ผู้เขียน หัวข้อ: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)  (อ่าน 8558 ครั้ง)

ออฟไลน์ Charin09

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 48
เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 19:40:08 »
  คือ น้องชายที่ เกาหลี เขาซื้อรถใหม่ เป็น hyundai avante  ซื้อมาในราคาคิดเป็นเงินไทย  ประมาณ 490000 แสนบาทเอง ครับ ทั้งๆ ที่ฟลูออฟชั่น
ผมอยากให้ ภาษี กลับเมื่อเป็นเมื่อก่อนจัง ช่วงที่ honda prelude เข้ามาใหม่ๆๆ    แต่คงได้แต่ฝัน หล่ะ ครับ 

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 19:43:58 »
จะเป็นงั้นได้ต้องมีความร่วมมือจากทุกฝ่ายครับ

ออฟไลน์ Charin09

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 48
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 19:48:45 »
ถ้า เป็นจริง ก็คงดีนะ ครับ คงได้ใช้ รถ ที่แตกต่าง ตามสไตล์ของแต่คนละ คนกันบ้าง  ไม่ใช่มองไปทางไหน ก็เห็นแต่แบรนด์ To Hon

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 19:56:54 »
ก็อยากเห็นรถในไทยหลากหลายเหมือนรถในเมกาแหละครับ

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 19:58:50 »
คงต้องก่อม็อบ เอ้ย คงต้องขอแรงสนับสนุนจากประชาชนที่เห็นด้วยครับ

ทำไมเราต้องเป็น Detroit แห่ง Asia??

ข้าวมีพอกินหรือยัง???
มีอ้อยพอทำ Ethanol หรือยัง???

ให้พวกญี่ปุ่นตั้งโรงงานได้อะไรบ้าง?? นอกจากภาษีกับกระเพาะของพวกนักการเมือง??? แบรนด์ตัวเองไม่มี ทรัพยากรก็แทบเหี้ยน แต่อยากเป็น Detroit อนาถแท้ๆ ครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,154
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 21:19:54 »
ความคิดผม คือ จัดภาษีเป็น 3 เรทครับ

- สำหรับรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศปรับลด เหลือ 0%
แต่คงที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ 7% เท่าเดิม

- สำหรับรถยนต์นำเข้า ที่ได้รับภาษีพิเศษ(AFTA)อยู่แล้วให้คงไว้เท่าเดิม

- สำหรับรถยนต์นำเข้า ที่ไม่มีสิทธิพิเศษ(AFTA) ให้คิดภาษีแบ่งตามการประหยัดน้ำเชื้อเพลิง
เพราะประเทศไทยต้องนำเข้าพลัง จะได้ไม่เสียดุลการค้ามากนัก
อาจะเป็น 20 กม./ลิตร ขึ้นไปเสียภาษีรวม 30%
18-19 กม./ลิตร เสียภาษีรวม 40%
15-17 กม./ลิตร เสียภาษีรวม 50%
11-14 กม./ลิตร เสียภาษีรวม 65%
08-10 กม./ลิตร เสียภาษีรวม 80%
ต่ำกว่า 8 กม./ลิตร เสียภาษีรวม 100%

หรือไม่อีกหนึ่งทางเลือกคือ เปิดการค้าเสรีกับทุกประเทศในโลก
แต่คิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะศักยภาพการแข่งขันของไทยยังไม่ค่อยพร้อม โดยเฉพาะระดับ SME ลงมา

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,628
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 23:15:09 »
Yimyont ครับ


ถ้าถามว่า พวกญี่ปุ่น ตั้งโรงงานแล้ว เราได้อะไรบ้าง....

จะเล่าอะไรให้อ่านนะ....

เมื่อไม่นานนัก กลางๆ ปี ได้คุยกับคนของ Honda คนหนึ่ง

คุยไปคุยมา ก็วกเข้าเรื่องของคุณภาพ เรื่องการประกอบ ว่าประกอบไม่ดี อย่างนั้นอย่างนี้ บ่นๆๆๆ

พี่สุดเลิฟคนนี้ พูดมาเรืองนึง และทำให้ผมได้คิด ว่าตัวเองลืมเรื่องสำคัญเรื่องนึงไป...

พี่เขาพูดว่า

"ความจริงแล้วหนะ ถ้าจะประกอบให้เนี้ยบเลยนะ ไม่ยากหรอก แค่ยก โรบ็อตมาตั้งๆๆๆ แค่นั้นจบ
แต่ ความจริงแล้ว เขาไม่ได้มองแค่นั้น เขามองกันต่อไปว่า แล้วเราจะทำอย่างไรกับชีวิตและปากท้อง
ของคนงานเป็นพันๆคนในโรงงาน ที่เรายังจ้างเขาอยู่ในทุกวันนี้ จะให้ครอบครัวของเขาต้องอดตายเพราะเราเหรอ?"


จบไหมครับ?

ออฟไลน์ Fly to dream

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,640
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 23:37:09 »
Yimyont ครับ


ถ้าถามว่า พวกญี่ปุ่น ตั้งโรงงานแล้ว เราได้อะไรบ้าง....

จะเล่าอะไรให้อ่านนะ....

เมื่อไม่นานนัก กลางๆ ปี ได้คุยกับคนของ Honda คนหนึ่ง

คุยไปคุยมา ก็วกเข้าเรื่องของคุณภาพ เรื่องการประกอบ ว่าประกอบไม่ดี อย่างนั้นอย่างนี้ บ่นๆๆๆ

พี่สุดเลิฟคนนี้ พูดมาเรืองนึง และทำให้ผมได้คิด ว่าตัวเองลืมเรื่องสำคัญเรื่องนึงไป...

พี่เขาพูดว่า

"ความจริงแล้วหนะ ถ้าจะประกอบให้เนี้ยบเลยนะ ไม่ยากหรอก แค่ยก โรบ็อตมาตั้งๆๆๆ แค่นั้นจบ
แต่ ความจริงแล้ว เขาไม่ได้มองแค่นั้น เขามองกันต่อไปว่า แล้วเราจะทำอย่างไรกับชีวิตและปากท้อง
ของคนงานเป็นพันๆคนในโรงงาน ที่เรายังจ้างเขาอยู่ในทุกวันนี้ จะให้ครอบครัวของเขาต้องอดตายเพราะเราเหรอ?"


จบไหมครับ?

กด Like!!!!! ด่วนเลย
ขยะของโลกออนไลน์​ในปัจจุบั​นคือเชื่อคนโง่ที่มีคำพูดสวยหรู​ หาข้อมูล​ไม่จริงมาโกหกคำโตๆ​ อีกอย่างคือพูดความจริงไม่หมด กับพวก​ Avatar ที่ทำเป็น​เก่ง​แต่เก่งน้อยในโลกความจริง​ซึ่งจะหาได้ง่าย

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 23:43:39 »
ประเด็นนึงที่ผมกลัวจากการที่เราให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้า โดยไม่ได้มีแบรนด์ของตัวเอง ผมกลัวมันจะกลายเป็นแบบอุตสาหกรรมยา

อุตสาหกรรมยา ถ้าพี่ๆ ย้อนกลับไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน เราจะพบว่า เมืองไทยมีโรงงานยานอกเยอะมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อบริษัทพวกนี้ เห็นว่าแรงงานที่เวียดนามมีราคาถูกกว่า บริษัทพวกนี้ถ้าไม่ปิดโรงงาน ก็ขายโรงงานทิ้งหนีไปหมด สิ่งที่คนไทยได้มาก็คือ โรงงานเก่าที่เขาขายให้ ส่วนเรื่อง Know How ก็ไม่ต้องไปนึถึง เพราะเขาไม่เหลือสูตรหรืออะไรให้เราอยู่แล้ว (แต่ก็ยังดีที่ยังมีคนรุ่นเก่าที่เคยทำงานกับฝรั่งมาก่อน คอยสอนเด็กรุ่นใหม่บ้าง) สุดท้ายโรงงานพวกนี้ก็ถูกใช้เพื่อผลิตยาง่ายๆ ราคาถูกเป็นส่วนมาก ส่วนบริษัทข้ามชาติเหล่านั้น ถ้าต้องการผลิตยาในประเทศ ก็ไม่ได้จ้างบริษัทไทย แต่จ้างบริษัทฝรั่งในไทยอย่าง ดีทเฮล์ม หรือซูลิค ผลิตอยู่ดี สรุปแล้วเราได้ความรู้จากฐานการผลิตน้อยมาก

อุตสาหกรรมรถยนต์ของเราส่วนมาก ไม่ได้เป็น Joint Venture แต่เป็นการลงทุนจากนอกประเทศทั้งหมด สิ่งที่น่ากลัวคือ โรงงานพวกนี้จะยังอยู่ได้หรือไม่ ถ้าบริษัทญี่ปุ่นพวกนี้ถอนทุนออกไป ถ้าเป็นแบบนี้เรื่อง Detroit ก็จบครับ คนก็ตกงานอยู่ดี ผมว่ามันยิ่งน่ากลัวกว่าอุตสาหกรรมยาเสียอีก เพราะโรงงานยา ก็แค่เอาคนไทยมาซื้อโรงงานมาผลิตยาต่อ แต่รถยนต์ผมว่ามันไม่ได้ง่ายแบบนั้น

ผมเชื่อว่ายังไง Robot มันก็ต้องเพิ่มขึ้น เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของบริษัทคือผลกำไรครับ ค่าแรงของคนงานมันสูงขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีปัจจัยต่างๆ เช่น Strike, Unionize (ซึ่งประเทศไหนมีสหภาพแรงงานแข็งแรงมากๆ บริษัทรถมักเจ๊ง ไม่รู้ืำทำไม) ซึ่งถึงเวลานั้นจะทำยังไง ในเมื่อชีวิตแรงงานเป็น แสนๆ คน (ไม่เฉพาะรถยนต์) แขวนกับบริษัทพวกนี้

สุดท้ายเราก็คงเป็นเหมือนกับหลายๆ ประเทศแม้แต่อเมริกามั้งครับ ที่ไม่ยอมให้ตำแหน่งงานหด แต่ไม่มีทางออกในกรณีที่มันหดขึ้นมาจริงๆ ผมถึงสนับสนุนให้มีแบรนด์ของตัวเอง ถึงจะขายไม่ดี แต่เมื่อถึงเวลาที่พวกญี่ปุ่นไปแล้ว เราก็จะได้ยังมีงานทำกันอยู่ Supplier จะได้ไม่เจ๊ง

ส่วนเรื่องคุณภาพงาน ก็ OK น่ะครับ อย่างน้อยผมก็ยังท่องอยู่เสมอว่า "ยังดีกว่าอินโด และมาเลย์"

แต่คำตอบของพี่ Jimmy เคลียร์ดีครับ เพียงแต่ผมอาจจะยังทำใจยอมรับเรื่อง "การเสียประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเพื่อนร่วมชาติ" ไม่ได้ก็เป็นได้ แต่ยังไงก็ขอบคุณครับ ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 12, 2010, 23:48:53 โดย yimyont »
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,628
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 00:11:48 »
การลงทุนในอุตสาหกรรมยา กับอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น สเกลที่ใหญ่โตต่างกัน
แถม ยังต้องมีการสนับสนุนด้านการลงทุน ที่แตกต่างกัน
บริษัทรถยนต์ เขา Forecast เรื่องพวกนี้ระยะยาวกันแล้วครับว่า
ยังไงๆ ก็ตาม ไทย ก็ยังคงน่าลงทุนในธุรกิจรถยนต์อยู่ดี
โดยเฉพาะจุดเด่นด้านแรงงานฝีมือ ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆชัดเจน
และจะเป็นอย่างนี้ไปน่าจะอีกยาวพอสมควร เพราะเม็ดเงินที่ลงทุนนั้น
สูงมากเสียจนกระทั่ง ไม่อาจจะถอนการลงทุนไปตั้งโรงงานใหม่ ได้ง่ายดาย
เหมือนอย่างอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อีเล็กโทรนิคส์ ยา อาหาร ฯลฯ

ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้หรอกครับ ตลาดเมืองไทย ยังขยายตัวได้อีกพอสมควร
อีกทั้ง อาเซียน ก็เริ่มมีศักยภาพมากขึ้น ในการ ซื้อรถยนต์
เวียตนาม จะยังไม่อาจแข่งขันในไทย กับเรื่องธุรกิจยานยน์ได้เต็มที่
เพราะข้อจำกัดในเรื่องนโยบายและการสนับสนุนด้านภาษี จากทางภาครัฐ
อีกทั้งคุณภาพแรงงานของเขา ในภาพรวม ก็ยังด้อยกว่าเรา


เอาง่ายๆ ทุกวันนี้ มีโรงงานมอเตอร์ไซค์ ไปตั้งในเวียตนาม
แล้วมันทำให้ ยามาฮ่า ฮอนด้า ซูซูกิ คิดจะย้ายฐานการผลิตมอเตอร์ไซค์ไปเวียตนามหรือไม่?
ก็เปล่าสักหน่อย เพราะแม้ว่าคนที่นั่นใช้มอเตอร์ไซค์เยอะ
แต่ยอดขายในแต่ละปี หนะ เทียบกับเมืองไทยได้ไหม?
บ้านเรา ซื้อมอเตอร์ไซค์กันปีละเป็นล้านคันนะครับ

