« ตอบกลับ #80 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2021, 12:40:24 »
คุณไปเรื่อยเลยอะครับ ไม่ได้ตอบคำถามเรื่อง นำเข้า 0% แล้วทิ้งการลงทุน ev ในประเทศแล้วใช่ไหม?
ส่วนเรื่อง ทำไมชาติอื่นไม่ 0% แบบ fta จีน คุณไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องภาพรวมเลยอะครับ
พูดไปก็ไปเข้าเรื่องการเมือง eu us ตัดเราเพราะรัฐบาลเราเป็นทหาร พอหลังเลือกตั้งนายกเราไปทำ fta กับใครบ้าง? ผมไม่เห็นนะ มีจีนที่เดียวที่พอจะทำได้เพราะประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนกัน ส่วน jap มันมี tpp แล้วแต่เราก็มีคนออมาต่อต้าน จน us ออกไปเพราะทรัมป์ เปลี่ยนชื่อเป็น cptpp โดยมี jap เป็นแกนนำ ตรงกันข้ามเวียดนามอยู่ในทุกประชาคมเศรษษฐกิจ และมี gsp ทั้ง eu us เรื่องพวกนี้มันอยู่ที่วิสัยทัศน์ผู้นำประเทศซึ่งเราไม่มี
ที่ตรรกะคุณมันพังก็เพราะคุณมีอคติกับกับอุตสาหกรรมรถญี่ปุ่นหรือเปล่า ผมยังไม่เห็นจุดเชื่อมโยงเลย แทนที่จะให้ภาษีผลิต ev ในประเทศ 0% กลับอยากจะให้นำเข้า ev 0%
ทุกอย่างมันกลับตาลปัตรไปหมดอะครับ การที่จะบอกว่าอุตสาหกรรมรถภายในประเทศเป็นตัวถ่วง
1 คุณห้าม ev อื่นเข้ามาผลิตในประเทศ(ปกป้องข้างใน)
2 ภาษีรถผลิตในประเทศต่ำกว่า ev (ข้างในได้เปรียบในการแข่งขัน)
แต่ในความเป็นจริงมันตรงกันข้าม แล้วมันจะถ่วงยังไงผมก็ไม่เข้าใจ เอกชนเขาจะทำอะไรมันก็เรื่องของเขา ศักยภาพในการเชิญชวนเจ้าของเทคโนโลยี ev มาลงทุนของเราต่างหากที่เป็นปัญหา ไม่เห็นจะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมภายในตรงไหนเลย
คุณเชิญเขามาลงทุน หอบเงินมาตั้งโรงงาน สร้างงาน แต่ก็ไม่ควรไปเอาเปรียบเขานะครับ เช่น นำเข้า 0% อีกหน่อยจะไม่มีใครมาลงทุนในประเทศเราอีก นำเข้าเดือนเดียวรถมันก็มาขายได้แล้ว แต่เข้ามาลงทุนผลิต หอบเงินมาลงทุนกี่หมื่นล้าน กี่ปีจะได้ขาย มันไม่แฟร์หรอกครับหากคุณจะให้ภาษีนำเข้าต่ำกว่าแบบนี้ ถ้าจะสนับสนุน ev ควรให้เข้ามาผลิตภาษี 0% มากกว่า แล้วให้แรงจูงใจทางภาษีกับ ev ด้วยเหตุผลอยากให้ประเทศพัฒนาไปสู่ ev ไม่ใช่ให้ภาษีนำเข้า 0% แบบนี้ครับ หรืออย่างน้อยๆ ก็ควรจะให้ภาษีเท่าๆ กัน เพื่อให้เป็นไปตามกลไก rule of origin
จริงๆ แล้วมันมีปัญหา 2 เรื่องที่ซ้อนกันอยู่ คือ รถน้ำมัน-ev และนำเข้า-ผลิตในประเทศ
tpp หรือ cptpp ซังกะบ๊วยที่ว่านี้มันทำให้ประเทศไทยผลิตยาเองไม่ได้ ต้องซื้อเค้าอย่างเดียวสมมติยาที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรขายโดสละ 5000 บาท แต่ประเทศไทย องค์การเภสัชกรรมได้สิทธิบตรขายเองได้ที่ 100 - 500 บาท หากไปทำข้อตกลง tpp หรือ cptpp ซังกะบ๊วยที่ว่านี่เราจะผลิตยาเองไม่ได้ ซึ่งมีโรคที่จำเป็นหลายโรคตั้งแต่ไข้หวัด จนไปถึงเอดส์ มะเร็ง จะมีค่ารักษาที่แพงขึ้น งบประมาณการรักษาอาจจะไม่ครอบครุมคนที่มีสิทธิทุกคน คุณอย่าคิดแต่ตัวเงิน ซึ่งเวียดนามมันไม่มีสวัสดิการให้กับประชาชนอะไรอยู่แล้วจึงไม่เดือดร้อนเรื่องสิทธิบัตรผลิตยาเอง ผู้นำเวียดนามต่างหากที่ไม่มีมนุษยธรรมกับประชาชน
มันก็ไม่ซังกะบ๊วยหรอกคุณ เวลา negotiate มันขึ้นอยู่กับว่าเราได้อะไร เสียอะไร คุ้มค่าไหมที่จะเข้าร่วม เป็นอย่างนี้ทุกประเทศอยู่แล้วครับ เพียงแต่คนไทยบางกลุ่มไม่เข้าใจ มองแต่ว่าจะเสียอะไรอย่างเดียว แบบนี้ก็คงไม่ต้องค้าขายกับใครแล้วครับ กลายเป็นประเทศที่ทำข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยากไป คุณอาจจะมองว่าเสียมากกว่าได้ แต่ผมฟังนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศหลายคน เขากลับมองว่าได้มากกว่าเสีย โดยมีเหตุผลรองรับไม่ได้มองด้านเดียว และค่อนข้างเอกฉัณฑ์ว่าเวียดนามเป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องนี้ รอดูก็ได้ครับว่าใครจะถูก ผมก็ไม่รู้อนาคตหรอก แต่ถ้า us กลับเข้ามา แล้วรวม jap ด้วย ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่แบบนี้ ผมว่าประโยชน์ที่ได้มากกว่าเสียมากนัก
