ผู้เขียน หัวข้อ: ผมสงสัยว่าทำไมไฟ daylight รถมันกระพริบเวลาดูจากกล้อง  (อ่าน 8999 ครั้ง)

ออฟไลน์ AkE

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,405
เคยเห็นในคลิปพวกทดสอบรถทางยุโรปมาหลายครั้ง เวลาถ่ายมาไฟ drl มันจะกระพริบครับ ตอนแรกก้ยังไม่ได้สงสัยอะไรมากแต่เมื่อวันก่อนผม

ขับรถแล้วกดเปิดกล้องมองข้างไว้ตลอด พอดีรถติดตอนลงทางด่วนไม่มีอะไรทำเลยสังเกตุที่จอ ผลที่เห็นคือ bmw mb tesla ferrari 

รถพวกนี้ดูจากกล้องรถผมไฟ drl กระพริบหมด (ทางด่วนลงเพลินจิตวันเสาร์อะนะครับมีรถแปลกๆให้ดูเยอะ เจอ tesla สีขาว 1 คัน) ผมก้เลย

สังเกตุต่อปรากฎว่า รถทางญี่ปุ่นไม่เป็นครับ ตอนนั้นผมเห็น มี Accord g9, fortuner, revo, x trail, mu x ครับทุกคันผมเห็นไฟมันปกติ

ผมเลยสงสัยว่ามันน่าจะมีอะไรต่างกันและ อีกอย่างทำไมพอดูจากกล้องพอเป็นไฟหน้าที่เปิดมันไม่มีผลอะไรครับ ผมไม่ค่อยรู้เรื่อง ไฟและ

กล้องครับ ใครทราบรบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ O_o"

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,369
ในสื่อภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด จะมี frame rate ซึ่งหมายถึง จำนวนเฟรม (จำนวนภาพนิ่ง) โดยมีหน่วยเป็น per second (กี่ภาพต่อวินาที) เรียกกันย่อๆ ว่า FPS (frame per second) เช่น 30 FPS คือ ใน 1 วินาทีจะมีภาพนิ่งต่อเนื่องกัน 30 ภาพ ถ้า 60 FPS เท่ากับ 1 วินาทีจะมีภาพนิ่งต่อเนื่องกัน 60 ภาพ ภาพจะดูเนียนไม่ดูกระพริบ นะครับ

ออฟไลน์ Cheze_Cake

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 386
    • อีเมล์
ในสื่อภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด จะมี frame rate ซึ่งหมายถึง จำนวนเฟรม (จำนวนภาพนิ่ง) โดยมีหน่วยเป็น per second (กี่ภาพต่อวินาที) เรียกกันย่อๆ ว่า FPS (frame per second) เช่น 30 FPS คือ ใน 1 วินาทีจะมีภาพนิ่งต่อเนื่องกัน 30 ภาพ ถ้า 60 FPS เท่ากับ 1 วินาทีจะมีภาพนิ่งต่อเนื่องกัน 60 ภาพ ภาพจะดูเนียนไม่ดูกระพริบ นะครับ
โอ้ ความรู้ใหม่เลยครับ ขอบคุณครับ 8)
Love Distance with
Chevy Colorado Highcountry

ออฟไลน์ bia

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 63
fps ก็เรื่องนึงครับแต่ความเป็นจริงไฟไม่ได้ติดตลอดเวลามีช่วยกระพริบด้วยแต่ด้วยความที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ทันในช่วงเวลาที่กระพริบในชีวิตจริง แต่ภาพ vdo เหมือนเป็นการ capture ภาพเอามาเรียงต่อกันซึ่งอาจจะไป capture ภาพในช่วงเวลาที่ไฟไม่ติดพอดีจึงทำให้เราเห็นไฟกระพริบใน vdo

ออฟไลน์ Joe NG

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 316
ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ


ออฟไลน์ Abzolute

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,934
  • สวัสดีคนรักรถยนต์
ไฟมันติดไม่ตลอดเวลาครับ มันกระพริบ แต่ตาเราไม่เห็น

ออฟไลน์ Stp

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,537
ตามนี้เลย  :D

ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ
:D ;D ร่วมรณรงค์รักการอ่านหนังสือ แทนการถามตลอดเวลา ;D :D

