ผู้เขียน หัวข้อ: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย  (อ่าน 4747 ครั้ง)

ออฟไลน์ shando

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,864
อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 15:10:20 »
ตอนนี้สถานการณ์ของญี่ปุ่นแบรนด์รองที่ไม่ใช่โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุดูน่าเป็นห่วงมากจริงๆ  ถ้าลองไล่ดูทีละแบรนด์

นิสสันประกาศว่าจะไม่ออกโมเดลใหม่ใน2ปีนี้ อันนี้ผมว่ามันคือการประกาศไล่ดีลเลอร์ไปขายแบรนด์จีนชัดๆ ทั่้งๆที่รถที่พอขายได้ก็มีแต่ไม่ขาย แบบคิดว่าเอามายังไงก็สู้เจ้าตลาดสู้จีนไม่ได้ ยอมแพ้เลิกสู้มันดื้อๆเลย

มาสด้าถึงจะไม่ออกมาบอกตรงๆแบบนิสสัน แต่สถานการณ์ก็ไม่น่าต่างกันคือไม่มีรถใหม่ขายไปอีกนาน ดีลเลอร์ถ้าไม่ปิดก็ย้ายไปขายBYDหมด

มิตซู ไทรทันใหม่เปิดมาแป้กเพราะหน้าตา เหลือปาปอดใหม่ที่ยังไม่ออกแต่ก็มีสิทธิ์แป้กเหมือนกันเพราะหน้าตาก็อาจจะไม่ต่างกัน ถ้าสองรุ่นนี้แป้กก็ไม่น่าเหลือใครแบกแบรนด์ได้แล้ว

ซูซูกิ ลากขายสวิฟมันอยู่รุ่นเดียว

คือดูแนวโน้มนี่อนาคตรอโดนจีนแซงแบบไม่ต้องลุ้นเลย เพราะรถจีนใหม่ๆมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์ก็เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะที่แบรนด์เหล่านี้พอไม่มีรถใหม่ขาย ดีลเลอร์ก็ต้องปิดตัวย้ายค่ายไป ศูนย์ก็จะน้อยลงเรื่อยๆ การเซอร์วิส การสต็อกอะไหล่ก็น่าจะแย่ลงเรื่อยๆ สุดท้ายอาจจะถึงขั้นล้มหายตายจากไปเลยรึเปล่า


ออฟไลน์ Maj.Worakrit

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 279
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 15:30:49 »
ที่น่าใจหายมากๆคือ Mazda จากแบรนด์ที่รุ่งโรจน์มาก ยอดขายของ Mazda2 เป็นกอบเป็นกำ
ไหนจะตอนเปิดตัว CX30 ที่คนแย่งกัน ขายได้หลักพันคันมายาวๆ

จนมาตอนนี้กระแสโลก มันเปลี่ยนไปไวมาก มันใช่แค่คนต้องการประหยัดน้ำมัน
แต่คนอยากประหยัด โดยหันไปใช้รถไฟฟ้า

ในขณะที่ Mazda ตอนนี้ในไทย แม้แต่ไฮบริด ก็ไม่มีขาย รุ่นที่มีอยู่ มีประหยัดหน่อยก็แค่ Mazda2
ที่เหลือกินน้ำมันดุมาก ไหนจะเคสที่ศูนย์ฟ้องลูกค้าอีก ความเชื่อมั่นหดหายไปเยอะ
รถใหม่ๆกระตุ้นตลาดก็เจือจางมาก

แล้วในตลาดโลกเอง หนทางรถไฟฟ้าก็ดูริบหรี่ ในแบรนด์ญ๊่ปุ่นด้วยกัน Nissan ยังมี Ariya กับเทค e-Power ที่ไปต่อได้ แต่ก็ชักช้ามาก กว่าจะเอามาทำตลาดในไทย สมฉายามะม่วงดอง เจ้าพ่อตลาดวาย

ศุนย์ Mazda ในไทยนี่โคตรสตรองเลยอ่ะ

ออฟไลน์ ThisIsYuTh

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 291
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 16:00:48 »
เห็นมีศูนย์มาสด้าที่นึงปิดไป แล้วเปลี่ยนไปขาย GAC Aion แทน ตอนนี้น่าจะเหงื่อตกยิ่งกว่าเดิม
2020 - Mazda CX-5 2.5T (KF)
2016 - Subaru XV (GP)
2013 - Mitsubishi Pajero Sport (KG)
2010 - Honda Civic (FD)
2006 - BMW 3 Series (E36)

ออฟไลน์ Floppy-T

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 969
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 16:13:56 »
แบรนด์รองก็อยู่ยากครับ แต่รถแพงเพราะสวัสดิการพนักงานเลี้ยงดูปูเสื่อแบบสุดๆมานานหลายปี

ได้ยินจากเพื่อนที่ทำงานในอุตสาหกรรมรถว่า โตโยต้า ชอบทดสอบเรื่องเดิมๆซ้ำๆ

จนรู้สึกว่ามันกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควร แถมชอบกดซัพพลายเออร์ให้ตายด้วย

แต่รถรุ่นเก่าๆทนจริง รุ่นใหม่ๆนั้นความทนทานก็เป็นไปตามต้นทุนที่กด Supplier นั่นแหล่ะ

ใหญ่ๆก็ล้มได้นะ ถ้าพี่จีนเอาจริงกว่านี้

ออฟไลน์ Weetting

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,970
  • ช่วงล่าง+เครื่องยนต์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 16:22:29 »
ลองฟัง รายการเมื่อวันเสาร์ที่แล้วดูครับ  พี่จิมร่ายยาวพอสมควร

ญี่ปุ่นอาจจะรอเวลา จีนประหารประหัตถ์ตายกันไปเองก่อน 

หรือไม่ก็หาทางลงกันอยู่
การเทส บ้าบอ คอแตกแแบบญี่ปุ่น  จีนบอกเปลืองงบและไม่เอา

เอาเป็นว่าผมเชื่อค่ายที่มีการเทสละกันครับ
THE Manual Gearbox Preservation Society
Drive diesel until last day

ออฟไลน์ เนื้อน่องไม่หนัง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,738
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 16:28:19 »
กลุ่ม Subaru / Hyundia / Kia อันนี้นำเข้าล้วน ไม่ต้องกังวลอะไร ไม่มีโรงงานประกอบ คงถูไถไปเรื่อยๆ
ส่วน Nissan / Mitsubishi / Mazda คิดว่า เหนื่อยครับ
Suzuki ยังมองกว่าเขาถนัดรถเล็กและยังทำได้ดี แล้วเขาไม่ได้เป็นแบรนใหญ่เหมอืน Nissan/Mitsubishi/Mazda น่าจะปรับตัวไปได้เรื่อยๆ

Nissan ผมนี่โตมาในช่วง primera / cefiro ที่ดูเน้นคุณภาพมากกว่า Toyota/Honda ในช่วงนั้น
ตอนนี้เหลือแต่ almera ซึ่งไม่ได้รู้สึกโดดเด่นอะไรเลย ผู้บริหารก็แง้มมาแล้วว่าสองปีไม่มีอะไรใหม่มา... ทั้งๆที่คิดว่ามีบางรุ่นที่พอเอามาขายได้อยู่
ส่วนตัวคิดว่า Nissan อาการหนักสุด สินค้าไม่มี FC ก็ไม่เหลือแล้ว ศูนย์บริการก็เริ่มหาย..