นับประสาอะไรกับรถยนต์ละครับ จริงไหม?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2010, 00:13:32 โดย J!MMY »

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 00:14:06 »
การลงทุนในอุตสาหกรรมยา กับอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น สเกลที่ใหญ่โตต่างกัน
แถม ยังต้องมีการสนับสนุนด้านการลงทุน ที่แตกต่างกัน
บริษัทรถยนต์ เขา Forecast เรื่องพวกนี้ระยะยาวกันแล้วครับว่า
ยังไงๆ ก็ตาม ไทย ก็ยังคงน่าลงทุนในธุรกิจรถยนต์อยู่ดี
โดยเฉพาะจุดเด่นด้านแรงงานฝีมือ ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆชัดเจน
และจะเป็นอย่างนี้ไปน่าจะอีกยาวพอสมควร เพราะเม็ดเงินที่ลงทุนนั้น
สูงมากเสียจนกระทั่ง ไม่อาจจะถอนการลงทุนไปตั้งโรงงานใหม่ ได้ง่ายดาย
เหมือนอย่างอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อีเล็กโทรนิคส์ ยา อาหาร ฯลฯ

ไม่ต้องกังวลเรื่องนี้หรอกครับ ตลาดเมืองไทย ยังขยายตัวได้อีกพอสมควร
อีกทั้ง อาเซียน ก็เริ่มมีศักยภาพมากขึ้น ในการ ซื้อรถยนต์
เวียตนาม จะยังไม่อาจแข่งขันในไทย กับเรื่องธุรกิจยานยน์ได้เต็มที่
เพราะข้อจำกัดในเรื่องนโยบายและการสนับสนุนด้านภาษี จากทางภาครัฐ
อีกทั้งคุณภาพแรงงานของเขา ในภาพรวม ก็ยังด้อยกว่าเรา


เอาง่ายๆ ทุกวันนี้ มีโรงงานมอเตอร์ไซค์ ไปตั้งในเวียตนาม
แล้วมันทำให้ ยามาฮ่า ฮอนด้า ซูซูกิ คิดจะย้ายฐานการผลิตมอเตอร์ไซค์ไปเวียตนามหรือไม่?
ก็เปล่าสักหน่อย เพราะแม้ว่าคนที่นั่นใช้มอเตอร์ไซค์เยอะ
แต่ยอดขายในแต่ละปี หนะ เทียบกับเมืองไทยได้ไหม?
บ้านเรา ซื้อมอเตอร์ไซค์กันปีละเป็นล้านคันนะครับ

นับประสาอะไรกับรถยนต์ละครับ จริงไหม?

โอ้ เคลียร์มากๆ ขอบคุณครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ yacoolsa9

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 316
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 00:21:39 »
พี่จิมมี่ครับ ผมอยากทราบว่า
1.เพราะอะไรถึงทำให้ภาษีรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดครับ
2.เหตุการณ์ที่ภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเกิดขึ้นช่วงปีไหนครับ

ออฟไลน์ FlavorWheel

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 345
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 02:55:51 »
พี่จิมมี่ครับ ผมอยากทราบว่า
1.เพราะอะไรถึงทำให้ภาษีรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดครับ
2.เหตุการณ์ที่ภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเกิดขึ้นช่วงปีไหนครับ


ไม่ใช่คุณ จิมมี่ นะแต่ของ (เจือก)ตอบแทน

1.ภาษีรถยนต์ของเราอยู่ในแนวโน้มลดลลงมาโดยตลอด
ตามภาระรผูกพันธ์ที่มีต่อสัญญา การค้าโลกโดยทั่วไป เช่น ล่าสุดรถยต์ที่นำเข้าจาก ญี่ปุ่นเครื่องยนต์มากกว่า สามพันซีซี ก็มีการลดภาษี
หรือก่อนหน้านั้นซักเล็กน้อยก็คือ การนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปที่มาจากออสเตรเลีย เช่น Chevrolet Luminar ที่มาขายในบ้านเรา
หรือที่จิมมี่ ทดสอบไปนานมาแล้วคือ Ford Territory
http://www.headlightmag.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=304:-ford-territory-6-40-l-255-&catid=75:midsize-suv&Itemid=94
จะมียกเว้นก็พวกที่คิดตามการแยกประเภท รถยนต์แบบใหม่ใหม่แล้วทำให้แพงขึ้นเช่น (CRV Gen2 2.4L  หรือ Ford Escape 3.0)

รถที่ประกอบในประเทศไทยมีการลดลงของภาษีมาโดยตลอดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

ลดโดยตรงคือภาษีสรรพสามิต ลดโดยอ้อมคือภาษีชิ้นส่วน เป็นต้น

ตั้งแต่สมัยนายก อนันต์ ปัญญารชุน เป็นนายก
จนถึงมาในช่วงไม่เกิน สิบปีนี้ มีลดภาษีรายการใหญ่ๆได้แก่
เช่นการลดของภาษีสรรพสามิต ใน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
1.ที่เครื่องยนต์ต่ำกว่า สองพันซีซี ในปี 2547-48 อีก 5% (35%----> 30%)
2.ที่เครื่องยนต์สามารถใช้ E20 ได้ ในปี 2551  อีก5%      (30%---->25%)



2.เหตุการณ์ที่ภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเกิดขึ้นช่วงปีไหนครับ
ภาษีขั้นมหาศาล ไม่มีนะครับ มีอย่างมากก็ 3-5%
 มีแต่เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ในปี2540
หรือเรื่องค่าเงินเยนที่เข็งค่าขึ้นมากมาโดยตลอด
( เลยส่งผลโดยอ้อม มาที่ราคารถยนต์ญี่ปุ่นในบ้านเรา)


รถที่ผ่านมือ มีแต่คนบอกว่า Thumbs Down

'97 Soluna AL50 _'03 Camry ACV30 2.4Q _05'VIGO 3.0 D-cab ECTi
94' Volvo 460 GLT Sold  93' Corolla  AE101 4Auto Sold

ออฟไลน์ SignifeR

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,953
  • Impreza Type GDG WRX
    • ร้านหนังสือผ้าสำหรับเด็ก IGGY BOOK
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 06:38:51 »
มาฟังในเทอมผมบ้างครับ.....เพราะมีญาติกันทำธุรกิจในเวียดนามครับ

โรงงานขนาดใหญ่ส่วนมากที่มีเบท(ฐานการผลิต)ในบ้านเรานั้น ยังไ่ม่มีทางย้ายไปไหนเป็นแน่แท้ครับ
เหตุผลหลักๆเลย คือ "บ้านเราเป็นประชาธิปไตย" ครับ แม้จะเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆก็ตามที
การวางฐานการผลิตจึงมีการมองเรื่อง คุณลักษณะของประเทศด้วย

เพราะการลงทุนในประเทศที่มีการปกครองแบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์นั้น ถ้าเกิดทางรัฐบาลเขาไม่พอใจเอาก็ยึดเอาดื้อๆนะครับ
ยิ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หลายแห่งก็มองเรื่องความโปร่งใสและจริยธรรมในการบริหาร การดิวกับรัฐบาลที่เป็นลักษณะที่กล่าวมา ยากกว่า
แม้ว่ารัฐจะมีนโยบายเปิดประเทศก็ตามครับ พูดง่ายๆ การผลิตรถเป็นงานระดับโลกเลยก็ว่าได้ ต้องมีแบ็คอัพครับ

ผมถามเล่นๆ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี เวียดนาม พม่า เบื้องหลังเป็นอย่างไร? ลองไปคิดดูว่าการเมืองระหว่างประเทศตอนนี้ของแต่ละประเทศ
ร้อนแรงขนาดไหน การตั้งขีปนาวุธเอย การมีการซ้อมรบเอย แบ็กอัพของแต่ละฝั่งเอย คิดเล่นๆเอาเองนะครับและบางส่วนที่มีฐานใน
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ถามว่าประเทศเหล่านี้เคยเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อนหรือไม่ ต้องดูประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว
มันพันกันมั่วไปหมด

เวียดนามตอนนี้คล้ายๆไทยเมื่อ 15-20 ปีที่แล้ว แรงงานราคาถูกมาก และขยันมาก คล้ายๆจีน แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ "ราคาที่ดิน" แพงมหาโหดมากๆ
และที่น่ากลัวกว่าคือ การบริหารประเทศที่ยังไม่มีุจุดยืน และ นโยบายที่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่ที่ัชัดเจนเท่าไหร่ คือการลงทุนขนาดใหญ่
คนที่จะกล้าเข้าไปลงทุนได้ ต้องมีประเทศนั้นๆ แบ็คอัพแน่ๆ ถ้าไม่มี โอกาสเสี่ยงก็ยิ่งเยอะมากๆ ขนาดญาติผมอยากจะนำเครื่องสำอางค์เข้าไปขาย
ยังต้องหาแบ็คที่นู่นเลย ทำเองคนเดียวไม่ได้หรอกครับ

ผมคิดของผมแบบนี้อ่ะนะ
In Garage Subaru Impreza GDG WRX  y2008 // Nissan March 1.2E y2011

ออฟไลน์ Ruksadindan

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,051
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 10:32:23 »
ดังนั้นก็ควรจะมีแบรนด์ไทย ให้คนไทยได้มีงานทำอยู่ดีนะครับ ช่วยในประเทศดีที่สุด

ออฟไลน์ Terng

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,762
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 12:32:41 »
ดังนั้นก็ควรจะมีแบรนด์ไทย ให้คนไทยได้มีงานทำอยู่ดีนะครับ ช่วยในประเทศดีที่สุด

มี แล้วซื้อกันหรือเปล่าครับ ั่นคือคำถามที่น่าเป็นห่วงมากกว่า

ผมก็เห็นรถยนต์สัญชาติไทยล้มหายตายจากไปตั้งหลายแบรนด์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ขนาด SCG ที่เคยคิดจะทำรถยนต์ตราช้าง (ชื่อแบบไม่เป็นทางการ และผมไม่มั่นใจว่ามีจริงหรือไม่ แต่พี่ที่ SCG ใหญ่เคยเล่าให้ฟังเมื่อสองปีก่อนว่ามันเคยมีโครงการนี้) โดยจะทำรถกระบะ 1 ตันเพื่อการพานิชย์ แต่ปรากฎว่า ประเ้มินตลาดแล้ว ถ้าไม่ทำราคาให้ต่ำจริงๆ ลูกค้าก็คงไม่ซื้อ และกำไรก็จะน้อยด้วยถ้าทำแบบนั้น เขาจึงไม่ทำครับ

ลองดูไทยรุ่งตอนนี้ก็ได้ครับ ผมเชื่อว่าเขาทำรถเองได้ แต่ทำไมถึงไม่ทำ? ทำไมถึงใช้วิธีเอารถเครืออีซุสุมาแปลงขายต่อ?


คนไทยยึดติดกับภาพลักษณ์ที่ว่า ของไทยมันสู้ของนอกไม่ได้ สู้ญี่ปุ่นไม่ได้ มันแก้ยากครับ แล้วแบรนด์ไทยไม่มีทางแจ้งเกิดได้ ถ้าไม่มีโนฮาวที่ดีมากเพียงพอมารองรับ และขาดการสนับสนุนจริงจังจากคนไทย และภาครัฐ
=====================
รถที่ใช้เป็นประจำ
2013 Toyota Camry Extremo 2.0
2015 Ford Ranger T6 XLT Open Cab 2.2 MT
2018 Toyota CHR HV Mid
=====================

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,628
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 15:18:22 »
ก่อนที่ Ruksadindan จะบอกว่า ทำแบรนด์ไทยสิครับ

งั้นผมถามหน่อย

สินค้ายี่ห้อ "ซื่อสัตย์" ที่เครือสหพัฒน์ ทำออกมาตอนนี้ พยายามจะโฆษณา
แล้วสุดท้าย มันหายเงียบไปไหน ในเวลาไม่นาน?

หรือไม่ต้องอื่นไกล ย้อนไปถึง สินค้าอุปโภคบริโภคชื่อ "สินไทย"

และไม่ต้องอื่นไกล วิทยุ ทีวี ยี่ห้อ ธานินทร์

ลองถามตัวเราก่อนว่า ที่บ้าน เรามีของใช้ยี่ห้อเห่านี้ หงเหลืออยู่หรือไม่ครับ?

-------------------------------

แต่ในทางกลับกัน ทำไม Saij Denki ถึงโตขึ้นมาได้?
ทำไม Greyhound ถึงได้รับการยอมรับในต่างประเทศ รวมทั้งเมืองไทยด้วย?
แล้วก็ไหนจะแบรนด์อย่าง Naraya อีก...

ทำไม

อ่ะลองตอบกันดู

ออฟไลน์ Night_Angel

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 15:36:57 »
ก่อนที่ Ruksadindan จะบอกว่า ทำแบรนด์ไทยสิครับ

งั้นผมถามหน่อย

สินค้ายี่ห้อ "ซื่อสัตย์" ที่เครือสหพัฒน์ ทำออกมาตอนนี้ พยายามจะโฆษณา
แล้วสุดท้าย มันหายเงียบไปไหน ในเวลาไม่นาน?