ออฟไลน์ AkE

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,405
ขอบคุณทุกความเห็นครับ

ออฟไลน์ ps000000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,772
ผมก็ว่า ตามท่านที่บอก PWM  :-*

ออฟไลน์ tarahlm

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 920
ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ

ยืนยันตามข้างบนครับ
ปัจจุบันมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้นำเทคโนโลยี่นี้มาใช้(PWM - Pulse Width Modulation)

ดูรูปพื้นฐานการทำงานเบื้องต้น ที่ทำให้กล้องจับเป็นไฟกระพริบ

http://tutorial.cytron.com.my/2012/01/14/basic-pulse-width-modulation-pwm/








ออฟไลน์ Anvers30

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,372
    • อีเมล์
ได้ความรู้เยอะเลยครับ กระทู้สาระประจำวัน 8)

ออฟไลน์ ซิ่งเข้าส้วม

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,150
เหมือนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่บ้าน ใช้กระแสสลับ ทำให้ไฟติดดับที่ความถี่ 50 ครั้งต่อวินาที ตาคนเราจะมองเห็นว่ามันนิ่งเพราะตาคนเรามองเห็นแสงได้มากสุดที่ความถี่ 29 ครั้งต่อวินาที ส่วนใหญไฟก็จะเป็นกระแสสลับกันหมดครับ ยกเว้นไฟที่ใช้ถ่ายรูปจะแปลงเป็นกระแสตรง ทำให้หลอดไฟติดอยู่ตลอดถ่ายออกมาแล้วไฟจะไม่กระพริบแว่บๆ

ออฟไลน์ MyName

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 8,145
  • I'm............................
เซฟเลยยยย กระทู้นี้

ผมก็เข้าใจแค่ผิวเผินว่าเป็นเรื่องของความถี่แสง
แต่ไม่รู้หลักการอะไรเลย เข้าใจเลยครับ
Cars
2022 - Nissan Almera 1.0 Turbo VL
2016 - Mazda 2 1.5XD High Plus L
2008 - Mitsubishi Space Wagon 2.4 GLS Ltd. !User'Review Click here!
1997 - Daihatsu Mira

Motorcycles
2023 - Vespa Sprint S 150 i
2012 - Yamaha Mio 125 GTX

ออฟไลน์ Alcatraz

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,608
    • อีเมล์
ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ

แล้วแบบไหนดีกว่ากันครับ แบบกระพิบหรือไม่กระพิบ ถ้าผมตีความไม่ผิด สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ แปลว่า พวกกระพิบสเปคต่ำกว่าติดค้างใช่ไหม

ออฟไลน์ Stp

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,537
PWM ที่เหมือนหลอดกะพริบดีกว่าครับ รายละเอียดตามที่เขียนไว้เลย

ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ

แล้วแบบไหนดีกว่ากันครับ แบบกระพิบหรือไม่กระพิบ ถ้าผมตีความไม่ผิด สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ แปลว่า พวกกระพิบสเปคต่ำกว่าติดค้างใช่ไหม
:D ;D ร่วมรณรงค์รักการอ่านหนังสือ แทนการถามตลอดเวลา ;D :D

ออฟไลน์ NONT4477

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 9,851
  • Let the SKYFALL
เหมือนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่บ้าน ใช้กระแสสลับ ทำให้ไฟติดดับที่ความถี่ 50 ครั้งต่อวินาที ตาคนเราจะมองเห็นว่ามันนิ่งเพราะตาคนเรามองเห็นแสงได้มากสุดที่ความถี่ 29 ครั้งต่อวินาที ส่วนใหญไฟก็จะเป็นกระแสสลับกันหมดครับ ยกเว้นไฟที่ใช้ถ่ายรูปจะแปลงเป็นกระแสตรง ทำให้หลอดไฟติดอยู่ตลอดถ่ายออกมาแล้วไฟจะไม่กระพริบแว่บๆ
50ครั้งต่อวินาที ถึงว่าเอากล้องไอโฟนถ่ายโหมด slow motion 120-240 fps ไฟนีออนถึงกระพริบรัวๆ
Top Gear's Biggest FAN!!! (IN MY House)
I'm NAC1701  ^ ^

