ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเล่าสักนิด กับประสพการณ์รถเก๋งดีเซล "ยี่ห้อไม่ตลาด"  (อ่าน 37800 ครั้ง)

jaesz

  • บุคคลทั่วไป
ผมเชื่อว่า ตอนนี้เป็นเวลาที่ทุก ๆ คนเล็งรถเก๋งดีเซล ไว้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจมากขึ้น จะด้วยความแรงของ เทอร์โบ หรือความประหยัดของแรงบิดในรอบต่ำ หรือ จะความทนทานของเครื่องและกระบอกสูบ ก็ล้วนเป็นองค์ประกอบในการที่ทำให้ เก๋งดีเซล เนื้อหอมมากขึ้นในตลาดรถ

แต่

หลาย ๆ คนคงลืมคิดไปถึงสิ่งที่มาพร้อมพลังอันยิ่งใหญ่ของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถเก๋ง "ที่ไม่ใช่เจ้าตลาด" อย่าง โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ หรือ กลุ่มเจ้าตลาดยุโรป เช่น เบนซ์ หรือ บีเอ็ม
สิ่งนั้นคือ

การซ่อมแซมในระยะยาว

ถึงเครื่องจะทนทาน เพราะออกแบบมาให้รองรับกำลังอัตราส่วนกำลังอัดสูง ๆ มาก อุปกรณ์ควบคุม และ อุปกรณ์เสริมของเครื่องยนต์ ไม่ได้ทนทานอย่างนั้นเลย แม้แต่เจ้าตลาดอย่างเบนซ์ Cdi ตัวหลัง ๆ ปัญหาเครื่องยนต์ที่ 100000 โลขึ้นไปก็"ไม่ทนทานอย่างแต่ก่อน เหมือน 300D" อะไรพวกนั้น

เอาตั้งแต่ ปั๊มน้ำมันดีเซล ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทนความชื้นของน้ำในไบโอดีเซล ที่ใส่ในถังใต้ดินแบบโบราณจากปั๊มน้ำมันเก่า ๆ ถ้าความชื้นมาก น้ำจะำทำให้เกิด สนิม ในชุดปั๊มน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมันคือ ปราการแรก ของการจ่ายน้ำมัน ส่วนใหญ่ ค่าซ่อมปั๊มดีเซลในรถ ราคา ร่วม ๆ หมื่นขึ้น ไป ยิ่งพวกคอมมอนเรล หรือ อัลตราไดเรคอินเจคชั่นแรงดันสูงโคตร ๆ เวลาปั๊มพวกนี้เสีย แล้ว ดูไม่จืดเลยครับ

อันที่สอง ที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง คือ ชุดเทอร์โบ โดยเฉพาะ คนที่ขับรถในเมือง รถติด ๆ เดี่ยวเร่ง เดี๋ยวไป เดี๋ยวบูส เดี๋ยวหยุด ชุดซ่อมเทอร์โบ ของ"รถพวกนี้" ไม่แพร่หลาย และแน่นอนว่า ราคาก็หลักหมื่นอีกนั่นแหละ อาการเสียงดังของเทอร์โบ เกิดขึ้นในช่วงแสนโลแรก เจ้าของรถที่ไม่ได้สังเกต ปล่อยให้เสียหนัก ก็ ต้องทำใจเวลาเปลี่ยนเทอร์โบลูกใหม่ เพราะมันมักทำงานได้ไม่เก่งเหมือนตัวติดรถ

อันที่สาม คือ รถที่ใช้สายพานราวลิ้น  เครื่องดีเซล แรงเยอะ เวลาสายพานขาด มันจะเสียหนักกว่า รถเบนซินอีก เว้นแต่จะเป็นโซ่ราวลิ้น หรือเฟืองขับแครงแคม ก็อีกเรื่องหนึ่ง
อันที่สีคือระบบไฟฟ้า ที่รวนอย่างหนึ่ง ทำให้รวนทั้งระบบ เพราะความซับซ้อนในการควบคุมเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เก๋งดีเซลพวกนี้มีเซนเซอร์เป็นสิบ ๆ ตัว ตั้งแต่เครื่องถึงเกียร์ที่ต้องสัมพันธ์กัน (ยกเว้นเกียร์ธรรมดา) ตลอดเวลา เช่น ถ้าจ่ายน้ำมันไม่ดี เกียร์ก็เปลี่ยนไม่ถูกเอาได้เหมือนกัน

ส่วนตัว ผมเจอมาสองกรณี คือระบบไฟฟ้าของดีเซล ที่หาช่าง ซ่อมยากมาก สุดท้าย ไล่เองพอถู ๆไปได้
อีกคัน คือปั๊มน้ำมันดีเซลเป็นสนิม ทั้งที่รถใช้แต่ดีีเซลธรรมดา แต่มาพบความจริงว่า ดีเซลธรรมดา มีน้ำเยอะ ไม่แพ้ ไบโอดีเซลเลย ก็ทำใจ ซ่อมไปชุดใหญ่ ผมไม่คิดว่า น้ำมันบ้านเรา พร้อมใช้ ทุกปั๊ม ถึงแม้ผู้ผลิดจะออกมาคุยว่า ดีขนาดไหน น้ำมันดีเซลตามปั๊มก็ไม่ได้ตามมาตรฐานที่อ้างไว้เสมอไป

ไม่ได้มาขู่ในกลัวนะครับ มาเล่าให้ฟัง คนที่ใช้รถไม่เยอะก็ขาย คงไม่เดือดร้อน แต่ผมเป็นพวก ใช้กันจนเก่า เก็บกันจนแก่ ถ้าไม่แย่จนซ่อมไม่ไหว หรือถ้าเมียไม่ว่า  ก็คงไม่ขาย

คนที่ซื้อไปแล้ว ลองโทรถามอะไหล่คร่าว ๆ ของอุปกรณ์ที่ผมกล่าวมากับศูนย์บริการเผื่อ ๆ ไว้ได้เลยครับ ผมเชื่อว่า เกือบทุกยี่ห้อ ไม่พร้อมกับดีเซลเหล่านี้แน่ ๆ และมันต้องมีอะไรเสียบ้างล่ะครับ


