ผู้เขียน หัวข้อ: (ขออนุญาตนอกเรื่องนิดนะคับ) วิศวะคอม หรือวิศวะเคมี ขอความคิดเห็นเพื่อนๆพี่ๆหน่อยนะครับผม  (อ่าน 13660 ครั้ง)

ออฟไลน์ nahmkang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
มาสอบถามเพื่อนๆ พี่ๆ พร้อมกับขออนุญาตถามความคิดเห็นนะครับ
ก็ ผมเองอยู่ม.5 กำลังค้นหาตัวเอง ว่าอยากเรียนอะไร ยิ่งเรียนไปเรื่อยๆ ใกล้ม.6ไปแค่ไหนมันก็ยิ่งเครียด
ผมเองตั้งเป้าไว้ว่าอยากเรียนวิศวะ ผมเองก็ชอบคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ม.ต้นแล้ว หาความรู้ส่วนนี้เองมาตลอด เคยคิดว่าอยากต่อยอดความชอบด้วยการเรียนทางนี้ซะเลย
แต่พอมาเรียนม.ปลาย สิ่งที่ผมชอบอีกอย่างหนึ่งคือวิชาเคมี ชอบมากๆ เลยอยากจะตั้งเป้าให้ตัวเองจริงๆจังๆ แต่มันก็เลือกไม่ถูกน่ะครับ
เปลี่ยนใจไป เปลี่ยนใจมา
เพื่อนๆ พี่ๆคนไหน มีประสบการณ์ การเรียน การทำงาน ขอบเขตการทำงานในอนาคตหลังจบมาของสองคณะนี้ รบกวนขอความคิดเห็นนิดนึงนะครับผม
คุณพ่อคุณแม่บอกเรียนในสิ่งที่ชอบ แล้วจะทำได้ดี แต่ผมก็ชอบทั้งสองอย่างแฮะ
ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้านะครับผม ^^

ปล.ไปละครับ พรุ่งนี้สอบเคมีพอดี 

ออฟไลน์ Ishida

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 742
วิศวกรคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นสามสายหลักใหญ่ ๆ คือ ซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และ เน็ตเวิร์ค
     ซอฟต์แวร์ คือเขียนซอฟต์แวร์ จัดการ ดูแล แก้ไข บนอุปกรณ์ที่มีระบบปฏิบัติการ (คาบเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์)
     ฮาร์ดเวร์ คือ เขียนซอฟแวร์ จัดการ ดูแล แก้ไข บนอุปกรณ์ฝังตัวที่รวมทั้งการออกแบบแผงวงจรร่วมด้วย (คาบเกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า)
     เน็ตเวิร์ค คือ เป็นผุ้ดูแลระบบเครือข่ายต่าง ๆ (คาบเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์)
พระเจ้าก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา เพียงแต่ทำได้ในสิ่งที่คนธรรมดาอย่างเราทำไม่ได้

ออฟไลน์ wic3350

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 111
ขออนุญาตเล่าเรื่องเพื่อนให้ฟังล่ะกัน

เพื่อนผม กับผมชอบเรื่องคอมมาก สมัยเพนเทียม4มาใหม่ๆ จำได้ว่าช่วงนั้นสายที่เกี่ยวกับคอมกำลังฮิตมาก ผมก็2จิต2ใจ ว่าจะไปทางคอมดีมั้ย คนใกล้ชิดก็บอกว่ามีแววเรียนได้ สิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกสายอื่นคือ มีคนเก่งคอมคนหนึ่งมาคุยกับผม แล้วสุดท้ายเค้าก็พูดขึ้นว่า ถ้าผมสนใจเรื่องคอมแบบทั่วๆไปใช้งานได้ แก้ไขเองได้ ไม่ได้กะสร้างอุปกรณ์ หรือเขียนโปรแกรมขั้นสูง เค้าแนะนำให้ผมไปอ่านหนังสือเอาเองก็ได้ ไม่ต้องรอไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัย สุดท้ายผมเลยเลือกเรียนเกี่ยวกับวัสดุศาตร์แทน ซึ่งผมก็มีความสุขกับทางที่ได้เลือก เคยท้อแต่ก็ไม่ถอย

ขณะที่เพื่อนผมเค้าเลือกวิศวะคอม เพราะเค้ามั่นใจว่ารักทางนี้ สุดท้ายเค้าเรียนได้เทอมเดียวก็ลาออก พร้อมได้ F วิชาแคลคูลัสมา1ตัว สิ่งที่เค้าเล่าผมคือ คอมที่เค้ารัก มันไม่เหมือนกับสิ่งที่ต้องเจอตอนเรียน มันใช้คณิตศาสตร์เยอะมาก เค้าสู้ไม่ไหว เลยถอดใจ แล้วเค้าก็ได้พบว่า เค้าสนุกกับการเรียนเศรษศาสตร์มากกว่า เค้าชอบดูและวิเคราะห์การตลาด ผมดูแล้วเค้าคงเจอสิ่งที่ชอบ แต่เค้ายังรักที่จะหาความรู้เรื่องคอมต่อไปเรื่อยๆ ปัจจุบันเค้าก็กำลังจะไปต่อโท ทางด้านเศรษศาสตร์  ที่เมืองนอกล่ะ