หรือไม่ต้องอื่นไกล ย้อนไปถึง สินค้าอุปโภคบริโภคชื่อ "สินไทย"

และไม่ต้องอื่นไกล วิทยุ ทีวี ยี่ห้อ ธานินทร์

ลองถามตัวเราก่อนว่า ที่บ้าน เรามีของใช้ยี่ห้อเห่านี้ หงเหลืออยู่หรือไม่ครับ?

-------------------------------

แต่ในทางกลับกัน ทำไม Saij Denki ถึงโตขึ้นมาได้?
ทำไม Greyhound ถึงได้รับการยอมรับในต่างประเทศ รวมทั้งเมืองไทยด้วย?
แล้วก็ไหนจะแบรนด์อย่าง Naraya อีก...

ทำไม

อ่ะลองตอบกันดู

วิทยุ ทีวี ยี่ห้อ ธานินทร์

สำหรับผม  ไม่ถือว่าเป็นสิค้าไทยหรอกครับ

คุณรุ้ไหมว่า  ชื่อไทยจริง แต่อะไหร่ทุกตัว รวมทั้งของข้างในนี่

เยอมัน ล้วนๆ เลยนะขอรับ

Grundig semen browfung telefuken  อย่างงี้

เคยแกะลำโพงเก่า ธานินดู  แม่แจ้า ดอกลำโพงนี่ Grundig มาเชียว หลอดที่ใช้นี่ telefuken เลยด้วยซ้ำไป

ไม่ใช่ของขี้ๆนะ


และเท่าที่ทราบ แบรนมันล้นหาย ไม่ได้เกิดจากตลาดหรอก  แต่เกิดจาก เจ้าของโดนฆ่า ยกครอบครัว อันนี้เท่าๆที่ฟัง ช่างซ่อมเก่าๆเล่าให้ฟังนะครับ
ぼく は くま くま.... くま......

くるま じゃないよ

2000 Lancer F-Stye --> Evolution V
1994 Lancer E-CAR 1.6 JDM

ออฟไลน์ Dark Overlord

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,804
  • Hail to the darkside
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 16:42:11 »
มีหลายเรื่องมากๆ เลย อยากมีส่วนร่วมด้วยอีกคน

เรื่อง ที่บริษัทรถยนต์จะย้ายฐานทั้งหมดไป อันนี้เกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะว่า
1) รัฐบาล เราไม่ยอมแน่ๆ ล่ะ มีปัญหาอะไร ช่วยอะไรได้ ต้องช่วยสุดๆ เพราะถ้าไป ประเทศเราไม่ตายก็คางเหลืองครับ
2) อย่างที่พี่ Jimmy พูดเค้า forecast ไว้แล้ว แล้วอีกอย่าง การที่จะทำสิ่งที่เห็นแก่ตัวมากเช่นการเลิกจ้าง หรือการย้ายฐานผลิต จนทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
เค้าจะไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน เพราะ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะเป็นผลเสียแบบลูกโซ่ และย้อนกลับไปที่ประเทศที่ตัวบริษัทนั้นๆ อยู่
สมมติ ถ้าบริษัทรถญี่ปุ่นย้ายไปเวียตนามหมด เศรษฐกิจไทยพังยับ จากนั้น เศรษฐกิจในอาเซี่ยนทั้งหมด รวมไปถึง ทั่วโลกจะค่อยๆ พังยับตาม และแน่นอน
ญีุ่ปุ่นสุดท้ายก็เละ เช่นกัน อย่างที่พี่ Jimmy ว่า มันอยู่ที่ scale ของอุตสหกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าเป็นเพียงโรงงานผลิตยา การจะย้ายโรงงานไปประเทศที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ผลกระทบมันไม่ค่อยมี
3) เท่าที่มีโรงงานตามประเทศต่างๆ อย่างที่มีในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยัง Happy มากๆ ครับ และมีแนวโน้มจะลงทุนเพิ่มอีก ซึ่ง รัฐบาลก็มีหน้าที่ กระตุ้นตลาด
หาตลาดใหม่ๆ หาช่องทางส่งเสริมการลงทุน การมีนโยบายพิเศษช่วยลดภาษีต่างๆ อย่าง Eco car อย่าง FTA ต่างๆ


แต่ขออนุญาติพูดอีกด้านนึง ซึ่งก็เป็น fact ที่ถูกเหมือนกันนั่นก็คือ
หากทุกๆ อุตสาหกรรม ต้องพึ่งพาแต่เงินลงทุนต่างประเทศ โดยที่คนประเทศเราเปรียบเสมือนคนรับจ้างราคาถูก know-how ก็ไม่ได้
ทำอะไรเองไม่ได้ ต้องเป็นลูกจ้างเค้าอย่างเดียว ถูกต้องครับ เมื่อใดที่มีแหล่งแรงงานถูกกว่า และทุกๆ อย่างอำนวยกว่า เจ้าของเงินทุน
ก็จะย้ายไปประเทศนั้นๆ กันหมด สุดท้ายแล้ว เราจะไม่มีใครจ้าง และเราก็ทำอะไรเองไม่ได้

ตอนนี้แบรนด์ไทยเราก็มี แต่อาจจะไม่โดดเด่นอะไรนัก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง การที่คนๆ นึง มีเงินทุนผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ จุดเริ่มต้นของพวกเค้าอาจจะเป็นการรับจ้างทำ product ส่งให้กับต่างประเทศ แต่ในอีกด้านนึง เค้าต้องหัดทำแบรนด์ของตัวเอง และหัด
ทำตลาดของตัวเองไปด้วย เผื่อว่าวันนึง โรงงานเค้าถูกเลิกจ้างผลิต อย่างน้อยยังมีแบรนด์ของเค้าพอทำตลาดได้บ้าง คราวนี้ก็ต้องดูฝีมือกัน
ล่ะว่า ใครทำตลาดเก่งหรือไม่อย่างไร ทำไมสินค้าชื่อไทยๆ ทั้งหลายมันหายไปเยอะ ส่วนหนึ่ง เพราะ ชื่อไทย มันไม่เหมาะสมจะเป็น logo
หรือ brand ในระดับ inter รึเปล่า ? จะเอาง่ายที่สุด ก็ต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หากกังวลว่า ชื่อไทยๆ จะทำ brand ได้ไม่แกร่งพอ ซึ่งมันก็แล้ว
แต่ vision ของแต่ละบริษัท ผมไม่พูดว่ามันถูก หรือมันผิด ทุกอย่างมันมีหมด ไม่ว่าจะชื่อ ไทย จีน อินเดีย ฝรั่ง เกาหลี เชื่อว่า บริษัทไทยๆ ของ
เรานี่แหล่ะ คงสรรหาชื่อมาใช้กันทั่วไปหมด

การที่ประเทศเราพยายามจะทำตัวเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นครัวของโลกก็ดี ซึ่งทำได้อยู่แล้วล่ะ เพราะทุกอย่างมันอำนวยขนาดนี้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมของประเทศหน่อย ก็ต้องทำใจให้ได้ กับการมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระดับสูงแบบนี้ให้ได้ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ
ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของบ้านเราปัจจุบัน กับเมื่อ 100-200 ปีก่อนแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย นั่นก็คือ ฝ่ายผลิตทางการเกษตร ก็ผลิตๆ ไป
มีฐานะความเป็นอยู่แบบจนๆ ต่อไป ในขณะที่ นักธุรกิจที่เป็นคนกลางนั้นรวยขึ้นๆ เปรียบเสมือน จ้าวขุนบุญนายสมัยก่อน ที่รวยขึ้นๆ ในขณะที่ ไพร่
ที่เป็นชาวไร่ ต้องคอยส่งสวย ส่งผลิตผลให้ และมีชีวิตอย่างยากไร้ ในโลกตะวันตก หรือในญี่ปุ่นเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้

จะรัก จะเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องรับสภาพกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงให้ได้

อย่างที่ผมเป็นอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ได้สบายๆ ไม่เดือด ไม่ร้อน แต่ยอมรับว่า เห็นเพื่อนร่วมแผ่นดิน หลายๆ คน ยากจนเหลือเกิน สงสารก็สงสาร
แต่ไม่รู้จะช่วยอะไรได้มาก

หากคนรุ่นก่อนเรา มี vision ตรงนี้มากๆ และรักประเทศอย่างจริงจัง จะต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ การที่ญี่ปุ่น หันมาผลิตทุกอย่างทาง
อุตสาหกรรม แบบชาติตะวันตก ไม่ใช่ว่าเค้าอยากได้เงินมากจนขึ้นสมอง แบบเศรษฐีบ้านเรา อย่าเข้าใจผิด แต่เพราะว่าเค้ารักชาติ และ
การผลิตนวัตรกรรม หรือการผลิตชนะชาวตะวันตกได้ ถือว่าเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ ในขณะที่นักธุรกิจบ้านเรา เวลาจะลงทุน หรือจะ
มองอะไรก็แล้วแต่ มองแต่ว่า จะทำยังไงให้ได้เงินมามากที่สุด ถึงแม้ว่า ชาวนา ที่เค้ามาส่งข้าวให้จะดูยากไร้แค่ไหน ก็ไม่คิดอะไรมาก
กดราคาได้ยิ่งกด ต้องการเพียงแต่เงินเท่านั้น การที่บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวยได้ จากกระดูกสันหลังของชาติ มันไม่ต่างอะไรจาก
คนที่กอบโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายไปวันๆ แต่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประเทศชาติอย่างที่ควรจะเป็น เพราะ
ตัวเกษตรกร ไม่ได้รวยร่วมไปกับตัวบริษัทใหญ่ มีแต่บริษัทใหญ่ และเจ้าของบริษัทนั้นที่ร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ามี know-how ที่ดี แบรนด์ไทยจะมีโอกาสอยู่รอดได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เพราะสมัยนี้มีบริษัทรับทำการตลาดมือดีมากมาย เพียงแต่การลงทุน ย่อมมีความเสี่ยง มีทั้งได้และไม่ได้
แต่ถ้ามี know-how ดีและแข็งแกร่ง โอกาสย่อมมีมากกว่า ฝ่ายที่มี แต่มีน้อย และไม่รู้จักการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด หรือเรียกว่า
ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทำนั่นเอง รถแบรนด์ไทย ก็อาจเข้าข่ายแบบนั้น คือเคยทำออกมาได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีที่สุด อย่าโทษ
ว่าเป็นแบรนด์ไทยแล้วคนไม่ซื้อ การทำธุรกิจที่แท้จริง ถ้าจะเจ๊ง ก็ต้องโทษตัวเอง อย่าโทษใคร อย่าโทษองค์ประกอบ อย่าโทษ
สิ่งแวดล้อม อย่าโทษค่านิยม ไม่งั้นก็เหมือนกับ การสร้างหนัง พอเจ๊งขึ้นมา ก็โทษ เทปผีซีดีเถื่อน ไม่รู้จักมองเลยว่า หนังที่
ทำออกมาดีจริงๆ หรือว่าห่วย ถึงมีเทปผีซีดีเถื่อน ถ้ามันทำออกมาดีจริงๆ มันก็ประสบความสำเร็จได้ มีอะไรก็โปรดโทษแต่ตนเองบ้าง
นี่คือปรัชญาของ CEO ที่แท้จริง

สิ่งที่เราเฝ้าใฝ่ฝันมานานนั่นก็คือ รถยนต์ไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทุกคนก็จะพูดว่า มันไปไม่รอด เพราะมันจะไม่มีคนซื้อ
ประโยคนี้ คงเป็นประโยคฮิต อมตะนิรันดร์กาลกันอยู่ต่อไป ประโยคนี้ สำหรับผม จะบอกว่าถูกต้องก็ได้ ไม่ถูกต้อง
ก็ได้ เราไม่ควรไปยึดติดอะไรกับประโยคนี้มากมาย เมื่อมีใครที่รวยระดับ จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นมาได้ซักแห่งนึง ก็
ต้องให้การสนับสนุนเค้า อย่าไปด่าเค้า เพราะเค้านี่แหล่ะ กำลังเสียสละตนครั้งยิ่งใหญ่ ทำเพื่อชาติ การสร้างรถยนต์
ไม่ใช่ มาจากความสะใจ ความชอบส่วนตัว หรือเป็นงานอดิเรกของใคร หากริเริ่มอุตหสกรรมนี้ให้กับประเทศได้ เงิน
ก้อนนั้น จะหมุนเวียนในเศรษฐกิจได้อีก หลายพันหลายหมื่นรอบ และสร้างการเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจอย่าง
มหาศาล แบรนด์นั้นไม่ต้องเยอะ อย่างเกาหลี หลักๆ ก็มีแค่ Hyundai-Kia แค่นี้ เศรษฐกิจ ก็แข็งแกร่งอย่างมากมาย
มหาศาล ส่วนผลสำเร็จ มันจะได้ หรือไม่ได้ เรามีหน้าที่เอาใจช่วยเค้า