PS: อ้างอิงจาก BENZ CDI and Volkswagen Passat Tdi

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2010, 06:47:56 โดย jaesz »

ออฟไลน์ Preceda2

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 498
    • อีเมล์
S60 D5 ที่เมืองนอก วิ่งกันเกิน2แสนโล ยังฟิตปั๋ง
แต่ยี่ห้ออื่นไม่แน่ใจครับ
เพราะใช้เก๋งดีเซลคันแรกเหมือนกัน ดูกันไปยาวๆเน้อ  ;D
2009 Volvo S60 D5
2010 Honda CRV 2.0
2011 Subaru Impreza 2.0R MT {R.I.P.}
2014 Harley-Davidson Sportster Iron 883
2015 Honda HR-V

ออฟไลน์ mrpong

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 37
         ส่วนตัวใช้ passat TDI มา 7 ปี วิ่งไปตอนนี้เกือบๆ 170000 ก็บำรุงรักษาตามระยะที่ควรจะทำ เปลี่ยนนำ้มันเครื่อง นำ้มันเกียร์ นำ้หม้อน้ำ ตรวจเช็คสายพานตามระยะ ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรน่าหนักใจ เมื่อวันก่อนก็พึ่งไปตรวจ turbo มา ก็ปกติมีใบร้าวเล็กน้อย แต่ช่างบอกยังไม่เสีย ใช้อีก  6-7หมื่นโลค่อยมาดูใหม่ ผมว่าขึ้นอยู่กับคนใช้งานมากกว่า ว่าคุณใช้โหดแค่ไหน ถ้าไม่ดูแลรถอะไรก็พังเหมือนกัน
         ตอนแรกว่าจะขายทิ้งแล้วเปลี่ยนใหม่ แต่พอคิดถึง ความแรงและประหยัดของเครื่อง ก็เลยลงทุนทำช่วงล่างใหม่หมด บูรณะใหม่ ตอนนี้วิ่งฉิววๆๆๆๆ คิดถูกแล้วที่ไม่ขาย      

ออฟไลน์ kritphakhin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,943
มาเก็บติดตามความรู้ใหม่ๆ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ birm@productive

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 395
ผมว่าบางอย่างมันยังชวนให้คิดอยู่นะครับ ขอแสดงความคิดต่าง

๑. เรื่องปั๊มดีเซล
มันจริงหรอครับ ว่าสิ่งที่ทำให้ปั๊มดีเซลรถคันแรกมันเสีย เกิดจากปั๊มทนความชื้อของน้ำในไบโอดีเซลไม่ได้ ผมเองไม่คิดว่าผู้ผลิตจะไม่คำนึงถึงพลังงานทางเลือกในอนาคตอันใกล้และจะจงใจไม่ผลิตรถที่สามารถรองรับกับน้ำมันไบโอดีเซลได้ ทั้งๆที่ไบโอดีเซล สำหรับบางประเทศในทวีปยุโรปก็เริ่มใช้ไบโอดีเซลตั้งแต่ก่อนปี 2000 เสียอีก
 (http://en.wikipedia.org/wiki/Biodiesel#Historical_background)

อีกอย่าง มันก็สอดคล้องกับสนิมในปั๊มน้ำมันของรถคันที่สอง ที่รถเติมแต่ดีเซลธรรมดา ปั๊มมันก็ขึ้นสนิมอีก อีกทั้งเหตุผลเดียวกัน
ผมมองว่า "รถสองคันนี้ มีปั๊มน้ำมันที่เติมน้ำมันประจำ เป็นปั๊มน้ำมันแห่งเดียวกัน" ถูกต้องหรือเปล่าครับ?

ผมมองแล้วคิดว่าปั๊มน้ำมันแห่งนั้น มีส่วนผสมของน้ำอยู่ในน้ำมันมากเกินไป น้ำเหล่านั้น มันก็ไปนอนอยู่ในถังน้ำมัน ทำปฏิกิริยาสนิมอยู่ในปั๊มหน่ะครับ

๒. เรื่องเทอร์โบ
เร่งๆหยุดๆ ในเมือง มันก็ต้องกดเครื่องไปอย่างน้อย 1,800 - 2,000 รอบต่อนาที ก่อนที่บูสท์จะทำงานเต็มกำลัง การใช้งานปกติ มันก็ไม่ควรจะพังง่ายๆนี่ครับ ยิ่งในเมือง เทอร์โบไม่ค่อยได้ใช้งาน เทอร์โบไม่น่าตายน้ำตื้น พังเพราะไม่ได้ใช้หรอกครับ น้ำมันเครื่องก็มีมาหล่อเลี้ยงแกนเทอร์โบ ดีเซลหลักการก็ไม่มีการติด Vacuum มันก็ไม่มีแรงดันย้อนใบเทอร์โบ หรือมีน้อยมาก  มองการใช้งานเป็นหลักครับ กดคันเร่งหนักๆ บ่อยๆ กดๆ เบรคๆ เทอร์โบก็ต้องมีการสึกหรอมากน้อยตามเท้าคนขับ หรือบางทีน้ำมันเครื่องอาจจะเก่าไป รถยุโรปนี่เน้นน้ำมันเครื่องใช้ยาวๆด้วย  ผมมองเรื่องศูนย์บริการด้วยครับ ปล่อยให้น้ำมันเครื่องใช้งานยาวไปหรือไม่

(เรื่องศูนย์บริการ มันมีแง่ให้คิดว่า BMW E46 ของผมเข้าศูนย์ไปให้เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ... ทางศูนย์บอกว่าน้ำมันเกียร์ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน ไม่ต้องเปลี่ยน ครับ มองได้เลยว่าพอเกียร์มันพัง น้ำมันเกียร์ก็หมดอายุการใช้งานครับ..ฝากวานถามคนใช้ BMW ในนี้ด้วย ว่ามันยังเป็นแบบนั้นอยู่หรือเปล่า)

