ผู้เขียน หัวข้อ: // สถานการณ์น้ำประจำวัน จากพี่ต้น สรุป วันที่ 18 พ.ย. + คาดการณ์วันนี้ 19 พ.ย.//  (อ่าน 6338 ครั้ง)

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,628
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
เช่นเคยนะครับ
สีเหลือง คือข้อความของผม
สีขาว ข้อความพี่ต้น
สีชมพู ข่าวสาย รายงาน บทความ และข้อความจากชาว Facebook
สีเขียว คือข้อความเน้นย้ำ สำคัญ

-------------------------

มาถึงวันนี้ สถานการณ์น้ำท่วมในภาคกลางของ ประเทศไทย ค่อยๆคลี่คลายลงตามลำดับ
แม้จะมีการพังคันกั้นน้ำกันไปหลายที่ แต่ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่น่าเป็นห่วงแล้ว
เพราะวันนี้ ระบบระบายน้ำของ กทม. และพื้นที่ริมอ่าวไทยทั้งหมด กำลังทำงานกันอย่างเต็มอัตราศึก
สถานการณ์ภาพรวมจะดีขึ้น ในช่วงหลังจากนี้ อาจมีบางแหงที่จะท่วมขังต่อไป แต่จะไม่หนักหนา
เท่าเก่าอีกแล้ว

ดังนั้น การรายงานสถานการณ์ประจำวันนับจากนี้ จะขอเลือกเอาข้อความของพี่ต้น
และข่าวสารที่สำคัญ จำเป็นจริงๆเท่านั้น เนื่องจากตอนนี้ ผมเหลือเวลาอีกไม่มาก
ในการเตรียมตัวก่อนจะเดินทางไปญี่ปุ่น ปลายเดือนนี้ ยังมีอีกหลายอย่างต้องทำ
เลยจะขอเลือก และสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญจริงๆเท่านั้นนะครับ

วันนี้เราจะเริ่มกันที่เรื่องนี้ก่อน...


อธิบดีกรมชล...บอกตั้งแต่พรุ่งนี้ไป น้ำจะลดเร็วมากๆ....

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การระบายน้ำที่ท่วมขัง
ออกสู่ทะเลในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงนั้นจะทำได้มากยิ่งขึ้น เพราะ
นอกจากระบายน้ำผ่านทางประตูระบายน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำถาวรที่ติดตั้ง
ไว้ตามสถานีสูบน้ำต่าง ๆ แล้ว ยังได้ระดมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่และเครื่อง
ผลักดันน้ำไปติดตั้งในพื้นที่ด้านฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
และแม่น้ำท่าจีนทำให้สามารถระบายน้ำผ่านทางอาคารชลประทาน เช่นประตู
ระบายน้ำและสูบน้ำออกสู่ทะเล เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสามารถ
ระบายน้ำได้ประมาณ 121 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นการระบายออกทาง
ด้านตะวันออก 46 ล้านลูกบาศก์เมตร และด้านตะวันตก 75 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมากรมชลประทานใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ ระบายน้ำเหนือออกสู่ทะเล
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากข้อมูลการติดตามผลการระบายน้ำของศูนย์
ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำของกรมชลประทานจะเห็นได้ว่าเมื่อวันที่
17 พฤศจิกายน ที่ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์มีปริมาณน้ำไหลผ่าน
67.71 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่มีปริมาณ
น้ำไหลผ่าน 66.94 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในระหว่างวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2554 นี้ เป็นช่วงที่น้ำทะเลลดระดับต่ำลง
นอกจากการระบายน้ำผ่านทางระบบระบายน้ำของกรมชลประทานแล้ว ยังมี
ปริมาณน้ำที่ระบายออกตามธรรมชาติผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และ
แม่น้ำบางปะกงอีกด้วย


-------------------------------------

แต่ตอนนี้ ญี่ปุ่นเขาไม่รอคนไทยแล้วละ มันเสียหายมากเกินกว่าเขาจะทนไหวแล้ว
เลยยกทีม ส่งรถสูบน้ำจากญี่ปุ่น มาจัดการเองเลยเป็นพิเศษ สั่งครงจากญี่ปุ่น
กู้นิคม ฝั่งอยุธยา ทั้งโรจนะ นวนคร ไฮเทค ฯลฯ ว่ากันตามข่าว เพิื่อช่วยโรงงาน
ในนิคม ซึ่งมีทั้งโรงงานในไทย และโรงงานญี่ปุ่นด้วยกันเองก่อนนี่แหละ



พี่ต้น : "รัฐบาลญี่ปุ่น จัดส่งรถสูบน้ำบินตรง กู้นิคมอยุธยา
ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการระบายน้ำ มาประจำเครื่อง........
จัดการเอง/จ่ายเอง จนกว่าจะแล้วเสร็จ"

วันนี้ 18 พ.ย.54 MR.SEIJI KOJIMA เอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีความยินดีให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งเมื่อต้นปี
ที่ผ่านมาญี่ปุ่นได้ประสบกับวิกฤตแผ่นดินไหวและสึนามิ รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย
ได้แสดงความมีน้ำใจช่วยเหลือญี่ปุ่นในหลายด้าน พอมาครั้งนี้ประเทศไทยจำต้องเผชิญกับ
สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงและแผ่ขยายในวงกว้าง

รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเบื้องต้นได้มอบเงินช่วยเหลือ และส่ง
บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการระบายน้ำให้กับรัฐบาลไทย และในวันนี้ได้จัดส่งรถปั้มระบายน้ำ
จำนวน 10 คัน พร้อมบุคลากร เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำให้กับนิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่ที่ได้รับ
ผลกระทบต่างๆ ให้สามารถผลิกฟื้นสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมให้กลับเข้าสู่สภาวะ
ปกติ และให้เกิดการจ้างงานโดยเร็วที่สุด รัฐบาลญี่ปุ่นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภาคอุตสาหกรรม
ของประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ไปได้ด้วยดี

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่น
กับรัฐบาลไทยว่า วิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่
ประชาชนและเศรษฐกิจในวงกว้าง รัฐบาลไทยจึงได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู
และเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานมากกว่า
100 ปี ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความเข้าใจ และความเป็น
มิตรไมตรีต่อกันในทุกสถานการณ์ โดยในครั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมประชาชนชาวญี่ปุ่น ได้ให้ความ
ช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย โดยจัดส่งรถปั๊ม ระบายน้ำและอุปกรณ์ จำนวน
10 คัน มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท พร้อมผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวน 10 คน เพื่อให้ความช่วยเหลือใน
พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ทั้ง 7 แห่ง และในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยจะเป็นการให้ยืม
และส่งคืนเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ"

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า น้ำท่วมที่เกิดขึ้น
ในครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนชาว
ญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง จึงได้เจรจาความร่วมมือกับรัฐบาล
ประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อให้ความช่วยเหลือทั้ง
ทางด้านอุปกรณ์ สูบน้ำ และด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับคุณลักษณะของรถเครื่องสูบน้ำดังกล่าว จะเป็นเครื่องสูบน้ำติดตั้งบนรถบรรทุก ที่สามารถ
ติดตั้งและพร้อมสูบน้ำได้ภายในเวลา 30 นาที และมีความสามารถในการสูบน้ำได้ 1,800 ลบ.ม./ชม.
หรือ 43,200 ลบ.ม./วัน ต่อ 1 คัน โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญจากมาร่วมปฏิบัติงานในการระบายน้ำ
จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ หัวหน้าทีม วิศวกร ช่างเทคนิค และล่าม

ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายญี่ปุ่นทั้งหมด ส่วนฝ่ายไทย จะมีหน้าที่
ในการบริหารจัดการใช้รถเครื่องสูบน้ำ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ประสบอุทกภัย
รวมทั้งการจัดส่งวิศวกร และเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลการใช้งานรถเครื่องสูบน้ำ ตลอดจนเป็นผู้รับผิดชอบค่า
ใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงในการระบายน้ำ

ด้าน ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แผนปฏิบัติงานในเบื้องต้น จะเริ่มจากการ
สูบน้ำในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคและสวนอุตสาหกรรมโรจนะ แห่งละประมาณ 10 วัน เนื่องจากนิคมฯ
ทั้งสองแห่งมีการสูบน้ำออกจากพื้นที่อยู่แล้ว หลังจากนั้นจะมีการพิจารณาย้ายสถานที่ไปให้ความ
ช่วยเหลือตามความจำเป็น และความพร้อมของสภาพพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการความช่วยเหลือ
รวมทั้งในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ส่วนมาตรการการสูบน้ำนั้น จะให้ความระมัดระวังและสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
โดยจะค่อยๆ สูบน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้
ยังมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และ กระทรวงสาธารณสุข ทำการตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่สูบออกจากพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจ
ได้ว่าคุณภาพน้ำที่สูบออกไปนั้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน"



-------------------------------------

เมืองปทุมฯ เร่งจัดทำแผนระบายน้ำทุกพื้นที่ ให้ไหลลงสู่ทะเลโดยเร็ว

นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล รรท.ผวจ.ปทุมธานีเปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมต.ว่าการ
กระทรวงทรัพยากรฯ ได้ประชุมปรึกษาร่วมกับส่วนราชการและจังหวัดที่ประสบ
ภัยพิบัติน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ประกอบด้วย จังหวัด
ปทุมธานีจับคู่กับจังหวัดสมุทรปราการ แล่ะจังหวัดนนทบุรีจับคู่กับจังหวัด
สมุทรสาคร ได้เร่งระบายน้ำในพื้นที่ให้ไหลลงสู่ทะเลโดยเร็ว ทั้งนี้จังหวัด
ปทุมธานีจะได้เร่งระบายน้ำส่งต่อให้จังหวัดสมุทรปราการเพื่อระบายน้ำออก
ทางทะเล โดยมอบหมายให้จังหวัดเสนอแผนความต้องการในการกำหนด
จุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และจัดทำแผนการปฏิบัติการระบายน้ำ จึงได้มีการ
ประชุมในวันนี้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเป็นประธานในที่ประชุม
รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมประชุม

ผลการประชุม มีหน่วยงานเสนอจัดทำแผนฯระบายน้ำ ได้แก่ เทศบาลเมือง
ปทุมธานีจัดทำแผนฯระบายน้ำในเขตเทศบาล ตลาด สถานที่ราชการ อำเภอ
เมืองจัดทำแผนฯระบายน้ำในเขตตำบลบางแขยงรวมทั้งบริเวณพื้นที่พระตำหนัก
จักรีบงกช เทศบาลตำบลระแหง จัดทำแผน ฯระบายน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบล
ระแหง เทศบาลบางเตย จัดทำแผนฯระบายน้ำในพื้นที่อำเภอสามโคก เทศบาล
นครรังสิต จัดทำแผนฯระบายน้ำ ในเขตเศรษฐกิจ อาทิ ตลาดรังสิต อำเภอธัญบุรี
จัดทำแผนฯระบายน้ำจำนวน 61 จุด อาทิ ที่ว่าการอำเภอ ศาล หน่วยงานราชการ
ที่สำคัญ ใช้เครื่องสูบน้ำ 261 เครื่อง และ แขวงการทางจัดทำแผนฯระบายน้ำถนน
สายหลัก เทศบาลตำบลระแหงได้เปิดเผยของผู้อำนวยการและกรมชลประทาน
จัดทำแผนระบายน้ำเพื่อดันน้ำไปยังจังหวัดสมุทรปราการ และสนับสนุนเครื่อง
สูบน้ำให้หน่วยงานที่ต้องการต่อไป




บริเวณภายในสนามบินดอนเมือง ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด....
ซึ่งก่อนหน้านี้ระดับน้ำได้ท่วมสูงถึงท้องเครื่องบิน

แถวดอนเมือง น้ำจะเริ่มลดลง แห้งตามหลังรังสิต นะครับ
รังสิตแห้งเมื่อไหร่ ดอนเมืองก็จะแห้งตามกันทันที

-------------------------------------
พี่ต้น : "....เหนื่อยใจ แทนเลยครับ...
หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ล่าสุด พบว่า น้ำท่วมสูง 1 - 2 ม.
บริเวณถนนรังสิต - ปทุมธานี ซอย 21 ท่วมสูงกว่า 1 ม."

จากการสำรวจระดับน้ำในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี พบว่า
ปากซอยระดับน้ำสูง 1.30 เมตร ส่วนบริเวณท้ายซอยสูงกว่า 2 เมตร ซึ่ง
ประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เพราะบางส่วน
ถูกตัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงยังขาดแคลนอาหารและเรือพายที่ต้องนั่งเข้ามา
ภายในหมู่บ้าน ขณะที่ ถ.รังสิต -ปทุมธานี ช่วงระหว่างทางลงโทลล์เวย์
จนถึงสะพานข้ามทางรถไฟสายเหลือ สถานีรังสิต พบว่าระดับน้ำยังคง
ท่วมสูง โดยบริเวณ ถ.รังสิต - ปทุมธานี ซอย 21 พบว่าระดับน้ำสูงกว่า
1 เมตร ส่วนระดับน้ำเหนือรางรถไฟสถานีรังสิต ภายหลังจากประตู
ระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ เพิ่มปริมาณการสูบน้ำ พบว่า ระดับน้ำยังสูงกว่า
รางรถไฟ 60 เซนติเมตร


-------------------------------------

ส่วนเหตุการณ์ที่ก่อนหน้านี้ ประชาชน คลองหกวา พังคันกั้นน้ำนั้น

พี่ต้น "...แถวนี้ ใครใหญ่ว่ะ...!!!! ไปเคลียให้หน่อย...(แบบพากษ์หนังบู๊ ภูธร)"

กรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ให้ กทม.ไปเจรจากับพี่น้องประชาชน
ชาว อ.ลำลูกกา พื้นที่ติดต่อกับเขตสายไหม กทม.นั้น เรื่องเจรจาเปิด-ปิดประตูระบายน้ำและ
แนวกระสอบทรายเพิ่มเติมเพื่อให้น้ำจากปทุมธานี ไหลลงมาได้มากขึ้น

ทาง กทม.คงไม่ไปเจรจาด้วยที่จุดประชาชนได้นัดหมาย ที่หน้าห้างบิ๊กซี คลอง 4 ในวันพรุ่งนี้
(18 ที่ผ่านมา) แต่อย่างใด เกรงว่าหากไปเจรจาก็จะโดนข้อครหาว่าเข้าข้างประชาชนชาว
กรุงเทพฯ ดังนั้น จึงอยากให้ ศปภ.ไปเจรจาแทนจะดีกว่า

ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวขณะลงพื้นที่เขตสายไหม ว่า กทม. ยอมให้เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยา
สุเรนทร์เพิ่มอีก 5 ซม. เป็น 1.05 ซม. เพื่อระบายน้ำแล้ว ทั้งที่หากถามความคิดเห็นส่วนตัว
ยอมรับว่า ไม่เห็นด้วยในการเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม เนื่องจากจะทำให้มวลน้ำประมาณวันละ
4 ล้าน ลบ.ม. ไหลทะลักเพิ่มเข้ามาในพื้นที่เขตสายไหม กทม. ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วง
อีกครั้ง เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้ากับที่ไหลออกจาก กทม. อยู่ในระดับเท่ากัน หากมี
ปริมาณเพิ่มเข้ามาอีก พื้นที่เขตสายไหมก็จะลำบาก ตอนนี้ยอมรับว่า กทม.ต้องเฝ้าระวังระดับ
น้ำอย่างใกล้ชิด หากเห็นสถานการณ์ไม่ดีก็คงต้องสั่งปิดประตูระบายน้ำต่อไป


ต่อมา....