ส่วนเรื่องยา เขาคุ้มครองยาที่มีสิทธิบัตร ยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วไม่น่าจะมีผลนะครับ ซึ่งผมก็มองว่าเราเสียประโยชน์จริงกับยาบางตัว แต่เนื่องจากเราทำผิดมานาน ผมจึงมองว่าผมรับได้ การคุ้มครองสิทธิบัตรก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดยากำพร้า ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้องมากกว่า และควรมีระยะเวลาสิทธิบัตรที่เหมาะสม การจะละเมิดสิทธิบัตรแล้วเอาราคาถูก ได้ประโยชน์อย่างเดียว ก็ดูจะไม่ถูกต้องนัก ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คืออินเดีย
ผมว่าเรื่องยานี้มันมากกว่าตัวเงินมากนัก ยากำพร้าเป็นเรื่องที่อธิบายได้ยาก และยาว ลองศึกษาดูนะครับคุณ ว่าทำไมเราจึงควรจ่ายค่ารักษาที่เหมาะสมกับค่าสิทธิบัตร ไม่งั้นในอนาคตเราอาจจะไม่มียารักษามะเร็ง หรือเอดส์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก
ผมไม่ได้กินหญ้านะ ผมกินข้าว ผมรู้ข้อดีข้อเสียว่ามันเป็นยังไง
1. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการค้าและสร้างแรงดึงดูดให้การลงทุนที่ประเทศไทย
2. ยกระดับมาตราฐานเรื่องกฏระเบียบทางการค้าและการลงทุนให้แก่ประเทศไทย
3. รักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก
4. ช่วยขยายการค้าของประเทศไทยแก่ประเทศสมาชิก CPTPP
5. หากเข้าร่วม GDP ของประเทศจะเพิ่มขึ้น 0.12% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 13,323 ล้านบาท
6. เงินในการลุงทุนจะเพิ่มขึ้น 5.14% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 148,240 ล้านบาท
7. การส่งออกจะเพิ่มขึ้นถึง 3.47% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 271,340 ล้านบาท
8. เงินที่ได้จากการจ้างงานจะมากขึ้นถึง 73,730 ล้านบาท
ข้อเสีย
1 ประเทศไทยต้องปรับแก้ พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืช ส่งผลให้เกษตรมีต้นทุนมากขึ้น เพราะไม่สามารถเก็บเมล็ดพืชไว้ปลูกในปีต่อไปได้
2 มีโอกาศที่นักลงทุนต่างชาติจะมารุกรานตลาดในเมืองไทย เพราะได้รับสิทธิที่มากขึ้น
3 ยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์แก่องค์การเภชสัชกรรมในการจัดซื้อยาให้แก่ภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น
4 ยกเลิกการช่วยเหลือแก่รัฐวิสาหกิจ ทำให้ค่าใช้จ่ายจำเป็นของประชาชนสูงมากขึ้น
5 CPTPP ใช้เงื่อนไขการเจรจาแบบ negative list ทำให้ธุรกิจบริการภายในประเทศเสียประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติ
จากประโยชน์มานี่บริษัทยักษ์ใหญ่ได้เปรียบ เกษตรกรรายย่อยทั้งหลายเตรียมได้เลิกอาชชีพได้เลย คนจนทั้งหลายไม่มีทางลืมตาอ้าปาก คนส่วนใหญ่ในประเทศเค้าเสียประโยชชน์กัน ถามหน่อยคุณอ่านบ้างยัง ถ้าคุณอ่านแล้วเห็นดีงามด้วยคือคุณได้ประโยชชน์คุณมีเงินไปรักษาโรงพยาบาลแพงๆได้ แล้วไอ้พวกสุนัขเศรษฐสาสตร์ระหว่งประเทศมันตัวดีเลยกี่ครั้งที่ประเทศต้องเดินตามคำชี้นำไอ้คนเหล่านี้แล้วฟองสบู่แตกบ่อยๆ ส่วนค่ายาจากต่างประเทศตอนนี้กำไรต่อโดสมันแพงเกินไปมั้ย ยาดีไม่จำเป็ต้องต้นทุนงานวิจัยแพงเสมอไปไอ้ที่มันแพงเพราะกำไรที่บวกไปไม่รู้ต่อเท่าไหร่ และตอนนี้การวิจัยเอดส์และมะเร็งจากนิจัยไทยมีมาเยอะแยะกว่าเดิมทั้งที่ทุนวิจัยก็น้อยครับ และจากที่มองดูนะ ที่คุณชอบ cptpp เพราะ มันดีแต่คนกลุ่มคุณกลุ่มเดียว แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศเค้าเสียประโยชน์กันเค้าถึงต่อต้านไม่เอา ถ้าเราเข้าร่วม cptpp นี้ คนจนๆเตรียมนอนป่วยตายข้างถนนได้เลย ถ้างั้นคุณอพยพไปอยู่เวียดนามเถอะใเนมื่อชอบ cptpp ซังกะบ๊วยดีนัก