๓. สายพานราวลิ้น
ผมขอมองอย่างตรงไปตรงมา ว่าถ้าคนขับหมั่นตรวจสอบสภาพ สายพานมันไม่ขาดตอนใช้งานหรอกครับ มันได้เปลี่ยนก่อนแน่นอน  ;D
หรือถ้าโชคร้ายจริงๆ ความเสียหายมันก็ไม่ร้ายแรงมาก หรือน้อยกว่ารถเบนซินหรอกครับ พังเหมือนกันเป๊ะ พวกวาล์วโหม่งกับลูกสูบ ไรงี้ อิอิ (ราคาค่าซ่อมอีกเรื่องนะ ตามยี่ห้อ)

๔. ระบบไฟฟ้า
ผมไม่ปักใจว่าเซนเซอร์รถดีเซลมากกว่ารถเบนซินแล้วเรื่องมันจะมากกว่าเวลาเสียด้วย เซนเซอร์กี่ตัว มันก็ต้องควบคุมด้วยกล่องหนึ่ง หรือสองใบเท่านั้น สมัยนี้ช่างหลายๆคนเช็คการใช้งานของเซนเซอร์ต่างๆเหล่านี้ได้ด้วยปลั๊กอันเดียว - OBD II ไงครับ

"พลังอันยิ่งใหญ่ จะมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง"
คำพูดนี้หมายถึงผมจะโหนตัวไปตามตึกต่างๆจากไยที่ปล่อยออกมาจากข้อมือได้... เอ๊ย ไม่ใช่!
รถทุกคัน (ยกเว้น DEFECT จากโรงงาน) ถ้าดูแลมันดีๆ มันก็จะดูแลเงินในกระเป๋าคุณดีๆเหมือนกันครับ

ดีเซลมันไม่ได้น่ากลัวหรอกครับ คนที่ดูแลมันต่างหากหล่ะ ที่น่ากลัว
(ปัจจุบัน 300D - W124 ที่บ้าน อายุ 18 ปีแล้ว วิ่งฉิววววว เลยครับ)
ประวัติ
รถ 11 คัน
ยาง 14 รุ่น

ออฟไลน์ maggie

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 724
    • อีเมล์
" แต่ผมเป็นพวก ใช้กันจนเก่า เก็บกันจนแก่ ถ้าไม่แย่จนซ่อมไม่ไหว หรือถ้าเมียไม่ว่า  ก็คงไม่ขาย " เหมือนพ่อผม เด๊ะๆ เลย ไม่เคยขายรถที่ไม่ใช้แล้ว มีแต่ยกให้คนอื่นเพราะ รู้สึกว่าใช้มันจนคุ้ม 5 5 5
 


ออฟไลน์ st_citroen

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 443
เทอร์โบส่วนหนึ่งที่ดัง(และอายุสั้น) คือ ผู้ใช้รถส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีความรู้เรื่องรถ จึงไม่ได้ทำการวอมดาวกันครับ

ออฟไลน์ traveller

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 266
คงต้อง ทบทวน ความรู้ พื้นฐาน เรื่อง เทอร์โมไดนามิกส์ และ กลศาสตร์ ก่อนครับ

เครื่องดีเซล ทำงาน ที่ กำลังอัดสูง กว่า เครื่องเบนซิน
ชิ้นส่วนเครื่องดีเซล จำพวก เสื้อสูบ ฝาสูบ ข้อเหวี่ยง จึงต้อง สร้างมาให้ ทนแรงอัดสูง
ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะสร้างมาแข็งแรง กว่า ชิ้นส่วนชนิดเดียวกัน ใน เครื่อง เบนซิน ครับ

เครื่องดีเซล ทำงาน ที่ ความร้อน น้อยกว่า เครื่องเบนซิน
ชิ้นส่วนเครื่องดีเซล จึง ไม่จำเป็น ต้อง สร้างมา ให้ ทนความร้อนสูง เหมือน เครื่องเบนซิน

ลองอ่าน ให้ ละเอียด นะครับ
มัน เป็น เหตุผล ที่ ทำให้ เครื่องดีเซล ทนทาน ครับ

เครื่องดีเซล สร้างมาเพื่อ รับแรงอัดสูง แต่ ไม่ต้องทำงาน ที่ความร้อนสูง
เครื่องเบนซิน สร้างมาเพื่อ ทนความร้อนสูง แต่ ไม่ต้องทำงาน ที่รับแรงอัดสูง

ปัญหา อยู่ที่ การใช้งาน ครับ
ว่า ขีดจำกัด ทาง เทคโนโลยี่ วัสดุศาสตร์ ที่ วิศวกร ต้องเลือกใช้ อยู่ที่ไหน
คำตอบ คือ อยู่ ที่ ความร้อน ครับ
หลัก เทอร์โมไดนามิกส์ เรื่อง ความร้อน เป็น จุดจำกัด ความทนทาน ของเครื่องยนต์
มากกว่า หลัก กลศาสตร์เรื่องทนแรงอัด ครับ

เรา จึง เห็น รถงานหนัก ใช้ เครื่องดีเซล กันทั้งนั้น
รถบรรทุก รถหัวลาก รถแบ็คโค รถแทรกเตอร์ รถถัง ไป จนถึง เรือเดินสมุทร ที่ใช้ เครื่องดีเซลรอบต่ำ
ดีเซล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ก็ ทำงาน ที่ ความร้อน น้อยกว่า เครื่องเบนซิน ครับ

พิสูจน์ ให้เห็นว่า เรื่อง สร้างเครื่อง ทนแรงอัดสูง แล้ว ทนทาน นี่ วิศวกร ทำได้ สบายๆ

แต่ เครื่องเบนซิน ที่ เผาผลาญน้ำมัน มีประสิทธิภาพ ด้อยกว่า เครื่องดีเซล เผาดีเซล
จำเป็น ต้องใช้ รอบเครื่อง สร้าง พลัง ขับเคลื่อนรถ
ใช้รอบสูง สร้างความร้อนสูง เครื่องยนต์ จึง สึกหรอ สูง

