ผู้เขียน หัวข้อ: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)  (อ่าน 15554 ครั้ง)

ออฟไลน์ Champman20

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 108
แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 12:55:31 »
อยากถามความเห็นเพื่อนๆสมาชิกครับ แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio) มีผลในเรื่องอัตราเร่งมั่ย? และหากดูที่ตัว Power to Weight Ratio อย่างเดียว ไม่เทียบ CC รถ มันสามารถแบ่ง Class ได้มั่ย? เช่น รถDsegment ยุโรป 220ม้า (โรงงาน) ไปแข่งกับ รถซิ่งญี่ปุ่น (Civic/Jazz etc.) หลายๆท่านก็จะบอกว่ามันคนละ class กันทั่งตัวรถ และ CC.

ออฟไลน์ XyteBlaster

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,289
    • อีเมล์
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 13:08:57 »
มีผลอย่างมากกับอัตราเร่งเลยละครับ

สมัย civic 3dr รถหนัก ไม่ถึงตัน ใส่ b20 ฝา b16 วิ่งฉิวมากครับ 

ออฟไลน์ akewizard

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,614
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 13:34:18 »
มีผลโดยตรงคับ

แต่จะให้ดี ควรหาแรงม้าแรงบิดที่ลงล้อจะได้ตัวเลขที่แน่นอนกว่า...
รถบางคันแรงม้าแรงบิดที่เครื่องสูง แต่ใส่ล้อโต ยางใหญ่ บางทีอัตราเร่งอาจจะด้อยกว่ารถที่ใส่ล้อสมส่วนกว่า เบากว่า ก็เป็นได้ครับ

ออฟไลน์ samaklen

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,909
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 13:36:29 »
โดยเฉลี่ย ต่ำกว่าประมาณ 8.5 กก. / 1 แรงม้าลงมาครับ ถ้าต่ำเยอะ ก็มีผลมากขึ้น

TheRealMeaw

  • บุคคลทั่วไป
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 13:42:07 »
มีผลมากโคตรๆๆๆๆๆๆเลยครับ เชื่อไหมว่า Power to Weight Ratio ทำให้เราสามารถเดาอัตราเร่ง 0-100km/h ได้แบบใกล้เคียงในระดับ 1 วินาที แต่ถ้าเกิดจากนั้นจะต้องรู้ว่ารถมัน Aerodynamic แค่ไหนด้วย

ปัญหาคือข้อมูลต้องมีความแน่นอนนะครับ ตัวเลขแรงม้าที่ผู้ผลิตปล่อยออกมา แม้จะมีมาตรฐานอยู่ไม่กี่ตัว แต่ไม่ได้มีวิธีการวัดที่เหมือนกันทุกยี่ห้อ หรือบางครั้งผู้ผลิตก็โกหกตัวเลขแรงม้าขึ้นมาเลยก็มีเหมือนกัน เช่นเดียวกับตัวเลขน้ำหนัก ที่มาตรฐานก็ไม่ได้มีชัดเจน วัดแบบมีของเหลวไหม ใส่อุปกรณ์อะไรบ้าง จะชั่งน้ำหนักเองทุกรุ่นก็ไม่ได้

แต่ที่แน่นอนอย่างนึงเลยครับ คือถ้า Power to Weight Ratio ใกล้เคียงกันจริง รถมันก็จะวิ่งได้พอๆกันนั่นแหละครับ ไม่ได้สำคัญว่าแรงม้าจะมาที่กี่รอบ ไม่ได้สำคัญว่า Torque จะเยอะแค่ไหนครับ ถ้าอัตราทดเหมาะสมพอกัน คนขับได้เท่ากัน Aerodynamic ใกล้เคียงกัน แล้วแรงม้าลงล้อกับน้ำหนักที่แท้จริงวัดออกมาเป็น Ratio แล้วพอๆกัน ตัวเลขก็จะออกมาใกล้เคียงกัน ไม่ได้สำคัญว่าจะเป็นรถ 80 แรงม้า หนัก 1100 กก. หรือรถ 110 แรงม้า หนัก 1500 กก.