Mazda ยังมองว่ามีจุดขายกับกลุ่มลูกค้าที่ชัด ถ้าทำรถใหม่ออกมาได้ไม่แย่ และยังตอบโจทย์เรื่องการขับขี่ น่าจะไปได้เรื่อย แต่เหมือนว่าตอนนี้ไม่มีแววรุ่นใหม่ที่จะมาแทน mazda2 เลย
mazda3 / cx30 ก็คงไม่ปังอย่างที่คิด Cx-30 Cx-5 Cx-8 อาจลากไปต่อได้อีกหน่อย ในตลาดโลกไม่ดูไม่มีตัวไหนน่าจะเวิคในตลาดไทยเลย ถ้าไม่มีตัวใหม่มาเสริมก็เหนื่อนแน่นอน

Mitsubishi ก็ยังมองว่าน่าเป็นห่วง สมัยก่อนมี Lancer ตอนนี้ เก๋งเหลือแต่ mirage attrage ที่ลากขายนานมากแล้ว
Triton ที่ตัวแรกถือว่าเป็นกระบะฟิลลิ่งเก๋ง ตอนนี้โดน Ranger ดีแตก แต่น่าจะหวังไว้กับ PJS อยู๋มาก ซึ่งถ้าทำได้ดีก็อาจไปได้เรื่อยๆ...

ออฟไลน์ GT3

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 499
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 17:33:05 »
ลำบากครับ เส้นที่ผมขับประจำก็เห็นศูนย์มาสด้าเปลี่ยนเป็น byd เหมือนกันครับ
แล้วคือศูนย์มาสด้าก็ไม่ได้เยอะอยู่แล้ว ยิ่งน้อยลงไปอีก

ออฟไลน์ Left lane driver

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 701
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 17:39:10 »
กลุ่ม Subaru / Hyundia / Kia อันนี้นำเข้าล้วน ไม่ต้องกังวลอะไร ไม่มีโรงงานประกอบ คงถูไถไปเรื่อยๆ
ส่วน Nissan / Mitsubishi / Mazda คิดว่า เหนื่อยครับ
Subaru มีโรงงานประกอบในไทยครับ แต่ผลิตแค่ Forester อย่างเดียว ยอดขายก็ไม่ได้เยอะ

ส่วน Crosstrek (XV) ตัวใหม่ก็เห็นข่าวว่าอาจจะประกอบไทยเหมือนกัน แต่กว่าจะมาก็ 2025 นู่นเลย (ช้าไปไหม เมืองนอกเขาขายกันแล้ว)

ออฟไลน์ -Brian

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,082
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 17:59:11 »
แบรนด์ญี่ปุ่น ผมห่วง Mitsu ที่สุดแล้วครับ ในแง่ของ Product

สถานการณ์ ณ ตอนนี้ ที่เพิ่งเปิดตัว Triton ใหม่ไปหยกๆ แต่ยอดมีแต่ต่ำลงๆ ที่ยอดขายยังดูเยอะอยู่ เพราะตัวเองมี Triton กับ ปาเจโร่ ที่อยู่ในกลุ่มที่มี Volume เยอะ ซึ่งเทียบกันในกลุ่มกับคู่แข่งแล้ว ยอดขายถือว่าค่อนไปทางน้อยครับ

ตอนนี้คงต้องรอปาเจโร่ใหม่อย่างเดียว ซึ่งก็ยังไม่รู้จะออกหน้าไหน ส่วนครอสโอเวอร์ กับรถเก๋งที่มีขายเมืองนอก ไม่ค่อยมีความน่าสนใจเท่าไร และไม่น่าจะเอามาขายบ้านเราครับ


ส่วน Nissan ผมห่วงในแง่ของการบริหาร และการตลาดมากกว่าครับ ตัว Product เขายังพอมีของให้เล่นอยู่ แต่การที่ประกาศออกมาแบบนั้น มันก็ค่อนข้างทำให้ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นอยู่ครับ

Mazda สำหรับผมเฉยๆ เพราะสเกลของบริษัทเล็กกว่า 2 เจ้าด้านบนอยู่เยอะ การที่ยังขายรถได้อยู่ ณ วันนี้ โดยที่มีโมเดลเก่าลากขายอยู่ไม่กี่ตัว ผมถือว่าไม่น่าเป็นห่วงนัก (เป็นห่วงแหละ แต่น้อยกว่า 2 เจ้าด้านบน) อีกอย่างเขายังมีของในมืออยู่ แค่ต้องวางแผน กับทำราคากันดีๆ และรีบสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าปัจจุบัน ผมว่ายังพอไปได้ครับ

ตัวผมจริงๆห่วงทางฝั่งจีนมากกว่าครับ จากที่เห็นอีกหลายเจ้าตบเท้ากันเข้ามาเมืองไทย สุดท้ายแล้วจะเหลือรอดอยู่กี่เจ้า เอาแค่ GWM ตอนนี้ ผมก็ว่าเงียบไม่ต่างจากฝั่งญี่ปุ่นค่ายรองเท่าไร แถมจีนยิ่งขึ้นชื่อเรื่องแพอีก ถ้ามองข้ามความฉาบฉวย ณ ตอนนี้ไปได้ ผมว่ายังพอมีเวลาให้เราดูสมรภูมิรถจีนอีกซักพักครับ

ออฟไลน์ youngbear

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,333
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 19:11:34 »
 8) 8) 8).......ญี่ปุ่น ทนงตัวผิดยุคผิดสมัย จีนไม่พูดพล่ามทำเพลง ยกแบตเตอรี่ EV ทุ่มหัวญี่ปุ่นแบะ เย็บไม่ติด วิ่งกลับเกาะไม่ถูก เลิกร้อง บันไซ ไปอีกนาน ! :-X

ออฟไลน์ XyteBlaster

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,293
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 19:16:17 »
ศูนย์ mazda แถวบ้านพึ่งเปิดใหม่ เปลี่ยนไปขาย BYD แล้วครับ ขายดีมากก

ออฟไลน์ MyName

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 8,145
  • I'm............................
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 19:48:23 »
คิดว่าฝั่งญี่ปุ่นคงไม่ล้มหายตายจากกันไปเลยง่ายๆ ครับ แต่ก็จะเหนื่อยหน่อย