ออฟไลน์ Fly to dream

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 12,640
ตอนแรกผมคิดว่าเพราะกล้องอย่างเดียว ที่ไหนได้มีมากกว่านั้น ความรู้ล้วนๆ
ขยะของโลกออนไลน์​ในปัจจุบั​นคือเชื่อคนโง่ที่มีคำพูดสวยหรู​ หาข้อมูล​ไม่จริงมาโกหกคำโตๆ​ อีกอย่างคือพูดความจริงไม่หมด กับพวก​ Avatar ที่ทำเป็น​เก่ง​แต่เก่งน้อยในโลกความจริง​ซึ่งจะหาได้ง่าย

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,418
ไฟกระพริบไวมากๆครับ ตาเราไม่ได้ดีขนาดจะจับภาพได้

ออฟไลน์ kittiphat123

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,017
    • อีเมล์
ขอบคุณความรุ้มากๆครับ ....มันกระพริบรัวขนาดนั้น มันจะมีวันหลอดขาดมั้ยครับเนี่ย ? ต้องเปลี่ยนทั้งไฟหน้า หรือ เปลี่ยนแค่หลอดครับ

ออฟไลน์ Air_graphic

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 416
    • อีเมล์
หลอด LED มันมีอาการกระพริบครับ เรียกว่า Flicker เป็นผลจากแหล่งจ่ายพลังงาน

promt

  • บุคคลทั่วไป
หากเอากล้อง vdo ไปถ่ายทีวีสี ที่ไม่ใช่จอแบนชนิด lcd, led

แต่เป็นหลอดชนิด CRT จะพบว่ามันสั่น และยังเป็นคลื่นๆ ไหลๆ ด้วย

promt

  • บุคคลทั่วไป
ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ

ยืนยันตามข้างบนครับ
ปัจจุบันมีรถยนต์รุ่นใหม่ๆหลายรุ่นได้นำเทคโนโลยี่นี้มาใช้(PWM - Pulse Width Modulation)

ดูรูปพื้นฐานการทำงานเบื้องต้น ที่ทำให้กล้องจับเป็นไฟกระพริบ

http://tutorial.cytron.com.my/2012/01/14/basic-pulse-width-modulation-pwm/

ตัวอย่างไม่ค่อยตรงครับ
เขาเอา PWM ไปคุมการหมุนมอเตอร์เร็ว-ช้า โดยใช้ PIC ไมโครคอนโทรลเลอร์

ออฟไลน์ Joe NG

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 316
ไฟ DRL ชนิดหลอด LED  ในรถส่วนใหญหรือไฟท้ายในบางรุ่น จะใช้การจ่ายกระแสแบบไม่คงที่ หรือการจ่ายไฟผ่านวงจร PWM ซึ่งหลอดจะไม่ติดค้าง แต่จะเป็นการติดแบบกระพริบ แต่ความถี่ในการกระพริบ สูงกว่าความสามารถในการมองเห็นของตา ทำให้เรามองเห็นว่ามันติดค้าง  และแต่ละหลอดที่เราเห็นจะเป็นการติด-ดับ สลับ เรียงกันไปครับ

ที่ทำอย่างนี้ มีประโยชน์ในด้านที่หลอดไม่ต้องรับกระแสสูงตลอดเวลา สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ ความร้อนหลอดไม่สูงมาก และมีประโยชน์ด้านประหยัดพลังงานครับ

ส่วนบางรุ่นที่เห็นติดค้าง เนื่องจากเป็นการจ่ายกระแสคงที่เข้าไปครับ

แล้วแบบไหนดีกว่ากันครับ แบบกระพิบหรือไม่กระพิบ ถ้าผมตีความไม่ผิด สามารถลดสเปคหลอดลงมาได้ แปลว่า พวกกระพิบสเปคต่ำกว่าติดค้างใช่ไหม

นอกประโยชน์ที่บอกไว้ด้านบนแล้ว  การที่จะบอกว่าแบบกระพริบสเปคหลอดต่ำกว่าแบบไม่กระพริบก็คงไม่ได้