แต่มันก็แบ่ง Class รถไม่ได้นะครับ เพราะมันก็เป็นแค่ค่าตัวเลขค่าหนึ่ง ไม่ได้มีความสำคัญอะไรขนาดนั้น

ออฟไลน์ AkE

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,404
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 13:49:35 »
มีผลทั้งหมดเลยครับ แรงม้า แรงบิด ต่อ นน. คือสิ่งที่ทำให้รถยนต์พุ่งไปด้วยอัตราเร่งที่ต่างๆกันไป

บางทีรถที่แรงม้า แรงบิดน้อยกว่า แต่ นน. เบากว่าเยอะถึงมีอัตราเร่งดีกว่า ตัวอย่างมีเยอะเลยครับ

ออฟไลน์ mamaman

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,422
    • อีเมล์
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 14:25:03 »


ลองเอา แคมรี่ กับ แอคคอร์ด มาแข่งกับ  Jazz สิครับ
มาแข่งในสนามแข่งขนาดเล็กๆ ที่ โค้งเยอะๆ ต้องเร่งออกบ่อยๆ สิครับ
แล้ว จะรู้ บางทีความแรงก็ไม่เกี่ยวกับ คลาสรถ

ออฟไลน์ HHHsung

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,385
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 14:27:47 »
ที่เราเรียกแรงม้าเพื่อเปรียบเปรยให้เข้าใจง่าย สมัยก่อนที่ใช้กันเพราะอยู่ในยุคม้าลาก หน่วยจริงๆ คือ watt หรือ กำลังงานครับ 1 แรงม้า เท่ากับ 746 วัตต์

ดังนั้น รถ 1 cc หรือ 1000 cc ถ้ามีหน่วย 1 แรงม้า ก็มีค่ากำลังงานเท่ากัน สูตรสมัยเด็ก กำลัง = แรง x ระยะทาง ซึ่ง แรง = มวล x อัตราเร่ง

ดังนั้น วัตต์ = มวล x อัตราเร่ง x ระยะทาง ซึ่งนั่นก็คือ แรงม้า (วัตต์) แปรผันตรงกับอัตราเร่ง ดังนั้น ระยะทางที่เท่ากัน รถคันไหนที่ แรงม้า/น้ำหนัก มากกว่า คันนั้นก็เร็วกว่าครับ

ปล. สมการข้างบน ไม่นับรวม รอบเครื่องยนต์ แรงบิด กับ อัตราทดเกียร์ นะครับ ไม่งั้นทะเลาะกันยาว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2020, 14:31:49 โดย HHHsung »

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 15:20:52 »
Power to weight มีผลมากตอนออกตัว และ 0-120 แต่หลังจาก 170 ไป Aerodynamic และแรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์ จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นชัดเจน

อย่างถ้าคุณเอาเครื่อง 2.0 ลิตร 150 แรงม้า ไปใส่ใน CR-V หนัก 1.4-1.5 ตัน คุณควอเตอร์ไมล์ได้ 18 วิก็สั่งพลุมาฉลองกันได้แล้ว
เครื่องยนต์เกือบเหมือนกัน แรงม้าใกล้เคียงกัน ไปใส่ใน Civic FD วิ่งที่เดียวกัน ได้ 17.1 วิ นี่คือ ผลจาก Power to weight และอัตราทดเกียร์ Aerodynamic และความหนักกับเส้นรอบวงล้อ แต่แน่นอนว่า Power to weight ให้ผลอย่างมาก ถ้าเป็นมอเตอร์สปอร์ต ไม่ว่าจะ Drag หรือ Circuit

ดังนั้น ถ้าสมมติว่า ผมเป็นพวกหาเรื่อง ชอบดันชาวบ้านบนทางด่วน ผมเจอ Jazz GE หนัก 1.1 ตัน 120 แรงม้า กับ S-Class ฐานล้อยาว เครื่อง 240-250 แรงม้าที่คนนั่งเต็ม ที่ไหนที่ไม่เกิน 140 ผมเกรงใจทั้งสองคันเท่ากัน แต่ถ้าหลัง 150-160 ไป แรงม้าจะเริ่มชนะน้ำหนัก  รถ 240 แรงม้าจะชนะ 120 แรงม้าตรงนี้ ไม่ใช่ว่า Jazz Power to weight ratio เท่า S320-S350 แล้วเราไปท้าเค้าแข่ง Bonneville Highspeed
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,190
    • อีเมล์
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 16:17:30 »
ภาพชัดๆ เลยนะ

ปั่นจักรยาน ปั่นคนเดียว กับ มีคนซ้อนท้าย ต่างกันไหมครับ

นั้นละครับ

ออฟไลน์ Turin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,043
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 16:38:53 »
ถ้าว่ากันที่อัตราเร่ง .. ดูเร็วๆก็พอบอกได้ ดูให้ลึกก็อาจจะไม่ถึงกับสรุปได้เป๊ะๆ เพราะต้องดูอัตราทดเกียร์ด้วย ผมเคยลอง Civic EG 3 ประตู เครื่อง B16A เหมือนกัน ระหว่างเฟืองท้าย 4.4 กับ 4.7 ก็ต่างกันเยอะอยู่ ... คาดว่าถ้าเอา 4.7 มาใส่ในบอดี้ 4 ประตู น่าจะได้อัตราเร่งดีกว่า 3 ประตู เฟืองท้าย 4.4 ถึงจะ power-to-weight ratio สู้ไม่ได้