สิ่งที่อยากบอกก็คือ พยายามหาสิ่งที่ชอบให้เจอนะครับ จะได้มีความสุขกับมัน แต่เมื่อใดถ้าได้เลือกทางแล้ว จงมีความสุขกับสิ่งที่เลือก พยายามทำให้เต็มที่ อย่างกรณีเพื่อนผมถ้าเค้าไม่ถอดใจซะก่อน ผมว่าเค้าก็เรียนจบได้ แต่เมื่อเค้าไม่สู้แล้วก็เลยเสียเวลาอีก2ปี แล้วในที่สุดเค้าก็อึดสู้กับที่ใหม่ที่เค้าเลือกแล้วจนจบ (ดีกว่าไม่จบซักอย่าง) ทางใหม่ที่เค้าเลือกไม่ได้สบายกว่าทางเก่าหรอกครับ มันมีความยากและความท้าทายในแบบของมัน อยู่ที่เราจะข้ามอุปสรรคนั้นได้ไหม สู้ๆครับ

ปล.เรียนจบสายไหนก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ทำงานสายนั้นเสมอไป ปริญญาเป็นแค่สิ่งที่รับรองความรู้ที่ได้เรียนมา ส่วนจะใช้ได้แค่ไหนและใช้อย่างไรขึ้นอยู่กับแต่ละคนแล้ว ญาติผมอีกคนจบวิศวะคอม ปัจจุบันเปิดร้านถ่ายรูปสบายไปล่ะครับ ยังไงก็ขอให้มีความสุขนะครับ :D

ออฟไลน์ iKrit

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,713
  • Blue. Just BLUE.
ถ้าไปสายคอมแล้ว กระบวนการทางความคิดต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเลยครับ เช่น จะหุงข้าวต้องเตรียมอะไรบ้าง แล้วขั้นตอนการหุงมีทั้งหมดกี่ขั้นตอนตั้งแต่แรกจนขั้นตอนสุดท้าย และระหว่างกำลังดำเนินไปยังขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนที่ดำเนินการอยู่มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ให้ผลลัพธ์ของขั้นตอนนั้นคืออะไร แล้วควรปฎิบัติกับผลลัพธ์นั้นอย่างไร ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบขั้นตอนละครับ

ถามว่าต้องเก่งเลขไหม? ไม่จำเป็นที่จะต้องเก่งเลขเสมอไปครับ(ผมยังไม่ค่อยเก่งเลย แหะๆ) แต่ที่คนส่วนใหญ่บอกต้องเก่งเลขก็เพราะว่าวิธีการคิดเลขจะไม่สามารถข้ามขั้นตอนการปฎิบัติได้ และต้องปฎิบัติอย่างรัดกุม ไม่งั้นคำตอบที่ได้จะผิดเพี้ยน เปรียบเสมือนกับกระบวนการทางความคิดว่าอะไรควรทำก่อนหรือทำทีหลังนั่นล่ะ

ทีนี้กระบวนการทางความคิดที่ว่านี้มันเกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรมโดยตรง หากขาดสิ่งนี้ไปก็ไม่สามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

ยกตัวอย่างกับการหุงข้าวจากที่กล่าวไว้ข้างบน สิ่งที่เตรียมก็จะต้องมีหม้อหุงข้าว ไฟฟ้า ข้าว และน้ำ
ถามว่าเราใส่ข้าวใส่น้ำลงในหม้อหุงข้าวโดยที่ยังไม่เสียบไฟเข้าหม้อแล้วข้าวสุกไหม? มันก็ไม่สุก
ถามว่าเราใส่ข้าวลงหม้อไปอย่างเดียวโดยที่เสียบไฟให้หม้อทำงานข้าวจะหุงสุกไหม? ก็ไม่ แถมข้าวไหม้อีก

กระบวนการที่ถูกต้องคือ ใส่ข้าวลงหม้อ ใส่น้ำตามลงไป เสียบไฟให้หม้อทำงาน รอจนกว่าข้าวจะหุงสุก หุงเสร็จแล้วก็ถอดไฟออกจากหม้อ แล้วกินได้

ภายในกระบวนการหุงข้าวก็มีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย เช่น
ระหว่างรอให้ข้าวหุงสุก ก็ดูว่ามันหุงสุกหรือยัง? ถ้ายังหุงไม่สุกก็รอต่อไป ถ้าหุงสุกก็ถอดปลั๊กให้หม้อหุงหยุดทำงาน

นั่นล่ะครับ กระบวนการทางความคิดที่จำเป็นต้องมี อาจจะดูวุ่นวายหน่อย แต่ถ้าฝึกจนชำนาญแล้ว การเรียนสายคอมพิวเตอร์ก็ง่ายมากเลย แถมได้นำกระบวนการนี้ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระเบียบมากขึ้นอีกด้วยล่ะ

อ้อ! คอมพิวเตอร์จะมีทางเลือกแค่ ถูกผิด 0กับ1 แบบเงื่อนไขการหุงข้าวเท่านั้นนะครับ ไม่มีอาจจะถูก หรืออาจจะผิด หรือเดานะครับ ^^

สำหรับวิศวะเคมีแล้ว รอท่านต่อไปมาตอบครับ ^^
"การไม่มีดราม่าเป็นลาภอันประเสริฐ"
แต่มนุษย์มาม่าบางคนก็ชอบเปิดประเด็นทุกที เอ้อ...แปลก