หากข้ามเวลาไปในอนาคต หากบ้านเราเข้มแข็งได้ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ไม่ต้องสนใจหรอกว่า
ประเทศ จะรวยขึ้นหรือจนลง แต่ทุกๆ คนในประเทศ จะมีรายได้ใกล้เคียงกันอย่างแน่นอน อาจจะไม่มีคนเงินเดือนระดับ
1-2 แสน แต่ทุกๆ คนอาจจะมีเงินระดับ 2 -3 หมื่น ไม่มีคนตกยาก ไม่มีเด็กขอทาน ไม่มีคนที่จนสุดๆ อย่างที่ปัจจุบันเป็น
อย่างแน่นอน การที่ปัจจุบัน มีคนเงินเดือนเป็นสิบล้าน กับมีคนเงินเดือนเพียงหลักร้อยบาท เป็นความน่าเกลียดน่าขยะแขยง
ของสังคมที่แข็งแกร่งแต่ด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แง่คิดนี้ อาจจะไม่ absolutely true 100% นัก แต่ผมคิดว่า มัน
มีส่วนถูกบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราแต่ละคนจะทำได้ ก็คือ หัดรู้จักผลิตเอง ถ้ามีเงินมาก ก็หัดผลิตมาก จะเปิด
โรงงานเลยก็ได้ ถ้ามีเงินน้อย ก็ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ส่วนหนึ่งของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ก็คือการรู้จักผลิตเอง
ไม่ใช่หรือ ไม่ได้ให้ประเทศเราเป็นเกษตรกรรมสุดโต่ง แต่รู้จักพึ่งพาตัวเอง ผลิตเองได้ ทำเองใช้เองได้ และจะใช้หรือลงทุน
อะไรก็อย่าใช้ให้มันเกินตัว


(มีแก้คำผิดเพียบ เลยต้อง edit บ่อย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2010, 19:52:25 โดย ned »

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,154
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 19:24:44 »
ยาวกันเลยนะครับ 55
เอาเป็นว่า GDP ที่เกิดขึ้นในประเทศเรา 60% เกิดจากบริษัทญี่ปุ่น
โดยส่วนตัวผมว่ามันมากเกินไปนิดนึง
เวลาญี่ปุ่นมีวิกิตอะไร ประเทศไทยก็จะโดยหางเล่ไปด้วยเสมอครับ

ออฟไลน์ Eddy5659

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,619
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 19:33:42 »
สุดยอดแฮะกระทู้นี้ กด like ++++++
2007 Toyota Vios
2009 Toyota Hilux Vigo
2010 Toyota Camry
2011 Ford Ranger
2011 Isuzu Dmax
2011 Toyota Hilux Vigo
2015 Ford Ranger
2015 Ford Everest 2.2 Titanium
2015 Ford Everest 3.2 Titanium+
2016 Toyota Hilux Revo 2.4 J m/t (5 คันจะที่รัก)
2017 BMW 320d iconic

ออฟไลน์ SignifeR

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,953
  • Impreza Type GDG WRX
    • ร้านหนังสือผ้าสำหรับเด็ก IGGY BOOK
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 19:43:27 »
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่อีเล็กทรอนิคในรถยนต์ ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ พาร์ทต่างๆ
ร้านติดฟิล์ม ร้านขายแม็กซ์และยาง ร้านเครื่องเสียงติดรถยนต์ ร้านซีนอน ร้านขายกันขโมย

ฯลฯ ธุรกิจลูกโซ่ของอุตสาหกรรมนี้ มันมหาศาลนักนะครับ
In Garage Subaru Impreza GDG WRX  y2008 // Nissan March 1.2E y2011

ออฟไลน์ อืม...นะ

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 648
  • Spirit of the "R"
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 21:58:59 »
ยาวดีครับ อ่านเพลิน ได้ความรู้และแง่คิดอะไรหลายอย่างเลย  ;)
'18 Honda Jazz gk5 s mt
'11 Volkswagen Scirocco R
'04 Honda Integra dc5 Type R
'96 Honda Prelude bb1

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 22:32:25 »
มีหลายเรื่องมากๆ เลย อยากมีส่วนร่วมด้วยอีกคน

เรื่อง ที่บริษัทรถยนต์จะย้ายฐานทั้งหมดไป อันนี้เกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะว่า
1) รัฐบาล เราไม่ยอมแน่ๆ ล่ะ มีปัญหาอะไร ช่วยอะไรได้ ต้องช่วยสุดๆ เพราะถ้าไป ประเทศเราไม่ตายก็คางเหลืองครับ
2) อย่างที่พี่ Jimmy พูดเค้า forecast ไว้แล้ว แล้วอีกอย่าง การที่จะทำสิ่งที่เห็นแก่ตัวมากเช่นการเลิกจ้าง หรือการย้ายฐานผลิต จนทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
เค้าจะไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน เพราะ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะเป็นผลเสียแบบลูกโซ่ และย้อนกลับไปที่ประเทศที่ตัวบริษัทนั้นๆ อยู่
สมมติ ถ้าบริษัทรถญี่ปุ่นย้ายไปเวียตนามหมด เศรษฐกิจไทยพังยับ จากนั้น เศรษฐกิจในอาเซี่ยนทั้งหมด รวมไปถึง ทั่วโลกจะค่อยๆ พังยับตาม และแน่นอน
ญีุ่ปุ่นสุดท้ายก็เละ เช่นกัน อย่างที่พี่ Jimmy ว่า มันอยู่ที่ scale ของอุตสหกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าเป็นเพียงโรงงานผลิตยา การจะย้ายโรงงานไปประเทศที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ผลกระทบมันไม่ค่อยมี
3) เท่าที่มีโรงงานตามประเทศต่างๆ อย่างที่มีในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยัง Happy มากๆ ครับ และมีแนวโน้มจะลงทุนเพิ่มอีก ซึ่ง รัฐบาลก็มีหน้าที่ กระตุ้นตลาด
หาตลาดใหม่ๆ หาช่องทางส่งเสริมการลงทุน การมีนโยบายพิเศษช่วยลดภาษีต่างๆ อย่าง Eco car อย่าง FTA ต่างๆ


แต่ขออนุญาติพูดอีกด้านนึง ซึ่งก็เป็น fact ที่ถูกเหมือนกันนั่นก็คือ
หากทุกๆ อุตสาหกรรม ต้องพึ่งพาแต่เงินลงทุนต่างประเทศ โดยที่คนประเทศเราเปรียบเสมือนคนรับจ้างราคาถูก know-how ก็ไม่ได้
ทำอะไรเองไม่ได้ ต้องเป็นลูกจ้างเค้าอย่างเดียว ถูกต้องครับ เมื่อใดที่มีแหล่งแรงงานถูกกว่า และทุกๆ อย่างอำนวยกว่า เจ้าของเงินทุน
ก็จะย้ายไปประเทศนั้นๆ กันหมด สุดท้ายแล้ว เราจะไม่มีใครจ้าง และเราก็ทำอะไรเองไม่ได้

ตอนนี้แบรนด์ไทยเราก็มี แต่อาจจะไม่โดดเด่นอะไรนัก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง การที่คนๆ นึง มีเงินทุนผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ จุดเริ่มต้นของพวกเค้าอาจจะเป็นการรับจ้างทำ product ส่งให้กับต่างประเทศ แต่ในอีกด้านนึง เค้าต้องหัดทำแบรนด์ของตัวเอง และหัด
ทำตลาดของตัวเองไปด้วย เผื่อว่าวันนึง โรงงานเค้าถูกเลิกจ้างผลิต อย่างน้อยยังมีแบรนด์ของเค้าพอทำตลาดได้บ้าง คราวนี้ก็ต้องดูฝีมือกัน
ล่ะว่า ใครทำตลาดเก่งหรือไม่อย่างไร ทำไมสินค้าชื่อไทยๆ ทั้งหลายมันหายไปเยอะ ส่วนหนึ่ง เพราะ ชื่อไทย มันไม่เหมาะสมจะเป็น logo
หรือ brand ในระดับ inter รึเปล่า ? จะเอาง่ายที่สุด ก็ต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หากกังวลว่า ชื่อไทยๆ จะทำ brand ได้ไม่แกร่งพอ ซึ่งมันก็แล้ว
แต่ vision ของแต่ละบริษัท ผมไม่พูดว่ามันถูก หรือมันผิด ทุกอย่างมันมีหมด ไม่ว่าจะชื่อ ไทย จีน อินเดีย ฝรั่ง เกาหลี เชื่อว่า บริษัทไทยๆ ของ
เรานี่แหล่ะ คงสรรหาชื่อมาใช้กันทั่วไปหมด

การที่ประเทศเราพยายามจะทำตัวเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นครัวของโลกก็ดี ซึ่งทำได้อยู่แล้วล่ะ เพราะทุกอย่างมันอำนวยขนาดนี้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมของประเทศหน่อย ก็ต้องทำใจให้ได้ กับการมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระดับสูงแบบนี้ให้ได้ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ
ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของบ้านเราปัจจุบัน กับเมื่อ 100-200 ปีก่อนแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย นั่นก็คือ ฝ่ายผลิตทางการเกษตร ก็ผลิตๆ ไป
มีฐานะความเป็นอยู่แบบจนๆ ต่อไป ในขณะที่ นักธุรกิจที่เป็นคนกลางนั้นรวยขึ้นๆ เปรียบเสมือน จ้าวขุนบุญนายสมัยก่อน ที่รวยขึ้นๆ ในขณะที่ ไพร่
ที่เป็นชาวไร่ ต้องคอยส่งสวย ส่งผลิตผลให้ และมีชีวิตอย่างยากไร้ ในโลกตะวันตก หรือในญี่ปุ่นเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้

จะรัก จะเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องรับสภาพกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงให้ได้

อย่างที่ผมเป็นอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ได้สบายๆ ไม่เดือด ไม่ร้อน แต่ยอมรับว่า เห็นเพื่อนร่วมแผ่นดิน หลายๆ คน ยากจนเหลือเกิน สงสารก็สงสาร
แต่ไม่รู้จะช่วยอะไรได้มาก

หากคนรุ่นก่อนเรา มี vision ตรงนี้มากๆ และรักประเทศอย่างจริงจัง จะต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ การที่ญี่ปุ่น หันมาผลิตทุกอย่างทาง
อุตสาหกรรม แบบชาติตะวันตก ไม่ใช่ว่าเค้าอยากได้เงินมากจนขึ้นสมอง แบบเศรษฐีบ้านเรา อย่าเข้าใจผิด แต่เพราะว่าเค้ารักชาติ และ
การผลิตนวัตรกรรม หรือการผลิตชนะชาวตะวันตกได้ ถือว่าเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ ในขณะที่นักธุรกิจบ้านเรา เวลาจะลงทุน หรือจะ
มองอะไรก็แล้วแต่ มองแต่ว่า จะทำยังไงให้ได้เงินมามากที่สุด ถึงแม้ว่า ชาวนา ที่เค้ามาส่งข้าวให้จะดูยากไร้แค่ไหน ก็ไม่คิดอะไรมาก
กดราคาได้ยิ่งกด ต้องการเพียงแต่เงินเท่านั้น การที่บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวยได้ จากกระดูกสันหลังของชาติ มันไม่ต่างอะไรจาก
คนที่กอบโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายไปวันๆ แต่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประเทศชาติอย่างที่ควรจะเป็น เพราะ
ตัวเกษตรกร ไม่ได้รวยร่วมไปกับตัวบริษัทใหญ่ มีแต่บริษัทใหญ่ และเจ้าของบริษัทนั้นที่ร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ามี know-how ที่ดี แบรนด์ไทยจะมีโอกาสอยู่รอดได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เพราะสมัยนี้มีบริษัทรับทำการตลาดมือดีมากมาย เพียงแต่การลงทุน ย่อมมีความเสี่ยง มีทั้งได้และไม่ได้
แต่ถ้ามี know-how ดีและแข็งแกร่ง โอกาสย่อมมีมากกว่า ฝ่ายที่มี แต่มีน้อย และไม่รู้จักการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด หรือเรียกว่า
ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทำนั่นเอง รถแบรนด์ไทย ก็อาจเข้าข่ายแบบนั้น คือเคยทำออกมาได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีที่สุด อย่าโทษ
ว่าเป็นแบรนด์ไทยแล้วคนไม่ซื้อ การทำธุรกิจที่แท้จริง ถ้าจะเจ๊ง ก็ต้องโทษตัวเอง อย่าโทษใคร อย่าโทษองค์ประกอบ อย่าโทษ
สิ่งแวดล้อม อย่าโทษค่านิยม ไม่งั้นก็เหมือนกับ การสร้างหนัง พอเจ๊งขึ้นมา ก็โทษ เทปผีซีดีเถื่อน ไม่รู้จักมองเลยว่า หนังที่
ทำออกมาดีจริงๆ หรือว่าห่วย ถึงมีเทปผีซีดีเถื่อน ถ้ามันทำออกมาดีจริงๆ มันก็ประสบความสำเร็จได้ มีอะไรก็โปรดโทษแต่ตนเองบ้าง
นี่คือปรัชญาของ CEO ที่แท้จริง