เครื่องเบนซินสมัยใหม่ ใช้ กำลังอัดสูง เกิน สิบ ต่อ หนึ่ง ยิ่ง สึกหรอ สูงมากไปอีก
พวก เบนซิน ฉีดตรง เครื่องเล็ก แรงม้ามาก ก็ ยิ่ง เสื่อม พัง ได้เร็วขึ้น อีกเยอะ ครับ
เบนซิน ฉีดตรง มี ปัญหา การใช้ น้ำมัน มากกว่า ดีเซล ฉีดตรงคอมมอนเรล มากมาย ครับ
GDI FSI Ecoboost เป็น ชื่อ การค้า ของ พวก เบนซิน ฉีด ตรง ครับ
เลี่ยง ได้ ก็ เลี่ยง นะครับ
เพราะ ไม่ทน แน่นอน

เครื่องดีเซล แรงบิด มามาก ที่รอบต่ำ จึง สามารถใช้ประโยชน์ ฟลายวิล หนัก ทำงานได้
แต่ เครื่องเบนซิน ใช้ ฟลายวิลหนักไม่ได้ครับ จะไม่มีแรงออกตัว เนื่องจาก แรงบิดมารอบสูง

รถเก๋งเล็ก เบนซิน ที่ใช้ ฟลายวิลเบา เจาะรู นี่ ออกตัว ปรู๊ด พุ่ง ดี
แต่ พอ มี คนนั่งมากขึ้น รถจะไม่พุ่ง เหี่ยว แรงหาย ไปเลย
ยี่ห้อ ไหน ใช้ ฟลายวิล เบา เช่นนี้ ลอง ไป หาข้อมูล กันดูนะครับ

กลศาสตร์ ฟลายวิล หรือ ล้อช่วยแรง นี่ มนุษย์ คิดได้ ห้าพันกว่าปีแล้ว
นี่ คือ การ ผ่อนแรง ที่ดีเยี่ยม ใน การทำงาน ร่วมกับ ล้อ ครับ
น้ำหนัก ฟลายวิล ที่ มาก จะ สร้าง แรงเฉื่อย ได้มาก
แรง เฉื่อย จะ ช่วยให้ เครื่องยนต์ทำงานน้อยลง ครับ

จึง ไม่น่าแปลกใจ ที่ วิศวกร ที่ รู้เรื่อง เครื่องยนต์ และ ต้องการ ใช้ รถประหยัด ทนทาน
จึง เลือก รถกระบะ ที่ มี ฟลายวิล หนัก มากที่สุด
ยี่ห้อ อะไร ที่ คุยเรื่อง ประหยัดน้ำมัน มานาน กว่า 20 ปี เราก็ รุ้กันอยุ่นะครับ
คนที่ ขับ รถกระบะ ฟลายวิล หนัก กินน้ำมัน คือ คน ที่ ขับแบบ รถเบนซิน
คือ กดคันเร่ง พรวด
ปล่อย คันเร่ง พรวด
เหมือน ขับรถแข่ง ฟลายวิล เบา หวิว นั่นแหละครับ
ถ้า ค่อยๆ กด ค่อยๆ ปล่อย
คุณ ก็ จะขับ กระบะ ฟลายวิลหนัก แช่ ที่ 190 กม/ชม ได้ ประหยัดกว่า รถคันอื่นครับ
ถ้า รถ ไม่ลงข้างทาง ซะก่อน
เพราะ ช่วงล่างหลัง คานแข็ง แหนบ นี่ ท้ายร่อนมากมาก เมื่อเจอ ถนนต่างระดับ
รถ เก๋ง คานแข็งหลัง ก็ ดีกว่าไม่มาก นะครับ
เจอ ถนนคลื่นเป็นลอน ก็ ช้า ไว้ ดีกว่า ครับ

อินเดีย เป็น ประเทศที่นิยม รถดีเซล
มีตั้งแต่ กระป้อ ทาทา สี่ร้อย ซีซ๊ ไปจนถึง รถหัวลาก พันกว่าซีซ๊
น้ำมัน ใน อินเดีย ก็ แย่ กว่า เมืองไทย

รถเก๋ง ดีเซล Tata Maruti Ford  ก็วิ่งกันเกลื่อนเมือง
ขายกัน ในราคาไม่แพง
Ford Fiesta 1.4TDCI
Ford Ikon 1.4TDCI ตัวจิ๋ว
ก็ใช้ น้ำมันดีเซล อินเดีย ได้สบายๆ

ถ้า ยุโรป ขาย รถเก๋งดีเซล ได้มากว่า เบนซิน
อินเดีย ผู้ มีเชื่อเสียง เรื่อง ความเค็ม ใช้เงินเป็น ก็ ใช้ เก๋งดีเซล
และ รถบรรทุก งานหนัก ใช้ เครื่องดีเซลคอมมอนเรล กัน ทั้วโลก

เครื่องดีเซล ต้อง ทนทาน และ ประหยัดน้ำมัน กว่า เครื่องเบนซิน แน่นอน ครับ

เทอร์โบ ในรถดีเซล ก็ ต้องทนทาน มากมาก
ไม่งั้น ใช้กันไม่ได้ ใน รถหัวลาก รถบรรทุกใหญ่กลางเล็ก รถกระบะงานหนัก ทั่วโลก หรอก ครับ
ยังไม่นับ กระบะดีเซลเทอร์โบ ในไทย ที่ วิ่งกันอยู่ สองล้าน คัน เข้าไปแล้ว
ถ้า เทอร์โบ ไม่ทนทาน
คงได้เห็น ร้านขายเทอร์โบรถดีเซล รวยเร็ว แบบ ร้านติดแก๊สรถเก๋งเบนซิน นะครับ

เทอร์โบ พัง ซัก 10% ต่อปี
ก็ จะมี รถกระบะดีเซล 200,000 คัน
วิ่งหา เทอร์โบ เปลี่ยน กัน ทุกปี
ร้านขายเทอร์โบดีเซล ต้อง รวยกว่า นี้ หลายร้อยเท่า ครับ

แต่ ความจริง คือ ร้านเทอร์โบดีเซล หงอย
มี ลูกค้า ไม่ถึง เดือน ละ หมื่น คัน

ดังนั้น เครื่องดีเซล เทอร์โบ อินเตอร์ นี่ ทนทาน สุดยอด แน่นอน ครับ
ถาม พี่ Hino Isuzu Man Volvo Scania Benz ได้ เลย ครับ



ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
เบิ้ม เรื่องน้ำมันนี่พูดยาก ปั๊มในประเทศมีหลายแห่ง เราไม่มีทางรู้หรอกว่าจะไปเติมน้ำมันแบบไหน แต่โดยส่วนตัวพี่เชื่อว่าเรื่องคุณภาพความสะอาดเรายังสู้ยุโรปไม่ได้

Triton เบิ้มล่ะเป็นไงบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิ 300D ของเบิ้มน่ะมันเป็น Old pump เทคโนโลยี มันเสียยากอยู่แล้ว ที่อยากรู้คือ Common Rail ยุคใหม่ว่าเป็นไงบ้าง โดยเฉพาะเมื่อโมกล่อง
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ natchaphon

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 128
    • อีเมล์
ตัดสินใจไปแล้ว เปลี่ยนไม่ทันแล้วล่ะ 5555  หวังว่าจะได้ดูกันไปยาว ๆ

รถยังใหม่ ยังตัดสินอะไรมากไม่ได้ครับ

รู้แต่่ว่าน้ำมันดีเซลที่ผมใช้แล้วรู้สึกถูกใจไม่ใช่ตัว V ครับ

ออฟไลน์ AIMU

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 283
รถ VW passat tdi เป็นเครื่อง UI อาจจะมีปัญหามากกว่า CDI หน่อย
1. เรื่องคุณภาพน้ำมัน ถ้าน้ำทำให้มันเสีย รถมันก็เสียทุกคัน แต่ค่าซ่อมมันอาจจะต่างกัน เรื่องเครื่อง CDi ต้องเข้าใจว่ามันมีปั้ม 2 ตัว ปั้มแรงดันต่ำปั้มน้ำมันจากถังมารางร่วมน้ำมัน แล้วมีปั้มแรงดันสูงอยู่รวมกันกับชุดหัวฉีด อีกที ปรกติแล้วเครื่องดีเซลจะมีตัวกรองแยกน้ำอยู่ การที่น้ำจะไปทำให้หัวฉีดแรงดันสูงเสียคิดว่ายากเว้นแต่ไม่เคย drain น้ำออก พวกแรงดันสูงน่าเป็นห่วงเรื่องความสกปรกมากกว่า ต้องดูแลพวกไส้กรองน้ำมันอย่าให้ตัน
2. เครื่อง diesel จะทำรอบสูงได้ไม่มากเหมือน เบนซิน ขนาดเทอร์โบ จะมาเร็ว หมดเร็ว ไม่ได้ boost สูงๆ ลองคิดดู ว่า เบนซิน กำลังอัด 9:1 boost 1bar กำลังอัด จริง ในเครื่อง เป็น 18:1 ดีเซล กำลังอัด 18:1 boost 1bar กำลังอัดเป็น 36:1 จากกำลังต่างกัน 9 มากต่างกัน 18 เครื่องรับกำลังอัดไปอีกเยอะ ทั้ง boost เท่ากัน เครื่อง diesel จะมี a/r เล็กจะรีดอากาศเร็ว boost มาไว แต่ แต่ก็อั้น เพราะ a น้อยอากาศผ่านได้น้อยก็อั้น ซึ่งก็ไม่ได้ใช้รอบสูงอยู่แล้ว ก็ ok ปัญหาเทอร์โบ ใบเทอร์โบหมุนด้วยรอบสูง ดูดอากาศมากกว่าปรกติ เศษฝุ่นเล็กๆ  มันจะไปทำลาย พวกครีบใบพัด ก็ต้องดูแลกรองอย่าให้ตั
3. สายพานไม่ว่ารถเบนซิน ดีเซล ขาดก็เจ็บตัวเหมือนกัน หมั่นดูแลเปลี่ยนตามกำหนด หรือก่อนกำหนด ถ้ามันใช้งานหนัก สภาพอากาศ เมืองไทยนี้พวกยาง พวกสายพาน เผื่อไว้หน่อยก็ดี
4. อันนี้น่าห่วง คุยกันมาเป็น 10-20 ปี แล้วเรื่องระบบอิเล็กทรอนิค ตั้งแต่ คาร์บูไฟฟ้าของ bmw หรือ benz เปลี่ยนไปจุกจิกไม่เหมือนแต่ก่อน แต่กระแสเทคโนโลยีมันก็มาเรื่อยๆ ช่างเริ่มรู้ซ่อมได้ก็มีตัวใหม่มาให้ปวดหัวอีก

เดวนี้อะไรก็เล็กลง แรงขึ้น การดูแลก็มากขึ้นต้องเอาใจใส่
ถ้าคุณใช้ passat อยู่แล้ว เจอปัญหาเครื่อง UI แล้วมาเอารวมกับเครื่อง CDI โดยส่วนตัวผมจะคิดว่า CDi ทนกว่า UI

ออฟไลน์ birm@productive

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 395
เบิ้ม เรื่องน้ำมันนี่พูดยาก ปั๊มในประเทศมีหลายแห่ง เราไม่มีทางรู้หรอกว่าจะไปเติมน้ำมันแบบไหน แต่โดยส่วนตัวพี่เชื่อว่าเรื่องคุณภาพความสะอาดเรายังสู้ยุโรปไม่ได้

Triton เบิ้มล่ะเป็นไงบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิ 300D ของเบิ้มน่ะมันเป็น Old pump เทคโนโลยี มันเสียยากอยู่แล้ว ที่อยากรู้คือ Common Rail ยุคใหม่ว่าเป็นไงบ้าง โดยเฉพาะเมื่อโมกล่อง

มันก็ยังไม่เสียหายอะไรครับ ใช้มาจะห้าพันกิโลแล้ว
รถมันไม่ค่อยจะเดิมๆนะ ทำ USSR (USer'S Review) คงจะได้ไม่ดีนัก


