่
มันมีรถช้ากับสิบล้อรอเราข้างหน้าอยู่ดี
ใจเย็นๆ เซฟๆ ดีกว่าครับ