ออฟไลน์ Northbridge

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 751
วศ. คอม - หน่วยกิตน้อย แต่เรียนเยอะ นั้นแหละครับ คือสายนี้ไม่มี กว ให้สอบ วิชาสามัญบางตัวก็เลยถูกตัดออกไป (หลายตัวเลย สำหรับบางมหาลัย) เห็นเพื่อนเรียนกัน มีโปรเจ็คให้ทำทุกเทอมทุกสัปดาห์เป็นร่ำไป

บอกว่าชอบคอม ก็ต้องมาดูกันครับว่าชอบแบบไหน ชอบเขียนโปรแกรม หรือชอบฮาร์ดแวร์ ชอบตามดูเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หรือชอบสายเน็ทเวิร์ค ชอบลองเล่น OS ใหม่ๆ ทำเซิฟเวอร์ เซ็ตโน่นเซ็ตนี่

แต่โดยพื้นฐานแล้ว จะเรียนคอมพิวเตอร์/ไอที ให้ได้เป็นการเป็นงาน สมองส่วนหนึ่ง ตอ้งมี Logic ที่ดีครับ กล่าวคือก็ต้องมีไอเดียในการเขียนโปรแกรมอยู่บ้างครับ ถ้าไม่มีเลย เตรียมถอยได้ตัง้แต่ยังไม่เริ่มเลยครับ

ส่วน วิศวะคอม ผมมองว่าถ้าจะเรียน ก็ต้องทำใจอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องไฟฟ้า ชอบไฟฟ้ามั้ย ?? อิเล็กทรอนิกส์ พอจะจับได้รึเปล่า ถ้าได้ ก็ฉลุยครับ แต่ต้องมีไอ้พื้นฐานที่ผมบอกตอนแรกไว้ก่อนนะ





ส่วนถ้าน้องบอกว่าชอบเคมี แล้วจะเรียน วศ เคมี ก็ไม่แน่เสมอไปน๊ะ .... จากที่รู้ๆมานะ เพราะตัวเองยอมรับว่าไม่ค่อยมีความรู้ทางสายนี้สักเท่าไหร่

วศ เคมี ผมเข้าใจว่า มันคือพวกเครื่องกลกลายๆครับ เหมือนเครื่องกลสาย thermo กลายๆนะ เท่าที่เห็นเพื่อนทีเ่รียนเคมีเรียน  คือเรียนเกี่ยวกับเรื่องรกะบวนการผลิต ใส่ไอ้โน้นไอ้นี่เข้าไปในระบบ จะได้อะไรออกมา จะมีกระบวนการอะไรบ้าง บลาๆๆๆ

ถ้าให้เคลียร์ ผมว่าให้คนที่เรียน วศ เคมีมาตอบดีกว่า แต่เท่าที่รู้จักเพื่อนหลายคนที่เรียนเคมีอยู่ เขาก็บอกแบบเดียวกันครับว่าเคมีตอน ม ปลาย กับเคมีใน วศ เคมี มันคนละอย่างกันเลย

เคมี ม ปลาย น่ะนะ ไปเรียนอีกที 1 เทอมเต็มๆ กับพวก วิทยาศาสตร์เคมี (เป็นวิชาพื้นฐานที่ต้องไปลงกะพวกวิทยา)

หมายความว่า ถ้าชอบเคมีตอน ม ปลาย ไมไ่ด้หมายความว่าจะเรียน วศ เคมี แล้วรุ่งนะครับ มันค่อนข้างต่างกันเยอะ คิดดูดีดีก็แล้วกัน


มีอีกอย่างที่ผมคิดว่าถ้าชอบเคมี ม ปลาย แล้วจะเรียนได้อย่างมีความสุข ก็คือสาย ปิโตรเคมี / โพลิเมอร์ ตอนนี้มี จุฬา กับ ศิลปากร ที่เปิด (เท่าที่ผมทราบนะ)


ถ้าจะเอาแบบแนวๆเคมีจ๋ า เคมีจริงๆ ผมว่าต้อง วิทยาศาสตร์ สาขา เคมี ครับผม  ;D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 01:34:30 โดย Northbridge »

ออฟไลน์ gauygeng

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 76
ขอตอบแบบฟันทิ้งเลยนะครับ

วิศวเคมี !!!!!!


ปล . ตอนนี้ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ของบริษัทเอกชนรายนึงอยู่

จริง ๆ ก็ชอบอันไหนก็เลือกอันนั้นแหละครับ แต่ถ้าเลือกไม่ถูกแนะนำ วิศวเคมี !!

ออฟไลน์ Chris Evn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,154
เคยเจอปัญหานี้เหมือนกันครับ
ชอบคอม และชอบวิชาเคมี

คือ วศ.เคมี กับ เคมีม.ปลาย นี่มันคนล่ะเรื่องกันเลยครับ

ถ้า ม.ปลาย ชอบเคมี และเก่ง+ชอบฟิสิกส์(สำคัญมาก เพราะคำนวนทางฟิสิกส์เยอะมาก) ไปเรียน วศ.เคมี ได้เลย
แต่ถ้าชอบเคมี แต่ไม่ชอบฟิสิกส์ อย่าไปเรียน วศ.เคมี

ชอบเลข ชอบฟิสิกส์ ไม่เก่งเคมี เรียน วศ.เคมี ได้
ชอบเลข ไม่ชอบฟิสิกส์ ชอบเคมี ไม่แนะนำเรียน วศ.เคมี
ไม่ชอบเลข อย่าเรียน วิศวะ

