ผู้เขียน หัวข้อ: การ kick down รถ BEV ทำให้มอเตอร์ หรือเกียร์มีโอกาสพังเร็วขึ้นหรือไม่  (อ่าน 2442 ครั้ง)

ออฟไลน์ Odrecranon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 403
    • อีเมล์
ผมเองยังไม่มีรถ BEV ครับ
แต่มีแผนจะซื้อใน 1-2 ปีนี้

นิสัยผมเป็นคนขี้กังวล กลัวของพังเกินเหตุ
รถ ICE ผมพยายามเร่งโดยไม่ให้รอบเกิน 2 พัน ถ้าความเร็วสูงขึ้นก็จะค่อย ๆ ความเร็วไปเรื่อย ๆ
ในชีวิตน่าจะเคย kick down โดยบังเอิญ 1-2 ครั้ง

ตอนนี้ผมยังใช้ Ford Focus ที่ใช้ตอนปี 1 ได้ปกติดี ไม่เคยต้องซ่อมอะไรเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเกียร์เลย
มันทำให้ผมเกิดความเชื่อว่า การไม่เค้นรถทำให้อายุการใช้งานของเครื่องยนต์และเกียร์มันพังช้าลง

เนื่องจาก BEV ไม่มีรอบการหมุนของมอเตอร์ให้เห็น
และเกียร์มันเป็นจังหวะเดียว ถ้าไม่นับพวก E-tron หรือ Taycan

ผมจึงมีความสงสัยว่า
รถกลุ่มนี้ การเหยียบเพื่อเร่งความเร็วบ่อย ๆ เมื่อเทียบกับ ICE มันจะทำให้ตัวมอเตอร์หรือเกียร์พังเร็วไหมครับ

ผมเองใช้ PHEV อยู่ บางครั้งเวลากดให้รถพุ่งไป ก็มีความกลัวว่ามันจะพังเร็วไหม เพราะผมไม่เห็นรอบมอเตอร์
แต่ด้วยความสนุกของแรงดึง ก็กดบ่อยกว่ารถ ICE ที่ใช้อยู่

ผมเข้าใจว่ารถมันคงไม่ได้เปราะบางขนาดนั้น
แต่อยากได้ข้อมูลเป็นความรู้ครับ
พยายามหาอ่าน แต่มันดูจะลึกไปสำหรับผมที่ไม่ได้จบมาทางฟิสิกส์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2023, 22:44:57 โดย Odrecranon »

ออฟไลน์ Magl

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,560
    • อีเมล์
มันไม่เกียร์นี่ครับ แต่น่าจะมีชุดเซฟตี้ของมอเตอร์ ผมไม่แน่ใจของรถยนต์นะ แต่ในรถที่ใช้พวกมอเตอร์ขับเคลื่อนต่อให้เปิดคอนโทรลไฟทีเดียว มันก็ไม่พัง มันมีชุดหน่วงไฟอยู่แล้ว จะพังไวน่าจะแช่นานๆจนร้อนมากกว่า

ออฟไลน์ เนื้อน่องไม่หนัง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,785
ทุกรอบที่เครื่องยนต์หมุน ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์มันเกิดการสึกหรออยู่แล้วครับ
การkick down เกียร์/ครัช จะทำงานหนักขึ้น สืกหรอมากขึ้น แน่นอนครับ
แต่ถ้าไม่ใช้รถที่เปราะบางผมไม่คิดว่ามันเป็นประเด็นครับ ระยะ 5 ปีน่าจะไหวแบบไม่มีปัญหาอะไร ถ้าดูแลดีๆ เปลี่ยนของเหลวตามเวลา15ปีน่าจะไหว

เข้าใจเวลาเวลาเกียร์พังส่วนใหญ่คือ ตัวครัชจับไม่อยู่ครับ วิธีป้องกันคือเน้นช่วงออกตัวจากหยุดนิ่ง เน้นออกตัวละมุนๆ ให้ครัชจับเต็มๆแล้ว ส่งแรงจากเครื่องลงล้อได้ ทีนี้เราจะลากเกียร์ไปยาวๆก็ได้เลย ที่เหลือตัวรถช่วยจัดการให้ ดีกว่าการกดกระชากให้พุ่งออกตัวแรงๆ แบบนั้นสึกหรอมากกว่า