สิ่งที่เราเฝ้าใฝ่ฝันมานานนั่นก็คือ รถยนต์ไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทุกคนก็จะพูดว่า มันไปไม่รอด เพราะมันจะไม่มีคนซื้อ
ประโยคนี้ คงเป็นประโยคฮิต อมตะนิรันดร์กาลกันอยู่ต่อไป ประโยคนี้ สำหรับผม จะบอกว่าถูกต้องก็ได้ ไม่ถูกต้อง
ก็ได้ เราไม่ควรไปยึดติดอะไรกับประโยคนี้มากมาย เมื่อมีใครที่รวยระดับ จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นมาได้ซักแห่งนึง ก็
ต้องให้การสนับสนุนเค้า อย่าไปด่าเค้า เพราะเค้านี่แหล่ะ กำลังเสียสละตนครั้งยิ่งใหญ่ ทำเพื่อชาติ การสร้างรถยนต์
ไม่ใช่ มาจากความสะใจ ความชอบส่วนตัว หรือเป็นงานอดิเรกของใคร หากริเริ่มอุตหสกรรมนี้ให้กับประเทศได้ เงิน
ก้อนนั้น จะหมุนเวียนในเศรษฐกิจได้อีก หลายพันหลายหมื่นรอบ และสร้างการเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจอย่าง
มหาศาล แบรนด์นั้นไม่ต้องเยอะ อย่างเกาหลี หลักๆ ก็มีแค่ Hyundai-Kia แค่นี้ เศรษฐกิจ ก็แข็งแกร่งอย่างมากมาย
มหาศาล ส่วนผลสำเร็จ มันจะได้ หรือไม่ได้ เรามีหน้าที่เอาใจช่วยเค้า

หากข้ามเวลาไปในอนาคต หากบ้านเราเข้มแข็งได้ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ไม่ต้องสนใจหรอกว่า
ประเทศ จะรวยขึ้นหรือจนลง แต่ทุกๆ คนในประเทศ จะมีรายได้ใกล้เคียงกันอย่างแน่นอน อาจจะไม่มีคนเงินเดือนระดับ
1-2 แสน แต่ทุกๆ คนอาจจะมีเงินระดับ 2 -3 หมื่น ไม่มีคนตกยาก ไม่มีเด็กขอทาน ไม่มีคนที่จนสุดๆ อย่างที่ปัจจุบันเป็น
อย่างแน่นอน การที่ปัจจุบัน มีคนเงินเดือนเป็นสิบล้าน กับมีคนเงินเดือนเพียงหลักร้อยบาท เป็นความน่าเกลียดน่าขยะแขยง
ของสังคมที่แข็งแกร่งแต่ด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แง่คิดนี้ อาจจะไม่ absolutely true 100% นัก แต่ผมคิดว่า มัน
มีส่วนถูกบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราแต่ละคนจะทำได้ ก็คือ หัดรู้จักผลิตเอง ถ้ามีเงินมาก ก็หัดผลิตมาก จะเปิด
โรงงานเลยก็ได้ ถ้ามีเงินน้อย ก็ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ส่วนหนึ่งของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ก็คือการรู้จักผลิตเอง
ไม่ใช่หรือ ไม่ได้ให้ประเทศเราเป็นเกษตรกรรมสุดโต่ง แต่รู้จักพึ่งพาตัวเอง ผลิตเองได้ ทำเองใช้เองได้ และจะใช้หรือลงทุน
อะไรก็อย่าใช้ให้มันเกินตัว


(มีแก้คำผิดเพียบ เลยต้อง edit บ่อย)

อืมๆ เหมือนจะเป็น Marxist หน่อยๆ นะ (ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร)

ถ้าทุกคนมีเงินเดือนใกล้เคียงกัน ก็ต้องมีหลักประกันว่างานที่ได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ จากคนหนึ่งคน ใกล้เคียงกันด้วยนะ ไม่ว่าจะอ้วนผอม หญิงชาย สูงต่ำ ดำขาว ไม่งั้นก็จะกลับไปเป็นความล้มเหลวแบบเดิมๆ ของ Communist ครับ

"ถ้าเราได้กินเท่ากัน เราจะทำงานมากกว่าคนอื่นทำไม"

อย่าลืมว่า คนเราไม่อยากทำอะไรเพื่อองค์กรจริงๆ หรอกครับ (ถึงแม้จะปฏิญาณตนทุกเช้าก็เถอะ) ผู้บริหารที่เก่งจะต้องกระตุ้นให้ "ลูกน้องทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี" และ "ความดีนั้นช่วงส่งเสริมให้องค์กรนั้นพัฒนาก้าวหน้า" เราจึงต้องมี Incentive ครับ คำว่ารักองค์กรในสมัยนี้ คุณค่าของมันก็หดลงไปเยอะ เพราะเราไม่ได้อยู่ในยุคชาตินิยม Facist เหมือนเมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว เรื่องพวก Kamikaze อะไรแบบนั้น มันก็ไม่เหลือแล้ว

ผมไม่ได้ส่งเสริมให้คนเป็นคนเลว เพราะคำว่าทำดีให้ตัวเองนั้น มันต้องประกอบด้วยสามัญสำนึก ว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่เข้าไปด้วย แต่สิ่งที่พึงระลึกเสมอคือ สิ่งนั้นจะทำให้เรามีความสุขเป็นสำคัญครับ

คนเก่ง คนขยันกว่า ย่อมมีกินมากกว่า อันนี้เป็นของตายครับ เพราะทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม เพียงแต่อาจจะต้องใส่ คุณธรรม และจิตสำนึกลงไปสักเล็กน้อย จะกินก็กินแต่ของที่ควร ของที่ไม่ควรก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว มันก็อิ่มได้เหมือนกันครับ

แต่คนที่มีคุณลักษณะต่างกัน กินอิ่มเท่ากัน อันนี้คงต้องเรียกว่าไม่ยุติธรรมครับ

ส่วนเรื่องแบรนด์เนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ต่อให้บริษัทญี่ปุ่นไม่ย้ายฐานการผลิต แต่ถ้าเกิดบริษัทเหล่านั้นเจ๊งเลย จะทำยังไงต่อเหรอครับ ถ้าเราไม่มีความรู้ที่จะเปิดโรงงานต่อไปได้ อืมม อยากให้ไปดูหนังเรื่อง Gung Ho ที่ Michael Keaton เล่นจังครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ Dark Overlord

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,804
  • Hail to the darkside
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 23:08:09 »
มีหลายเรื่องมากๆ เลย อยากมีส่วนร่วมด้วยอีกคน

เรื่อง ที่บริษัทรถยนต์จะย้ายฐานทั้งหมดไป อันนี้เกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะว่า
1) รัฐบาล เราไม่ยอมแน่ๆ ล่ะ มีปัญหาอะไร ช่วยอะไรได้ ต้องช่วยสุดๆ เพราะถ้าไป ประเทศเราไม่ตายก็คางเหลืองครับ
2) อย่างที่พี่ Jimmy พูดเค้า forecast ไว้แล้ว แล้วอีกอย่าง การที่จะทำสิ่งที่เห็นแก่ตัวมากเช่นการเลิกจ้าง หรือการย้ายฐานผลิต จนทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
เค้าจะไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน เพราะ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะเป็นผลเสียแบบลูกโซ่ และย้อนกลับไปที่ประเทศที่ตัวบริษัทนั้นๆ อยู่
สมมติ ถ้าบริษัทรถญี่ปุ่นย้ายไปเวียตนามหมด เศรษฐกิจไทยพังยับ จากนั้น เศรษฐกิจในอาเซี่ยนทั้งหมด รวมไปถึง ทั่วโลกจะค่อยๆ พังยับตาม และแน่นอน
ญีุ่ปุ่นสุดท้ายก็เละ เช่นกัน อย่างที่พี่ Jimmy ว่า มันอยู่ที่ scale ของอุตสหกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าเป็นเพียงโรงงานผลิตยา การจะย้ายโรงงานไปประเทศที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ผลกระทบมันไม่ค่อยมี
3) เท่าที่มีโรงงานตามประเทศต่างๆ อย่างที่มีในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยัง Happy มากๆ ครับ และมีแนวโน้มจะลงทุนเพิ่มอีก ซึ่ง รัฐบาลก็มีหน้าที่ กระตุ้นตลาด
หาตลาดใหม่ๆ หาช่องทางส่งเสริมการลงทุน การมีนโยบายพิเศษช่วยลดภาษีต่างๆ อย่าง Eco car อย่าง FTA ต่างๆ


แต่ขออนุญาติพูดอีกด้านนึง ซึ่งก็เป็น fact ที่ถูกเหมือนกันนั่นก็คือ
หากทุกๆ อุตสาหกรรม ต้องพึ่งพาแต่เงินลงทุนต่างประเทศ โดยที่คนประเทศเราเปรียบเสมือนคนรับจ้างราคาถูก know-how ก็ไม่ได้
ทำอะไรเองไม่ได้ ต้องเป็นลูกจ้างเค้าอย่างเดียว ถูกต้องครับ เมื่อใดที่มีแหล่งแรงงานถูกกว่า และทุกๆ อย่างอำนวยกว่า เจ้าของเงินทุน
ก็จะย้ายไปประเทศนั้นๆ กันหมด สุดท้ายแล้ว เราจะไม่มีใครจ้าง และเราก็ทำอะไรเองไม่ได้

ตอนนี้แบรนด์ไทยเราก็มี แต่อาจจะไม่โดดเด่นอะไรนัก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง การที่คนๆ นึง มีเงินทุนผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ จุดเริ่มต้นของพวกเค้าอาจจะเป็นการรับจ้างทำ product ส่งให้กับต่างประเทศ แต่ในอีกด้านนึง เค้าต้องหัดทำแบรนด์ของตัวเอง และหัด
ทำตลาดของตัวเองไปด้วย เผื่อว่าวันนึง โรงงานเค้าถูกเลิกจ้างผลิต อย่างน้อยยังมีแบรนด์ของเค้าพอทำตลาดได้บ้าง คราวนี้ก็ต้องดูฝีมือกัน
ล่ะว่า ใครทำตลาดเก่งหรือไม่อย่างไร ทำไมสินค้าชื่อไทยๆ ทั้งหลายมันหายไปเยอะ ส่วนหนึ่ง เพราะ ชื่อไทย มันไม่เหมาะสมจะเป็น logo
หรือ brand ในระดับ inter รึเปล่า ? จะเอาง่ายที่สุด ก็ต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หากกังวลว่า ชื่อไทยๆ จะทำ brand ได้ไม่แกร่งพอ ซึ่งมันก็แล้ว
แต่ vision ของแต่ละบริษัท ผมไม่พูดว่ามันถูก หรือมันผิด ทุกอย่างมันมีหมด ไม่ว่าจะชื่อ ไทย จีน อินเดีย ฝรั่ง เกาหลี เชื่อว่า บริษัทไทยๆ ของ
เรานี่แหล่ะ คงสรรหาชื่อมาใช้กันทั่วไปหมด

การที่ประเทศเราพยายามจะทำตัวเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นครัวของโลกก็ดี ซึ่งทำได้อยู่แล้วล่ะ เพราะทุกอย่างมันอำนวยขนาดนี้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมของประเทศหน่อย ก็ต้องทำใจให้ได้ กับการมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระดับสูงแบบนี้ให้ได้ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ
ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของบ้านเราปัจจุบัน กับเมื่อ 100-200 ปีก่อนแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย นั่นก็คือ ฝ่ายผลิตทางการเกษตร ก็ผลิตๆ ไป
มีฐานะความเป็นอยู่แบบจนๆ ต่อไป ในขณะที่ นักธุรกิจที่เป็นคนกลางนั้นรวยขึ้นๆ เปรียบเสมือน จ้าวขุนบุญนายสมัยก่อน ที่รวยขึ้นๆ ในขณะที่ ไพร่
ที่เป็นชาวไร่ ต้องคอยส่งสวย ส่งผลิตผลให้ และมีชีวิตอย่างยากไร้ ในโลกตะวันตก หรือในญี่ปุ่นเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้

จะรัก จะเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องรับสภาพกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงให้ได้

อย่างที่ผมเป็นอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ได้สบายๆ ไม่เดือด ไม่ร้อน แต่ยอมรับว่า เห็นเพื่อนร่วมแผ่นดิน หลายๆ คน ยากจนเหลือเกิน สงสารก็สงสาร
แต่ไม่รู้จะช่วยอะไรได้มาก