วศ.เคมี เรียน  
วิศวะเครื่องกล 30%
วิทยาศาตร์เคมี 20%
และทางวิชาเฉพาะทาง วศ.เคมีอีก 50%(ถ้าเป็นม.ปลายคือ พวกของไหล ของเหลว ความร้อน พลังงาน)

ตัวอย่างวิชาที่เรียนทั้ง 4ปี
http://www.che.eng.kmutt.ac.th/en_bd_chem_eng.html
จะได้เรียนวิชาเคมีอย่างที่ชอบเรียนใน ม.ปลาย เพียง 2 ตัวคือ CHM 103 เคมีพื้นฐาน, CHE 210 เคมีอินทรีย์ในอุตสาหกรรม

สงสัยว่า วศ.เคมี เรียนอะไรบ้าง ถามได้เลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 04:37:26 โดย expextoz »

ออฟไลน์ LimitedEdition

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,410
ผมจบ วิศวฯ คอมพิวเตอร์ จากจุฬาฯ มาได้ 5 ปีแล้วครับ
สิ่งนึงที่อยากจะแนะนำน้อง จขกท. ก็คือ เวลาเราจะเลือกเรียนสาขาวิชา ต้องแยกให้ออกระหว่าง
1.ความชอบส่วนตัว ชอบแล้วก็อยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สนุกที่จะคลุกคลีอยู่กับมัน
2.ความชอบเพราะผู้สอน คืออาจารย์สอนดี เราเข้าใจและติดตามได้ดี เรียนแล้วสนุก ทำคะแนนได้สูง

สิ่งที่ควรจะเลือกคือข้อ 1. ครับ เพราะไม่ฉะนั้นแล้ว เวลาเราไปเจออาจารย์ท่านอื่นสอน
หรือวิชาการเริ่มลงในรายละเอียดเชิงลึกแล้ว เราจะต้องฝืนไม่อยากไปต่อ แล้วมันจะทำให้เราท้อแท้ได้ง่าย

ถ้าจะให้พี่มาเล่าให้ฟังว่า ตอนเรียนวิศวฯ คอมพิวเตอร์ ต้องเรียนอะไรบ้าง
เรามาอ่านตอนนี้ อาจจะรู้สึกเข็ดขยาดไม่อยากเรียนก็เป็นได้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะมันยากเกินความสามารถ
แต่เป็นเพราะว่าเรายังไม่รู้ว่ามันคืออะไร ขอให้ใจเราชอบและสู้ เราก็จะเรียนผ่านพ้นไปได้เอง

สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ การเขียนโปรแกรม
แต่จะว่าไปเรียนวิศวฯ ไม่ได้มีจุดประสงค์ให้เขียนโปรแกรมไปวันวัน หรือเขียนโปรแกรมทั่วไปขายตามท้องตลาด
หากแต่เราเรียนเพื่อให้รู้ว่า ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ เราจะพัฒนาให้มันมาอยู่ในโลกความจริง ตอบโจทย์การใช้งานจริงได้อย่างไร
หรือหากเทคโนโลยีไม่มีอยู่ เราจะไปค้นคว้าพัฒนามาด้วยความรู้ด้านไหน เพื่อสร้างเทคโนโลยีขึ้นมา แล้วนำมาพัฒนาต่อ
ดังนั้น การเขียนโปรแกรมมันเป็นเพียงปลายน้ำเท่านั้นเอง สิ่งที่เราจะได้เรียนต่อไปในปีสอง-สาม-สี่ ก็คือ "Logic" ในการสร้างเทคโนโลยีขึ้นมา

ตรงนี้แหละ ที่จะต้องเรียนถึงขั้นว่า ภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร สร้างภาษาอย่าง JAVA, C, Cobalt ขึ้นมาทำอย่างไร
แล้วจะทำอย่างไรให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลภาษาของเราได้ เพราะมันรู้แค่ 0 กับ 1 ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ลงไปถึงโลกของฮาร์ดแวร์ว่า CPU ดีไซน์ยังไง ให้มันสามารถประมวลผลได้ หน่วยความจำ RAM, HDD เก็บความจำได้ยังไง
แล้วหากเราจะพัฒนาความสามารถ ให้ CPU ทำงานเร็วขึ้น หรือให้ RAM มีความจำมากขึ้นและเร็วขึ้นด้วย เราจะต้องใช้หลักการอะไร

สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ทฤษฎีต่างต่างที่บรรดาศาสตราจารย์ทั้งหลายสร้างขึ้นมาก่อนหน้า มี Textbook ให้อ่านเล่มละ 4-5 ร้อยหน้า เทอมละหลายเล่ม
และทุกทฤษฎีก็ใช้พื้นฐานมาจาก Logic และคณิตศาสตร์ล้วนล้วน จริงจริงต้องบอกว่าเป็นคณิตศาสตร์ประยุกต์มากกว่า
เพราะมันพาเราหลุดไปอยู่อีกโลกหนึ่ง โลกที่เราสามารถหารเลขอะไรด้วย 0 ได้ ไม่ผิดกฎ โลกที่เลขเชิงซ้อนนำมา บวก ลบ คูณ หาร ได้ตามปกติ
แล้วก็ลงไปถึงทฤษฎีที่เป็น Abstract มากขึ้น เช่น Pigeon Holes หรืออะไรก็ตามที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย
แต่กว่าจะเข้าใจถ่องแท้แล้วนำมาประยุกต์ใช้ได้นั้น ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะกันไม่มากก็น้อย