Nissan นี่พลาดจริงๆ เรื่องคำตอบ CEO รอ 2 ปี ผมคนใช้ยังหมดใจเลยครับ ตอบมาได้ไง
คำตอบที่ดีกว่านี้เยอะมาก เช่น เรากำลังเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ระหว่างนี้เราจะส่งเสริมอะไรก็ว่าไป
ไม่ใช่มาขอให้รอ ใครจะรอถามก่อน ต่อให้เจ้าตลาดมาพูดแบบนี้ก็ไม่มีใครรอเหมือนกัน

Mazda อันนี้กรรมที่ตัวเองทำทั้งหมด ไม่มีใครทำอะไรให้เลย
เค้ายังมั่นใจว่าแนวทางนี้เค้ายังขายได้ ก็ให้ขายต่อไปแบบนี้แหละ
ที่น่าตลกคือ ตั้งแต่ CEO คนนี้เข้ามารับตำแหน่ง MST ปีก่อนๆ
ออพชั่นรถมีทั้งให้เพิ่มและถูกตัด อัพราคาแพงขึ้นหลายหมื่น
ข้อเสนอดีๆ ยังโดนหั่นไป (แต่ยังดีกว่า Nissan นิดนึง)
ก็ถือว่าแนวทางการไม่เน้นยอดแต่เพิ่มกำไรต่อคันชัดเจนดี ก็คงยังอยู่ได้แหละ

Mitsubishi นี่เห็น plan แล้วถือว่าไม่น่าเป็นห่วงนะ
ยังมี Xpander Hybrid , Xforce รออยู่ แถมที่ว่ามาประกอบแหลมฉบังอีก
Xpander น้ำมันอาจไม่ใช่ที่ 1 แต่ก็พอประคองตัวกันได้
แต่ดันมาพลาดกับ Triton ที่กระแสตอบรับและยอดขายต่ำกว่าที่คิดนี่แหละ
เลยน่าเป็นห่วงขึ้นมาเลย แต่เจ้านี้แก้เกมส์ไว เดี๋ยวรอดูกันต่อ

Suzuki เห็นยอด Swift + Celerio เทียบสเกลบริษัทแล้วไม่น่าห่วงมากครับ
เจ้านี้เค้าอัดโปรกันมาและมากันอย่างต่อเนื่อง เน้นขายรุ่นถูกของไม่เยอะไว้
แต่เสียดายทึ่ Ertiga + XL7 มันควรจะแบกแบรนด์ได้มากกว่านี้
ส่วนนึวก็การตั้งราคา Mild Hybrid ที่ตั้งมายังกะ Full Hybrid ด้วย ลดไม่ทันเลยทีเดียว
Cars
2022 - Nissan Almera 1.0 Turbo VL
2016 - Mazda 2 1.5XD High Plus L
2008 - Mitsubishi Space Wagon 2.4 GLS Ltd. !User'Review Click here!
1997 - Daihatsu Mira

Motorcycles
2023 - Vespa Sprint S 150 i
2012 - Yamaha Mio 125 GTX

ออนไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,953
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 20:56:51 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,863
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 20:59:41 »
แบรนด์รองจะตายสนิทหรือไม่สนิท ต้องมาดูว่า ค่ายจีนไหนจะสามารถเข้าใจการใช้รถในตลาดอาเซียนได้ก่อนกัน

ทั้ง mg ทั้ง gwm ก็กำลังเจอพายุจากสงครามราคาและรถใหม่จากแผ่นดินใหญ่เช่นกัน
รถ 1 model เร็วสุดต้องใช้เวลา 2 ปีถึง minor change แต่รถใหม่ป้ายแดงจีน เปิดตัวในไทยทุก 6 เดือน
จริงอยู่ สถานการณ์​ตอนนี้ เป็นของคนมีเงินที่พร้อมจะลองอะฟไรใหม่ๆ แต่สำหรับคนรายได้ทั่วไป ก็เห็นช้ำจากการลองอะไรใหม่ๆมาพอสมควร

ครั้งหนึ่ง วงการมอไซค์ก็เคยฮือฮาจากการที่มีรถค่ายจีนอย่าง lifan เรียวกะ และอื่นๆ มาถล่มราคา ขายรถแบบ wave ราคาไม่ถึง 2 หมื่น ขายทรง gto ไม่ถึง 3 หมื่น ในวงการตื่นเต้น ตื่นตระหนกพอควร แต่ไม่ถึง 2 ปี ค่ายจีนทั้งหมดแพ๊คของกลับบ้านหมด
ขายของไม่มีอะไหล่ ขายของห่วยๆ คนซื้อมีแต่ช้ำกับช้ำ

เอาเป็นว่า ถ้ามองด้วยเหตุและผล ส่วนตัว ยังไม่ตีค่าจีนไว้สูงขนาดนั้นครับ จนกว่าจะพิสูจน์ได้จริงๆว่า ถ้ารถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ไม่ต้องคืนทุน ไม่ต้องรอเกิน 3 เดือนแล้วซ่อมเสร็จ  มีความเสถียรในสินค้าพอ

ปล.ครั้งหนึ่ง ผมก็เคยมองว่า เก๋งฟอร์ด เก๋งฮุนได เก๋งเกีย และค่ายเชฟ ไปไม่รอด เพราะการตลาดเขาคือยกมาจากฟากมะกันคือ ขายรถ 5 ปีแล้วทิ้ง เปลี่ยนรถใหม่ ระบบสต๊อกอะไหล่มันต่างกับขายรถ 10 ปีขึ้นไปลิบลับ

ครั้งหนึ่ง hyundai เคยต้องเลือกการลงทุนครั้งใหญ่ว่า จะทำระบบสต๊อกอะไหล่ให้ h1 ระดับพันล้านเพื่อให้รถได้ไปต่อมั๊ย สุดท้ายเขาลงทุน ผลคือ เขาสามารถไปต่อกับ h1 ได้

Ford เลือกเล่นกระบะกับ ppv เช่น isuzu ทิ้งรถเก๋งไป ก็โอเคครับ ไปต่อได้เรื่อยๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2023, 21:06:34 โดย kiwiwi »

ออฟไลน์ Tien.W

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5,232
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 21:17:34 »
Nissan .. ดูจะน่าห่วงสุด ประกาศขนาดนั้น ความเชื่อมั่นลูกค้า และ ดีลเลอร์ หายหมด

Mazda .. Product ยังหลายตัว แต่เริ่มออกอาการไม่ค่อยดี หลายรุ่นเริ่มแก่มากแล้ว

Mitsubishi .. กระบะแป้ก แต่ไม่แน่ อัดแคมเปญเทกระจาด เดี๋ยวก็กระเตื้อง / Xpander ยังพอไหว ถูๆไถได้ เดี๋ยวออก ปาปอด น่าจะพอมียอด อย่างน้อยก็เชื่อว่า ดีกว่า Terra

Subaru .. ค่ายอินดี้ ตรูจะขาย ของตรู แบบนี้ รถที่ต้องแฟนพันธุ์แท้ คนที่รู้จักถึงจะซื้อ ไม่ต้องห่วงเค้า

Suzuki .. Celerio / Swift /Ertiga ไปของเค้าเรื่อยๆ ไม่น่าห่วงหรอก

............