พี่ต้น : "ประชด..ซะเลย....แอบรื้อ ดีนัก
สายไหม เสริมคันกั้นสูงเพิ่มขึ้นอีกเกือบเมตร..(สะใจ ไปเลย)"

(รายงานข่าว)
ภายหลังจากที่ชาวบ้านสายไหม ระดมกำลังกันซ่อมแซมแนวกระสอบทรายกันน้ำ เป็นระยะทางยาวประมาณ
100 เมตร หลังถูกชาวบ้านในพื้นที่ลำลูกกา รื้อออกพบว่า แนวคันกั้นน้ำที่ชาวสายไหมได้เข้าซ่อมแซม และ
เสริมขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 80 ซ.ม.ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สุด โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปประจำ
เพื่อดูแลรวมไปถึงเฝ้าระวังเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว


พี่ต้น : "ก็แบ่งมา ตั้ง 7 ชม. ก่อนที่จะปิดคันกั้น และเทินให้สูงยิ่งกว่ากำแพงเมืองจีนอีก..
หลังกำลังมีกองกำลังป้องกัน ของชาวบ้านสายไหม รออยู่อีก ตอนนี้น้ำก้เข้ามาครับ /
เข้ามาทางประตุน้ำ คองพะรยาสุเรนทร์น่ะครับ..ประตูยกขึ้นเป้น 105 ซม. แล้วด้วย....
เร่งน้ำให้ผ่านคลองมาเร็วๆ"

"เปิดประตูน้ำสายไหม / คลองพระยาสุเรนทร์....ไม่ได้มีผลต่อ ระดับน้ำรังสิต..นะจ้ะ"

(รายงานข่าว)
นายวสันต์ มีวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า หลังเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์
1 เมตร และการรื้อแนวกระสอบทรายที่คลองหกวาสายล่างเมื่อวานนี้ ส่งผลให้มวลน้ำไหล
เข้ามาเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบ ต่อเขตคลองสามวา สายไหม และบางเขน ซึ่ง กทม ต้อง
ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีผลกระทบจำเป็นต้องหรี่ประตูระบายน้ำลง ซึ่งจะมี
การหารือกับตัวแทนชาวลาดสวาย ปทุมธานีวันพรุ่งนี้(19พ.ย.) พร้อมเผยนักวิชาการได้ให้
ความเห็นแล้วว่า การเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ให้กว้างขึ้นไม่ได้ช่วยลดระดับน้ำฝั่ง
ปทุมธานี

ขณะที่ พ.อ.ปิยะพงษ์ กลิ่นพันธุ์ รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ เปิดเผยว่า
การเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ 1 เมตร ยังไม่ส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชัน
เช้านี้ระดับน้ำในคลองรอบนิคมลดลงเล็กน้อย คลองแสนแสบอยู่ที่ 95 เซนติเมตร จากเดิม
97เซนติเมตร คลองหลอแหลอยู่ที่119เซนติเมตร จากเดิม 122เซนติเมตร และ บึงกระเทียม
อยู่ที่ 106เซนติเมตร จากเดิม 107เซนติเมตร ส่วนถนนเสรีไทยแห้งหมดแล้ว ขณะที่แยก
บางชัน-มีนบุรี ยังมีน้ำท่วมสูง 20-30 เซนติเมตร และเช้าวันนี้เริ่มมีบางโรงงานทยอยนำ
กระสอบทรายที่กั้นไว้ออก

.....ล่าสุด...เครื่องสูบน้ำประตูน้ำจุฬาฯ ไฟช๊อต..
กรมชลฯ ซ่อมเสร็จบ่ายนี้ อีก 9 ตัว..หลักๆ 21 ตัวยังคงแข็งแรง

สถานการณ์บริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดเวลาที่เจ้าหน้าที่
จากกรมชลประทาน จะต้องเร่งซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำให้ใช้การได้ทั้งหมด ตามที่ได้ตกลง
กับชาวบ้านในชุมชนย่านรังสิต ล่าสุด เจ้าหน้าที่ ยังไม่สามารถซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำได้
โดย นายวินาศ บุญเพิ่ม หัวหน้าฝ่ายช่างกลโครงการชลประทานรังสิต เปิดเผยว่า เครื่อง
สูบน้ำที่มีอยู่บริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์นี้ มีทั้งหมด 26 เครื่อง แต่ขณะนี้ใช้ได้
เพียง 21 เครื่อง ส่วนที่เหลือ เจ้าหน้าที่ ยังคงเร่งซ่อมแซมในส่วนของมอเตอร์ ซึ่งคาดว่า
บ่ายวันนี้ (18 พ.ย.) จะซ่อมแซมได้แล้วเสร็จ


สายไหม....รื้อกระสอบทราย / น้ำเพิ่มแค่จิ๊บๆ 1-2 ซม. (เอ๊งรื้อ&ข้าก็อุด)

เจ้าหน้าที่เขตสายไหม ระบุ การรื้อแนวกระสอบทรายของชาวลำลูกกา น้ำ
เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1-2 ซ.ม. เท่านั้น ระดับน้ำบน ถนนสุขาภิบาล 5 เขตสายไหม มีน้ำท่วม
สูงตลอดเส้นทางประมาณ 30 - 40 ซ.ม. โดยบริเวณหน้าสำนักงานเขตสายไหม มีน้ำท่วม
สูงประมาณ 35 ซ.ม. ซึ่งการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขต ระบุว่า ระดับน้ำหน้า
สำนักงานเขตเคยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 50 - 60 ซ.ม. แต่ได้ลดลงมาเรื่อยๆ และหลังจาก
มีการพังคันดินกั้นน้ำที่คลองหกวา ประมาณ 7 ชั่วโมง ก่อนจะมีการปิดกั้นสำเร็จ เมื่อวานนี้
ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้น 1 - 2 ซ.ม.

ส่วน สถานการณ์น้ำล่าสุด ถ.รามอินทรา ตั้งแต่ กม.4 มุ่งหน้าวงเวียนบางเขน ระดับน้ำ
ฝั่งขาเข้าและขาออก น้ำได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหลือ 15 - 20 ซ.ม. รถเล็ก สามารถ
สัญจรผ่านได้บางช่วงแล้ว

บริเวณแยกวงเวียนบางเขน แม้ระดับน้ำได้ลดลงไป ประมาณ 10 - 20 ซ.ม. แต่บางจุด
อาทิ ที่บริเวณ ถ.พหลโยธิน ขาเข้า หน้าสำนักงานเขตบางเขน มุ่งหน้าแยกเกษตรศาสตร์
ระดับน้ำยังคงท่วมสูง ประมาณ 40 - 50 ซ.ม. รถเล็ก ยังไม่สามารถสัญจรผ่านบริเวณดังกล่าวได้
ผู้ที่ได้สัญจรผ่านจุดนี้ ต้องอาศัยรถเฉพาะกิจ รวมถึง รถของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่มาคอยให้บริการ
รับส่งเหมือนทุกวันที่ผ่านมา โดยตลอดเส้นทาง ยังมีประชาชนได้มารอต่อรถ เพื่อไปยุงจุดอื่น ๆ
อาทิ สะพานใหม่ แยกเกษตรศาสตร์ รามอินทรา ขณะเดียวกัน ระดับน้ำที่ลดลงนั้น ได้มีรอย
ตระไคร่น้ำจำนวนมาก ประชาชนที่จะเดินทางผ่านนั้น ต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและลื่นล้ม

....วัชรพล /เพิ่มสิน แทบไม่กระทบ น้ำจากคลองพระยาสุเรนทร์...