ทุกเทอม เราก็จะมีโปรเจ็คท์ให้ทำ ขึ้นอยู่กับว่าจะเรียนอะไร
ตั้งแต่การเขียนโปรแกรมจากทฤษฎีที่เรียน ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้แบบที่เราต้องการ
สมัยพี่สอบนี่ เขียนโปรแกรมให้แผ่น Diaphragm ของลำโพงเล่นเป็นเพลงมหาจุฬาลงกรณ์
ก็ต้องไปรื้อเอาว่าโน้ตไหนความถี่อะไร แล้วก็เขียนโปรแกรมให้มันยิงสัญญาณสลับ 0 กับ 1 ให้เร็วเท่าความถี่ของตัวโน้ต เพื่อเล่นเป็นเพลง

แล้วก็เขียนซอฟต์แวร์ตามที่เราเรียนในทฤษฎี เพื่อให้ระบบทำงานบน network ได้เป็นไปตามนั้น เช่น
จะทำอย่างไร ถ้าเราสร้างโปรแกรม E-banking แล้ว เกิดมีคนสองคนถอนเงินพร้อมกัน ซึ่งยอดรวมของสองคนเกินยอดที่มีในบัญชี
แต่ในเมื่อมันทำพร้อมกัน ดังนั้นต่างฝ่ายต่างเห็นว่ามีเงินในบัญชีเหลือพอ แล้วเราจะเขียนโปรแกรมป้องกันมันยังไง
หรือถ้าเกิดระบบทำงานผิดพลาดไปขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เราจะถอยหลังกลับยังไงให้ถูกต้อง เรื่อยยาวไปจนกระทั่ง
หากแผ่นดินไหว ตึกถล่ม ไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้คนถอนเงินออกจากตู้ ATM ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกข้อมูลลงระบบแล้วจะทำยังไง

สุดท้าย เราก็มาถึงปีสี่ อะไรอะไรเป็นเชิงวิเคราะห์และบริหารมากขึ้น
ดูกันว่าหากเราจะรับโครงการสร้างระบบ IT ขึ้นมา เราจะต้องจัดทีมงานอย่างไร มีคนด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เน็ตเวิร์ค และบริหารกี่คน
เราจะแบ่งงานยังไง วางโครงสร้างโปรแกรมยังไง เพื่อให้ทุกคนแบ่งไปทำแล้วนำแต่ละชิ้นกลับมารวมกันได้ ไม่ใช่ต้องนั่งแก้กันใหม่หมด
เราจะจัดเวลาบริหารโครงการอย่างไร เก็บ Requirement จากลูกค้ายังไง ออกแบบยังไงให้มีประสิทธิภาพ ทดสอบยังไง ส่งมอบยังไง
เป็นเรื่องของการบริหารจัดการล้วนล้วนในวิชา System Analysis and Design

แล้วก็นำมาสู่ Senior Project ที่ต้องคิดทำโปรแกรมที่มีความก้าวหน้ากว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อส่งเป็นโปรเจ็คท์จบ

พิมพ์ยังเหนื่อย ตอนเรียนไม่ต้องพูดถึง
แต่จบมาก็คุ้มนะ พี่อาจจะโชคดีได้ทำงานสายบริหารตั้งแต่เริ่ม
แต่เพื่อนพี่หลายคนก็ทำสาย technical และวิจัย ก็ happy กันทุกคน

สู้ต่อไปนะน้อง

ออฟไลน์ patzahut

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,091
เคยเจอปัญหานี้เหมือนกันครับ
ชอบคอม และชอบวิชาเคมี

คือ วศ.เคมี กับ เคมีม.ปลาย นี่มันคนล่ะเรื่องกันเลยครับ

ถ้า ม.ปลาย ชอบเคมี และเก่ง+ชอบฟิสิกส์(สำคัญมาก เพราะคำนวนทางฟิสิกส์เยอะมาก) ไปเรียน วศ.เคมี ได้เลย
แต่ถ้าชอบเคมี แต่ไม่ชอบฟิสิกส์ อย่าไปเรียน วศ.เคมี

ชอบเลข ชอบฟิสิกส์ ไม่เก่งเคมี เรียน วศ.เคมี ได้
ชอบเลข ไม่ชอบฟิสิกส์ ชอบเคมี ไม่แนะนำเรียน วศ.เคมี
ไม่ชอบเลข อย่าเรียน วิศวะ

วศ.เคมี เรียน  
วิศวะเครื่องกล 30%
วิทยาศาตร์เคมี 20%
และทางวิชาเฉพาะทาง วศ.เคมีอีก 50%(ถ้าเป็นม.ปลายคือ พวกของไหล ของเหลว ความร้อน พลังงาน)

ตัวอย่างวิชาที่เรียนทั้ง 4ปี
http://www.che.eng.kmutt.ac.th/en_bd_chem_eng.html
จะได้เรียนวิชาเคมีอย่างที่ชอบเรียนใน ม.ปลาย เพียง 2 ตัวคือ CHM 103 เคมีพื้นฐาน, CHE 210 เคมีอินทรีย์ในอุตสาหกรรม

สงสัยว่า วศ.เคมี เรียนอะไรบ้าง ถามได้เลยครับ

ตามนี้ครับ วิศวะเคมี แทบจะไม่เจอเคมีนะครับ (มีแค่ 2-3 ตัว) ถ้าเจอเคมีแบบม.ปลายคือ วิทยาเคมีนะ  มีคนเข้าใจผิดเยอะมาก ว่า วิศวะเคมีคือเรียนเคมีเป็นส่วนใหญ่
เอาง่ายๆ เปลี่ยนชื่อจากวิศวะเคมีเป็นวิศวะวางระบบโรงงาน   นี่แหล่ง ชื่อของภาคนี้ที่ควรเรียกจริงๆของมัน   

ลองหาข้อมูลดูอีกนะครับ เวลายังมีอีกมาก

ออฟไลน์ zzzz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 23
เลือกที่ชอบอะนะ
ถ้าคุณชอบ และเหมาะกับตัวคุณ มันก็รุ่งทั้งนั้น...