การที่ผมบอกว่าสามารถลดสเปคหลอดได้ คือว่า  หลอด LED จะมีค่าความสว่างที่ค่ากระแสต่างๆ กัน ที่สว่างมากๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการนำมาทำ DRL นั้นส่วนใหญ่จะต้องใช้ค่ากระแสสูง
ทีนี้ ถ้ามาดูที่ตัวหลอด LED ส่วนใหญ่จะดูที่ค่ากระแสที่หลอดรับได้สองค่า คือ ค่ากระแสต่อเนื่อง  หมายถึง เราต้องจ่ายไฟเข้าไปตลอดเวลาเพื่อให้ได้ความสว่างที่ค่าๆ หนึ่ง ส่วนอีกตัวคือ  ค่ากระแสสูงสุดที่หลอดรับได้เพียงช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งค่ากระแสที่จุดนี้ มักจะมีค่ามากกว่าค่าแรกและหลอดจะให้ความสว่างสูงกว่าค่าแรก  แต่หลอดจะรับค่ากระแสสูงได้แค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

ทีนี้ย้อนมาดูเรื่องการเลือกสเปคหลอด   ผมแยกเป็นสองตัวอย่างในการการออกแบบ DRL โดยใช้ ตัวแปรในการออกแบบอย่างเดียวกันคือ ต้องการความสว่างของ LED แต่ละหลอดอยู่ที่ประมาณ 115 ลูเมนส์ 

1. รถยนต์รุ่น ก  มีการจัดวงจรแบบกระแสคงที่ ดังนั้นจึงเลือกใช้หลอดที่ให้ค่าความสว่าง 118 ลูเมนส์ ที่ค่ากระแสทั่วไปแบบคงที่ 700 mA ซึ่งหลอดที่ใช้กระแสสูงแบบนี้ส่วนใหญ่ตัวจะใหญ่และปล่อยความร้อนสูงและราคาสูง

2.รถยนต์รุ่น ข มีการจัดวงจรแบบ PWM ที่มีการเลือกใช้หลอดที่ให้ค่าความสว่าง 83 ลูเมนส์ ที่ค่ากระแสทั่วไปแบบคงที่ 150 mA ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลอดนี้ให้ความสว่างต่ำกว่าสเปค แต่กินกระแสต่ำกว่า การปล่อยความร้อนต่ำกว่า และราคาส่วนใหญ่จะต่ำกว่าแบบที่ 1
แต่ที่เลือกนำมาใช้ เนื่องจากดูข้อมูลใน datasheet แล้วพบว่าหลอดตัวนี้รับค่ากระแสได้สูงสุดที่ 240mA และให้ค่าความสว่างที่  116 ลูเมนส์ที่ค่ากระแสประมาณ 225 mA ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้หลอดสเปคนี้ แต่มีการจัดวงจรแบบ PWM เพื่อลดภาระโหลดความร้อนเมื่อเรานำไปใช้กับค่ากระแสสูง อีกทั้งจะเห็นว่าการกินกระแสต่ำกว่าแบบที่ 1

อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของการเลือกหลอด ซึ่งการลดสเปคหลอดที่ผมพูดถึงคือการลดสเปคในเรื่องของค่าความสว่าง  การกินกระแส  การปล่อยความร้อน 
แต่ไม่ได้หมายความว่า แบบที่กระพริบหรือใช้ PWM จะใช้หลอดสเปคต่ำกว่าหรือใช้หลอดที่ห่วยกว่ามาทำครับ


ลองดูตัวอย่าง



จากวิดีโอ  ตอนเริ่มต้นจะเห็นว่าหลอดสว่างน้อยและติดนิ่ง  อันนั้นเป็นการจ่ายแบบค่า duty ต่ำๆ และความถี่สูงเข้าไปทำให้เราเห็นเป็นติดนิ่ง  แต่เราจะเห็นว่า จากหลอดเดียวกัน เราสามารถทำให้สว่างมากๆ ได้ โดยการจ่ายค่ากระแสสูงเข้าไป (ค่า duty สูงๆ ) รวมถึงการลดความถี่ลง ทำให้เราเห็นการกระพริบ
ส่วนเรื่องการติดแบบเรียงกันไปคล้ายๆ ที่ จขกท ถามถึง อันนี้ขึ้นอยู่กับการจัดวงจรของหลอด LED แต่ละหลอดครับ