พ.ต.อ.หาญ เลิศทวีวิทย์ ผู้กำกับการสน.สายไหม เผยกับ สถานการณ์บริเวณ คลองหกวาสายล่าง
ที่ชาวบ้านลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี รื้อแนวคันกันน้ำ จนทำทะลักเข้าท่วมพื้นที่เขตสายไหม
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย น้ำบริเวณถนนสายไหม ลดลง รถเล็กสามารถวิ่งได้ แต่ยังมีท่วมขังอยู่บ้าง
บางจุด รวมถึงถนนเฉลิมพงษ์ ขณะที่ถนนสุขาภิบาล 5 บางช่วงยังคงมีน้ำท่วมบ้างเล็กน้อย..

หลังจากชาวสายไหม ปิดคันกั้นน้ำแล้วเสร็จตั้งแต่เมื่อคืนนี้ และไม่มีน้ำไหลเข้าพื้นที่ชั้นในแต่อย่างใด
ในส่วนของการเปิดประตูน้ำหทัยราษฎร์ จะมีปริมาณน้ำไปเพิ่มที่ คู้บอน ถนนคู่ขนานวงแหวนตะวันออก..

ระดับน้ำห้าแยกวัชรพล เช้านี้ ทรงตัว 15 เซนติเมตร รื้อคันดินกันน้ำคลองหกวา ยังไม่กระทบ

สถานการณ์น้ำบริเวณห้าแยกวัชรพล ในเช้าวันนี้ ระดับน้ำยังคงอยู่ที่ประมาณ 15 ซ.ม. ซึ่งการสอบถาม
นายนิภา เจริญผล ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง บริเวณดังกล่าว ระบุว่า บริเวณนี้ระดับน้ำเคยสูงถึง
ประมาณ 60 ซ.ม. ซึ่งระดับน้ำได้ลดลงมาเรื่อยๆ และทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 15 ซ.ม. มา 1 - 2 วันแล้ว
โดยคาดว่า การรื้อแนวคันดินกั้นน้ำ ที่คลองหกวา เมื่อวานที่ผ่านมา ที่ใช้เวลาถึง 7 ช.ม. นั้น ยังไม่ส่ง
ผลกระทบถึงระดับน้ำบริเวณนี้


-------------------------------------

กรุงเทพฝั่งตะวันตก ธนบุรี และนครปฐม อ่านทางนี้ครับ

รายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
วันนี้ (18 พ.ย.54) ตั้งแต่ วัดไร่ขิง ลงไปบางเตย เรื่อยมา ซอยหมอศรี BiG C อ้อมใหญ่
น้ำเริ่มลดลงประมาณ 10ซ.ม. สาย 5 ก็เช่นกันแต่คงสาหัสที่สุด ถนนยังคงเป็นคลอง
ที่รถวิ่งไม่ได้ ระดับน้ำถนนเพชรเกษม ช่วงลงสะพานข้ามแยกคงลึกที่สุดๆ ต้องรถยกสูง
เท่านั้น เข้าไปสาย 4 ระดับน้ำ เฉลี่ยประมาณ 15 ซ.ม.แต่ระดับน้ำสูงช่วงต้น ๆ สายที่
ติดเพชรเกษม เข้าไปรถกระบะวิ่งได้ นี่เป็นระดับน้ำบนถนน....

-------------------------------------

“บางกรวย” เดือดร้อนหนักจมน้ำเน่ามานับเดือน...เตรียมผ่องน้ำให้บางพลัด ที่เพิ่งแห้งสนิท..

ชาวอ.บางกรวย จ.นนทบุรี เรียกร้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ให้กทม.เปิดประตูระบายน้ำ
ที่คลองมหาสวัสดิ์ เนื่องจากชาวบางกรวยได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขังมานานนับเดือน
และหากทาง กทม.ไม่เห็นด้วย จะขอให้ลดแนวเป็นฝายน้ำล้น ซึ่งทางจังหวัดจะทำหนังสือถึงศปภ.
เพื่อให้ถึงผู้ว่าฯ กทม.ต่อไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่กังวลกันว่าอาจจะมีผลกระทบกับระดับน้ำในเขต
บางพลัดที่น้ำเพิ่งจะลดลง

สถานการณ์น้ำในฝั่งธนบุรี ยังคงมีน้ำจากศาลายาเข้ามาเติมในพื้นที่ แต่ขณะที่คลองมหาสวัสดิ์
ช่วงคลองทวีวัฒนาระดับน้ำลดลง 1 ซม. รวมทั้งระดับน้ำในคลองต่างๆ ของฝั่งธนฯ ลดลง 3-7 ซม.
หลังจากกทม.ได้ก่อสร้างแนวคันกั้นที่คลองมหาสวัสดิ์ระยะทาง 7 กม.แล้วเสร็จ ทำให้สถานการณ์
ในฝั่งธนฯค่อยๆ ดีขึ้น


พี่ต้น : "ข่าวดี..เพื่อนๆกรุงธน...

อาทิตย์หน้า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้มอบนโยบายให้นายอำเภอ รวมสามอำเภอ
คือสามพราน นครชัยศรี พุทธมณฑล ในการกู้ถนนสายหลัก คือ ถนนบรมราชชนนี สาย 4 สาย 5
ในการระบายน้ำหลังจากน้ำในแม่น้ำท่าจีนเริ่มลด (เฉพาะพุทธมณฑลสาย 5 ....น้ำยังสูง ระดับอก
ต้องอดทนอีกหน่อยนะ)"

ถนนพระราม 2 ยังไม่พบน้ำจราจรปกติ

ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำบริเวณ ถ.พระราม 2 เช้าวันนี้ตลอดเส้นทาง
ไม่พบน้ำเจิ่งนองบนท้องถนน การจราจรจุดนี้ปกติ ตั้งแต่พระราม 2 ซอย 1 - 69 ซึ่งเป็น
ฝั่งขาออก พบว่า ระหว่างปากซอยพระราม 2 ซอย 15 ทางเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร
ได้นำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้งไว้ ในบริเวณดังกล่าว เพื่อดำเนินการสูบน้ำที่อยู่ในท่อระบายน้ำ
ให้ออกสู่คลองที่อยู่ด้านข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบนท้องถนน

ขณะที่บริเวณพระราม 2 ซอย 69 ซึ่งเป็นชุมชนการเคหะธนบุรี เช้าวันนี้ พบว่า ยังมีประชาชน
เข้า-ออก ด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ระดับน้ำในบริเวณปากซอย 69 ซึ่ง
ประเมินด้วยสายตา พบว่า ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดลง ส่วนพระราม 2 ฝั่งขาเข้าระหว่าง
ซอย 68 - 70 แม้ว่าจะปรากฏน้ำเจิ่งนองบนท้องถนน แต่ก็ไม่ได้มีปริมาณที่มากจนรบกวน
พื้นผิวการจราจร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการสูบน้ำออก..