ออฟไลน์ Sakutaro

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 423
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 16:40:34 »
 :) เรื่องม้าต่อน้ำหนัก ผมตามท่านสมาชิกและคุณแพน ทุกอย่าง
แต่สิ่งที่ต่างระหว่างรถใหญ่รถเล็กกว่าถึงแม้จะม้าต่อน้ำหนักใกล้เคียงกัน คือฟิลลิ่ง
รถใหญ่ใต่ความเร็วมั่นคงเชียว เพลินๆ รถเล็กไปได้แต่มั่นคงน้อยกว่า เหนื่อยกว่า
เช่นกันกับเครื่อง สำหรับผมคนเดียวนะ ม้าต่อน้ำหนักใกล้ๆกัน 1.5t vs 2.5
ผมชอบฟิลบล็อคโตมากกว่า รู้สึกมีอำนาจ ยืดหยุ่นในกำลัง ไว้ใจได้กว่า แต่โจทย์
ผมคือ ใช้เดิมๆไม่โมเพิ่มครับ :)

ออฟไลน์ SM.

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 27,363
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 16:48:35 »
เกี่ยวแน่นอนครับ รถที่แบกน้ำหนักมากกว่า ยังไงก็เหนื่อย ถ้าแรงม้าเท่าๆกัน

ออฟไลน์ koko86

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,593
    • อีเมล์
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 18:44:39 »
คงแบ่งเป็นสองกรณีครับ
1. บนถนน แรงม้าก็มีผลต่ออัตตราเร่งส่วนนึง แต่ผมว่า ถ้ารถหนักๆ torque มีผลกับอัตราเร่งมากกว่าครับ สังเกตุรถใหม่ๆ มีเทอร์โบ ใส่hybrid ก็พอชดเชยกับน้ำหนักที่มากขึ้นได้ อัตราเร่งพอๆกับรถเบาๆสมัยก่อนเลย ยกตัวอย่าง
    520d g30 190 แรงม้า torque 400 Nm น้ำหนัก 1615 kg 0-100  7.7  เทียบกับ
    528i e39 190 แรงม้า torque 280 Nm   น้ำหนัก 1440 kg 0-100  7.5 วินาที  น้ำหนักต่างกัน 170 kg แต่อัตราเร่งต่างกันแค่นิดเดียว เพราะเหมือน torque มาชดเชยน้ำหนักได้
หรือลองสังเกตุพวกรถบรรรทุกครับ ม้า 190 ตัว แต่ ทอร์คเป็น หมื่น Nm เลย ซึ่งถ้าเราเอาเครือง vtec 200 ม้า ไปใส่รถบรรทุก ก็คงไม่วิ่งใช่ไหมครับ

2. ในสนาม ในสนามทางโค้งเยอะ เวลาต่อรอบที่อยู่ในโค้งเยอะมาก ดังนั้นรถต้องรับภาระแรงจีทั้งสองแกนเลย คือ หน้าหลัง และ ซ้ายขวา ในสนามโดยเฉพาะสนามเมืองไทยที่ทางตรงไม่คอยยาว รถที่เบาๆ จึงได้เปรียบครับ เคยมีรุ่นพี่ที่ขับ BRZ 200 ม้า ต่อมาแกไปซื้อpanamera  hybrid  รุ่นใหม่ รู้สึกจะ400 ม้าเอามาลงแก่งกระจาน เวลาต่อรอบพอๆกับ brz เลย

ดังนั้น จากคำถาม ถ้าวิ่งสนาม jazz อาจทำเวลาช้ากว่ารถยุโรป 200 ม้าไม่มาก แต่ถ้าบนถนน ก็ทิ้งกันขาดเลยครับ เพราะ ทอร์คกับแรงม้ามากกว่าเยอะ ถึงแม้น้ำหนักจะมากกว่าก็เถอะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2020, 18:50:08 โดย koko86 »