แนะนำว่า ถ้าชอบใช้กำลัง ใช้ความคิด ทำงาน ก็เรียนไปวิดวะ
แต่ถ้าชอบใช้ เงิน ทำงานแทนเรา ก็อย่าไปเรียนมัน...555

รักเต่า ใช้เต่า

ออฟไลน์ CRO

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 843
ชอบอะไรเลือกอันนั้นแหละครับ
แต่ถ้าให้ฟันธงนะ ผมว่าฟันธงไม่ได้เพราะสายงานทั้งคู่มันเป็นงานหมกมุ่นพอกัน ทำอะไรแล้วมักจะต้องอยู่กับงานตรงนั้นนานๆ นอกจากว่าสายย่อยของ Com คืองาน Service อันนี้ก็วิ่งกันทั้งวัน ไม่ได้มีเวลาหายใจหายคอ รึแตกไปอยู่สาย sale ไปซะเลย ไม่หมกมุ่นชัวร์

ออฟไลน์ NineKlao

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,907
  • ชีวิตไม่ได้เป็นดังที่คิด ก็มันคือชีวิตนี่
วิศวะ คอมฯ คงเลือกที่ชอบไม่ได้ ครับ ต้องรู้ และสนใจฟิสิกซ์ ด้วยครับ

ผมคนนึง ที่ไม่ชอบเคมี จนเห็นทางสว่างว่า ผมจะไป คอมฯ ขอไม่เรียน เคมี เรียนวิชาอื่นเอา

เข้าไปเรียนคอมฯ สมัย windows 3.11 (สิบกว่าปีมาแล้ว) เรียน แทบไม่เกี่ยวกับคอมฯเลย ปีแรกๆ

กว่าจะผ่านได้ แล้วถึงมาเจอ คอมฯ เอาก็ปี สาม ปี สี่ ก็เรียน แล้วคิดว่า มันจะเอาไปใช้ทำไร

กว่าจะจบได้แทบตาย ได้ทำงาน เกี่ยวกับ PC Server สมัย ก่อนปี 2000 งานที่ทำนั่งแก้ปัญหา Y2K

จนแทบไม่ได้ใช้วิชาที่เราเรียนเลย แต่สิ่งที่ได้มา เอามาใช้ถึงวันนี้ ว่า วิธีคิด วิธีเตรียม ในส่ายวิศวะ น่ะ

สุดยอด เอามาใช้ในการทำงาน ทุกแขนงได้ ปัจจุบัน ผมเป็นเจ้าของบริษัทตัวเอง

เอาความรู้ จากประสพการทำงาน แต่ใช้วิธีคิดแบบวิศวะครับ  ได้ผลดีกว่าพวกที่จบบริหารอีก


แต่เหู็นว่าชอบเคมี ผมเลยเห็นว่า ไปดู วิศวะเคมี ปิโต พวกนี้ดีกว่า

ออฟไลน์ Nioka

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,038
ต้องถามอนาคตด้วยนะครับว่า จบมาแล้วอยากทำงานหรือป่าว

ก็พวกเพื่อนๆผมละจบวิศวะ ก็ไปอยู่โรงงาน เงินเดือนสูงๆกันทั้งนั้น

ส่วนผม เรียนไปเรื่อย เรียนอะไรก็มั่วๆ ไปหมด สุดท้าย สนใจการลงทุน

ตอนนี้ก็เลยมานั่งศึกษากับหาความรู้เอง

ลองนึกภาพดูครับเพื่อนเราทำงานในโรงงาน เรานั่งทำงานศึกษาข้อมูลที่บ้าน ^^

ออฟไลน์ Chris Evn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,154
สงสัยว่า วศ.เคมี เรียนอะไรบ้าง ถามได้เลยครับ

เพิ่มเติม
วศ.เคมี จะเรียนประมาณ
วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี เลข
วิชาพื้นฐานทางวิศวะกรรม เขียนโปรแกรม, วงจรไฟฟ้า, เขียนแบบ, กลศาสตร์, คณิตศาสตร์ของวิศวกรรม

วิชาทางด้านวิศวกรรมเคมี ก็เช่น
วิชาThermodynamics 2ตัว (เกี่ยวกับพลังงาน และอุณหภูมิ)
วิชาสมดุลมวลสาร,พลังงาน (สารเข้า,ออกเท่าไหร่)
การออกแบบ เครื่องถ่ายเทความร้อน การถ่ายเทพลังงาน ที่เห็นง่ายๆ คือ Heat Exchanger (หม้อน้ำรถ, แอร์, ตู้เย็น) Mass transfer (การถ่ายเทมวลสาร,การอบแห้ง,การคัดอนุภาค)
การออกแบบ Reactor (ถังทำปฏิกิริยา ใหญ่แค่ไหน ใบกวนควรใช้อย่างไร หมุนเร็วเท่าไหร่ รูปทวงแบบไหน ฯลฯ)
การออกแบบ ระบบท่อในโรงงาน (ตัวนี้เรียนคล้ายๆ วิชาบางวิชาของ วศ.โยธา หน่อยๆ)
การเลือกใช้วัสดุ เหล็กควรใช้ยังไงให้เหมาะสมกับงาน