ส่วนของรถไฟฟ้า คิดว่าการใช้พลังงานจากแบตเยอะๆในเวลาอันสั้น น่าจะทำให้แบตเสื่อมเร็วขึ้นครับ(อย่างน้อยก็ต้องชาร์จบ่อยขึ้น) ตัวมอเตอร์อาจไม่ใช้ปัญหา แต่พวง บุชยาง ระบบส่งกำลังต่างๆ น่าจะโทรมเร็วกว่า แต่ก็ไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องกังวลครับ

ผมว่าเราควรจะ kick down ให้ชินประมาณนึง เวลามีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้อัตราเร่ง จะได้รู้ว่าเราจะได้อัตราเร่งประมาณไหน รถตอบสนองยังไง เวลากดแล้วจะได้ไม่ตกใจ แล้วพาเราออกจากสถาณะการนั้นได้

สรุป ถ้าไม่ได้กดบ่อยๆไม่ต้องกังวลครับ

ออฟไลน์ koko86

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,591
    • อีเมล์
รถev ตอบโจทย์ คนที่ ต้องการอัตราเร่ง รวดเร็วบ่อยๆ ครับ เพราะมีmaximun torque ในทุกรอบ จึงไม่ต้องการเกียร์เพื่อ ให้ได้รอบที่มีทอร์คสูง

นอกจากจะเร็วทันใจแล้ว ยังไม่ต้องกังวลเรื่องเกียร์พังด้วย

ออฟไลน์ Teera

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,381
    • อีเมล์
ไม่ผิดที่คิดมาก
แต่ ในแง่ของการออกแบบตามหลักวิศวกรรม จะมี Safety factor ครับ

ตย สมัยก่อน เกียร์ Auto พังง่าย ต้องเกียร์ ธรรมดา ถึงจะทน
ถ้าไม่นับรถมือ 2 รถมือ 1 ทุกคัน ขายไปก่อน ที่เกียร์จะพัง และ สมัยที่ เกียร์ Auto เป็น มาตรฐานไปแล้ว


ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,262
    • อีเมล์
การ kick down ศัพท์คำนี้ น่าจะใช้กับรถที่มีเกียร์ (ไม่รู้ผมเข้าใจถูกป่าว)

ถ้าการเติมคำเร่ง ผมว่า มันไม่มีผลอะไรกับมอเตอร์แบบมีนัยยะ เพราะมันเรื่องปกติของการขับรถ เร่งแซงเอย ออกตัวเอย ว่าไป

แต่มอเตอร์ทำงานเพิ่มขึ้นไหม แน่นอนว่าเพิ่ม หรือ กินไฟขึ้นไหม แน่นอนว่ากิน

และ ถึงจุดๆ หนึ่ง ที่หลายคนไม่รู้ ที่ชอบบอกว่า Torque มาตลอดเวลา ทุกย่านรอบมอเตอร์

ที่จริงแล้ว คือ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ รถ BEV มันไม่ได้ให้กำลัง Torque มาเต็มตลอดเวลานะครับ

มันจะมีแค่ช่วงแรก ไปถึงจึงจุดๆ หนึ่ง แล้ว มันก็คงที่ และ พร้อมที่ถอยลงในรอบปลาย (ณ จุดที่จ่าย V เต็มที่แล้ว) และ มันจะกลายเป็นความร้อนแทน และ Torque ก็จะปักหัวลง

ออฟไลน์ boost

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 390
    • อีเมล์
ดูสถิติรถteslaคันที่วิ่งระยะทางไกลที่สุดในโลก เขาเปลี่ยนมอเตอร์บ่อยกว่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ซะอีก  แต่ไม่รู้ว่าพี่เจ้าของแกเท้าหนักเบาแค่ไหนนะครับ ::)
2020 CIVIC fc RS 1.5
2017 Mirage GLS-LTD
2015 NAVARA VL auto 4wd
2012 almera V auto
2008 camry acv40 2.4
1991 A31 Rb25det set bo TD06-24v
1990 A31 2JZ GTE 5speed M/T
1984 SUPRA A60 1JZ GTE M/T