แถมอีกตัว ไม่ใช่ญี่ปุ่น แต่เป็น ฝรั่งเศจ ปีก๊วด เงียบกริ๊บบบเลย

ออฟไลน์ เนื้อน่องไม่หนัง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,738
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 21:38:41 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ
ผมคิดว่ารายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายรถครับ ส่วนงานบริการ อะไหล่ น่าจะมาจากการผูกกับประกันคุณภาพ 3y100000km ครับ คนเลยต้องเอารถมาเข้ากัน
ทีนี้ถ้าหมดประกันแล้วกลุ่มนึงก็ไปพึ่งอู่นอกแล้วครับ เราเลยสังเกตุได้ว่ารถเชคระยะ หรือเซอวิสในศูนย์เป็นรถใหม่ซะส่วนใหญ่ครับ
งานซ่อมสีตัวถัง ถ้าหมดประกันซ่อมศูนย์ก็น่าจะโดนประกันส่งไปไปอู่นอกกันหมดครับ
มองว่างานเซอวิส มันเอามาเป็นจุดขายว่ามีบริการหลังการขาย เพื่อดูดคนให้มาซื้อมากกว่าครับ
ทีนี้ถ้ารถขายได้น้อยอีก คนที่จะเอารถมาเข้าศูนย์ก็น้อยลงไปอีกครับ...

กลุ่ม Subaru / Hyundia / Kia อันนี้นำเข้าล้วน ไม่ต้องกังวลอะไร ไม่มีโรงงานประกอบ คงถูไถไปเรื่อยๆ
ส่วน Nissan / Mitsubishi / Mazda คิดว่า เหนื่อยครับ
Subaru มีโรงงานประกอบในไทยครับ แต่ผลิตแค่ Forester อย่างเดียว ยอดขายก็ไม่ได้เยอะ

ส่วน Crosstrek (XV) ตัวใหม่ก็เห็นข่าวว่าอาจจะประกอบไทยเหมือนกัน แต่กว่าจะมาก็ 2025 นู่นเลย (ช้าไปไหม เมืองนอกเขาขายกันแล้ว)
ขอบคุณที่มาแก้ให้ครับ เข้าใจว่านำเข้าหมดมาตลอดเลยครับ
Subaru ถ้ายอมปล่อยเครื่องที่แรงขึ้นมา ผมว่ายังพอได้เรื่อยๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2023, 21:41:01 โดย Qwerty »

ออฟไลน์ boost

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 378
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 21:57:15 »
Nissan หยุด 2 ปีจริงเหรอครับ? เขาไม่ทำนาวาร่าโฉมใหม่แพลตฟอร์มเดียวกับไทรทันใหม่เหรอครับ ผมกำลังรอดูกระบะ Nissan เลยเพราะผมใช้ np300 อยู่ ไททันที่ว่ากันว่าขับดีแต่หน้าตามัน เกินจะ..จริงๆสำหรับผมนะ
2020 CIVIC fc RS 1.5
2017 Mirage GLS-LTD
2015 NAVARA VL auto 4wd
2012 almera V auto
2008 camry acv40 2.4
1991 A31 Rb25det set bo TD06-24v
1990 A31 2JZ GTE 5speed M/T
1984 SUPRA A60 1JZ GTE M/T

ออฟไลน์ dht_tubes

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,642
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 22:13:32 »
ผมกลับได้ยินมาอีกมุมว่า 0 ไม่อยากเซอร์วิส อยากขายแต่รถมากกว่า

ต้องทำเพราะโดนบังคับให้ต้องทำ ไม่งั้นไม่ให้ขายรถ

บริหารโรงซ่อม ทั้งคน ทั้งปัญหาสารพัด เป้าทั้งรถขาย รถเข้าซ่อม ช่างเข้าออก ออกเข้า

รอดูกันต่อไป

ออฟไลน์ Adios2nd

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 53
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2023, 22:17:16 »
นิสสัน คนซื้ออัลเมร่ามา ก็เซ็งๆ อยู่นะ ...พี่ประกาศแบบไม่ปรึกษาใครเลย ศูนย์จะเหลือเท่าไหร่กันเชียว
มิตซู จากไลน์อัพที่กำลังจะเข้า บางรุ่นที่ขายดีแปลกๆ แล้วก็...จะลากอีกนานไหม มิราจน่ะ?... อาจจะเป็นผู้รอดชีวิตนะ
มาสด้า ตอนรุ่งเรืองคือทำรถขับสนุกมาขายคนรุ่นใหม่ ตอนนี้คนรุ่นใหม่ไปซื้อไฟฟ้าละ ...เนี่ย โดนตบฐานลูกค้าไปจากมือตรงๆ ร่อแร่ไปกับนิสสัน
ซูซูกิ ...ขายสวิฟท์ พอละ ทำขายรุ่นเดียวก็ไม่เห็นต้องแข่งกับใครแล้วป่ะ? อันนี้ผมก็ว่ารอด

ฮอนด้าเนี่ย เจ้าตลาดก็จริง แต่ถ้าไม่ระวัง มีเป๋ได้นะ มัวแต่ LaneWatch อยู่นั่นแหละ ยกเลิกสัญญาชิ้นส่วนนี้ไปได้ป่ะ(วะ)?

โตต้า อีซุ คงอยู่แบบสบายๆ ไม่เจ็บไข้อะไร

ออฟไลน์ nobody123

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 140
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 02:24:34 »
เป็นอานิสงส์ให้ ไม่ใช่แค่ แบรนด์จีน
แบรนด์สแกนดิเนเวียหรู จากเดิมเป็นอันดับสามในหมู่รถหรูมาพักนึงแล้ว กลายเป็นอันดับหนึ่งยอดจดทะเบียนหลายเดือนในหมู่รถ EV หรู
ยอดจดทะเบียน ปี 2022 เทียบ 2021 เพิ่มขึ้น 76.6% เป็นอัตราเติบโตสูงสุดในหมู่รถหรู
; https://autolifethailand.tv/sales-register-premium-brands-2022-thailand/#:~:text=3%2C248%20%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%2B32.9%25-,Volvo,%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%201%2C189%20%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%2B76.6%25

ส่วนตัวมีมีรถหรูสามอันดับแรกในไทย จะเลือกรถ EV ขับดีในอนาคต แล้วประหยัดเงินไปเที่ยวรอบโลก หากไม่ซื้อแบรนด์อังกฤษแท้ ยังมอง MG แทนแบรนด์ญี่ปุ่น เพราะแยกช่วงล่างหลังอิสระ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2023, 02:26:23 โดย nobody123 »

ออนไลน์ apinui

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,953
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 10:54:03 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ
ผมคิดว่ารายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายรถครับ ส่วนงานบริการ อะไหล่ น่าจะมาจากการผูกกับประกันคุณภาพ 3y100000km ครับ คนเลยต้องเอารถมาเข้ากัน
ทีนี้ถ้าหมดประกันแล้วกลุ่มนึงก็ไปพึ่งอู่นอกแล้วครับ เราเลยสังเกตุได้ว่ารถเชคระยะ หรือเซอวิสในศูนย์เป็นรถใหม่ซะส่วนใหญ่ครับ
งานซ่อมสีตัวถัง ถ้าหมดประกันซ่อมศูนย์ก็น่าจะโดนประกันส่งไปไปอู่นอกกันหมดครับ
มองว่างานเซอวิส มันเอามาเป็นจุดขายว่ามีบริการหลังการขาย เพื่อดูดคนให้มาซื้อมากกว่าครับ
ทีนี้ถ้ารถขายได้น้อยอีก คนที่จะเอารถมาเข้าศูนย์ก็น้อยลงไปอีกครับ...