อันนี้ไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไหร่
วศ.เคมี เงินดี มีงานที่ต่างจังหวัด ชลบุรี ระยอง สระบุรี
วศ.คอม เงินดี ทำงานใน กทม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:12:39 โดย expextoz »

ออฟไลน์ J!MMY

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 15,624
    • www.headlightmag.com
    • อีเมล์
ตกลงเว็บข้าพเจ้า กลายเป็นเว็บ แนะแนวการศึกษาต่อไปแล้วเหรอเนี่ย ฮ่าๆๆ

(จากคนที่ เรียนไม่จบ ป.ตรี และนั่งทำงานที่บ้าน มีเงินเข้าเดือนละ เกือบแสน โดยไม่ต้องทำธุรกิจขายตรงใดๆ  ทั้งสิ้น อิอิ)

ออฟไลน์ Lammerison

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 942
    • อีเมล์
วิศวะเคมี

เรียนทางด้านปฏิกิริยาเกือบทั้งหมด(ซึ่งเกี่ยวกับ ความร้อน/ความดัน/การไหล) และก็จะมีสมการควบคุมทางด้านนั้นด้วย แล้วก็จะมีแบบจำลองต่างๆสารพัดสารพัน

ซึ่งต่างจากวิทยาศาสตร์เคมีโดยสิ้นเชิง

คนที่จะเรียนจะ้ต้องเจอะกับการคำนวนอย่างเข้มข้นครับ


ออฟไลน์ 6162002

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,089
วิศวะเคมีเลยครับ เรียนอะไรมีคนตอบไปแล้ว  ประเด็นคือ รู้ว่าเรียนอะไรบ้าง มันเอาไปทำอะไรไม่ได้ แต่มันต้องรู้ด้วยว่า "แต่ละวิชาที่เรียนไปบ้าๆบอๆเนี่ย มันสัมพันธ์กันยังไง" ฟลูอิดแมคคานิค เกี่ยวอะไรกับ การถ่ายโอนความร้อน มวลสาร  แล้วเรียน แคล เรียนสมการเชิงอนุพันธ์ทำไม (ซึ่งส่วนมากคนที่เรียนมักจะไม่รู้เรื่อง รู้แค่ว่าเรียนอะไร แต่ให้บอกความสัมพันธ์ของแต่ละวิชา ก็มึนกันหมด ตอบได้แต่ของวิชาเฉพาะ ทุกวันนี้ผมถามเพื่อนเก่าที่เรียนวิศวะเคมีว่า เรียนกลศาสตร์ของไหล กับแคล เอาไปทำอะไร ต่อยอดอะไรได้ อึ้งกันถ้วนหน้า)

ส่วนเรื่องชอบฟิสิกส์ ขอบอกว่าไม่จำเป็นหรอกครับ เรื่องพวกนี้มันเรียนรู้ได้ ความรู้ที่จะใช้ทำงานจริงๆ มันมีแค่ คอมแอพพลิเคชั่น  การถ่ายโอนง่ายๆ และที่สำคัญที่สุดคือ "ภาษาอังกฤษ" ครับ

และถ้าเรียนวิศวะเคมี จะไปต่อยอดทางเชื้อเพลิง ปิโตรเคมี ปิโตรเลียมได้ ถ้าเข้าได้ เงินเดือนเป็นแสนแบบสบายๆ (แต่อย่าเลือกเพราะเงินนะครับ)

แนะนำว่าอย่าเรียนพวก ที่เรียนสามเทอม อย่างสุรนารี เพื่อนผมเรียน ผมเห็นแล้วขอบอกว่าอนาถมาก ฝึกงานก็ปี4 เกรดก็รีกันเป็นว่าเล่น กลายเป็นจบห้าปีแทน  ไม่ได้ฝึกงานพร้อมคนอื่น เสียโอกาสเปล่าๆครับ

ส่วนเรียนที่ไหนดี เอาเท่าที่คะแนนจะอำนวย ถ้าไม่ใช่คนเรียนเก่งมาก แต่มุ่งมั่น อยากก้าวหน้า ก็แนะนำจุฬา เพราะอยู่ท่ามกลางคนเก่ง แล้วมันจะผลักดันเราได้ดีครับ ข้อสอบก็จะยากกว่า(อันนี้จริงๆ เพราะเพื่อนที่อยู่ บางมด ลาดกระบัง เคยเอาข้อสอบเก่ามาให้สอน ผมยังรู้สึกเลยว่ามันง่าย บางวิชาผมได้แค่เกรดC ก็ยังทำได้สบายๆอยู่ครับ)
แ่ต่ไมไ่ด้แปลว่าเด็กจุฬาจะทำงานดีทำงานเก่งกว่าที่อื่น  เพราะคนเรียนเก่ง ไม่ได้ทำงานเก่ง  ผมหมายถึงแค่สภาพแวดล้อมนะครับ เรื่องการทำงานดีไม่ดี ก็อยู่ที่ตัวเราเองอยู่ดี