ออฟไลน์ MyName

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 8,164
  • I'm............................
เกียร์ EV มันแค่แปลงรอบมอเตอร์หมุนล้อเกียร์เดียวครับ ไม่ซับซ้อน ไม่พังจาก load แน่
ตัวมอเตอร์รอบสูงก็ออกแบบมามี safety factor ครับ ความเร็วสูงยิ่งหมุนเร็วแค่นั้น ช่วง kick down ก็แค่เพิ่มรอบทำงานครับ
Cars
2022 - Nissan Almera 1.0 Turbo VL
2016 - Mazda 2 1.5XD High Plus L
2008 - Mitsubishi Space Wagon 2.4 GLS Ltd. !User'Review Click here!
1997 - Daihatsu Mira

Motorcycles
2023 - Vespa Sprint S 150 i
2012 - Yamaha Mio 125 GTX

ออฟไลน์ deertesla

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,245
การ kick down ศัพท์คำนี้ น่าจะใช้กับรถที่มีเกียร์ (ไม่รู้ผมเข้าใจถูกป่าว)

ถ้าการเติมคำเร่ง ผมว่า มันไม่มีผลอะไรกับมอเตอร์แบบมีนัยยะ เพราะมันเรื่องปกติของการขับรถ เร่งแซงเอย ออกตัวเอย ว่าไป

แต่มอเตอร์ทำงานเพิ่มขึ้นไหม แน่นอนว่าเพิ่ม หรือ กินไฟขึ้นไหม แน่นอนว่ากิน

และ ถึงจุดๆ หนึ่ง ที่หลายคนไม่รู้ ที่ชอบบอกว่า Torque มาตลอดเวลา ทุกย่านรอบมอเตอร์

ที่จริงแล้ว คือ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ รถ BEV มันไม่ได้ให้กำลัง Torque มาเต็มตลอดเวลานะครับ

มันจะมีแค่ช่วงแรก ไปถึงจึงจุดๆ หนึ่ง แล้ว มันก็คงที่ และ พร้อมที่ถอยลงในรอบปลาย (ณ จุดที่จ่าย V เต็มที่แล้ว) และ มันจะกลายเป็นความร้อนแทน และ Torque ก็จะปักหัวลง
นั่นแหละครับทำไม รถไฟฟ้า เครือ vw ถึงมี 2 เกียร์ครับ

ออฟไลน์ GT3

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 508
ต้องบอกว่า torque มาตามการกดคันเร่งมากกว่า
ส่วนมอเตอร์พอทำงานหนักขึ้น อายุมันก็น่าจะสั้นลงแหละครับ
แต่จะมีนัยยะขนาดไหนก็บอกไม่ได้เหมือนกัน

นึกถึงพัดลมที่บ้านก็ได้ครับ เทียบกับการเปิดเบอร์ 1 กับเบอร์ 3
ตัวที่เปิดเบอร์ 3 มอเตอร์จะร้อนกว่าชัดเจนเลย

ออฟไลน์ InBkk

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,116
เรื่อง Kick Down แล้วพังเร็ว ในรถไฟฟ้า อาจจะเป็นน้อยกว่ารถน้ำมัน เพราะมันไม่มีเกียร์

แต่ถ้าซื้อมาแล้ว อยากจะถนอมแบต ก็มีวิธีประมาณนี้

1. ถ้ารถเป็นแบต NMC พยายามอย่าชาร์จ 100% ถ้าไม่ได้วิ่งทางไกล แต่ถ้า LFP อันนี้ชาร์จ 100% ได้
2. ติดตั้ง Wall Charger ตรงรุ่นที่บ้านให้เรียบร้อย แล้วใช้มันเป็นหลัก และใช้ DC Fast Charger ตามปั้ม เฉพาะตอนจำเป็นเท่านั้น เช่น ตอนเดินทางไกล

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,262
    • อีเมล์
การ kick down ศัพท์คำนี้ น่าจะใช้กับรถที่มีเกียร์ (ไม่รู้ผมเข้าใจถูกป่าว)

ถ้าการเติมคำเร่ง ผมว่า มันไม่มีผลอะไรกับมอเตอร์แบบมีนัยยะ เพราะมันเรื่องปกติของการขับรถ เร่งแซงเอย ออกตัวเอย ว่าไป

