แพงครับ ภรรยาเคยอยู่อเมริกาใช้ honda civic ราคา $20,000
ค่าประกันตกปีละ 40,000 กว่าบาท
ทำงาน part time ทั้งในมหาลัย และร้านอาหาร เดือนนึง $1,500-$2,000
รวมๆ แล้ว มีรถ 1 คัน สบายๆ ไม่เหมือนเมืองไทยที่ดิ้นรนหนักมากเพื่อรถ 1 คัน
จะบอกว่าให้เทียบกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น เงินเฟ้อ? แปลว่าประเทศยิ่งร่ำรวย สินค้าอื่นๆ ก็จะยิ่งราคาถูกลง?
ประเทศไทยของแพงเกือบทุกอย่างไม่ใช่แค่รถยนต์ เช่น สินค้าแบรนด์เนม, น้ำหอม, เครื่องสำอาง, อุปกรณ์กีฬา เป็นต้น
กลับมาที่รถยนต์ จะบอกว่ารถผลิตในประเทศเอา margin เยอะ เพราะขายได้น้อย ไม่งั้นไม่ถึงจุดคุ้มทุน อันนี้ดูเป็นไปได้มากกว่า เพราะแต่ละยี่ห้อเวลาลดราคาทีเกิน 10% ของราคาขายปลีกทั้งนั้น
ผมไม่เข้าใจมุมมองต่อเงินเฟ้อของคนทั่วๆ ไปนะครับ แต่จะอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วกันครับ
"จะบอกว่าให้เทียบกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น เงินเฟ้อ? แปลว่าประเทศยิ่งร่ำรวย สินค้าอื่นๆ ก็จะยิ่งราคาถูกลง?"
ประเทศร่ำรวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับ อัตราการเติบโตของ ศก เช่น ศก โต 5% เงินเฟ้อ 3% นั่นคือเรารวยขึ้น 2%
หรือมองในมุมรัฐ ก็ดูที่เงินสำรอง ถ้าเงินสำรองเพิ่ม รัฐรวยขึ้น
ส่วนสินค้าและบริการ ราคาถูกลง คือ เงินฝืด (ภาวะราคาสินค้าลดต่ำลง)
การที่ประเทศรวย ไม่เกี่ยวกับสินค้าอื่น จะยิ่งราคาถูกลงครับ ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นมีเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด
"ประเทศไทยของแพงเกือบทุกอย่างไม่ใช่แค่รถยนต์"
เพราะเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา เงินเฟ้อสูง ก็เป็นธรรมดาปกติครับ แต่อัตราการเติบโตของ ศก เราก็สูงด้วย
แต่ปัจจุบันหลังจากนี้ของอาจจะไม่แพงก็ได้ครับ เพราะเงินเฟ้อต่ำเหลือเกิน
ข้าวของแพงอาจจะไปเกิดที่เพื่อนบ้านเรามากกว่า เพราะ ศก เติบโตสูง เงินเฟ้อสูง
เวลาเราพูดว่าเงินบาทอ่อนค่า เราทุกคนเข้าใจ แต่พอพูดว่าเงินเฟ้อ กลับไม่เข้าใจ ในความเป็นจริงแล้ว เงินเฟ้อ ก็คือการอ่อนค่าของเงินเมื่อเทียบกับสินค้าและบริการ มันไม่ได้ต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเลยครับ แค่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับอะไรมากกว่า
ดังนั้นคุณควรเทียบประเทศที่มีเงินเฟ้อสูง กับประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงเหมือนกันเท่านั้น ถ้าไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อ ราคามันจะเพี้ยนไม่สามารถเทียบกันได้ครับ