-------------------------------------

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากพี่ต้น

พี่ต้น : "นี่ไง...คนที่จ่ายเงิน ให้ thailand……(มากสุดๆ ในรอบ 10 ปีที่โลกหมุนไป)"

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายลุทซ์ ฟุลล์กราฟ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)
ประจำภูมิภาคของบริษัท อลิอันซ์ประกันภัย ในสิงคโปร์ เปิดเผยว่า เหตุมหาอุทกภัย หรือ
น้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในครั้งนี้ สร้างความสูญเสียทางธุรกิจให้แก่ อลิอันซ์
ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ

โดยซีอีโอประจำภูมิภาคของ อลิอันซ์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป และ
แถวหน้าของโลก ระบุว่า จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าทาง อลิอันซ์ จะต้องจ่ายค่าสินไหม
ทดแทนให้แก่บรรดาบริษัทที่ซื้อประกันภัยที่ถูกน้ำท่วมในไทยเป็นมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6 แสนล้านบาท อันถือเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในรอบ 10 ปี
แซงหน้าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเหตุอุทกภัยในจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อเดือน พ.ค.53
ที่จำนวน 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และเหตุน้ำท่วมที่ออสเตรเลีย เมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว
ที่จำนวน 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ



-------------------------------------

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,628
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
ก่อนจากกันในวันนี้
บทความนี้ ไม่ใช่แค่พี่ต้นอยากให้อ่าน ผมก็อยากให้คุณอ่านด้วยครับ
ดูกันเอาไว้ สำหรับกลุ่มที่พังเขื่อน...


พี่ต้น : "ค่อยๆ อ่าน บทความนี้ให้จบนะครับ.............."

"ปากเกร็ด" มหานครไม่ยอม "จม" ชาวบ้านเสียสละ..."รักษาพื้นที่แห้ง"

พื้นที่ "ไข่แดง" คือพื้นที่สามารถป้องกันไม่ให้น้ำไหล เข้าท่วม โดยการบริหาร
จัดการของหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้รอดพ้นจากอุทกภัยที่รายล้อมอยู่
รอบบริเวณ สภาพเหมือนเกาะกลางน้ำ แต่ก็ยังโชคดีที่ ไม่ถูกน้ำเข้าโจมตี
แม้จะลำบากอยู่บ้าง แต่ก็ยังถือว่าอยู่รอด

อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่หนึ่งเป็นมากกว่า "ไข่แดง" ขอเรียกว่าพื้นที่ "ไข่ดาว"
เช่น เทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีพื้นที่แห้ง
เกือบ 100% แม้จะถูกโอบล้อมด้วยน้ำ แต่พื้นที่ตรงนี้กลายเป็นแผ่นดินทอง
ให้ผู้ประสบภัยได้พักพิง

เทศบาลนครปากเกร็ด เป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งรอดพ้นจากวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่
ในปี 2554 อย่างไม่น่าเชื่อ แม้จะไม่รอดทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเทศบาลแห่งนี้ปกป้อง
พื้นที่แห้งไว้ได้มากที่สุดถึง 97%

ต้องยอมรับว่า เป็นฝีมือในการบริหารจัดการน้ำและจัดการคนได้อยู่หมัดของ
เทศบาลแห่งนี้ และการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของชุมชนริมน้ำที่ยอมให้สร้าง
คันดิน โดยที่ไม่มีใครมาพังให้เสียหายกันทั้งเมือง

นครปากเกร็ดตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุม 5 ตำบล
ของอำเภอปากเกร็ด คือตำบลปากเกร็ด บางพูด บ้านใหม่ คลองเกลือ และ
บางตลาด มีพื้นที่ 36.04 ตารางกิโลเมตร

มีผู้ประสบภัยที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ประมาณ 2 พันครัวเรือน จากทั้งหมด 8 หมื่นครัวเรือน
หรือคิดเป็น 3% ของพื้นที่ประสบภัย ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลนคร
ปากเกร็ดใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูจากย่านการค้าภายในตลาดสดปากเกร็ด มีผู้คนทั้ง
ในและนอกพื้นที่มาจับจ่ายซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งชาวบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
ซึ่งถูกน้ำท่วม ก็พายเรือ นั่งรถบรรทุกทหารมาซื้อของกินของใช้ได้อีกด้วย

มีผู้ประสบภัยอีกกว่า 2 พันครัวเรือน ซึ่งถูกน้ำท่วมมานานนับเดือนอยู่หลังคันดินขนาด
มหึมา ที่ทางเทศบาลสร้างเป็นกำแพงสูงบนถนนภายในซอยวัดกู้ เป็นแนวยาวป้องกัน
ไม่ให้น้ำจากเจ้าพระยาทะลักเข้ามาสร้างความเดือดร้อนในพื้นที่ชั้นในอีก

แม้ว่าการเสียสละของชาวบ้านที่อยู่หลังคันดินจะมีทั้งเต็มใจ ไม่เต็มใจ หรือไม่มีทางเลือก
แต่ชาวบ้านที่นี้ ก็ไม่มีใครคิดจะพังคันดิน เพื่อจะได้มีเพื่อนร่วมชะตากรรมแบบที่เกิดขึ้น
ในหลายพื้นที่ เพราะพวกเขาคิดว่า ถึงบ้านจะถูกน้ำท่วม แต่พวกเขาก็ยังพายเรือ หรือ
อาศัยสะพานไม้ ที่ทางเทศบาลสร้างไว้ให้ และที่สร้างกันเอง ออกมาหาของกินของใช้
สะดวกกว่าต้องพายเรือหลายกิโลเมตร หรือกอดคอกันจมน้ำทั้งหมด

ชุมชนในย่านนี้จึงสามารถพักอาศัยอยู่ในบ้านเรือนของ ตัวเองได้โดยไม่ต้องอพยพ หรือ
ย้ายหนีไปไหน ส่วนหนึ่ง เพราะคนที่นี่เป็นคนแม่น้ำ ถูกน้ำท่วมจนชิน แม้ว่าปีนี้น้ำจะมา
มากกว่าทุกครั้ง จนไม่สามารถกอบกู้วัดวาอารามและโรงเรียนในชุมชนได้ ก็ต้องปล่อย
ให้จมน้ำไป

เช่นเดียวกับวัดกู้ ซึ่งถูกน้ำท่วมขังเต็มพื้นที่วัด แต่ถนน หน้าวัดยังสัญจรผ่านไปมาได้
1 ช่องทาง เพราะมีคันดินสูงกว่า 3 เมตรกันน้ำไว้ พระครูสมิทธิ์ กตธรรมโม พระวัดกู้
พาทีมงานหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เดินไปตามสะพานไม้ทอดผ่านศาลาการเปรียญ
ที่สร้างยังไม่เสร็จ เพื่อเดินไปดูคันดินหลังวัด ซึ่งได้ระดมกำลังกันกั้นน้ำไว้ แต่ไม่สามารถ
ต้านทานน้ำไว้ได้

"ปีนี้น้ำมามากเหลือเกิน นี่ก็สร้างคันดินถึงสองชั้นแล้ว แต่ก็เอาไม่อยู่ กว่าจะเอาอยู่
ก็ชั้นที่ 3 อยู่นอกกำแพงวัดโน่น..ทุกปี วัดจะเป็นที่พักพิงให้คนเข้ามาจอดรถหนีน้ำได้
เพราะวัดถมที่ขึ้นมาสูง แต่ปีนี้ วัดก็ไม่รอดเหมือนกัน แต่ก็ยังดี ที่ถนนหน้าวัดไม่ท่วม
ไม่เช่นนั้น ก็คงเดือดร้อนกันไปทั่ว"