แต่มอเตอร์ทำงานเพิ่มขึ้นไหม แน่นอนว่าเพิ่ม หรือ กินไฟขึ้นไหม แน่นอนว่ากิน

และ ถึงจุดๆ หนึ่ง ที่หลายคนไม่รู้ ที่ชอบบอกว่า Torque มาตลอดเวลา ทุกย่านรอบมอเตอร์

ที่จริงแล้ว คือ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ รถ BEV มันไม่ได้ให้กำลัง Torque มาเต็มตลอดเวลานะครับ

มันจะมีแค่ช่วงแรก ไปถึงจึงจุดๆ หนึ่ง แล้ว มันก็คงที่ และ พร้อมที่ถอยลงในรอบปลาย (ณ จุดที่จ่าย V เต็มที่แล้ว) และ มันจะกลายเป็นความร้อนแทน และ Torque ก็จะปักหัวลง
นั่นแหละครับทำไม รถไฟฟ้า เครือ vw ถึงมี 2 เกียร์ครับ

ผมม่ใช่วิศกร ขอตอบแบบนี้
ข้อ 1. รถไฟฟ้า หรือ BEV มีเกียร์เดียว หรือ ไม่ได้ซอยเกียร์ ลดต้นทุน อันนี้ ปฏิเสธไม่ได้หรอก (รวมถึง ไม่จำเป็นต้องมีด้วย)

ข้อ 2. รถไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องเกียร์มากกว่า 1 เกียร์ เพราะ รอบมอเตอร์มันสูง หมื่นปลาย (บางรุ่นทะลุ 2 หมื่นกว่ารอบ อย่าง S/S Paid เป็นต้น) เมื่อต่อตรงลงเฟืองท้าย มันทำให้รถวิ่งได้ความเร็วสูงได้แถวๆ ร้อยปลายๆ แล้ว นั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีเกียร์ที่ 2 เพื่อทะลุ 200 หรอกครับ รถทั่วไป มันไม่จำเป็นที่ต้องใช้ความเร็วขนาดนั้นเลย ถ้าอยากเพิ่มความเร็วกว่านั้น ก็เพิ่มรอบมอเตอร์เอาก็ได้ (แต่ก็กินไฟและร้อนตามมา) นึกภาพมอเตอร์ดำ-แดง หรือ มอเตอร์ทอง เป็นต้น

3. รถไฟฟ้า ทอร์ค มาเต็มตั้งแต่ต้น ไม่จำเป็นต้องมีอัตราทดเกียร์ต่ำ เพื่อเรียกรอบไปหาจุดที่ทอร์คสูงสุด เหมือน ICE เลยไม่ต้องซอบเกียร์

4. รถไฟฟ้า ต่อให้ มีเกียร์ 1..2..3..4..5 หรือ 6 โดยใช้อัตราทดเท่า ICE คิดว่าจะออกตัวเกียร์ 1 ได้เหรอครับ(มีคนไทยลองเอามาทำแล้ว) มันฟรีทิ้ง ตั้งแต่เกียร์ 1 ยันเกียร์ 4 เลยมั้ง แถมอันตรายอีก ต้องให้ traction control มาช่วยคุม เสียของ งั้นก็ออกตัวเกียร์ 5 หรือ 6 ไปเลย ดีกว่า มันก็ไม่คุ้มอยู่ดี

5. รถไฟฟ้า ที่มีอัตราทด จุดประสงค์เดียวเลย(ในความคิดของผม) คือ อยากได้ ทอร์ค ต่อเนื่อง(มันก็พลักแรงม้าให้สูงขึ้นและปลายไหลขึ้น) ไม่ปักหัวลงช่วงปลาย พอถึงจุดที่ ทอร์ค เริ่มตก ก็ยัดเกียร์ 2 ต่อ(ตามที่คุณเข้าใจว่า vw เขาทำใน ไทคานนั้นละ) เพื่อให้รอบมอเตอร์ลงมาอยู่จุดที่ยังได้ทอร์คสูงสุด ให้ได้นานที่สุด (ส่วน S Paid เป็นการเพิ่มรอบมอเตอร์สูงขึ้น จาก S เพื่อให้ได้ ความสูงสุดเพิ่ม แต่มอเตอร์ก็แรงขึ้นด้วย)

ผมก็เข้าใจแบบงูๆ ปลาๆ นะครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนกันละกัน