ผมก็ว่าตรรกะแปลกนะ โอนลอยแต่แรกมันก็เทาๆอยู่แล้ว ถ้าคุณไม่ได้จัดการให้เรียบร้อยคุณซวยมันก็ถูกแล้วหนิครับ?
ผมว่าหลายที่บนโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาก็ใช้วิธีนี้เอา ทะเบียนรถชื่อใคร กล้องจับได้มันก็เช็คกับฐานระบบแล้วก็ไปตัดแต้ม จบ
คือถ้ามันเรื่องที่รัฐผิด อย่างเส้นทึบมันไม่ชัดเจนแล้วระบบมันตีผิด อันนี้ผมจะเข้าข้างอยู่
ปล. เรื่องของเรื่องเขาไปเข้มกับกล้องมากกว่ามั้งครับ? ที่แบบใบสั่งไปถึงบ้านแล้วไม่ไปชำระกันนั่นแหละ เขาก็บอกไม่จ่ายไม่เป็นไร หักแต้มเอาละกัน
ส่วนพวกที่จับซึ่งหน้า อันนั้นก็คงไปกับใบขับขี่คนขับนั่นแหละ ยกเว้นคนขับไม่มีใบขับขี่ คนที่ซวยก็เจ้าของรถ (เจ้าของทะเบียน) นั้นแหละ
ชอบความเห็นนี้ครับ สะท้อนคุณภาพคนขับรถในประเทศนี้ได้ 90%
ที่บอกว่าโอนลอยมันสีเทาๆ พูดแบบนี้มันเหมือนคนมีอคติครับ
เราขายให้เต๊นท์เค้าก็ให้เซ็นโอนลอยกันทั้งนั้นแล้วเค้าไปโอนกันเองตอนมีคนมาซื้อมันไม่ใช่สีเทาหรอกครับ แต่เป็นเพราะเราซื้อความสะดวกยอมโดนเต๊นท์กดราคารับซื้อเพราะต้องการความสะดวกให้เต๊นท์ไปดำเนินการให้ต่างหากครับ สำหรับบางคนเวลาในการทำมาหากินมีค่ามากกว่าจะเสียเวลาไปขายเองโอนเองนะครับ หรือบางคนก็ไม่สะดวกทำเองหรือทำไม่เป็นก็มีครับ
เรื่องโอนลอยมันก็ต้องแยกแยะด้วยครับ ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมดว่าเป็นธุรกิจสีเทา
จริงๆการโอนลอย จะทำให้เล่มสวยขี้น
เช่นจากเจ้าของแรก ไปสู่ เจ้าของที่ 2 โดยตรง ไม่ต้องมีเต้นท์เข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็ถือเป็นการ วินๆ ทั้ง 2 ฝ่าย
ถ้าต้องโอนให้เต้นท์เพื่อความตรงไปตรงมา สมมติขายรถแค่ 2 ครั้ง จะมีถึง 6 เจ้าของ ผมว่าคนซื้อครั้งที่ 2 และ 3 คงไม่ปลื้มแน่ๆ
การกระทำผิดโดยเต้นท์ น่าจะเป็นเรื่องมารยาทของทางเจ้าของเต้นท์มากกว่า ลูกค้ามาขายให้แล้ว แทนที่จะดูแลดีๆ กลับปล่อยให้พนักงานเอาไปกระทำความผิด(หรือบางครั้งเป็นเจ้าของเต้นท์ซะเอง)
ผมเองก็เคยเจอ ขายรถให้เพื่อน(เต้นท์) ลูกน้องขับไปเก็บสี ล่อซะ 160 ใบสั่งมาปั๊บ เพื่อนผมก็โอนให้ผมปุ๊บ แล้วก็ไล่พนง. คนนั้นออก
เคยคุยกับเพื่อนว่า ถ้าลูกน้องไปชนคนบาดเจ็บหรือตายจะทำไง เพื่อนบอกว่าไม่ต้องห่วง หลักฐานการซื้อขายรถจะช่วยให้เจ้าของรถรอดแน่นอน