อันนี้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

ที่ผมพอทราบคือ รถใหม่เป็นรายได้จริงครับแต่กำไรจริงๆน้อยมาก กำไรรถใหม่ 1 คันหลักหมื่นครับ และไหนจะต้องมาเทส่วนลด อัดมาจิ้นแข่งกันเองอีก รวมๆที่ผมเคยได้ยินคือแทบไม่เหลือกำไรจากการขายรถใหม่เลย

แล้วโชว์รูมอยู่ได้อย่างไร ก็อย่างที่บอกงาน service นั่นแหละ การรับประกันอะไหล่ หรืองานที่ฟรีค่าแรง คูปองฟรีค่าแรงไม่ใช่ว่าดีลเลอร์ไม่เก็บ แล้วดีลเลอร์ให้ฟรีนะครับ บริษัทแม่จะเป็นคนซัพพอร์ทตรงนั้น คือ ถ้ามีคันไหนฟรีค่าแรงมาใช้บริการ บริษัทแม่จะเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้ดีลเลอร์นั้นๆให้ตามระบบ

ส่วนงานซ่อมสีตัวถัง รถเก่าอาจจะใช้อู่นอก แต่ในระยะ 3-5ปี เชื่อว่าก็จะยังมีคนที่ซื้อประกันแบบซ่อมห้างอยู่มาก และงานประกันนี่แหละที่ศูนย์บริการสามารถขายอะไหล่แท้ ฟันค่าแรง แล้วไปเบิกกับบริษัทประกัน เป็นรายได้ก้อนโตอีกทาง

ถ้างาน service มันไม่สร้างรายได้ ศูนย์บริการคงไม่แข่งกันสร้างใหญ่ๆให้รองรับรถที่มาใช้บริการทีละมากๆกัน แถมต้องมาแข่งงานคุณภาพงานบริการ ประเมินให้คะแนนกันอีก

และก็อู่นอก ไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถหรืออู่สี ต่างก็ต้องมาซื้ออะไหล่แท้จากศูนย์บริการทั้งนั้นครับ และนั่นคือรายได้อีกทางเช่นกัน 

ออนไลน์ nmd

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 173
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 11:01:01 »
ผมว่าการที่ dealer เปลี่ยนแบรนด์ แสดงว่าผลประกอบการมันต้องมีปัญหาแน่ๆ ครับ

เราจะไปรู้ดีกว่าเจ้าของ dealer ได้อย่างไร ใครจะไปอยากลงทุนเปลี่ยนแบรนด์ถ้าไม่จำเป็น

ออฟไลน์ Level Zero

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 758
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 14:44:08 »
ผมยังรอ PJS อยู่นะครับ แต่จะรอไหวรึเปล่านี่แหละ ไม่แง้มภาพหลุดอะไรออกมายั่วแฟนๆเลย ภาพสเก็ตก็ยังดี
Triton นี่แป๊กคิดว่าเพราะน่าตาล้วนๆเลยครับ

ออฟไลน์ เนื้อน่องไม่หนัง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,738
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 19:21:40 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ
ผมคิดว่ารายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายรถครับ ส่วนงานบริการ อะไหล่ น่าจะมาจากการผูกกับประกันคุณภาพ 3y100000km ครับ คนเลยต้องเอารถมาเข้ากัน
ทีนี้ถ้าหมดประกันแล้วกลุ่มนึงก็ไปพึ่งอู่นอกแล้วครับ เราเลยสังเกตุได้ว่ารถเชคระยะ หรือเซอวิสในศูนย์เป็นรถใหม่ซะส่วนใหญ่ครับ
งานซ่อมสีตัวถัง ถ้าหมดประกันซ่อมศูนย์ก็น่าจะโดนประกันส่งไปไปอู่นอกกันหมดครับ
มองว่างานเซอวิส มันเอามาเป็นจุดขายว่ามีบริการหลังการขาย เพื่อดูดคนให้มาซื้อมากกว่าครับ
ทีนี้ถ้ารถขายได้น้อยอีก คนที่จะเอารถมาเข้าศูนย์ก็น้อยลงไปอีกครับ...


อันนี้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

ที่ผมพอทราบคือ รถใหม่เป็นรายได้จริงครับแต่กำไรจริงๆน้อยมาก กำไรรถใหม่ 1 คันหลักหมื่นครับ และไหนจะต้องมาเทส่วนลด อัดมาจิ้นแข่งกันเองอีก รวมๆที่ผมเคยได้ยินคือแทบไม่เหลือกำไรจากการขายรถใหม่เลย

แล้วโชว์รูมอยู่ได้อย่างไร ก็อย่างที่บอกงาน service นั่นแหละ การรับประกันอะไหล่ หรืองานที่ฟรีค่าแรง คูปองฟรีค่าแรงไม่ใช่ว่าดีลเลอร์ไม่เก็บ แล้วดีลเลอร์ให้ฟรีนะครับ บริษัทแม่จะเป็นคนซัพพอร์ทตรงนั้น คือ ถ้ามีคันไหนฟรีค่าแรงมาใช้บริการ บริษัทแม่จะเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้ดีลเลอร์นั้นๆให้ตามระบบ

ส่วนงานซ่อมสีตัวถัง รถเก่าอาจจะใช้อู่นอก แต่ในระยะ 3-5ปี เชื่อว่าก็จะยังมีคนที่ซื้อประกันแบบซ่อมห้างอยู่มาก และงานประกันนี่แหละที่ศูนย์บริการสามารถขายอะไหล่แท้ ฟันค่าแรง แล้วไปเบิกกับบริษัทประกัน เป็นรายได้ก้อนโตอีกทาง

ถ้างาน service มันไม่สร้างรายได้ ศูนย์บริการคงไม่แข่งกันสร้างใหญ่ๆให้รองรับรถที่มาใช้บริการทีละมากๆกัน แถมต้องมาแข่งงานคุณภาพงานบริการ ประเมินให้คะแนนกันอีก

และก็อู่นอก ไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถหรืออู่สี ต่างก็ต้องมาซื้ออะไหล่แท้จากศูนย์บริการทั้งนั้นครับ และนั่นคือรายได้อีกทางเช่นกัน

