เรื่องหม้อก๋วยเตี๋ยวนี่เข้าใจดีครับ
แต่ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจคือ รถประกอปบ้านเราตัวที่ส่งออก มีอุปกรณ์ติดตัวมากกว่าบ้านเรา
แต่ราคาขายเขาสูสี หรือต่ำกว่า ทั้งที่เขามีค่าขนส่งข้ามทะเล แต่เราไม่มี
ตัวอย่างเช่นเจ้า fiesta บ้านเรามี Airbag 2 ลูก ตัวส่งออสเตเลียมี airbag ข้างให้ด้วย จาก line ผลิดเดียวกัน
ไม่ต้องไปเตรียมน้ำจิ้มหรือน้ำราดเพิ่มเติม เพราะร้านนี้ ขายทั้งหน้าเป็ดและก๋วยเตี๋ยวเป็ดอยู่แล้ว
แต่หน้าร้าน ชั้นจะขายก๋วยเตี๋ยวอย่างเดียวอะ...หน้าเป็ดจะส่ง delivery เท่านั้น...ใครจะทำไม...555
เพราะภาษีมันแพง...ต้นทุนมันสูง...จริงหรือ?
หรือเราไม่ค่อยซีเรียสกับเรื่องนี้...แค่เก็บตัง...กัดพันซื้อรถให้ได้...
ให้มันวิ่งรับใช้เพื่อไปทำมาหาส่งค่างวดได้ก็พอ...
ถ้ามีออปชั้นให้ก็ถือว่าโชคดีที่ผู้ผลิดเขาติดมาให้...
แล้ว...ตกลงปัญหามันคืออะไร....
อันนี้ อยากรู้จริงๆครับ ไม่ใช่คนในวงการ
ขอทราพถึงข้อมูลและต้นเหตุจริงๆ
น้อยใจในการที่คนไทย ต้องจ่ายภาษีสำหรับรถยนต์แพงมหาโหด
ออปชั้นด้านความปลอดภัยก็ไม่ค่อยจะเต็มที่
ถ้าต้นเหตุเป็นที่ภาษี
รัฐท่านอาจจะมองมองอุสาหกรรมรถยนต์เป็นขุมเงินขุมทองของท่าน อันนี้เข้าใจ
แต่คุณภาพชีวิตของคนชาติเดียวกัน ก็ไม่ควรละเลยนะครับ
ขออภัยถ้าบ่นเกินไปจ้า
ในการเริ่มต้นผลิตรถยนต์ มันมีความเสี่ยงอยู่ถูกมั๊ยครับ
ดังนั้นก่อนจะเริ่มผลิตขาย ก็ต้องมี spec sheet ของแต่ละประเทศ
ซึ่งแต่ละประเทศ จะเลือก spec อะไรต่างๆ ที่ต้องการแล้วส่งกลับให้
บริษัทแม่ ดู เพื่อดูความเหมาะสม ต้นทุนอะไรต่างๆ
อย่างรถที่ผลิตในประเทศไทย แต่ต้องส่งออกไปประเทศอื่นด้วย
spec จะถูกกำหนดมาไม่เหมือนกัน หลายๆ อย่างที่หลายๆ ประเทศขอไป
บางทีก็ไม่ได้ ต้องถูกตีกลับ โดยบริษัทแม่ต้อง ตัดสินใจอย่างระมัดระวัง
เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง ได้ไม่คุ้มต้นทุนที่เสียไปอะไรแบบนี้ แล้วยังต้อง
มีการต่อรอง volume กับทาง supplier เป็นขั้นตอนต่อมาอีก ทั้ง cost
ทั้ง purchasing ทั้ง project management ต้องทำงานให้ประสานกันให้
มากที่สุด ทั้ง sourcing ก็ต้องทำ และ part มีไม่ใช่น้อยๆ option ต่างๆ
ที่แต่ละประเทศได้ จึงต้องอิงกับสภาพตลาดที่เหมาะสมในประเทศนั้นๆ
อย่างเมืองไทย ให้แค่รุ่นท๊อปได้แอร์แบ็กไปก็พอแล้ว ตามคู่แข่ง อะไรแบบนี้
เพราะต้นทุนที่เพิ่มโดยไม่จำเป็น เนื่องจากในตลาดไม่มีใครใส่ airbag มาใน
รุ่นล่างๆ แถมยอดขายก็โอเคอยู่แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องทำตรงนี้ เพราะความเสี่ยง
ในการลงทุนของรถ มันมีอยู่ทั่วทั้งคัน มันไม่ใช่ part ชิ้นสองชิ้น และ ไหนจะต้อง
มองความเสี่ยง หากรถโชคร้าย ขายไม่ออกไม่ได้ถึงเป้าอีก ถ้าลงทุนไป แต่ได้
เงินกลับมาไม่พอให้บริหารจัดการ ทำการตลาด ก็จะยิ่งแย่ไปซะเปล่า
ดังนั้นทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างมันไม่ได้มาจากคนๆ เดียวทุบโต๊ะ ปึ้ง ผมต้องการ
moonroof ในรถรุ่นนี้ ขายในประเทศไทย มันทำอย่างงั้นไม่ได้ ! แต่ในขณะที่หาก
เป็นที่เมืองจีน supplier เค้าพร้อมอยู่แล้ว ตลาดเค้าแข่งกันใส่ moonroof กันทุกรุ่น