หากคนรุ่นก่อนเรา มี vision ตรงนี้มากๆ และรักประเทศอย่างจริงจัง จะต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ การที่ญี่ปุ่น หันมาผลิตทุกอย่างทาง
อุตสาหกรรม แบบชาติตะวันตก ไม่ใช่ว่าเค้าอยากได้เงินมากจนขึ้นสมอง แบบเศรษฐีบ้านเรา อย่าเข้าใจผิด แต่เพราะว่าเค้ารักชาติ และ
การผลิตนวัตรกรรม หรือการผลิตชนะชาวตะวันตกได้ ถือว่าเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ ในขณะที่นักธุรกิจบ้านเรา เวลาจะลงทุน หรือจะ
มองอะไรก็แล้วแต่ มองแต่ว่า จะทำยังไงให้ได้เงินมามากที่สุด ถึงแม้ว่า ชาวนา ที่เค้ามาส่งข้าวให้จะดูยากไร้แค่ไหน ก็ไม่คิดอะไรมาก
กดราคาได้ยิ่งกด ต้องการเพียงแต่เงินเท่านั้น การที่บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวยได้ จากกระดูกสันหลังของชาติ มันไม่ต่างอะไรจาก
คนที่กอบโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายไปวันๆ แต่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประเทศชาติอย่างที่ควรจะเป็น เพราะ
ตัวเกษตรกร ไม่ได้รวยร่วมไปกับตัวบริษัทใหญ่ มีแต่บริษัทใหญ่ และเจ้าของบริษัทนั้นที่ร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ามี know-how ที่ดี แบรนด์ไทยจะมีโอกาสอยู่รอดได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เพราะสมัยนี้มีบริษัทรับทำการตลาดมือดีมากมาย เพียงแต่การลงทุน ย่อมมีความเสี่ยง มีทั้งได้และไม่ได้
แต่ถ้ามี know-how ดีและแข็งแกร่ง โอกาสย่อมมีมากกว่า ฝ่ายที่มี แต่มีน้อย และไม่รู้จักการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด หรือเรียกว่า
ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทำนั่นเอง รถแบรนด์ไทย ก็อาจเข้าข่ายแบบนั้น คือเคยทำออกมาได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีที่สุด อย่าโทษ
ว่าเป็นแบรนด์ไทยแล้วคนไม่ซื้อ การทำธุรกิจที่แท้จริง ถ้าจะเจ๊ง ก็ต้องโทษตัวเอง อย่าโทษใคร อย่าโทษองค์ประกอบ อย่าโทษ
สิ่งแวดล้อม อย่าโทษค่านิยม ไม่งั้นก็เหมือนกับ การสร้างหนัง พอเจ๊งขึ้นมา ก็โทษ เทปผีซีดีเถื่อน ไม่รู้จักมองเลยว่า หนังที่
ทำออกมาดีจริงๆ หรือว่าห่วย ถึงมีเทปผีซีดีเถื่อน ถ้ามันทำออกมาดีจริงๆ มันก็ประสบความสำเร็จได้ มีอะไรก็โปรดโทษแต่ตนเองบ้าง
นี่คือปรัชญาของ CEO ที่แท้จริง

สิ่งที่เราเฝ้าใฝ่ฝันมานานนั่นก็คือ รถยนต์ไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทุกคนก็จะพูดว่า มันไปไม่รอด เพราะมันจะไม่มีคนซื้อ
ประโยคนี้ คงเป็นประโยคฮิต อมตะนิรันดร์กาลกันอยู่ต่อไป ประโยคนี้ สำหรับผม จะบอกว่าถูกต้องก็ได้ ไม่ถูกต้อง
ก็ได้ เราไม่ควรไปยึดติดอะไรกับประโยคนี้มากมาย เมื่อมีใครที่รวยระดับ จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นมาได้ซักแห่งนึง ก็
ต้องให้การสนับสนุนเค้า อย่าไปด่าเค้า เพราะเค้านี่แหล่ะ กำลังเสียสละตนครั้งยิ่งใหญ่ ทำเพื่อชาติ การสร้างรถยนต์
ไม่ใช่ มาจากความสะใจ ความชอบส่วนตัว หรือเป็นงานอดิเรกของใคร หากริเริ่มอุตหสกรรมนี้ให้กับประเทศได้ เงิน
ก้อนนั้น จะหมุนเวียนในเศรษฐกิจได้อีก หลายพันหลายหมื่นรอบ และสร้างการเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจอย่าง
มหาศาล แบรนด์นั้นไม่ต้องเยอะ อย่างเกาหลี หลักๆ ก็มีแค่ Hyundai-Kia แค่นี้ เศรษฐกิจ ก็แข็งแกร่งอย่างมากมาย
มหาศาล ส่วนผลสำเร็จ มันจะได้ หรือไม่ได้ เรามีหน้าที่เอาใจช่วยเค้า

หากข้ามเวลาไปในอนาคต หากบ้านเราเข้มแข็งได้ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ไม่ต้องสนใจหรอกว่า
ประเทศ จะรวยขึ้นหรือจนลง แต่ทุกๆ คนในประเทศ จะมีรายได้ใกล้เคียงกันอย่างแน่นอน อาจจะไม่มีคนเงินเดือนระดับ
1-2 แสน แต่ทุกๆ คนอาจจะมีเงินระดับ 2 -3 หมื่น ไม่มีคนตกยาก ไม่มีเด็กขอทาน ไม่มีคนที่จนสุดๆ อย่างที่ปัจจุบันเป็น
อย่างแน่นอน การที่ปัจจุบัน มีคนเงินเดือนเป็นสิบล้าน กับมีคนเงินเดือนเพียงหลักร้อยบาท เป็นความน่าเกลียดน่าขยะแขยง
ของสังคมที่แข็งแกร่งแต่ด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แง่คิดนี้ อาจจะไม่ absolutely true 100% นัก แต่ผมคิดว่า มัน
มีส่วนถูกบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราแต่ละคนจะทำได้ ก็คือ หัดรู้จักผลิตเอง ถ้ามีเงินมาก ก็หัดผลิตมาก จะเปิด
โรงงานเลยก็ได้ ถ้ามีเงินน้อย ก็ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ส่วนหนึ่งของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ก็คือการรู้จักผลิตเอง
ไม่ใช่หรือ ไม่ได้ให้ประเทศเราเป็นเกษตรกรรมสุดโต่ง แต่รู้จักพึ่งพาตัวเอง ผลิตเองได้ ทำเองใช้เองได้ และจะใช้หรือลงทุน
อะไรก็อย่าใช้ให้มันเกินตัว


(มีแก้คำผิดเพียบ เลยต้อง edit บ่อย)

อืมๆ เหมือนจะเป็น Marxist หน่อยๆ นะ (ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร)

ถ้าทุกคนมีเงินเดือนใกล้เคียงกัน ก็ต้องมีหลักประกันว่างานที่ได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ จากคนหนึ่งคน ใกล้เคียงกันด้วยนะ ไม่ว่าจะอ้วนผอม หญิงชาย สูงต่ำ ดำขาว ไม่งั้นก็จะกลับไปเป็นความล้มเหลวแบบเดิมๆ ของ Communist ครับ

"ถ้าเราได้กินเท่ากัน เราจะทำงานมากกว่าคนอื่นทำไม"

อย่าลืมว่า คนเราไม่อยากทำอะไรเพื่อองค์กรจริงๆ หรอกครับ (ถึงแม้จะปฏิญาณตนทุกเช้าก็เถอะ) ผู้บริหารที่เก่งจะต้องกระตุ้นให้ "ลูกน้องทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี" และ "ความดีนั้นช่วงส่งเสริมให้องค์กรนั้นพัฒนาก้าวหน้า" เราจึงต้องมี Incentive ครับ คำว่ารักองค์กรในสมัยนี้ คุณค่าของมันก็หดลงไปเยอะ เพราะเราไม่ได้อยู่ในยุคชาตินิยม Facist เหมือนเมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว เรื่องพวก Kamikaze อะไรแบบนั้น มันก็ไม่เหลือแล้ว

ผมไม่ได้ส่งเสริมให้คนเป็นคนเลว เพราะคำว่าทำดีให้ตัวเองนั้น มันต้องประกอบด้วยสามัญสำนึก ว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่เข้าไปด้วย แต่สิ่งที่พึงระลึกเสมอคือ สิ่งนั้นจะทำให้เรามีความสุขเป็นสำคัญครับ

คนเก่ง คนขยันกว่า ย่อมมีกินมากกว่า อันนี้เป็นของตายครับ เพราะทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม เพียงแต่อาจจะต้องใส่ คุณธรรม และจิตสำนึกลงไปสักเล็กน้อย จะกินก็กินแต่ของที่ควร ของที่ไม่ควรก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว มันก็อิ่มได้เหมือนกันครับ

แต่คนที่มีคุณลักษณะต่างกัน กินอิ่มเท่ากัน อันนี้คงต้องเรียกว่าไม่ยุติธรรมครับ

ส่วนเรื่องแบรนด์เนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ต่อให้บริษัทญี่ปุ่นไม่ย้ายฐานการผลิต แต่ถ้าเกิดบริษัทเหล่านั้นเจ๊งเลย จะทำยังไงต่อเหรอครับ ถ้าเราไม่มีความรู้ที่จะเปิดโรงงานต่อไปได้ อืมม อยากให้ไปดูหนังเรื่อง Gung Ho ที่ Michael Keaton เล่นจังครับ


ไม่ใช่ครับ มีบางประเด็นหรือบางย่อหน้า ที่อ่านเข้าใจผิดไปแล้ว

ยังแข่งรวยกันได้เหมือนเดิม แต่ ช่องว่างทางเศรษฐกิจ จะต่ำลงมากครับ ชาติที่พัฒนาแล้ว
ความเหลื่อมล้ำตรงนี้จะน้อย แต่บ้านเรา ที่ยังห่างกันมาก ไม่ใช่ว่า เศรษฐกิจ เสรีจัด ครับ แต่
เป็นเศรษฐกิจบ้านเราออกแนวผูกขาดต่างหาก โดย เครือข่ายของนักธุรกิจ เพียงไม่กี่รายครับ

ส่วนเรื่องแนว  Marxist, communist ไม่ได้สนใจครับ คำว่า รายได้ทุกๆ คนเท่ากันกับ
ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ น้อย มันเป็นคนละเรื่องคนล่ะราวกันเลยครับ
ถึงผมจะใช้คำว่ารายได้ใกล้เคียงกัน แต่นั่นแค่เปรียบเปรย ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้อง
2-30,000 บาท มันไม่ใช่ เข้าใจผิดประเด็นนี่ไป เพราะตัวอักษรซะแล้ว ถ้า อ่าน concept ดีๆ
กับเหตุผลที่มาที่ไปจะเห็นภาพครับ ที่จริง มันก็มีสิทธิ์จะรวยกันหมด แต่ก็ไม่อยากฟันธงแบบนั้น
ความเหลื่อมล้ำมันจะน้อยลงมาก ไม่มีคนจนสุดๆ หรือรวยสุดๆ แต่ถ้าอยากจะเป็นกลุ่มคนที่รวยขึ้นๆ
ได้เรื่อยๆ ก็ทำได้ ไม่มีปัญหาครับ ทุกอย่าง unlimited ครับ

จะโยงมาเรื่องนี้ครับ มนุษย์เราเกิดมาเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ มันเป็นสัญชาติญาณครับ ไม่ว่าจะสร้างสรรค์สิ่งใดๆ หรือ
สร้างลูก สร้างหลาน ประเทศใดก็ตามที่เป็นนักสร้าง ได้ทำตามสัญชาิิติญาณนั้นได้ครบถ้วนอย่างแท้จริง จะ
พึ่งพาตนเองได้ และประสบความสำเร็จครับ เศรษฐกิจก็ดี ค้าขายเสรีได้เต็มที่ครับ

ยกตัวอย่างเช่น นักธุรกิจบ้านเรา ล้วนจะซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ไปเรื่อยๆ แต่ไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะผลิตเองบ้าง
เด็กจบวิศวะเครื่องกลก็มีเยอะแยะ แต่จ้างมาเพื่อคุมเครื่องที่นำเข้ามาเท่านั้น การจะซื้อมาใช้ก่อนนั้นไม่ผิด แต่ในที่สุด
น่าจะหัดผลิตกันเอง ซึ่งถ้ามีพื้นฐานความคิดแบบนี้ ในที่สุด บ้านเราก็จะผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมกันเองได้
ซึ่งจะทำให้ด้านอุตสาหกรรมเข้มแข็งขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2010, 23:14:17 โดย ned »

ออฟไลน์ Jxxx

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 489
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 00:06:09 »
เห็นด้วยกับคุณ ned ครับ

รถยนต์ของบ้านเราเอง ทำไม่ได้เพราะไม่ได้ทำครับ แต่ถึงตอนนี้แล้วคงเกิดได้ยากล่ะครับ know how ก็เตาะแตะ ถ้่าซัก 25-30 ปีที่แล้วเริ่มทำกันอย่างจริงจัง การเมืองไม่แทรก คงได้เกิดครับ

เรื่องซื้อ know how เค้ามา ก็ซื้อร่ำไป ไม่ค่อยมีการพัฒนาต่อยอดครับ

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:08:40 »
มีหลายเรื่องมากๆ เลย อยากมีส่วนร่วมด้วยอีกคน