ขอบคุณที่มาแชร์เพิ่มนะครับ ชอบมากๆครับ
ตราบใดที่คุยกันบน หลักการและเหตุผล ผมว่ามันสนุกและได้ประโยชน์ดีครับ

เรื่องค่าแรงที่ บ.แม่จ่ายให้ก็น่าสนใจครับ

จริงๆอยากพิมต่ออีกเยอะเลย แต่กลัวทำกระทู้ออกทะเล ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2023, 19:41:35 โดย Qwerty »

ออฟไลน์ shando

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,864
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 19:32:08 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ
ผมคิดว่ารายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายรถครับ ส่วนงานบริการ อะไหล่ น่าจะมาจากการผูกกับประกันคุณภาพ 3y100000km ครับ คนเลยต้องเอารถมาเข้ากัน
ทีนี้ถ้าหมดประกันแล้วกลุ่มนึงก็ไปพึ่งอู่นอกแล้วครับ เราเลยสังเกตุได้ว่ารถเชคระยะ หรือเซอวิสในศูนย์เป็นรถใหม่ซะส่วนใหญ่ครับ
งานซ่อมสีตัวถัง ถ้าหมดประกันซ่อมศูนย์ก็น่าจะโดนประกันส่งไปไปอู่นอกกันหมดครับ
มองว่างานเซอวิส มันเอามาเป็นจุดขายว่ามีบริการหลังการขาย เพื่อดูดคนให้มาซื้อมากกว่าครับ
ทีนี้ถ้ารถขายได้น้อยอีก คนที่จะเอารถมาเข้าศูนย์ก็น้อยลงไปอีกครับ...


อันนี้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

ที่ผมพอทราบคือ รถใหม่เป็นรายได้จริงครับแต่กำไรจริงๆน้อยมาก กำไรรถใหม่ 1 คันหลักหมื่นครับ และไหนจะต้องมาเทส่วนลด อัดมาจิ้นแข่งกันเองอีก รวมๆที่ผมเคยได้ยินคือแทบไม่เหลือกำไรจากการขายรถใหม่เลย

แล้วโชว์รูมอยู่ได้อย่างไร ก็อย่างที่บอกงาน service นั่นแหละ การรับประกันอะไหล่ หรืองานที่ฟรีค่าแรง คูปองฟรีค่าแรงไม่ใช่ว่าดีลเลอร์ไม่เก็บ แล้วดีลเลอร์ให้ฟรีนะครับ บริษัทแม่จะเป็นคนซัพพอร์ทตรงนั้น คือ ถ้ามีคันไหนฟรีค่าแรงมาใช้บริการ บริษัทแม่จะเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้ดีลเลอร์นั้นๆให้ตามระบบ

ส่วนงานซ่อมสีตัวถัง รถเก่าอาจจะใช้อู่นอก แต่ในระยะ 3-5ปี เชื่อว่าก็จะยังมีคนที่ซื้อประกันแบบซ่อมห้างอยู่มาก และงานประกันนี่แหละที่ศูนย์บริการสามารถขายอะไหล่แท้ ฟันค่าแรง แล้วไปเบิกกับบริษัทประกัน เป็นรายได้ก้อนโตอีกทาง

ถ้างาน service มันไม่สร้างรายได้ ศูนย์บริการคงไม่แข่งกันสร้างใหญ่ๆให้รองรับรถที่มาใช้บริการทีละมากๆกัน แถมต้องมาแข่งงานคุณภาพงานบริการ ประเมินให้คะแนนกันอีก

และก็อู่นอก ไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถหรืออู่สี ต่างก็ต้องมาซื้ออะไหล่แท้จากศูนย์บริการทั้งนั้นครับ และนั่นคือรายได้อีกทางเช่นกัน

ขอบคุณที่มาแชร์เพิ่มนะครับ ชอบมากๆครับ
ตราบใดที่คุยกับผม หลักการและเหตุผล ผมว่ามันสนุกและได้ประโยชน์ดีครับ

เรื่องค่าแรงที่ บ.แม่จ่ายให้ก็น่าสนใจครับ

จริงๆอยากพิมต่ออีกเยอะเลย แต่กลัวทำกระทู้ออกทะเล ครับ

ไม่ออกทะเลหรอกครับ เพราะผมก็สงสัยเหมือนกันว่าแบรนด์รองเหล่านี้(โดยเฉพาะมาสด้ากับนิสสัน)จะอยู่อย่างไรถ้าไม่มีรถใหม่ๆออกขาย

เรื่องที่ว่ารายได้จากการเซอร์วิสอย่างเดียวมันเพียงพอมั้ยก็เป็นประเด็นที่ผมสงสัยเหมือนกัน

เพราะอย่างที่คุณบอกว่ารถส่วนใหญ่ที่เข้าศูนย์คือรถที่อยู่ในประกัน3ปี พอหมดประกันเค้าก็ไปอู่นอกกัน

การขายรถใหม่ มันก็เป็นการเติมรถเข้าระบบเซอร์วิสของศูนย์

ทีนี้ถ้ารถใหม่ขายไม่ได้หรือขายได้น้อยลงมากๆ มีแต่รถเก่าอายุเกิน3ปี รถส่วนใหญ่เค้าก็หนีไปเซอร์วิสอู่นอกกันหมด รายได้ที่ได้จากการเซอร์วิสของศูนย์ก็ต้องลดลงตาม


ออฟไลน์ kiwiwi

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 4,863
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 19:46:23 »
เดียวนะ โชว์รูมเค้าไม่ได้มีรายได้จากการขายรถเพียงอย่างเดียวนะครับ

ถึงรถใหม่จะขายได้น้อยลง แต่ก็ขายได้ มียอดจำหน่ายเรื่อยๆ และรายได้ โชว์รูมก็มาจากงานบริการ งานซ่อมสีตัวถังอีก

ศูนย์มาสด้าคลอง 4 ที่ผมใช้ประจำ จะเข้าศูนย์ก็ยังต้องจองคิวอยู่ แถมช่วงปลายปีนี่คิวยาวเลยจองกันข้ามอาทิตย์

รถญี่ปุ่นที่วิ่งอยู่บนถนนน่ะ ถ้ามีการเช็คระยะ เค้าอยู่ได้ครับ รายได้เข้า ขายน้ำมันเครื่องขายอะไหล่ ขายงานบริการเก็บค่าแรง

ส่วนรถไฟฟ้า ที่มีการเช็คระยะ เปลี่ยนแค่ น้ำยาหล่อเย็น กรองแอร์ มันมีรายได้เพียงพอหรือเปล่า ระยะยาว ใครจะอยุ๋ไม่ได้กันแน่ รอดูเลยครับ

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกไหมนะครับ
ผมคิดว่ารายได้ส่วนใหญ่มากจากการขายรถครับ ส่วนงานบริการ อะไหล่ น่าจะมาจากการผูกกับประกันคุณภาพ 3y100000km ครับ คนเลยต้องเอารถมาเข้ากัน
ทีนี้ถ้าหมดประกันแล้วกลุ่มนึงก็ไปพึ่งอู่นอกแล้วครับ เราเลยสังเกตุได้ว่ารถเชคระยะ หรือเซอวิสในศูนย์เป็นรถใหม่ซะส่วนใหญ่ครับ
งานซ่อมสีตัวถัง ถ้าหมดประกันซ่อมศูนย์ก็น่าจะโดนประกันส่งไปไปอู่นอกกันหมดครับ
มองว่างานเซอวิส มันเอามาเป็นจุดขายว่ามีบริการหลังการขาย เพื่อดูดคนให้มาซื้อมากกว่าครับ
ทีนี้ถ้ารถขายได้น้อยอีก คนที่จะเอารถมาเข้าศูนย์ก็น้อยลงไปอีกครับ...