อยู่แล้ว คู่แข่งต้องแข่งกันตรงนี้อยู่แล้ว เอาล่ะ ไม่ใส่ไม่ได้ เราต้องใส่ moonroof ให้
รถคันนี้
การผลิตรถท้ายที่สุดมันได้กำไรไม่มากนัก เพราะทันทีที่รถออกมาจากโรงงาน ก็โดน
ภาษีสูบ โดน dealer สูบ และก่อนหน้านั้นก็โดน supplier สูบมาประมาณนึง (แต่บาง
supplier ก็โดนกด) การวางแผนจึงต้องมั่นใจจริงๆ ต้องมี volume ทุกครั้งที่ผลิต part
ชิ้นๆ นึง รถบางคันทำไมมี cruise ในรุ่นส่งออก แต่ในไทยตัดออก เพราะ ประเทศที่
นำเข้ารถเรา ขอ spec ดังกล่าวได้รับการอนุมัติ volume สำหรับส่งออกเท่านั้น ก็ส่งไป
ยัง supplier คำนวนค่า tooling ต้นทุนอะไรต่างๆ เสร็จสรรพ และ part Cruise ก็ถูกผลิต
เข้า line ที่ผลิตส่งออกเท่านั้นไป ในขณะที่ประเทศปลายทาง ที่กำหนด volume และ
กำหนด spec และ forecast การผลิตมาให้ เหล่านี้มาก็ต้องรับผิดชอบความเสี่ยงใน
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นตรงจุดนี้ ถ้าขายไม่ดี กำไรไม่มี ก็ต้องรับผิดชอบขายตาม spec ที่ตัว
เองกำหนดไว้แต่แรกให้ได้ forecast มาเท่าไหร่ ต้องรับไปขายเท่านั้น จะมายกเลิกหรือ
แก้ spec ทีหลังเพราะอยากจะมาประหยัดต้นทุนในภายหลังมันทำไม่ได้ ถ้าได้ ใครจะ
รับผิดชอบต่อ supplier ซึ่งไม่ได้หรอก ไม่มีใครเค้าทำกัน
สมมติว่า รถคันนึงขายได้กำไร 50,000 บาท เน็ตๆ หลังโดนหักโน้นหักนี้ไปแล้ว รวมค่า
ไฟ ค่าแรง ค่าจ้างด้วยนะ Cost control ยื่นตัวเลขนี้ให้ผู้บริหาร ผู้บริหารบอกว่า เงินเหลือนี่
แบบนี้ต้องเพิ่ม side airbag เข้าไป ลูกละ 5,000 บาท มันทำอย่างงั้นไม่ได้ครับ เพราะ
มันไม่มีอะไรมายืนยัน ว่ารถจะขายดีแบบนั้นไปได้เรื่อยๆ ถ้ายังไม่มีคู่แข่งที่ทำให้ผู้ผลิต
ต้องเจียดตรงนี้เข้าไป ผู้ผลิตขอเก็บเงิน 50,000 บาทนี้เป็นทุนสำรอง เผื่อเหตุกรณีฉุกเฉิน
ดีกว่า จนกว่า ตลาดจะเรียกร้อง จะจำเป็นจริงๆ การ Minor Change จึงเป็นการปรับตัวอย่าง
หนึ่ง ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่มากไม่น้อย ที่จะมีการ revise volume กับทาง supplier
ทำการ re-spec ต่างๆ เพื่อขยับให้ตามทันคู่แข่ง แต่ไม่ใช่ว่า ชั้นได้กำไรเยอะ ชั้นต้องเพิ่ม
side airbag, air digital, push start มันทำแบบนั้นไม่ได้เลย นอกเสียจากว่า ผู้ผลิตรายนั้น
กำลังบริหารบริษัทผลิตรถที่ไม่มีวันเจ๊ง ก็คงไม่จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องตรงนี้
ดังนั้น จะมีอะไรเพิ่มขึ้นมาในแต่ล่ะ segment ในบ้านเรา หลักใหญ่ใจความต้องเกิดการจาก
market evolution หรือ การวิวัฒนาการของตลาด เป็นหลัก เพราะเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด
ที่ควรจะทำ ไม่มาก หรือไม่น้อยจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต รายใหญ่ หรือรายเล็ก มีสิทธิ์
กระตุ้นตลาดให้เพิ่มในบางสิ่งบางอย่างได้ แต่สิ่งไหนจะฮิต หรืออยู่อย่างยั่งยืน ต้องดูส่วน
แบ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ตอนนี้ March มี Air auto, Push start ในรุ่นท๊อปแล้ว หรือ
ทั้ง March, Mazda 2, Fiesta มี airbag มาให้ตั้งแต่รุ่นล่างสุด ต่อไปถ้า next Vios, City, Jazz,
Aveo ไม่มีสิ่งเหล่านี้ให้ ถุ๊ย ! มันจะดูธุเรศมากจนเกินไปในทันที