เรื่อง ที่บริษัทรถยนต์จะย้ายฐานทั้งหมดไป อันนี้เกิดขึ้นได้ยากครับ เพราะว่า
1) รัฐบาล เราไม่ยอมแน่ๆ ล่ะ มีปัญหาอะไร ช่วยอะไรได้ ต้องช่วยสุดๆ เพราะถ้าไป ประเทศเราไม่ตายก็คางเหลืองครับ
2) อย่างที่พี่ Jimmy พูดเค้า forecast ไว้แล้ว แล้วอีกอย่าง การที่จะทำสิ่งที่เห็นแก่ตัวมากเช่นการเลิกจ้าง หรือการย้ายฐานผลิต จนทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
เค้าจะไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน เพราะ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะเป็นผลเสียแบบลูกโซ่ และย้อนกลับไปที่ประเทศที่ตัวบริษัทนั้นๆ อยู่
สมมติ ถ้าบริษัทรถญี่ปุ่นย้ายไปเวียตนามหมด เศรษฐกิจไทยพังยับ จากนั้น เศรษฐกิจในอาเซี่ยนทั้งหมด รวมไปถึง ทั่วโลกจะค่อยๆ พังยับตาม และแน่นอน
ญีุ่ปุ่นสุดท้ายก็เละ เช่นกัน อย่างที่พี่ Jimmy ว่า มันอยู่ที่ scale ของอุตสหกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าเป็นเพียงโรงงานผลิตยา การจะย้ายโรงงานไปประเทศที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ผลกระทบมันไม่ค่อยมี
3) เท่าที่มีโรงงานตามประเทศต่างๆ อย่างที่มีในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยัง Happy มากๆ ครับ และมีแนวโน้มจะลงทุนเพิ่มอีก ซึ่ง รัฐบาลก็มีหน้าที่ กระตุ้นตลาด
หาตลาดใหม่ๆ หาช่องทางส่งเสริมการลงทุน การมีนโยบายพิเศษช่วยลดภาษีต่างๆ อย่าง Eco car อย่าง FTA ต่างๆ


แต่ขออนุญาติพูดอีกด้านนึง ซึ่งก็เป็น fact ที่ถูกเหมือนกันนั่นก็คือ
หากทุกๆ อุตสาหกรรม ต้องพึ่งพาแต่เงินลงทุนต่างประเทศ โดยที่คนประเทศเราเปรียบเสมือนคนรับจ้างราคาถูก know-how ก็ไม่ได้
ทำอะไรเองไม่ได้ ต้องเป็นลูกจ้างเค้าอย่างเดียว ถูกต้องครับ เมื่อใดที่มีแหล่งแรงงานถูกกว่า และทุกๆ อย่างอำนวยกว่า เจ้าของเงินทุน
ก็จะย้ายไปประเทศนั้นๆ กันหมด สุดท้ายแล้ว เราจะไม่มีใครจ้าง และเราก็ทำอะไรเองไม่ได้

ตอนนี้แบรนด์ไทยเราก็มี แต่อาจจะไม่โดดเด่นอะไรนัก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง การที่คนๆ นึง มีเงินทุนผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ จุดเริ่มต้นของพวกเค้าอาจจะเป็นการรับจ้างทำ product ส่งให้กับต่างประเทศ แต่ในอีกด้านนึง เค้าต้องหัดทำแบรนด์ของตัวเอง และหัด
ทำตลาดของตัวเองไปด้วย เผื่อว่าวันนึง โรงงานเค้าถูกเลิกจ้างผลิต อย่างน้อยยังมีแบรนด์ของเค้าพอทำตลาดได้บ้าง คราวนี้ก็ต้องดูฝีมือกัน
ล่ะว่า ใครทำตลาดเก่งหรือไม่อย่างไร ทำไมสินค้าชื่อไทยๆ ทั้งหลายมันหายไปเยอะ ส่วนหนึ่ง เพราะ ชื่อไทย มันไม่เหมาะสมจะเป็น logo
หรือ brand ในระดับ inter รึเปล่า ? จะเอาง่ายที่สุด ก็ต้องใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หากกังวลว่า ชื่อไทยๆ จะทำ brand ได้ไม่แกร่งพอ ซึ่งมันก็แล้ว
แต่ vision ของแต่ละบริษัท ผมไม่พูดว่ามันถูก หรือมันผิด ทุกอย่างมันมีหมด ไม่ว่าจะชื่อ ไทย จีน อินเดีย ฝรั่ง เกาหลี เชื่อว่า บริษัทไทยๆ ของ
เรานี่แหล่ะ คงสรรหาชื่อมาใช้กันทั่วไปหมด

การที่ประเทศเราพยายามจะทำตัวเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นครัวของโลกก็ดี ซึ่งทำได้อยู่แล้วล่ะ เพราะทุกอย่างมันอำนวยขนาดนี้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมของประเทศหน่อย ก็ต้องทำใจให้ได้ กับการมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระดับสูงแบบนี้ให้ได้ไปเรื่อยๆ ตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ
ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของบ้านเราปัจจุบัน กับเมื่อ 100-200 ปีก่อนแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย นั่นก็คือ ฝ่ายผลิตทางการเกษตร ก็ผลิตๆ ไป
มีฐานะความเป็นอยู่แบบจนๆ ต่อไป ในขณะที่ นักธุรกิจที่เป็นคนกลางนั้นรวยขึ้นๆ เปรียบเสมือน จ้าวขุนบุญนายสมัยก่อน ที่รวยขึ้นๆ ในขณะที่ ไพร่
ที่เป็นชาวไร่ ต้องคอยส่งสวย ส่งผลิตผลให้ และมีชีวิตอย่างยากไร้ ในโลกตะวันตก หรือในญี่ปุ่นเอง เมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้

จะรัก จะเป็นประเทศเกษตรกรรม ต้องรับสภาพกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงให้ได้

อย่างที่ผมเป็นอยู่ปัจจุบัน ก็อยู่ได้สบายๆ ไม่เดือด ไม่ร้อน แต่ยอมรับว่า เห็นเพื่อนร่วมแผ่นดิน หลายๆ คน ยากจนเหลือเกิน สงสารก็สงสาร
แต่ไม่รู้จะช่วยอะไรได้มาก

หากคนรุ่นก่อนเรา มี vision ตรงนี้มากๆ และรักประเทศอย่างจริงจัง จะต้องไม่ปล่อยให้เป็นแบบนี้ การที่ญี่ปุ่น หันมาผลิตทุกอย่างทาง
อุตสาหกรรม แบบชาติตะวันตก ไม่ใช่ว่าเค้าอยากได้เงินมากจนขึ้นสมอง แบบเศรษฐีบ้านเรา อย่าเข้าใจผิด แต่เพราะว่าเค้ารักชาติ และ
การผลิตนวัตรกรรม หรือการผลิตชนะชาวตะวันตกได้ ถือว่าเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ ในขณะที่นักธุรกิจบ้านเรา เวลาจะลงทุน หรือจะ
มองอะไรก็แล้วแต่ มองแต่ว่า จะทำยังไงให้ได้เงินมามากที่สุด ถึงแม้ว่า ชาวนา ที่เค้ามาส่งข้าวให้จะดูยากไร้แค่ไหน ก็ไม่คิดอะไรมาก
กดราคาได้ยิ่งกด ต้องการเพียงแต่เงินเท่านั้น การที่บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวยได้ จากกระดูกสันหลังของชาติ มันไม่ต่างอะไรจาก
คนที่กอบโกยเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ทำหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายไปวันๆ แต่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อประเทศชาติอย่างที่ควรจะเป็น เพราะ
ตัวเกษตรกร ไม่ได้รวยร่วมไปกับตัวบริษัทใหญ่ มีแต่บริษัทใหญ่ และเจ้าของบริษัทนั้นที่ร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ามี know-how ที่ดี แบรนด์ไทยจะมีโอกาสอยู่รอดได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เพราะสมัยนี้มีบริษัทรับทำการตลาดมือดีมากมาย เพียงแต่การลงทุน ย่อมมีความเสี่ยง มีทั้งได้และไม่ได้
แต่ถ้ามี know-how ดีและแข็งแกร่ง โอกาสย่อมมีมากกว่า ฝ่ายที่มี แต่มีน้อย และไม่รู้จักการทำทุกอย่างให้ดีที่สุด หรือเรียกว่า
ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ใช่แค่ทำนั่นเอง รถแบรนด์ไทย ก็อาจเข้าข่ายแบบนั้น คือเคยทำออกมาได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีที่สุด อย่าโทษ
ว่าเป็นแบรนด์ไทยแล้วคนไม่ซื้อ การทำธุรกิจที่แท้จริง ถ้าจะเจ๊ง ก็ต้องโทษตัวเอง อย่าโทษใคร อย่าโทษองค์ประกอบ อย่าโทษ
สิ่งแวดล้อม อย่าโทษค่านิยม ไม่งั้นก็เหมือนกับ การสร้างหนัง พอเจ๊งขึ้นมา ก็โทษ เทปผีซีดีเถื่อน ไม่รู้จักมองเลยว่า หนังที่
ทำออกมาดีจริงๆ หรือว่าห่วย ถึงมีเทปผีซีดีเถื่อน ถ้ามันทำออกมาดีจริงๆ มันก็ประสบความสำเร็จได้ มีอะไรก็โปรดโทษแต่ตนเองบ้าง
นี่คือปรัชญาของ CEO ที่แท้จริง

สิ่งที่เราเฝ้าใฝ่ฝันมานานนั่นก็คือ รถยนต์ไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทุกคนก็จะพูดว่า มันไปไม่รอด เพราะมันจะไม่มีคนซื้อ
ประโยคนี้ คงเป็นประโยคฮิต อมตะนิรันดร์กาลกันอยู่ต่อไป ประโยคนี้ สำหรับผม จะบอกว่าถูกต้องก็ได้ ไม่ถูกต้อง
ก็ได้ เราไม่ควรไปยึดติดอะไรกับประโยคนี้มากมาย เมื่อมีใครที่รวยระดับ จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นมาได้ซักแห่งนึง ก็
ต้องให้การสนับสนุนเค้า อย่าไปด่าเค้า เพราะเค้านี่แหล่ะ กำลังเสียสละตนครั้งยิ่งใหญ่ ทำเพื่อชาติ การสร้างรถยนต์
ไม่ใช่ มาจากความสะใจ ความชอบส่วนตัว หรือเป็นงานอดิเรกของใคร หากริเริ่มอุตหสกรรมนี้ให้กับประเทศได้ เงิน
ก้อนนั้น จะหมุนเวียนในเศรษฐกิจได้อีก หลายพันหลายหมื่นรอบ และสร้างการเจริญเติบโตให้กับเศรษฐกิจอย่าง
มหาศาล แบรนด์นั้นไม่ต้องเยอะ อย่างเกาหลี หลักๆ ก็มีแค่ Hyundai-Kia แค่นี้ เศรษฐกิจ ก็แข็งแกร่งอย่างมากมาย
มหาศาล ส่วนผลสำเร็จ มันจะได้ หรือไม่ได้ เรามีหน้าที่เอาใจช่วยเค้า

หากข้ามเวลาไปในอนาคต หากบ้านเราเข้มแข็งได้ ทั้งทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ไม่ต้องสนใจหรอกว่า
ประเทศ จะรวยขึ้นหรือจนลง แต่ทุกๆ คนในประเทศ จะมีรายได้ใกล้เคียงกันอย่างแน่นอน อาจจะไม่มีคนเงินเดือนระดับ
1-2 แสน แต่ทุกๆ คนอาจจะมีเงินระดับ 2 -3 หมื่น ไม่มีคนตกยาก ไม่มีเด็กขอทาน ไม่มีคนที่จนสุดๆ อย่างที่ปัจจุบันเป็น
อย่างแน่นอน การที่ปัจจุบัน มีคนเงินเดือนเป็นสิบล้าน กับมีคนเงินเดือนเพียงหลักร้อยบาท เป็นความน่าเกลียดน่าขยะแขยง
ของสังคมที่แข็งแกร่งแต่ด้านเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว แง่คิดนี้ อาจจะไม่ absolutely true 100% นัก แต่ผมคิดว่า มัน
มีส่วนถูกบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งที่ง่ายที่สุดที่เราแต่ละคนจะทำได้ ก็คือ หัดรู้จักผลิตเอง ถ้ามีเงินมาก ก็หัดผลิตมาก จะเปิด
โรงงานเลยก็ได้ ถ้ามีเงินน้อย ก็ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ส่วนหนึ่งของคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ก็คือการรู้จักผลิตเอง
ไม่ใช่หรือ ไม่ได้ให้ประเทศเราเป็นเกษตรกรรมสุดโต่ง แต่รู้จักพึ่งพาตัวเอง ผลิตเองได้ ทำเองใช้เองได้ และจะใช้หรือลงทุน
อะไรก็อย่าใช้ให้มันเกินตัว


(มีแก้คำผิดเพียบ เลยต้อง edit บ่อย)

อืมๆ เหมือนจะเป็น Marxist หน่อยๆ นะ (ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร)

ถ้าทุกคนมีเงินเดือนใกล้เคียงกัน ก็ต้องมีหลักประกันว่างานที่ได้ทั้งคุณภาพ และปริมาณ จากคนหนึ่งคน ใกล้เคียงกันด้วยนะ ไม่ว่าจะอ้วนผอม หญิงชาย สูงต่ำ ดำขาว ไม่งั้นก็จะกลับไปเป็นความล้มเหลวแบบเดิมๆ ของ Communist ครับ