การติด Piggy Bag สำหรับรถดีเซล สำหรับผม มันเป็นอะไรที่เห็นผลชนิดรู้สึกได้ถึงความแตกต่างในทันทีนะครับ

ยกตัวอย่างแบบไหนดีหล่ะ? อืม...
เอาเป็นว่ามีเวลาจะถ่ายวีดีโอมาให้ดูดีกว่าครับ  ;D
ประวัติ
รถ 11 คัน
ยาง 14 รุ่น

ออฟไลน์ tokyo

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 632
เบิ้ม เรื่องน้ำมันนี่พูดยาก ปั๊มในประเทศมีหลายแห่ง เราไม่มีทางรู้หรอกว่าจะไปเติมน้ำมันแบบไหน แต่โดยส่วนตัวพี่เชื่อว่าเรื่องคุณภาพความสะอาดเรายังสู้ยุโรปไม่ได้

Triton เบิ้มล่ะเป็นไงบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิ 300D ของเบิ้มน่ะมันเป็น Old pump เทคโนโลยี มันเสียยากอยู่แล้ว ที่อยากรู้คือ Common Rail ยุคใหม่ว่าเป็นไงบ้าง โดยเฉพาะเมื่อโมกล่อง

มันก็ยังไม่เสียหายอะไรครับ ใช้มาจะห้าพันกิโลแล้ว
รถมันไม่ค่อยจะเดิมๆนะ ทำ USSR (USer'S Review) คงจะได้ไม่ดีนัก


การติด Piggy Bag สำหรับรถดีเซล สำหรับผม มันเป็นอะไรที่เห็นผลชนิดรู้สึกได้ถึงความแตกต่างในทันทีนะครับ

ยกตัวอย่างแบบไหนดีหล่ะ? อืม...
เอาเป็นว่ามีเวลาจะถ่ายวีดีโอมาให้ดูดีกว่าครับ  ;D

คือเอาเก๋งดีเซลลเดิมๆ มาใส่กล่อง เพิ่มอย่างเดียวเลยใช่มั้ยครับ ที่ว่าเห็นผลเนี่ย
07 mazda 3

ออฟไลน์ Quadrifoglio Verde

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 553
  • Remember Life is Hanging in the Balance !
    • อีเมล์
พี่ traveller สุดยอดมากครับ อธิฯ ได้เป็นฉากๆ อยากให้ gift จังเลย  ;)

ท่าทางพี่คงมีอายุพอควรนะนี่  ::)
FIAT 131 SuperBrava 1600 T/C 1981
VOLVO 850 GLT 1997
Mercedes W204 C250 CDI AVANTGARDE 2011

ออฟไลน์ Preceda2

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 498
    • อีเมล์
ไม่รู้พวกกล่องพ่วงในไทยเนี่ยใส่รถผมได้ป่าว

สงสัยต้องพึ่งพารอมจากเมืองนอก เซตนึง3หมื่นกว่าๆ  :o
2009 Volvo S60 D5
2010 Honda CRV 2.0
2011 Subaru Impreza 2.0R MT {R.I.P.}
2014 Harley-Davidson Sportster Iron 883
2015 Honda HR-V

ออฟไลน์ st_citroen

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 443
เครื่องCDIของเบนซ์ มีกรองดีเซลก็จริงแต่ไม่มีที่ดักน้ำนะครับ

ออฟไลน์ birm@productive

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 395
คงต้อง ทบทวน ความรู้ พื้นฐาน เรื่อง เทอร์โมไดนามิกส์ และ กลศาสตร์ ก่อนครับ

เครื่องดีเซล ทำงาน ที่ กำลังอัดสูง กว่า เครื่องเบนซิน
ชิ้นส่วนเครื่องดีเซล จำพวก เสื้อสูบ ฝาสูบ ข้อเหวี่ยง จึงต้อง สร้างมาให้ ทนแรงอัดสูง
ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะสร้างมาแข็งแรง กว่า ชิ้นส่วนชนิดเดียวกัน ใน เครื่อง เบนซิน ครับ

เครื่องดีเซล ทำงาน ที่ ความร้อน น้อยกว่า เครื่องเบนซิน
ชิ้นส่วนเครื่องดีเซล จึง ไม่จำเป็น ต้อง สร้างมา ให้ ทนความร้อนสูง เหมือน เครื่องเบนซิน

ลองอ่าน ให้ ละเอียด นะครับ
มัน เป็น เหตุผล ที่ ทำให้ เครื่องดีเซล ทนทาน ครับ

เครื่องดีเซล สร้างมาเพื่อ รับแรงอัดสูง แต่ ไม่ต้องทำงาน ที่ความร้อนสูง
เครื่องเบนซิน สร้างมาเพื่อ ทนความร้อนสูง แต่ ไม่ต้องทำงาน ที่รับแรงอัดสูง

ปัญหา อยู่ที่ การใช้งาน ครับ
ว่า ขีดจำกัด ทาง เทคโนโลยี่ วัสดุศาสตร์ ที่ วิศวกร ต้องเลือกใช้ อยู่ที่ไหน
คำตอบ คือ อยู่ ที่ ความร้อน ครับ
หลัก เทอร์โมไดนามิกส์ เรื่อง ความร้อน เป็น จุดจำกัด ความทนทาน ของเครื่องยนต์
มากกว่า หลัก กลศาสตร์เรื่องทนแรงอัด ครับ

เรา จึง เห็น รถงานหนัก ใช้ เครื่องดีเซล กันทั้งนั้น
รถบรรทุก รถหัวลาก รถแบ็คโค รถแทรกเตอร์ รถถัง ไป จนถึง เรือเดินสมุทร ที่ใช้ เครื่องดีเซลรอบต่ำ
ดีเซล เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ก็ ทำงาน ที่ ความร้อน น้อยกว่า เครื่องเบนซิน ครับ

พิสูจน์ ให้เห็นว่า เรื่อง สร้างเครื่อง ทนแรงอัดสูง แล้ว ทนทาน นี่ วิศวกร ทำได้ สบายๆ

