ตอบในมุมคนผลิตชิ้นเครื่องจักรงานเหมืองนะครับ เหล็กมีหลายประเภท หลายเกรดมากๆ ที่ความหนาเดียวกัน ผมมีตั้งแต่ 22บาท/กิโล ไปจนถึง 60บาท/กิโล ซึ่งราคาที่ต่าง ก็คือเกรดและคุณสมบัตของเหล็กที่ต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันครับ.
ส่วนรถยนต์ มาในยุคนี้แล้ว ไม่น่ามีคนเอาความแข็งของเหล็กโดยใช้ว่าชนแล้วไม่ยุบมาเป็นตัวตั้งนะครับ ปัจจุบัน โครงสร้างรถยน ออกแบบมาให้ยุบตัวในส่วนของ Crumble Zone หรือโซนรับแรง และให้แข็งแรงที่สุดในส่วนของ Passenger Zone คือโซนที่ผู้โดยสารอยู่. ที่นี้ถ้าจะตัดสินว่าอะไรแข็งสุด ในแง่วิศวกรที่ทำรถ คืออะไรที่ปกป้องคุณหากเกิดการชนดีที่สุด อันนี้ก็ต้องไปดู crash test ครับ ดูว่ารุ่นไหน ยี้ห้ออะไรได้คะแนนดีสุด ตัว Crash Test เองก็ขอให้ดูที่คะแนนการปกป้องเป็นหลัก อย่าพึ่งไปดูคะแนนเสริมที่หากรถมีระบบเบรคAuto ต่างๆพวกนี้แล้วจะได้คะแนนมากขึ้น ดูแยกเป็นส่วนๆครับ.
ส่วนโรงงานผลิตในประเทศต่างๆ จะใช้เหล็กเดียวกัน หนาเท่ากันมั่ย อันนี้ผมไม่ทราบครับ. ถามว่ายี่ห้อ A ใช้เหล็กบางกว่ายี่ห้อ B แต่ยี้ห้อ A ใช้เหล็กเกรดดีกว่าเพื่อลดน้ำหนัก แต่ความแข็งแรงอาจจะเท่า หรือมากกว่ายี้ห้อ B ก็ได้ครับ. ลองไปดูพวก Volvo หรือ Benz บางทีจะมีโปรชัวหรือ Video ที่บอกว่าในส่วนต่างๆของตัวรถ เค้าจงใจใช้เหล็กต่างชนิด ต่างความหนากัน.
+1 ตามนี้ครับ
โลหวิทยาไปมันไกลแล้ว Composite ของเหล็กก็มีเป็นร้อยๆแบบ ผสมกันไม่ได้ให้เอามาวัดเรื่องหนาบาง ทุกๆอย่างมีเหตุผลของมันอยู่
ส่วนเรื่องรถญี่ปุ่นบางกว่ารถฝรั่งจริงไหม ไม่กล้าตอบเลยครับ ทุกวันนี้ยังหลอน GD ประตูมันดีดปกติชนเสาบ้านแล้วยุบลงไปอยู่เลย
เรื่องการใช้ความรู้สึกมาวัดทั้งหลาย (โดยเฉพาะไอการฟังเสียงเคาะๆ ปิดๆประตู) ผมว่าสมัยนี้แล้วควรเลิกเอามาใช้ได้แล้วน่ะครับ
แค่ผมหาอะไรหนาๆไปใส่ไว้หลังส่วนที่คุณไปเคาะๆกัน มันก็ทำให้เสียงแน่นได้ทั้งนั้นแหละ
ถ้าสงสัยมากจริงๆ เดินหาตามเซียงกงหรือสุสานรถพร้อมกับเครื่องวัดความหนาเหล็ก ยิงเช็คมันทุกคันอะครับ คันไหนมีสนิมก็เลี่ยงหน่อยเดี๋ยวจะบาดทะยัก + คาดเคลื่อน
เดี๋ยวก็ได้คำตอบเองแหละครับ