ออฟไลน์ IS2000

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,183
    • อีเมล์
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มีนาคม 23, 2020, 21:28:50 »
มีผลครับ และยังต้องรวมไปถึง power curve ของเครื่องนั้นๆ อัตราทดเกียร์ด้วยถ้าจะเทียบเรื่องอัตราเร่ง
สมัยก่อนผมเคยลองเอาอีโว 8 แต่งนิดหน่อยไปลองกับ BMW e46 M3 power to weight ratio ใกล้เคียงมากแต่อีโวอัตราทดเกียร์ 1-4 ชิดกว่า + แรงบิดมาหนักกว่า ผลคือกิน M3 4 เกียร์แรกแต่พอเข้าเกียร์ 5 M3 ก็เริ่มตามทันครับ เอโร่ไดนามิกก็มีผล ตอนอีโวผมทำเพิ่มมีแรงม้าลงพื้นมากกว่า M3 ประมาณ30 ตัวแต่ย่านความเร็ว 220-250 คือกินกันไม่ลงเพราะ M3 ค่า cd น่าจะต่ำกว่าพอสมควร
1 3 5
├┼┼╕
2 4 6 R

ออฟไลน์ F e r m a r c o

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 512
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มีนาคม 24, 2020, 09:06:30 »
Power to weight มีผลมากตอนออกตัว และ 0-120 แต่หลังจาก 170 ไป Aerodynamic และแรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์ จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นชัดเจน

อย่างถ้าคุณเอาเครื่อง 2.0 ลิตร 150 แรงม้า ไปใส่ใน CR-V หนัก 1.4-1.5 ตัน คุณควอเตอร์ไมล์ได้ 18 วิก็สั่งพลุมาฉลองกันได้แล้ว
เครื่องยนต์เกือบเหมือนกัน แรงม้าใกล้เคียงกัน ไปใส่ใน Civic FD วิ่งที่เดียวกัน ได้ 17.1 วิ นี่คือ ผลจาก Power to weight และอัตราทดเกียร์ Aerodynamic และความหนักกับเส้นรอบวงล้อ แต่แน่นอนว่า Power to weight ให้ผลอย่างมาก ถ้าเป็นมอเตอร์สปอร์ต ไม่ว่าจะ Drag หรือ Circuit

ดังนั้น ถ้าสมมติว่า ผมเป็นพวกหาเรื่อง ชอบดันชาวบ้านบนทางด่วน ผมเจอ Jazz GE หนัก 1.1 ตัน 120 แรงม้า กับ S-Class ฐานล้อยาว เครื่อง 240-250 แรงม้าที่คนนั่งเต็ม ที่ไหนที่ไม่เกิน 140 ผมเกรงใจทั้งสองคันเท่ากัน แต่ถ้าหลัง 150-160 ไป แรงม้าจะเริ่มชนะน้ำหนัก  รถ 240 แรงม้าจะชนะ 120 แรงม้าตรงนี้ ไม่ใช่ว่า Jazz Power to weight ratio เท่า S320-S350 แล้วเราไปท้าเค้าแข่ง Bonneville Highspeed

พี่แพนอธิบายเปรียบให้เห็นชัดมากเลยครับ
ขับช้าๆ เดี๋ยวก็ถึง

ออฟไลน์ Pan Paitoonpong

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 6,457
  • Long live M/T
Re: แรงม้า ต่อ น้ำหนัก (Power to Weight Ratio)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มีนาคม 24, 2020, 16:30:40 »
เรื่องแรงม้าต่อน้ำหนักนี่ต้องระวังนิดนึงนะครับ เพราะว่าพวกเราไม่ได้มีไดโน่หลังบ้าน เราก็จะเอาม้าโบรชัวร์เทียบ ซึ่งบางทีมันมีโอกาสพลาดครับ

อย่าง BMW สมัยก่อน เห็นบอกมี 188-190 พอไปวัดแล้วลงล้อจริง 150 ครับ แต่ BMW ยุคใหม่ๆหลังจากพวกแปดสปีดเป็นต้นมา โบรชัวร์บอก 190 แต่วัดจริง ได้ 184-188 อย่าถามผมว่าเพราะอะไร ผมไม่รู้จริงๆ เขาอาจจะเปลี่ยนวิธีวัดในองค์กรของ BMW ก็ได้ แต่ถ้าบอกว่าเกียร์สมัยใหม่เสียม้าในระบบน้อยมาก ผมว่าไม่ใช่ เดาว่าไม่ใช่

เวลาเทียบเรื่องแรงม้าต่อน้ำหนัก ผมถึงมักจะบอกว่า พยายามเอารถปีใกล้ๆกัน เทคโนโลยีใกล้กันด้วย ซึ่งมันจะยากล่ะถ้าจะหาเคสอย่างนั้น แต่ตัวอย่างง่ายๆก็แค่ รถสักคันที่เป็นรถคันเดียวกัน ลองไปคลองห้าดิครับ รถคันเดียวคันเดิม คนขับคนเดิม ลองนั่งคนเดียวกับนั่ง สามคน ความต่างก็มาแล้วเห็นๆ
- Nissan Tiida บ้านๆ/NX Coupe/AE111/190E1.8