ออฟไลน์ BBOnLY

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,235
    • เพจวิศวะท่องโลกการเงิน
เคยเจอปัญหานี้เหมือนกันครับ
ชอบคอม และชอบวิชาเคมี

คือ วศ.เคมี กับ เคมีม.ปลาย นี่มันคนล่ะเรื่องกันเลยครับ

ถ้า ม.ปลาย ชอบเคมี และเก่ง+ชอบฟิสิกส์(สำคัญมาก เพราะคำนวนทางฟิสิกส์เยอะมาก) ไปเรียน วศ.เคมี ได้เลย
แต่ถ้าชอบเคมี แต่ไม่ชอบฟิสิกส์ อย่าไปเรียน วศ.เคมี

ชอบเลข ชอบฟิสิกส์ ไม่เก่งเคมี เรียน วศ.เคมี ได้
ชอบเลข ไม่ชอบฟิสิกส์ ชอบเคมี ไม่แนะนำเรียน วศ.เคมี
ไม่ชอบเลข อย่าเรียน วิศวะ

วศ.เคมี เรียน  
วิศวะเครื่องกล 30%
วิทยาศาตร์เคมี 20%
และทางวิชาเฉพาะทาง วศ.เคมีอีก 50%(ถ้าเป็นม.ปลายคือ พวกของไหล ของเหลว ความร้อน พลังงาน)

ตัวอย่างวิชาที่เรียนทั้ง 4ปี
http://www.che.eng.kmutt.ac.th/en_bd_chem_eng.html
จะได้เรียนวิชาเคมีอย่างที่ชอบเรียนใน ม.ปลาย เพียง 2 ตัวคือ CHM 103 เคมีพื้นฐาน, CHE 210 เคมีอินทรีย์ในอุตสาหกรรม

สงสัยว่า วศ.เคมี เรียนอะไรบ้าง ถามได้เลยครับ

ตามนี้เลยครับ
ลองดูดีๆ ค้นหาตัวเองไปเรื่อยๆครับ จริงๆลองไปงานแนะแนวต่างๆ+ค่ายของมหาวิทยาลัยต่างๆดูก็ได้ครับ จะได้เห็นภาพชัดขึ้น

ปล. ถ้าอยู่ม.5 ลองสมัครค่ายติวของบางมดก็ได้นะ ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ปิดรับสมัครไปหรือยัง เพราะ staff ที่ทำงานมาจากหลายคณะ ลองคุยได้่เลย
ติดตามเพจ "วิศวะท่องโลกการเงิน" ได้นะครับ

https://www.facebook.com/engineerinsidefinanceworld

ให้ #แอดบอยดูแล ได้ครับ

ออฟไลน์ nahmkang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
ขอบคุณพี่ๆทุกคนมากครับผม ขอโทษที่ช้า พอดีเพิ่งกลับมา
รู้สึกอบอุ่นจังเลย และขออนุญาตคุณจิมมี่ด้วยนะครับ แหะๆ
ผมรู้สึกว่าที่นี่คือบ้านอีกหลังที่เข้ามาซุ่มอยู่ทุกวัน ตั้งแต่วันแรกที่เว็บเปิดครับ

พี่ๆทุกคนพูดเหมือนที่ผมเคยได้ยินมาเลย ว่าวิศวเคมีไม่ค่อยเจอเคมีสักเท่าไหร่ และที่พี่Nuay@Protege บอกไว้ ว่าชอบสิ่งนั้น หรือชอบเพราะอาจารย์สอนสนุก คะแนนดี ผมคงจะตอบได้ว่า
ผมชอบอาจารย์ผู้สอน สอนสนุก แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าก็สนใจวิชาเคมีอยู่ไม่น้อย อีกวิชาหนึ่งที่ชอบมากๆๆ คืออังกฤษ ชอบจนเคยคิดจะเบนไปเรียนภาษาด้วยซ้ำ
เคยคิดอยู่เหมือนกันว่าลองเภสัชดีมั้ย เพราะใช้เคมีกับอังกฤษเยอะ เลขผมก็แค่พอใช้ได้ ไม่ได้ถึงกับเก่ง หรือว่าจะไปวิศวปิโตรดี แต่อันนี้ก็ต้องเหนื่อยหน่อยถ้าจะเข้า
เพราะเปิดแค่ไม่กี่ที่
แต่พอยุคของผมจบมา คงจะต้องยอมรับในเรื่องของเรทเงินเดือน ว่าคงจะน้อยลง เนื่องจากคนจบเยอะขึ้น อันนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะต่อไปการแข่งขันมันคงสูงขึ้น

ออฟไลน์ LimitedEdition

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,410

สุดยอด เอามาใช้ในการทำงาน ทุกแขนงได้ ปัจจุบัน ผมเป็นเจ้าของบริษัทตัวเอง

เอาความรู้ จากประสพการทำงาน แต่ใช้วิธีคิดแบบวิศวะครับ  ได้ผลดีกว่าพวกที่จบบริหารอีก


ก็ไม่ใช่ว่าเรียนจบบริหารแล้วจะทำอะไรไม่เป็นนะครับ
ผมก็จบวิศวฯ ตอนนี้มาเรียนต่อบริหาร ก็ได้เรียนรู้อะไรที่เราไม่ทราบอีกเยอะมาก
ผมว่ามีประโยชน์สำหรับการทำงาน บริหารจัดการ รวมไปถึงทำธุรกิจมากทีเดียวล่ะครับ