"ถ้าเราได้กินเท่ากัน เราจะทำงานมากกว่าคนอื่นทำไม"

อย่าลืมว่า คนเราไม่อยากทำอะไรเพื่อองค์กรจริงๆ หรอกครับ (ถึงแม้จะปฏิญาณตนทุกเช้าก็เถอะ) ผู้บริหารที่เก่งจะต้องกระตุ้นให้ "ลูกน้องทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี" และ "ความดีนั้นช่วงส่งเสริมให้องค์กรนั้นพัฒนาก้าวหน้า" เราจึงต้องมี Incentive ครับ คำว่ารักองค์กรในสมัยนี้ คุณค่าของมันก็หดลงไปเยอะ เพราะเราไม่ได้อยู่ในยุคชาตินิยม Facist เหมือนเมื่อ 60-70 ปีที่แล้ว เรื่องพวก Kamikaze อะไรแบบนั้น มันก็ไม่เหลือแล้ว

ผมไม่ได้ส่งเสริมให้คนเป็นคนเลว เพราะคำว่าทำดีให้ตัวเองนั้น มันต้องประกอบด้วยสามัญสำนึก ว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่เข้าไปด้วย แต่สิ่งที่พึงระลึกเสมอคือ สิ่งนั้นจะทำให้เรามีความสุขเป็นสำคัญครับ

คนเก่ง คนขยันกว่า ย่อมมีกินมากกว่า อันนี้เป็นของตายครับ เพราะทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม เพียงแต่อาจจะต้องใส่ คุณธรรม และจิตสำนึกลงไปสักเล็กน้อย จะกินก็กินแต่ของที่ควร ของที่ไม่ควรก็ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว มันก็อิ่มได้เหมือนกันครับ

แต่คนที่มีคุณลักษณะต่างกัน กินอิ่มเท่ากัน อันนี้คงต้องเรียกว่าไม่ยุติธรรมครับ

ส่วนเรื่องแบรนด์เนี่ย ผมเห็นด้วยนะ ต่อให้บริษัทญี่ปุ่นไม่ย้ายฐานการผลิต แต่ถ้าเกิดบริษัทเหล่านั้นเจ๊งเลย จะทำยังไงต่อเหรอครับ ถ้าเราไม่มีความรู้ที่จะเปิดโรงงานต่อไปได้ อืมม อยากให้ไปดูหนังเรื่อง Gung Ho ที่ Michael Keaton เล่นจังครับ


ไม่ใช่ครับ มีบางประเด็นหรือบางย่อหน้า ที่อ่านเข้าใจผิดไปแล้ว

ยังแข่งรวยกันได้เหมือนเดิม แต่ ช่องว่างทางเศรษฐกิจ จะต่ำลงมากครับ ชาติที่พัฒนาแล้ว
ความเหลื่อมล้ำตรงนี้จะน้อย แต่บ้านเรา ที่ยังห่างกันมาก ไม่ใช่ว่า เศรษฐกิจ เสรีจัด ครับ แต่
เป็นเศรษฐกิจบ้านเราออกแนวผูกขาดต่างหาก โดย เครือข่ายของนักธุรกิจ เพียงไม่กี่รายครับ

ส่วนเรื่องแนว  Marxist, communist ไม่ได้สนใจครับ คำว่า รายได้ทุกๆ คนเท่ากันกับ
ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ น้อย มันเป็นคนละเรื่องคนล่ะราวกันเลยครับ
ถึงผมจะใช้คำว่ารายได้ใกล้เคียงกัน แต่นั่นแค่เปรียบเปรย ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้อง
2-30,000 บาท มันไม่ใช่ เข้าใจผิดประเด็นนี่ไป เพราะตัวอักษรซะแล้ว ถ้า อ่าน concept ดีๆ
กับเหตุผลที่มาที่ไปจะเห็นภาพครับ ที่จริง มันก็มีสิทธิ์จะรวยกันหมด แต่ก็ไม่อยากฟันธงแบบนั้น
ความเหลื่อมล้ำมันจะน้อยลงมาก ไม่มีคนจนสุดๆ หรือรวยสุดๆ แต่ถ้าอยากจะเป็นกลุ่มคนที่รวยขึ้นๆ
ได้เรื่อยๆ ก็ทำได้ ไม่มีปัญหาครับ ทุกอย่าง unlimited ครับ

จะโยงมาเรื่องนี้ครับ มนุษย์เราเกิดมาเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ มันเป็นสัญชาติญาณครับ ไม่ว่าจะสร้างสรรค์สิ่งใดๆ หรือ
สร้างลูก สร้างหลาน ประเทศใดก็ตามที่เป็นนักสร้าง ได้ทำตามสัญชาิิติญาณนั้นได้ครบถ้วนอย่างแท้จริง จะ
พึ่งพาตนเองได้ และประสบความสำเร็จครับ เศรษฐกิจก็ดี ค้าขายเสรีได้เต็มที่ครับ

ยกตัวอย่างเช่น นักธุรกิจบ้านเรา ล้วนจะซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ไปเรื่อยๆ แต่ไม่รู้จักเรียนรู้ที่จะผลิตเองบ้าง
เด็กจบวิศวะเครื่องกลก็มีเยอะแยะ แต่จ้างมาเพื่อคุมเครื่องที่นำเข้ามาเท่านั้น การจะซื้อมาใช้ก่อนนั้นไม่ผิด แต่ในที่สุด
น่าจะหัดผลิตกันเอง ซึ่งถ้ามีพื้นฐานความคิดแบบนี้ ในที่สุด บ้านเราก็จะผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมกันเองได้
ซึ่งจะทำให้ด้านอุตสาหกรรมเข้มแข็งขึ้น

อืมม เข้าใจแล้วครับ ตอนแรกเห็นเปรียบเทียบกับรายได้คงที่ใน Range แคบๆ ผมเลยนึกไปถึงพวกระบบ Socialism ไปเลย 555

จริงๆ ระบบที่ง่ายที่สุดในการจัดการกับรายได้ของประชากร คือ ภาษีครับ แต่น่าเสียดาย ที่ประเทศของเรายังดึงภาษีจากคนรวยมาได้ไม่มากเท่าที่ควร ส่วนคนจนที่มีศักยภาพพอที่จะจ่ายภาษีก็มีน้อย ซึ่งมันเป็นปัญหาที่ระบบของมันครับ

ส่วนเรื่องการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ของเครือข่ายธุรกิจใหญ่ๆ ผมเห็นด้วยนะ ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ถ้าหาก USA ศรัทธาในระบบทุนนิยม แล้วทำไมต้องมี Antitrust Law?

มันก็เนื่องด้วย เศรษฐกิจที่เสรีเนี่ย คนที่มีทุนอยู่ก่อนจะสะสมเงินทุนไปเรื่อยๆ คนชนะมักจะชนะต่อไป คนแพ้ก็จะแพ้ไปเรื่อยๆ เพราะคนแพ้เสียไพ่ในมือตัวเองไปทีละใบที่แพ้ ผลสุดท้ายคือ คนที่ชนะจะอยู่ยอดบนสุดของระบบ และสามารถกำหนดชะตากรรมของประเทศกลายๆ ได้ เพราะเงินหรือทรัพยากรมันซื้อได้เกือบทุกสิ่ง ยกเว้นความตาย ผลก็คือนายทุนที่มีเงินเยอะที่สุดก็จะเป็นเผด็จการไป

ส่วเรื่องแบรนด์เนี่ย ผมไม่สนใจหรอกว่าโรงงานนั้นจะผลิตรถต่อไปหรือไม่ แต่ก็แค่ขอให้คนงานไม่ตกงานก็พอแล้ว จะเปลี่ยนไปผลิตอาหาร เครื่องไฟฟ้า Semiconductor หรืออะไรก็ได้

แต่ถ้าต้องการ brand รถยนต์จริงๆ ก็ต้องยอมเข้าเนื้อนะครับ เหมือนกับ Proton เพื่อผมที่เคยอยู่มาเลย์เขาบอกว่า เขาจำใจขับกัน เพราะภาษีมันถูก แต่ไม่มีใครอยากขับจริงๆ ต้องอย่าลืมว่าในยุคนี้ ถ้าคุณไม่ปิดประเทศแบบเกาหลีเหนือ การสร้างนโยบายชาตินิยมเป็นไปได้ยากมากแล้ว ในกรณีของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือเวียดนาม ผมว่าความเป็นชาตินิยมของเขา มันเป็นมรดกจากสงครามโลก เด็กรุ่นใหม่ ก็เริ่มจะมีทัศนคติเปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อย ดังนั้นเราต้องหวังให้สินค้าของเราขายได้ด้วยคุณภาพ หรือราคา อย่าหวังว่ามันจะขายได้ด้วยความเป็นชาติ เพราะคนเราจะทำสิ่งที่เราตั้งใจทำจริงๆ ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นมีประโยชน์กับเราครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ Dark Overlord

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,804
  • Hail to the darkside
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:58:39 »
Proton ผมว่าอย่าคิดมากครับ
ที่ปัจจุบัน คนมาเลย์ยังต้องจำใจทน เพราะ
1) รูปร่างไม่สวย และการออกแบบล้าสมัย ขับแล้วไม่ภูมิใจเท่าไหร่
2) วัสดุไม่ดี ประกอบยังไม่ค่อยเนียน
3) เครื่องยนต์พัฒนาได้ไม่เท่าไหร่

มันเข้าข่าย ได้ทำ แต่ไม่ทำให้ดีที่สุดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 14, 2010, 02:45:42 โดย ned »

ออฟไลน์ delete

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,963
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 17:42:11 »
Proton ผมว่าอย่าคิดมากครับ
ที่ปัจจุบัน คนมาเลย์ยังต้องจำใจทน เพราะ
1) รูปร่างไม่สวย และการออกแบบล้าสมัย ขับแล้วไม่ภูมิใจเท่าไหร่
2) วัสดุไม่ดี ประกอบยังไม่ค่อยเนียน
3) เครื่องยนต์พัฒนาได้ไม่เท่าไหร่

มันเข้าข่าย ได้ทำ แต่ไม่ทำให้ดีที่สุดครับ

ถามต่อหน่อยครับ
สงสัยข้อ3.เรื่องเครื่องยนต์ ก็ซื้อพิมพ์เขียวมาปั๊มเลยไม่ใช่หรือครับ
สมรรถนะก็ไม่น่าจะต่างจากต้นแบบ ทำไมต้องมาพัฒนาเครื่องอีก

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
Re: เล่าสู่กันฟังครับ (ซื้อรถ)
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 18:25:25 »
Proton ผมว่าอย่าคิดมากครับ
ที่ปัจจุบัน คนมาเลย์ยังต้องจำใจทน เพราะ
1) รูปร่างไม่สวย และการออกแบบล้าสมัย ขับแล้วไม่ภูมิใจเท่าไหร่
2) วัสดุไม่ดี ประกอบยังไม่ค่อยเนียน
3) เครื่องยนต์พัฒนาได้ไม่เท่าไหร่

มันเข้าข่าย ได้ทำ แต่ไม่ทำให้ดีที่สุดครับ

ผมกลับมองว่าเวลาแค่ 25 ปี เขาทำได้ขนาดนี้ก็เก่งมากแล้วนะ แล้ว 25 ปีนั้นน่ะ เขาเอารถ Mitsubishi มา rebadge กี่ปี แล้วเริ่มทำเองจริงๆ กี่ปี ผมว่า Proton เริ่มทำงานทางวิศวกรรมในบริษัทตัวเิองจริงๆ จัง ก็ราวๆ ปี 94 ที่ไปซื้อ Lotus มาละมั้งครับ เวลาเท่านี้เนี่ย ถ้าเทียบกับ Toyota แล้ว ถ้านับจากหลังสงคราม Toyota ก็คงยังงมโข่งกับ Toyopet SA กับ Crown RS อยู่เลย ซึ่งไอ้รถสองรุ่นนี้ ขายตลาดต่างประเทศไม่รอดเหมือนกัน (SA รู้สึกไม่ได้ขายตลาด NA แต่ Crown ไปขาย แต่เจ๊งสนิท)

ผมว่า Proton ยังต้องใช้เวลามากกว่านี้อีกนิดนึงนะ Hyundai กว่าจะมาถึงนี่ได้ก็นานนะ ลองไปอ่านดูครับ Hyundai เริ่มประกอบ Cortina ขายตั้งแต่ปี 67 กว่าจะมีรถที่ตัวเอง design เอง (แต่ยังพึ่งชิ้นส่วนชาวบ้าน) ก็ปี 75 แล้วกว่าจะประสบความสำเร็จจริงๆ โดยเฉพาะในอเมริกา ก็น่าจะใกล้ๆ ปี 2000 แล้ว ในช่วงที่เริ่มมีประกัน 10 ปีนั่นแหละ

ผมว่า Proton ตอนนี้ ชั่วโมงบินยังไม่ถึง ต้องรอไปก่อนครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!