ขณะที่ สุคนธรณ์ สัตย์ซื่อ อาจารย์ผู้สอนในโรงเรียนวัดกู้ บอกว่า ปกติ ปลายเดือน
ตุลาคม ก็จะเปิดเรียนได้แล้ว แต่ปีนี้ยังเปิดไม่ได้ เพราะน้ำท่วมโรงเรียน หนักกว่า
ทุกปี อาคารเรียนและอุปกรณ์การเรียนเสียหายหมด ต้องยอมรับว่า ชาวบ้านที่นี่
มีน้ำใจ ยอมเสียสละให้สร้างคันดิน เพื่อปกป้องวัดและโรงเรียน เพื่อที่ว่าลูกหลาน
จะได้มาเรียนตามปกติ แต่ปีนี้ต้านทานน้ำ ไม่ไหวจริง ๆ ก็ต้องปล่อยให้น้ำท่วมไป

"ชาวบ้านที่นี่เขาชินกับน้ำ บ้านเกือบทุกหลังมีเรือ คนที่นี่ไม่มีการพังคันดิน เพราะ
ไม่มีประโยชน์อะไร ที่เขาจะไปพังให้เดือดร้อนกันหมด" อาจารย์เวรที่ต้องมาเฝ้า
โรงเรียนร้างในยามน้ำท่วม

ด้านชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่หลังคันดิน ชั้นหนึ่งของบ้านจมน้ำมาร่วมเดือนแล้ว
"เสน่ห์ มากเสมอ" อายุ 67 ปี อาชีพค้าขาย เล่าว่า คนแถวนี้เขาไม่กลัวน้ำ
กันหรอก กลัวจะอดมากกว่า ขืนปล่อยให้จมกันหมด ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน
จะออกจากบ้านแต่ละครั้งก็ลำบาก นี่ก็ยังดี ที่มีสะพานไม้

"สะพานนี้ก็สร้างกันเอง ก่อนหน้านี้ก็เดินบนกระสอบทราย แต่ตอนหลัง น้ำมันสูงกว่า
กระสอบทรายแล้ว ก็ต้องสร้างสะพานไม้เดินไปมา พวกเราชินเสียแล้ว น้ำท่วมทุกปี
แต่ปีนี้หนักเหลือเกิน แต่ชาวบ้านที่นี่เขาก็ช่วยกัน อย่างฝั่งนี้ถูก น้ำท่วม ฝั่งโน่นก็ข้าม
มาช่วยเหลือ

ทำยังไงได้ ก็มันท่วมไปแล้ว ก็ไม่รู้จะไปพังคันดินให้พื้นที่แห้งเปียกทำไม แต่
เข้าใจว่าคนที่เขาไม่เคยถูกน้ำท่วม คงคิดว่า ข้าท่วม เอ็งก็ต้องท่วมด้วย แต่พอนาน ๆ ไป
เดี๋ยวก็จะรู้ว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร น้ำมันมาได้ เดี๋ยวมันก็ไปได้"
ยายวัย 67 ปี
บอกเล่าในฐานะผู้มีประสบการณ์ประสบภัยมาทุกปี

อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลนครปากเกร็ด อาจจะไม่สามารถ
นำไปใช้ได้ในทุกแห่งที่มีภูมิประเทศที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมทุ่ง แบบไม่มี
ที่มาที่ไป จับต้นชนปลายไม่ถูก

แต่วิธีการสร้างคันดินของเทศบาลแห่งนี้ ใช้หลักการไหลของน้ำเป็นตัวตั้ง แล้วเสริม
คันคลองตามทางเดินของน้ำ พอน้ำทะเลลด น้ำก็ลดตาม ไม่ใช่ไปสร้างคันขวาง หรือ
กั้นทางน้ำ แทนที่จะเรียกว่าคันดินกั้นน้ำ อาจเรียกว่าคันเสริมคลองระบายน้ำ ขืนไป
ขวางทางน้ำ ก็มีแต่พังกับพัง


-------------------------------------

ต่อจากนี้ การอัพเดท จะเกิดขึ้น วันละครั้ง หรืออาจจะเป็น ช่วง 2 วันครั้งนะครับ
เพราะตอนนี้ พื้นที่ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ก็โดนน้ำท่วมกันเรียบร้อยแล้ว
ส่วนพื้นที่ ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบต่อไป
เว้นเสียแต่ว่า การพังคันกั้นน้ำที่ไหนอีก จะเป็นตัวแปร ซึ่งจะว่าไปแล้ว
ตอนนี้ ไม่ค่อยมีผลมากเหมือนช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้แล้วครับ

ระดับน้ำลดลงแล้วในหลายพื้นที่ และคิดว่าหลังจากนี้ หลายๆบ้าน
คงเตรียมทำความสะอาดบ้านกันได้แล้ว อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกท่าน
ในช่วงนี้ ถ้อยทีถ้อนอาศัย มีรน้ำใจไมตรี ช่วยกันนะครับ บรรยากาศ
จะได้มีความรู้สึกดีๆ มีความหวัง แม้หลายคนจะหมดเนื้อหมดตัวไป
แต่ถ้ายังมีกำลังใจ เชื่อว่า ทุกอุปสรรคจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีครับ

ขอเอาใจช่วยทุกท่าน อย่างเต็มที่เช่นเคยครับ

ออฟไลน์ i-din

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 458
น่าจะโปรโมทปากเกร็ดโมเดล มากกว่าบางระกำโมเดลที่หายไปกับสายน้ำแล้วนะนั่น

ออฟไลน์ 370Z

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 170
ขอบคุณ คุณจิมมี่จากใจ ถ้าไม่ได้บทความของคุณต้น ที่คุณจิมมี่เอามาลงให้อ่านละก็ คงได้แต่ฟังอาจาร์ยต่างๆ ตามทีวี และคงจะวิตกจริตไปมากกว่านี้  ;D

ออฟไลน์ Stp

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,537
แหะ แหะ ตอนนี้ปากเกร็ดฝั่งตะวันตกก็รออย่างใจจดใจจ่อ หวังว่าเขาจะช่วยสูบน้ำลงเจ้าพระยาให้เร็วขึ้น เมื่อระดับน้ำในเจ้าพระยาลดลงแล้ว
:D ;D ร่วมรณรงค์รักการอ่านหนังสือ แทนการถามตลอดเวลา ;D :D

ออฟไลน์ LaTeX

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 973
ชื่นชมคนปากเกร็ดที่เสียสละมากเลยครับ

GreenG

  • บุคคลทั่วไป
เสนานิคม 1(พหลโยธิน 32) น้ำลงแล้วครับ รถเล็กวิ่งเข้ามาได้แล้ว ;)

ออฟไลน์ prai

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,154
เป็นที่เดียวที่อ่านแล้วไม่เครียดครับ ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ NineKlao

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,907
  • ชีวิตไม่ได้เป็นดังที่คิด ก็มันคือชีวิตนี่
วันนี้ก็เข้าไปดูบ้านยาย ที่ริมคลองภาษีเจริญ ใกล้วัดหนองแขม

ระดับน้ำลดลงจากที่สูงสุด 15 cm. แต่จากระดับนี้ที่วัดเทียบกับปี 2485 แล้ว จากน้ำสูงสุดขาดอีกแค่ 10 cm เท่านั้น