แต่ เครื่องเบนซิน ที่ เผาผลาญน้ำมัน มีประสิทธิภาพ ด้อยกว่า เครื่องดีเซล เผาดีเซล
จำเป็น ต้องใช้ รอบเครื่อง สร้าง พลัง ขับเคลื่อนรถ
ใช้รอบสูง สร้างความร้อนสูง เครื่องยนต์ จึง สึกหรอ สูง

เครื่องเบนซินสมัยใหม่ ใช้ กำลังอัดสูง เกิน สิบ ต่อ หนึ่ง ยิ่ง สึกหรอ สูงมากไปอีก
พวก เบนซิน ฉีดตรง เครื่องเล็ก แรงม้ามาก ก็ ยิ่ง เสื่อม พัง ได้เร็วขึ้น อีกเยอะ ครับ
เบนซิน ฉีดตรง มี ปัญหา การใช้ น้ำมัน มากกว่า ดีเซล ฉีดตรงคอมมอนเรล มากมาย ครับ
GDI FSI Ecoboost เป็น ชื่อ การค้า ของ พวก เบนซิน ฉีด ตรง ครับ
เลี่ยง ได้ ก็ เลี่ยง นะครับ
เพราะ ไม่ทน แน่นอน

เครื่องดีเซล แรงบิด มามาก ที่รอบต่ำ จึง สามารถใช้ประโยชน์ ฟลายวิล หนัก ทำงานได้
แต่ เครื่องเบนซิน ใช้ ฟลายวิลหนักไม่ได้ครับ จะไม่มีแรงออกตัว เนื่องจาก แรงบิดมารอบสูง

รถเก๋งเล็ก เบนซิน ที่ใช้ ฟลายวิลเบา เจาะรู นี่ ออกตัว ปรู๊ด พุ่ง ดี
แต่ พอ มี คนนั่งมากขึ้น รถจะไม่พุ่ง เหี่ยว แรงหาย ไปเลย
ยี่ห้อ ไหน ใช้ ฟลายวิล เบา เช่นนี้ ลอง ไป หาข้อมูล กันดูนะครับ

กลศาสตร์ ฟลายวิล หรือ ล้อช่วยแรง นี่ มนุษย์ คิดได้ ห้าพันกว่าปีแล้ว
นี่ คือ การ ผ่อนแรง ที่ดีเยี่ยม ใน การทำงาน ร่วมกับ ล้อ ครับ
น้ำหนัก ฟลายวิล ที่ มาก จะ สร้าง แรงเฉื่อย ได้มาก
แรง เฉื่อย จะ ช่วยให้ เครื่องยนต์ทำงานน้อยลง ครับ

จึง ไม่น่าแปลกใจ ที่ วิศวกร ที่ รู้เรื่อง เครื่องยนต์ และ ต้องการ ใช้ รถประหยัด ทนทาน
จึง เลือก รถกระบะ ที่ มี ฟลายวิล หนัก มากที่สุด
ยี่ห้อ อะไร ที่ คุยเรื่อง ประหยัดน้ำมัน มานาน กว่า 20 ปี เราก็ รุ้กันอยุ่นะครับ
คนที่ ขับ รถกระบะ ฟลายวิล หนัก กินน้ำมัน คือ คน ที่ ขับแบบ รถเบนซิน
คือ กดคันเร่ง พรวด
ปล่อย คันเร่ง พรวด
เหมือน ขับรถแข่ง ฟลายวิล เบา หวิว นั่นแหละครับ
ถ้า ค่อยๆ กด ค่อยๆ ปล่อย
คุณ ก็ จะขับ กระบะ ฟลายวิลหนัก แช่ ที่ 190 กม/ชม ได้ ประหยัดกว่า รถคันอื่นครับ
ถ้า รถ ไม่ลงข้างทาง ซะก่อน
เพราะ ช่วงล่างหลัง คานแข็ง แหนบ นี่ ท้ายร่อนมากมาก เมื่อเจอ ถนนต่างระดับ
รถ เก๋ง คานแข็งหลัง ก็ ดีกว่าไม่มาก นะครับ
เจอ ถนนคลื่นเป็นลอน ก็ ช้า ไว้ ดีกว่า ครับ

อินเดีย เป็น ประเทศที่นิยม รถดีเซล
มีตั้งแต่ กระป้อ ทาทา สี่ร้อย ซีซ๊ ไปจนถึง รถหัวลาก พันกว่าซีซ๊
น้ำมัน ใน อินเดีย ก็ แย่ กว่า เมืองไทย

รถเก๋ง ดีเซล Tata Maruti Ford  ก็วิ่งกันเกลื่อนเมือง
ขายกัน ในราคาไม่แพง
Ford Fiesta 1.4TDCI
Ford Ikon 1.4TDCI ตัวจิ๋ว
ก็ใช้ น้ำมันดีเซล อินเดีย ได้สบายๆ

ถ้า ยุโรป ขาย รถเก๋งดีเซล ได้มากว่า เบนซิน
อินเดีย ผู้ มีเชื่อเสียง เรื่อง ความเค็ม ใช้เงินเป็น ก็ ใช้ เก๋งดีเซล
และ รถบรรทุก งานหนัก ใช้ เครื่องดีเซลคอมมอนเรล กัน ทั้วโลก

เครื่องดีเซล ต้อง ทนทาน และ ประหยัดน้ำมัน กว่า เครื่องเบนซิน แน่นอน ครับ

เทอร์โบ ในรถดีเซล ก็ ต้องทนทาน มากมาก
ไม่งั้น ใช้กันไม่ได้ ใน รถหัวลาก รถบรรทุกใหญ่กลางเล็ก รถกระบะงานหนัก ทั่วโลก หรอก ครับ
ยังไม่นับ กระบะดีเซลเทอร์โบ ในไทย ที่ วิ่งกันอยู่ สองล้าน คัน เข้าไปแล้ว
ถ้า เทอร์โบ ไม่ทนทาน
คงได้เห็น ร้านขายเทอร์โบรถดีเซล รวยเร็ว แบบ ร้านติดแก๊สรถเก๋งเบนซิน นะครับ