อันนี้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

ที่ผมพอทราบคือ รถใหม่เป็นรายได้จริงครับแต่กำไรจริงๆน้อยมาก กำไรรถใหม่ 1 คันหลักหมื่นครับ และไหนจะต้องมาเทส่วนลด อัดมาจิ้นแข่งกันเองอีก รวมๆที่ผมเคยได้ยินคือแทบไม่เหลือกำไรจากการขายรถใหม่เลย

แล้วโชว์รูมอยู่ได้อย่างไร ก็อย่างที่บอกงาน service นั่นแหละ การรับประกันอะไหล่ หรืองานที่ฟรีค่าแรง คูปองฟรีค่าแรงไม่ใช่ว่าดีลเลอร์ไม่เก็บ แล้วดีลเลอร์ให้ฟรีนะครับ บริษัทแม่จะเป็นคนซัพพอร์ทตรงนั้น คือ ถ้ามีคันไหนฟรีค่าแรงมาใช้บริการ บริษัทแม่จะเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้ดีลเลอร์นั้นๆให้ตามระบบ

ส่วนงานซ่อมสีตัวถัง รถเก่าอาจจะใช้อู่นอก แต่ในระยะ 3-5ปี เชื่อว่าก็จะยังมีคนที่ซื้อประกันแบบซ่อมห้างอยู่มาก และงานประกันนี่แหละที่ศูนย์บริการสามารถขายอะไหล่แท้ ฟันค่าแรง แล้วไปเบิกกับบริษัทประกัน เป็นรายได้ก้อนโตอีกทาง

ถ้างาน service มันไม่สร้างรายได้ ศูนย์บริการคงไม่แข่งกันสร้างใหญ่ๆให้รองรับรถที่มาใช้บริการทีละมากๆกัน แถมต้องมาแข่งงานคุณภาพงานบริการ ประเมินให้คะแนนกันอีก

และก็อู่นอก ไม่ว่าจะอู่ซ่อมรถหรืออู่สี ต่างก็ต้องมาซื้ออะไหล่แท้จากศูนย์บริการทั้งนั้นครับ และนั่นคือรายได้อีกทางเช่นกัน

ขอบคุณที่มาแชร์เพิ่มนะครับ ชอบมากๆครับ
ตราบใดที่คุยกับผม หลักการและเหตุผล ผมว่ามันสนุกและได้ประโยชน์ดีครับ

เรื่องค่าแรงที่ บ.แม่จ่ายให้ก็น่าสนใจครับ

จริงๆอยากพิมต่ออีกเยอะเลย แต่กลัวทำกระทู้ออกทะเล ครับ

ไม่ออกทะเลหรอกครับ เพราะผมก็สงสัยเหมือนกันว่าแบรนด์รองเหล่านี้(โดยเฉพาะมาสด้ากับนิสสัน)จะอยู่อย่างไรถ้าไม่มีรถใหม่ๆออกขาย

เรื่องที่ว่ารายได้จากการเซอร์วิสอย่างเดียวมันเพียงพอมั้ยก็เป็นประเด็นที่ผมสงสัยเหมือนกัน

เพราะอย่างที่คุณบอกว่ารถส่วนใหญ่ที่เข้าศูนย์คือรถที่อยู่ในประกัน3ปี พอหมดประกันเค้าก็ไปอู่นอกกัน

การขายรถใหม่ มันก็เป็นการเติมรถเข้าระบบเซอร์วิสของศูนย์

ทีนี้ถ้ารถใหม่ขายไม่ได้หรือขายได้น้อยลงมากๆ มีแต่รถเก่าอายุเกิน3ปี รถส่วนใหญ่เค้าก็หนีไปเซอร์วิสอู่นอกกันหมด รายได้ที่ได้จากการเซอร์วิสของศูนย์ก็ต้องลดลงตาม
แล้วแบรนด์รอง บางครั้งศูนย์บริการก็ไม่ทำให้ตัวให้เป็นมิตรกับรถที่มาเซอร์วิสด้วยสิ
เคยใช้ฮอนนด้ามา 3 คัน ผมเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แบต บางครั้งมีใจอ่อนเปลี่ยนยางกับเขาด้วยตอนมีโปร
ล่าสุด honda freed เช็คระยะเปลี่ยนนมค.ที่ 3 แสนแล้ว แต่รายการหนักๆ ส่วนใหญ่ก็ไปอู่นอก เพราะมีกงสีจ่ายให้

เคยขาย space wagon แล้ว เปลี่ยนมาใช้ odyssey ฝั่งมิตซู รอบละ 6000 up แต่ honda ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 5000 ในระยะ 1 แสนแรก

ก็ศูนย์ฮอนด้าเครือที่ผมเข้า เขาตวงนมค.จากถัง 200ลิตร เลยทำราคาได้ถูกกว่าฝั่งมิตซูที่ใช้คาสตรอลเป็นขวดๆ
เซ็นเซอร์ o2 ฝั่งมิตซูล่อหัวละ 2 หมื่น ฝั่งฮอนด้าน่ารักมาก หา part no. ที่ใช้ร่วมกันและขายในราคา accord รุ่นเก่าให้ หลักพัน
ทุกอย่างของ mitsu แพงหมด แพงระดับรถยุโรปแอบเขินเลยทีเดียว

แบบนี้ ใครหมดประกันก็หนีแล้ว

ทุกวันนี้ตามเพจ terra อยู่เพราะเพื่อนผมใช้ เช็คระยะที โดนจุกๆเลยครับ

นอกจากจะไม่มีโมเดลอะไรใหม่ๆแล้ว นโยบายของ 0 ก้ไม่เอื้อให้คนเข้าต่อเนื่องอีก ไปกันใหญ่เลยทีนี้