แต่สังเกตุน้ำ ไหลลงคลองภาษีเจริญ เพราะมีการสูบน้ำไปลงท่าจึน แต่

น้ำไหลช้าลงมาก จากต้นๆ เดื่อน คงเพราะมีน้ำ จาก สมุทสาคร มาลงคลองสมทบด้วยเลยทำให้ไหลช้าลง

นี้ก็ คงเดือนหน้า กว่าจะเข้าไปกู้บ้านยาย ให้กลับมาเหมือนเดิมได้ (ยายบอกว่าน้ำปีนี้ คล้ายปี 85 มากที่สุด)

 ;Dปล. บ้านยาย สร้างมาก่อนปี 2485 น่ะครับ เลยมีรอยระดับน้ำในปีนั้นไว้เป็นอนุสรณ์ ส่วนน้ำปี 2526 กับปี 2538 ไม่ได้

มีรอยน้ำฝากไว้บนเรื่อนบ้าน เลยไม่มีให้เทียบ แต่จากความจำ ปี 26 จะเท่าๆ กับ ปี 38 ครับ

 ;)อ่อ ถนนเพชรเกษม 81 ตั้งแต่สะพานหนองแขม ถึงไทยรุ่ง รถเล็กวิ่งได้แล้วน่ะครับ (น้ำ 5-10 cm) ต่อถนนบางบอน 5 น้ำแห้งตั้งแต่แรกแล้ว

ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่ง เหนือ และใต้ จากแยกหนองแขม ไปคลองขวาง รถเล็กก็ว่ิงได้ (0-5 cm)









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2011, 20:48:21 โดย NineKlao »

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
ขอบคุณครับ

ชาวนนทบุรีถือเป็นตัวอย่างที่ดี สมควรจะเอามาทำเป็นสารคดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ

เหตุการณ์นี้เห็นได้ชัดว่า คนไทยไม่ได้รับการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับสาธารณภัยเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่มันควรจะถูกสอนในชั้นเรียนด้วยซ้ำ

นี่แค่น้ำท่วมนะครับ ถ้าเป็นแผ่นดินไหว หรือทอร์นาโดละก็ ไม่อยากจะคิด

ผมว่าเราควรจะมีการบรรจุหลักสูตรภัยภิบัติในชั้นประถมกันได้แล้วละครับ
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,977
    • อีเมล์
ขอเล่าให้อ่าน อีกด้านครับ เรื่องการพังคันกั้น .....

พอดี วันที่ 18-19 ผมเดินทางเข้าบ้านลำลูกกาพอดี ... เล่าดังนี้ครับ

การที่ชาวคลอง 3 -4 ลำลูกกา ชาวดอนเมือง แอ๊นเน็กส์ ไปรื้อ มี สาเหตุเดียวครับ

คือ ... คุณมากั้นเค้า แต่ไม่ดูแลเค้า ..... เค้าเลยต้องรื้อ ...

มันอาจจะดูเห็นแก่ตัวไปนิด แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องมองกลับกันว่าใครเห็นแก่ตัว .... ผมเอาตรง คลอง 3-4 ที่เป็นประเด็นหนักๆเลยคือ

ก่อนหน้าวันที่ 18 ทาง กทม ตกลงว่าจะเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนท์ 1 เมตร ... ชาวบ้าน OK แต่พอ ชาวบ้านกลับ ... กทม ปิดประตูระบายน้ำเฉยเลยครับ .....

เอาง่ายๆคือ ตอนเจราจาเปิดให้ชาวบ้านเห็นชาวบ้าน ok และพากันกลับ แต่กลางคืนไม่มีคนอยู่ก็ไปปิด ... ซึ่ง ผิดคำพูดที่ให้ไว้แบบ น่าเกลียดสุดๆ .... เจ้าหน้าที่บอกจะช่วยเปิดระบาย แต่พอตกดึกชาวบ้านกลับหมด พวกปิด เฉยแถมเสริมคันกั้นเพิ่มสุงกว่าเดิมตามที่คุณจิมมี่ได้บอกไป ซึ่งถามว่าสมควรทำไหมทั้งๆที่รับปากไว้ว่าจะเปิดให้ (เลยเป็นข่าวว่าโดนปาระเบิดไง)

และสิ่งที่ไม่พูดไม่ได้คือ เป็นพื้นที่ ที่ถูกลืมจริงๆ ไม่มีรถเข้า - ออก ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ ไม่ว่าอาหารแห้ง รถที่จะวิ่งรับส่ง ไม่มีบริการใดๆเลยโดยสิ้นเชิง มีแต่รถของชาวบ้านแถวนั้น ที่เอาออกมาลุยกันเอง รับส่งกันเอง ....

ชาวบ้านแถวนั้น บอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า "ถ้าไม่รื้อ จะมีใครมาสนใจไหม"   

กั้นให้บ้านเค้าจมน้ำ แต่ไรการดูแล ...

และหลังจากที่พังคันกั้นและเป็นข่าว ช่อง 3 เอาถุงยังชีพไปให้เป็นครั้งแรกตั้งแต่น้ำท่วม สำนักข่าวต่างๆเริ่มมาทำข่าวและติดตามระดับน้ำ .... รถทหาร เริ่มมีเข้ามาวิ่งรับส่ง ....

ชาวบ้านแถวนั้นบอก ถ้าไม่รื้อ จะมีใครมาขยับช่วยเหลือไหม .... 

และมีคำๆนึงที่ชาวบ้านบนรถที่ผมอาศัยออกมา จากคลอง 5 พูดได้เจ็บมากว่า ....

"ศปภ. และ ผู้ว่าฯ กั้นคันแล้วก็เปิดตูดหนี และทิ้งให้ชาวบ้านทะเราะกันเอง" ... เรื่องจริงเลยครับ

ลำลูกกา VS สายไหม

บางพลัด VS บางกรวย

คนดูแลบ้านเมืองนี้แหละครับที่สร้างความขัดแย้งให้กับประชาชน

กั้นก็กั้นไป แต่ขอให้ดูแลเค้าด้วยแค่นั้น

----------------

ส่วนผมก็เดินทางกลับมาขึ้นเหนือเหมือนเดิมเพราะดูจากระดับน้ำ และ นโยบายของผู้บริหารบ้านเมืองแล้ว ลำลูกกา , รังสิต .. คงเป็นจุดที่จะแห้ง เป็นที่สุดท้ายล่ะครับ

ท่วมก่อน แห้งทีหลัง เพื่อชาติ

ออฟไลน์ YIM

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,015
  • ไม่น่ารัก เราไม่มอง!!
    • อีเมล์
ขอเล่าให้อ่าน อีกด้านครับ เรื่องการพังคันกั้น .....

พอดี วันที่ 18-19 ผมเดินทางเข้าบ้านลำลูกกาพอดี ... เล่าดังนี้ครับ

การที่ชาวคลอง 3 -4 ลำลูกกา ชาวดอนเมือง แอ๊นเน็กส์ ไปรื้อ มี สาเหตุเดียวครับ

คือ ... คุณมากั้นเค้า แต่ไม่ดูแลเค้า ..... เค้าเลยต้องรื้อ ...

มันอาจจะดูเห็นแก่ตัวไปนิด แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องมองกลับกันว่าใครเห็นแก่ตัว .... ผมเอาตรง คลอง 3-4 ที่เป็นประเด็นหนักๆเลยคือ

ก่อนหน้าวันที่ 18 ทาง กทม ตกลงว่าจะเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนท์ 1 เมตร ... ชาวบ้าน OK แต่พอ ชาวบ้านกลับ ... กทม ปิดประตูระบายน้ำเฉยเลยครับ .....