เทอร์โบ พัง ซัก 10% ต่อปี
ก็ จะมี รถกระบะดีเซล 200,000 คัน
วิ่งหา เทอร์โบ เปลี่ยน กัน ทุกปี
ร้านขายเทอร์โบดีเซล ต้อง รวยกว่า นี้ หลายร้อยเท่า ครับ

แต่ ความจริง คือ ร้านเทอร์โบดีเซล หงอย
มี ลูกค้า ไม่ถึง เดือน ละ หมื่น คัน

ดังนั้น เครื่องดีเซล เทอร์โบ อินเตอร์ นี่ ทนทาน สุดยอด แน่นอน ครับ
ถาม พี่ Hino Isuzu Man Volvo Scania Benz ได้ เลย ครับ



LIKE
ประวัติ
รถ 11 คัน
ยาง 14 รุ่น

ออฟไลน์ rincivil

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 120
    • อีเมล์
ผมว่าไม่ใช่นะครับที่บอกว่าเครื่องดีเซลความร้อนน้อยกว่าเบนซิน นะ(ไม่อยากให้ท่านที่อ่านๆอยู่เข้าใจผิด)
ดีเซลกำลังอัดสูง ความร้อนของอากาศที่อัดในกระบอกสูบย่อมมาก เพื่อเผาไหม้น้ำมันดีเซล
เบนซิน กำลังอัดน้อยกว่า ความร้อนในกระบอกสูบย่อมน้อยกว่า
ส่วนเวลาเผาไหม้น้ำมันตัวไหนให้ค่าความร้อนมากกว่ากัน(ผู้รู้ช่วยตอบด้วย) ถ้าดีเซลมากกว่า ความร้อนของเครื่องดีเซล ย่อมมากกว่า ส่วนถ้าเบนซินมากกว่า ความร้อนของเครื่องยนต์เบนซินย่อมมากกว่า แต่ผมจำได้ตอนเรียน ปวช. ช่างยนต์ (ก่อนจะเปลี่ยนสายมาเรียน วิศวโยธา) ว่าเครื่องยนต์ดีเซล มีความร้อนมากกว่าเบนซินแน่นอน ฟันธง+คอนเฟิรม์ อิอิ(จะหน้าแตกไหมเนี้ย)

ออฟไลน์ tokyo

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 632
ผมว่าใครร้อนกว่ากันมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลยหนิครับ
เพราะบ้านผมเวลาเดินทางที ก็เกือบ 10ชั่วโมง รถก็ไม่เป็นไร ทั้งเบนซิน ดีเซล

ถ้านานกว่านี้ไป ผมว่า คนมากกว่าที่จะไม่ไหว  ;D
07 mazda 3

ออฟไลน์ toey_tm

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 33
ไม่เคยเห็น ดีเซล(ระบบเก่า) ทีบ้านเครื่องพัง ทั้งๆที่ปกติก็ไม่ค่อยจะดูแลมันเท่าไหร่

เบนซิน รักยิ่งกว่าไข่ในหิน คอยเช็คตลอด สุดท้ายพอผ่านปีที่ 5 อาการจุกจิกมาเป็นระยะๆ

ดีเซลระบบใหม่ ยังไม่เคยสัมผัส ไม่ออกความคิดเห็นแล้วกันครับ

 ;D


ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
อืม อุณหภูมิตอนเผาไหม้นี่ไม่ทราบแฮะ แต่อุณหภูมิไอเสียนี่รู้สึกว่าเครื่องเบนซินจะร้อนกว่ากันราว 200 เซลเซียส
ไม่รู้ว่าสามารถนำไปใช้สร้างสมมติฐานได้หรือเปล่าว่าเครื่องเบนซินมีอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ที่ร้อนกว่า

- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ POPROCK

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 387
โห อ.Traveller นี่
แน่นอนจริงๆครับ

อธิบายได้เข้าใจง่ายจริงๆ
ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
เป๊ะๆเลยครับ

ข้าน้อยขอคารวะ 1 จอก
สังคมดีๆ...ไม่มีขาย
อยากได้...ต้องช่วยกันสร้าง
โดยเริ่มจาก...ตัวเราเอง

ออฟไลน์ Sinplug

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 419
    • https://www.facebook.com/groups/4G64Club
    • อีเมล์
ผมว่าไม่ใช่นะครับที่บอกว่าเครื่องดีเซลความร้อนน้อยกว่าเบนซิน นะ(ไม่อยากให้ท่านที่อ่านๆอยู่เข้าใจผิด)
ดีเซลกำลังอัดสูง ความร้อนของอากาศที่อัดในกระบอกสูบย่อมมาก เพื่อเผาไหม้น้ำมันดีเซล
เบนซิน กำลังอัดน้อยกว่า ความร้อนในกระบอกสูบย่อมน้อยกว่า
ส่วนเวลาเผาไหม้น้ำมันตัวไหนให้ค่าความร้อนมากกว่ากัน(ผู้รู้ช่วยตอบด้วย) ถ้าดีเซลมากกว่า ความร้อนของเครื่องดีเซล ย่อมมากกว่า ส่วนถ้าเบนซินมากกว่า ความร้อนของเครื่องยนต์เบนซินย่อมมากกว่า แต่ผมจำได้ตอนเรียน ปวช. ช่างยนต์ (ก่อนจะเปลี่ยนสายมาเรียน วิศวโยธา) ว่าเครื่องยนต์ดีเซล มีความร้อนมากกว่าเบนซินแน่นอน ฟันธง+คอนเฟิรม์ อิอิ(จะหน้าแตกไหมเนี้ย)
นั่นตำราคงผิดแล้วละ ลืมไปรึเปล่าว่าเครื่องเบนซินใช้หัวเทียน-รอบสูงด้วย
"ผมก็แค่กะบะเบนซิล''4G64 Turbo  แรงม้า XXX Max. Torque 618 N/m''  
Facebook: 4G64 Club Thailand/4G64T Club Thailand