ออฟไลน์ เนื้อน่องไม่หนัง

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,738
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 20:50:47 »
ถ้าประกันภัยเป็นซ่อมอู่ คิดว่าอะไหล่ที่เปลี่ยนอาจไม่ใช้อะไหล่แท้ตีแบรนนะครับ อาจได้เกรดพวก oem แทน
และถ้ารถซ่อมอู่ เชคระยะที่อู่ก็น่าจะเป็นอะไหล่ oem แทนครับ นอกจากบางชิ้นที่อะไหล่ศูนย์ดีกว่าจริงๆครับ
และเคยได้ยินว่า honda อะไหล่ต้องสั้งผ่านศูนย์มีเลข vin ถึงจะขาย
แต่บางแบรนก็มีร้านอะไหล่แท้ขายเลย ซึ่งแบบนี่ศูนย์อาจไม่ได้ประโยชน์ครับ

ถ้ามองในเรื่องของงบ คิดว่าคนเปิดศูนย์ ไม่น่าจะหวังเรื่อง งานซ่อมเท่าไหร่ครับ นอกจากเอางานซ่อม งานสีเป็นตัวชูโรงดึงลูกค้าเข้าโชว์รูม นั้งรอเชคระยะก็ชวนไปเทสไดร์ฟ อะไรแบบนั้น
งบประมาณในการทำโชว์รูมมันน่าจะสูงมากๆ 50m++ ซึ่งด้วยงบขนาดนั้น ทำอู่ซ่อมเฉพาะทาง น่าจะคืนทุนได้เร็วกว่า แถมไม่โดนตัวแบรนเองบีบให้ removate showroom หรือ stock รถที่ไม่อยากขายอีกด้วย

อย่างเคส Mazda น้ำหยดลงหินทุกวันหินยังกร่อน นับประสาอะไรกับน้ำมันเกียร์lifetime..
ช่างในศูนย์ก็เห็นด้วยว่าควรจะเปลี่ยน แต่นโยบายบริษัทคือไม่เปลี่ยนจนมีอาการกันเยอะ เลยยอมให้เปลี่ยน... กลายเป็นนโยบายที่ผลักลูกค้าให้ไปลองเข้าอู่นอกกัน ผมมีเพื่อนผม 2-3 คนที่ใช้Mazdaผมเลยแนะนำให้ไปอู่คนรู้จักที่ทำ ford/mazda เพื่อเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ทีนี้พอหมดประกันตัวรถ ก็เอาเข้าอู่นั้นแทนเลย

Nissan เองก็มีเรืองอะไหล่ไม่ค่อนทน อันนี้ได้ยินเขามาอย่างเดียว ซึ่งถ้าเอาเข้าศูนย์แล้วซ่อมไม่จบ อาการเดิมกลับมา ก็คงหาอะไหล่เทียบ จากอู่นอกแทนครับ...

ถ้าเอาตัวรถปัจจุบัน ผมคิดว่า Nissan หนักกว่า Mazda แถมผู้บริหารออกมาย้ำเองอีกว่า ไม่มีโมเดลใหม่ 2 ปี..
ถ้าไม่มีรถใหม่ขาย เซลก็อยู๋ไม่ได้ครับ เพราะเขาเน้นค่า commission
คนกำลังจะซื้อก็กลัวซื้อแล้วศูนย์หาย  รถที่เข้าเซอวิสก็น้อยลงตาม..
ศูนย์จะอยู๋ยังไง...

ออฟไลน์ shikimaru

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,313
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2023, 21:59:19 »
ขอตอบเรื่องการบริการของศูนย์ก่อนเท่าที่เคยคุยกับเจ้าของเลย หลายๆที่ ค่าบริการได้กำไรมากกว่าขายรถอีกครับ มาจิ้นจากรถหลายปีที่ผ่านมานี่น้อยลงไปเยอะ ถ้าไม่ใช่พวกระดับท็อปไฟของศูนย์ระดับประเทศที่เป้าขายเยอะมากๆ ตามจังหวัดรองๆนี่หวังการบริการเพียบเลยครับ อู่นอกตาม ตจว มันไมไ่ด้เยอะแบบกรุงเทพ คนทั่วไปที่ใช้รถรอบๆตัวผมนี่ก้เข้าศูนย์กันนะ 2 3 แสนโลก้เข้ากัน แต่ซ่อมชิ้นหนักๆอาจจะไปอู่นอกบ้าง แต่น้อยเลยจริงๆ


ออฟไลน์ GOBBS

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,033
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2023, 10:01:15 »
เดี๋ยวนี้ยี่ห้อรองรับประกัน 5ปีกันจะหมดแล้วครับ และรายได้หลักๆของศุนย์มาจาก service มากกว่าขายรถและศูนย์เอง ยังไงก็อยากให้ลูกค้าเข้าศูนย์นานๆแน่นอน
เอาเฉพาะ mazda ที่ผมพึ่งไปเข้าศูนย์ละกัน โทรตามให้มาเช็คระยะตลอดทั้งๆที่เลย5ปีไปแล้ว
และหลังๆถ้าดู package เข้าศูนย์/ซ่อม ราคา+ความคุ้มค่าเทียบกับอู่ เริ่มจะไม่ห่างกันแล้ว...ไม่ใช่ศูนย์ถูกลงนะ อู่เดี๋ยวนี้มันแพงขึ้น
ล่าสุดเปลื่ยนพวกปีกนก ยางช่วงล่างทั้งชุด เข้าศูนย์ราคาของไม่ต่าง(ศูนย์ได้ส่วนลดนิดหน่อย) ค่าแรงศูนย์แพงกว่าประมาณนึง(นี่มาสด้านะ ค่าแรงแพงขึ้นชื่ออยู่แล้ว) แต่ศูนย์รับประกันงานซ่อมปีนึง มานั่งคิดดูเข้าศูนย์จบสบายใจ ถ้าจะเข้าอู่เน้นถูกคงต้องไปเอาอะไหล่เทียบถึงจะถูกกว่าชัดเจนครับ
.....2006 honda jazz idsi
.....2015 mazda2 skyD
..ใช้รถเท่าที่จำเป็นกันเถอะครับ...รถมันติด

ออฟไลน์ DiKiBoyZ

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7,226
    • อีเมล์
Re: อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2023, 12:48:43 »
ญี่ปุ่นแบรนด์หลักๆ มีจุดแข็ง คือ ศูนย์บริการ และ บริการหลังการขาย รวมถึงอะไหล่

ญี่ปุ่นแบรนด์รอง แค่ ประคอง ตัวให้รอดก็ยังยากเลย ขนาดทุกวันนี้ ศูนย์บริการ ดีลเลอร์ ยังค่อยๆ กลายพันธุ์เป็น แบรนด์จีน กันไปเยอะแล้ว

อนาคตของญี่ปุ่นแบรนด์รองในไทย แค่แข่งกับแบรนด์หลักญี่ปุ่นด้วยกันเอง เพื่อขึ้นมาเป็นแบรนด์ตลาด ยังยากเลย

ตอนนี้ญี่ปุ่นแบรนด์รองโดนตีแตกโดยแบรนด์จีนเละเละ อยู่ให้ได้ก็ถือว่าเก่งแล้ว ผมว่าญี่ปุ่นแบรนด์รองบางแบรนด์อาจจะตายหายไปจจากตลาดไทยในไม่ช้า