เอาง่ายๆคือ ตอนเจราจาเปิดให้ชาวบ้านเห็นชาวบ้าน ok และพากันกลับ แต่กลางคืนไม่มีคนอยู่ก็ไปปิด ... ซึ่ง ผิดคำพูดที่ให้ไว้แบบ น่าเกลียดสุดๆ .... เจ้าหน้าที่บอกจะช่วยเปิดระบาย แต่พอตกดึกชาวบ้านกลับหมด พวกปิด เฉยแถมเสริมคันกั้นเพิ่มสุงกว่าเดิมตามที่คุณจิมมี่ได้บอกไป ซึ่งถามว่าสมควรทำไหมทั้งๆที่รับปากไว้ว่าจะเปิดให้ (เลยเป็นข่าวว่าโดนปาระเบิดไง)

และสิ่งที่ไม่พูดไม่ได้คือ เป็นพื้นที่ ที่ถูกลืมจริงๆ ไม่มีรถเข้า - ออก ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ ไม่ว่าอาหารแห้ง รถที่จะวิ่งรับส่ง ไม่มีบริการใดๆเลยโดยสิ้นเชิง มีแต่รถของชาวบ้านแถวนั้น ที่เอาออกมาลุยกันเอง รับส่งกันเอง ....

ชาวบ้านแถวนั้น บอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า "ถ้าไม่รื้อ จะมีใครมาสนใจไหม"  

กั้นให้บ้านเค้าจมน้ำ แต่ไรการดูแล ...

และหลังจากที่พังคันกั้นและเป็นข่าว ช่อง 3 เอาถุงยังชีพไปให้เป็นครั้งแรกตั้งแต่น้ำท่วม สำนักข่าวต่างๆเริ่มมาทำข่าวและติดตามระดับน้ำ .... รถทหาร เริ่มมีเข้ามาวิ่งรับส่ง ....

ชาวบ้านแถวนั้นบอก ถ้าไม่รื้อ จะมีใครมาขยับช่วยเหลือไหม ....  

และมีคำๆนึงที่ชาวบ้านบนรถที่ผมอาศัยออกมา จากคลอง 5 พูดได้เจ็บมากว่า ....

"ศปภ. และ ผู้ว่าฯ กั้นคันแล้วก็เปิดตูดหนี และทิ้งให้ชาวบ้านทะเราะกันเอง" ... เรื่องจริงเลยครับ

ลำลูกกา VS สายไหม

บางพลัด VS บางกรวย

คนดูแลบ้านเมืองนี้แหละครับที่สร้างความขัดแย้งให้กับประชาชน

กั้นก็กั้นไป แต่ขอให้ดูแลเค้าด้วยแค่นั้น

----------------

ส่วนผมก็เดินทางกลับมาขึ้นเหนือเหมือนเดิมเพราะดูจากระดับน้ำ และ นโยบายของผู้บริหารบ้านเมืองแล้ว ลำลูกกา , รังสิต .. คงเป็นจุดที่จะแห้ง เป็นที่สุดท้ายล่ะครับ

ท่วมก่อน แห้งทีหลัง เพื่อชาติ

เห็นด้วยครับ

เวลานี้ปัญหาที่หนักก็คือ ผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นกทม. หรือศปภ. ไม่กล้าพูดเต็มๆ ปาก เต็มๆ คำ จากใจจริงว่า "ผมจะให้บ้านใครท่วม และบ้านใครรอด"

ตอนนี้ที่เห็นได้ชัดคือกทม. กำลังจะไปทะเลาะกับ นนทบุรี เรื่องการเปิดประตูระบายน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งในเมื่อศปภ. มีหน้าที่ดูแลน้ำท่วมทั้งประเทศ ทำไมถึงปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามาตีกัน ทำไมไม่พูดกันไปตรงๆ เลยว่า "คุณต้องทนอยู่กับน้ำ ได้โปรดเสียสละเพื่อชาติ" "เขาท่วมเพื่อเป็นแก้มลิงให้คุณ คุณต้องยอมเขาบ้าง"

แล้วเรื่องเปิดประตูระบาย แล้วแอบมาปิดทีหลัง มันมีมานานแล้ว แล้าเห็นเขาเล่าว่า มีการแอบระบายน้ำมาเพิ่มด้วย (อันนี้ได้ยินมาเฉยๆ นะครับ) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้บอกว่าการที่ไปรื้อคันกั้นน้ำเป็นสิ่งที่ถูก เพราะยังไงก็ตาม การโดนสังเวย เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องอยู่ในกรอบที่ตกลงกันแต่แรก ไม่ใช่แอบจับแพะไปบูชายัญเพิ่มจากที่ตกลงกันเองครับ

สรุปงานนี้ ถ้าพูดกันแรงๆ นะครับ
1. เจ้าหน้าที่ไม่ยอมพูดตรงๆ ให้ชาวบ้านพลีชีพ
2. ชาวบ้านที่พลีชีพไปแล้ว ไม่ได้รับการดูแล
3. ชาวบ้านทนไม่ได้ที่เห็นที่อื่นอยู่กันสุขสบาย ไม่สนใจพวกเขา
หวังว่ารัฐจะแก้ปัญหานี้ได้ (โดยที่คนที่อยู่สุขสบายดี ไม่ต้องหยุดเดินห้าง มานั่งดูข่าวชวนวิตก)

นี่โชคดีว่าน้ำมาไม่เยอะครับ ถ้ามาเยอะกว่านี้ ลาดกระบังกับบางชัน คงจะเสร็จ

เดี๋ยวจะรอดูว่า ญี่ปุ่นไปสูบน้ำในนิคม ชาวบ้านจะว่ายังไง

เห็นเขาปล่อยให้ชาวบ้านเคลียร์กันเอง แล้วเหนื่อยใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2011, 22:26:08 โดย YIM »
JDM เท่านั้น จะครองโลก!

ออฟไลน์ wanarat7777

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 259
    • อีเมล์
เมื่อวันเสาร์ผมไปช่วยหมาแมวที่คลองสาม ลำลูกกา ตั้งแต่เส้นพหลไปรถน้อยมาก ไม่มีใครไปช่วยหรือเอาถุงยังชีพไปให้เลย ชาวบ้านค่อนข้างดีนะครับ เพราะผมเคยไปโซนบางใหญ่และบางบัวทองของที่เอาไปให้ไม่พอหรือต้องเอาไปให้ลึกๆไม่สามารถให้ต้นๆทางได้ ก็จะโดนด่าขรมครับ แต่ลำลูกกา อยากให้คนเข้าไปแจกถุงยังชีพกันหน่อยครับ เพราะเห็นแล้วน้อยจริงๆ  ???เห็นใจสองที่หลักๆที่น้ำลดน้อยครับ เมืองเอกไปมาวันนี้ลดลงเกือบเมตรแต่ก็ยังมิดหัวอยู่ดี

ออฟไลน์ Bavaria_m3

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 24
เส้นบรมราชชนนี ตั้งแต่สะพานปิ่นเกล้าถึงสะพานข้ามแยกไปตลิ่งชัน สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ
เซ็นทรัลปิ่นเกล้าเปิดบริการตามปกติ แต่คนเยอะมาก ๆ ๆ เพราะยังมีรถจอดหนีน้ำท่วมอยู่ส่วนนึง ทำให้ที่จอดที่ปกติหายากอยู่แล้ว ยิ่งหายากเข้าไปอีก

ปล. บ้านพ่อแม่ผมอยู่ตรงข้าม รพ. เจ้าพระยา น้ำท่วมประมาณ 1 เมตร